จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์: |
บทความหลายตอน ที่แล้วได้กล่าวถึงกลยุทธ์การถ่ายโอนอำนาจธุรกิจครอบครัวโดยนักวิชาการชาว ไทย คราวนี้ลองมาพิจารณากระบวนการถ่ายโอนอำนาจของนักวิชาการต่างประเทศว่าเป็น อย่างไร
1.รักษาการจัดการและความเป็นเจ้าของเฉพาะบุคคลสมาชิกในครอบครัว หากธุรกิจใดที่เป็นธุรกิจซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องระดมเงินทุน ไม่ต้องขยายกิจการและธุรกิจนั้น มีความเจริญก้าวหน้าไปได้ดี การรักษาการจัดการและความเป็นเจ้าของให้อยู่ในวงของธุรกิจในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการเป็นเจ้าของหรือการบริหารจัดการก็ย่อมจะทำได้ สิ่งเหล่านี้โดยการกำหนดไว้ในข้อบังคับและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยใน เรื่องของการโอนหุ้นก็ดี ในเรื่องของการแต่งตั้งกรรมการ ในเรื่องของการลงทุน การจำหน่ายทรัพย์สินหรือการก่อภาระผูกพัน
แต่มีข้อน่าคิดว่าเป็นไปได้จริงหรือที่ธุรกิจนั้นจะยังคงเติบโต อย่างมั่นคงต่อไป โดยที่ไม่มีการขยายงานหรือมีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยว แต่หากมีการขยายงานก็ต้องหมายความว่า ครอบครัวนั้นจะต้องมีสมาชิกในครอบครัวที่ใหญ่พอที่จะบริหารจัดการธุรกิจที่ ขยาย ตัวอย่างเช่น ตระกูลจิราธิวัฒน์ แต่หากธุรกิจขยายตัวการมีสมาชิกในครอบครัวมาบริหารคงไม่เพียงพอในการรองรับ กับความเติบโตของธุรกิจ ก็ต้องไปจ้างมืออาชีพภายนอก
2.ธุรกิจในครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวมีน้อยหรือไม่มีมืออาชีพ มาบริหารหรือมีการขยายธุรกิจ ก็อาจจะต้องมีการจ้างมืออาชีพมาบริหาร แต่เจ้าของคือสมาชิกในครอบครัวก็ยังคงความเป็นเจ้าของในธุรกิจไว้ กรณีนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของธุรกิจครอบครัวแต่ละครอบครัวว่า เรามีความจำเป็นแค่ไหนเพียงไรที่จะต้องมีมืออาชีพ แต่ถ้าหากดูตัวอย่างแล้ว ความจำเป็นในการมีอาชีพเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวเจริญเติบโตและรักษาความมั่น คงได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง การจ้างมืออาชีพมานอกเหนือจากทำให้ธุรกิจเจริญเติบโตแล้ว มืออาชีพที่เข้ามาเป็นลูกจ้าง ผู้ทำการ หรือผู้แนะนำก็ยังสามารถคอยเป็นคนที่คอยสอนคอยประคบประหงมให้สมาชิกของทายาท นั้น ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยความบ่มฟักหรือดูแลอย่างดีในเรื่องของประสบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจครอบครัวซึ่งทายาทยังอ่อนอาวุโสนัก
3.เจ้าของธุรกิจมีความเป็นไปได้ที่จะค่อยๆ ถ่ายโอนธุรกิจครอบครัว โอนหุ้นให้แก่มืออาชีพที่มีส่วนในการบริหารธุรกิจครอบครัวให้มีส่วนในการ เป็นเจ้าของเพื่อให้สร้างความเข้มแข็งและโอนหุ้นให้สมาชิกในครอบครัวถือหุ้น โดยตรงและมีส่วนในการเป็นเจ้าของด้วย โดยเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้ทั้งสองฝ่าย ตัวอย่างของบริษัทไทยที่ประสบความสำเร็จน่าจะได้แก่กลุ่มบริษัทในเครือเจริญ โภคภัณฑ์ของตระกูลเจียรวนนท์ โดยนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
4.ในบางกรณีธุรกิจครอบครัวก็อยากจะขายธุรกิจครอบครัวนั้นออกไป สมาชิกบางคนไม่มีความจำเป็นหรือไม่มีความประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจครอบครัว นั้นแล้ว การขายธุรกิจออกไปอาจจะขายเพราะว่าธุรกิจมีความสำเร็จแต่ไม่มีใครดำเนินการ ต่อ หรือเพราะว่าธุรกิจมีปัญหาและทายาทอื่นๆ ก็ยังเจริญเติบโตไม่ทัน แต่ก็หวังว่ายังจะให้โอกาสแก่ลูกหลานสมาชิกในครอบครัวทำงานต่อไป โดยเจ้าของที่ซื้อไปใหม่นั้น ยังคงว่าจ้างลูกจ้างเดิมให้ทำงานต่อไป การถ่ายโอนอำนาจแบบนี้มักจะไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย
5.มีธุรกิจบางอย่างที่เจ้าของธุรกิจครอบครัวเห็นโอกาสว่า น่าจะขายธุรกิจนั้นออกไปและไปลงทุนธุรกิจใหม่ เป็นการขยายหรือลดความเสี่ยงธุรกิจลง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของหรือสมาชิกในครอบครัวที่เป็นรุ่น หลังจะสามารถเอาความรู้ความชำนาญไปทำธุรกิจใหม่ได้ โดยอาจขายแล้วไปประกอบธุรกิจเดิมในชื่อใหม่หากขายได้ราคาดีหรือขายไปแล้วไป ประกอบธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจเพราะธุรกิจเดิมอาจไม่มีอนาคต
6.ครั้นธุรกิจเจริญเติบโต มีความเจริญเติบโตขึ้น ก็อาจจะมีการขายธุรกิจเช่นเดียวกับกรณีที่ 2 ให้แก่เฉพาะมืออาชีพให้มีความเป็นเจ้าของช่วยผลักดันให้บริษัทขยายให้เจริญ เติบโตได้ แล้วทายาทอาจไปทำธุรกิจอื่นแต่การขายหุ้นให้ก็เฉพาะบริษัทประกอบการ
7.การขายหุ้นให้กับประชาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในปัจจุบันการขายหุ้นให้แก่ประชาชนเมื่อบริษัทเติบใหญ่นั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก และการขายหุ้นให้แก่ประชาชนหรือนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็ เป็นการลดข้อขัดแย้งของสมาชิกในครอบครัวได้เหมือนกัน เพราะหากมีข้อขัดแย้งกัน สมาชิกที่มีความสามารถก็จะสามารถขายจำหน่ายหุ้นที่มีอยู่ในธุรกิจครอบครัว นั้นได้เหมือนกันในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมและไม่เกิดข้อพิพาท แต่ในกรณีนี้เองก็อาจจะทำให้สมาชิกในครอบครัวก็เสียอำนาจในการกำกับดูแลหรือ การควบคุมบริษัทต่อไปและก็จะสามารถให้บริษัทในครอบครัวเข้าลงทุนได้ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในเรื่องของวิธีการและแผนการทำธุรกิจของ ธุรกิจครอบครัว แต่ละครอบครัวต่างมีปัญหา มีความจำเป็น มีเหตุผล ที่แตกต่างกัน
ผมมีความเห็นโดยส่วนตัวว่าการปรับโครงสร้างธุรกิจครอบครัวโดย สมาชิกในครอบครัวที่มีความสามารถอาจมีส่วนในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ก็เฉพาะบริษัทประกอบการเท่านั้น ไม่ใช่บริษัทโฮลดิ้งของครอบครัว แล้วนำบริษัทประกอบการเข้าตลาดหลักทรัพย์ นอกจากจะสร้างความมั่งคั่งให้แก่สมาชิกในครอบครัวแล้ว (ขายหุ้นโดยไม่เสียภาษี) ยังสะดวกแก่การะดมทุน การกู้เงิน โดยเสียดอกเบี้ยถูกหรือการหามืออาชีพมาร่วมงานได้ง่ายและยังมีกลไกแก้ไขข้อ พิพาทในการขายหุ้นได้ เพราะมีราคาตลาดเป็นตัวกำหนดและสุดท้ายอาจได้สิทธิประโยชน์ภาษีในอัตรา ถูกกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกับความโปร่งใสในการทำธุรกิจอย่าง ยั่งยืนแล้ว วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ถ่ายโอนอำนาจให้ธุรกิจพัฒนาได้อย่างยั่งยืน แต่หากไม่อยากเข้าตลาดหลักทรัพย์ ผมก็เห็นว่าธุรกิจครอบครัวต้องมีมืออาชีพเข้ามาช่วยบริหารจัดการและเจ้าของ ธุรกิจควรแบ่งสรรหุ้นหรือจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่มืออาชีพได้สมน้ำสมเนื้อ เพราะผมไม่เคยเห็นธุรกิจไหนที่อยู่ในมือของลูกหลานเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่มี มืออาชีพแล้วเจริญเติบโตได้เกินกว่า 2 ชั่วคน