จากประชาชาติธุรกิจ
ประชาชาชาติธุรกิจออนไลน์ เปิดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีคำสั่งระงับ 76 โครงการ มาบตาพุด เปิดชื่อ 11 โครงการ ถูกปลดล็อก ดำเนินโครงการต่อไปได้
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดในคดีคำร้องที่ 586/2552 (คดีมาบตาพุด)
... ศาลปกครองสูงสุดได้นัดอ่านคำสั่งในคดีคำร้องที่ 586/2552 ระหว่างสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวกรวม 43 คน (ผู้ฟ้องคดี) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวกรวม 8 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) บริษัท เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด กับพวกรวม 36 คน (ผู้มีส่วนได้เสีย) เป็นคดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 8 คน ได้ร่วมกันให้ความเห็นชอบอนุมัติ อนุญาต โครงการหรือกิจกรรมจำนวน 76 โครงการ ที่ดำเนินการในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง โดยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
กรณีเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้ง ทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ ประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียรวม ทั้งให้องค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากร ธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพให้ความเห็นชอบก่อนมีการดำเนินการจึงขอให้เพิกถอนรายงานผล กระทบสิ่งแวดล้อม เพิกถอนใบอนุญาตและให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดดำเนินการออกระเบียบหรือหลัก เกณฑ์ หรือการอื่นใดตามขั้นตอนของกฎหมายภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา
ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งว่า สิทธิของบุคคลที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 67 บัญญัติรับรองไว้ ย่อมได้รับความคุ้มครองการที่ยังไม่มีบทบัญญํติแห่งกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการใช้สิทธิดังกล่าวนั้น ไม่ใช่เหตุที่องค์กรของรัฐจะยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ให้ความคุ้ม ครองสิทธิดังกล่าวได้ เพราะโดยหลักการใช้และการตีความกฎหมาย เจตนารมณ์ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จะมีผลตามที่บัญญํติโดยทันทีไม่ว่าจะมีบทบัญญัติให้ต้องมีการตรากฎหมายกำหนด รายละเอียดในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 3/2552 ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2552 ซึ่งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุรภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 นี้เองว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีเจตนารมณ์ให้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองไว้มีสภาพบังคับ ได้ทันทีที่รัฐธรรมนูญประกาศให้มีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติ กฎหมายอนุวัติการมาใช้บังคับก่อน
ดังนั้น ก่อนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจึงต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทั้งหลายที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดได้อนุมัติโครงการหรือกิจกรรมทั้ง 76 โครงการไปโดยไม่ได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์มาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดจึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่สิบสามคนจึงมีมูล จึงเป็นการสมควรให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดได้ตรวจสอบและศึกษาพิจารณาก่อนที่ พิจารณาอนุมัติให้มีการดำเนินการตามโครงการทั้ง 76 โครงการ ตามนัยมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้ครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ จึงมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อ บรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่สิบสามคน
ใน เรื่องความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจะก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า หลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67 มีผลใช้บังคับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ต้องอนุมัติ อนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อ หารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ว่า บทบัญญัติดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับทันที เพราะมีบทเฉพาะกาลตามมาตรา 303 (1) กำหนดให้มีผลใช้บังคับภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายกำหนดรายละเอียดเสีย ก่อน
ดังนั้น หน่วยงานผู้รับผิดชอบที่จะอนุญาตจึงสามารถพิจารณาออกใบอนุญาตให้แก่โครงการ หรือกิจกรรมที่ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ได้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าการให้ความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าโครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่ง ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67 ทันที ซึ่งมาตรา 216 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐ ความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงต้องผูกพันตามแนวคำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงมีผลผูกพันให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องดำเนิน การตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
นอกจากนั้น ยังได้เคยมีการศึกษาการประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง โดยได้กำหนดไว้ 19 ประเภทกิจกรรม ตามร่างประกาศโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่าง รุนแรงตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 และผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งสี่ภูมิภาคแล้ว แต่มิได้นำออกประกาศใช้จนกระทั่งมีการฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 จึงได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อ ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 โดยกำหนดให้เหลือเพียง8 ประเภทกิจการ
ส่วนกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์การอิสระทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้เคยมีคำสั่งที่ 74/2551 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2551 แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและยกร่างกฎหมายดังกล่าว และได้ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนทั้งสี่ภูมิภาคเช่นกัน แต่มิได้ดำเนินการเพื่อนำออกใช้ จนกระทั่งมีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นและขณะนี้ก็ยังมิได้ดำเนินการให้ แล้วเสร็จ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงถึงการขาดการติดตามและการบังคับใช้กฎหมายอย่าง จริงจังของผู้ถูกฟ้องคดีที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานของรับที่มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นความรับผิดชอบของผู้ฟ้องคดีโดยตรงที่ไม่ได้ดำเนินการตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญดังกล่าว
สำหรับการที่ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการ คุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาจะก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรค ที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า หากจะเกิดปัญหาอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐจากคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธี การคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวของศาลก็เป็นเรื่องที่สืบเนื่องโดยตรง มาจากการละเลยไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าของผู้ถูกฟ้องคดีเองที่ไม่ปฏิบัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น การที่เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมนั้นจะต้องชะลอการดำเนินการก่อสร้าง ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการของตนออกไป อันส่งผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของภาคเอกชน รวมทั้งมีผลกระทบต่อการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐ จึงมิใช่เนื่องมาจากคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ ชั่วคราวของศาลโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมไม่เฉพาะประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าวใน ปัจจุบันนี้เท่านั้นที่สมควรได้รับและได้รับการเอาใจใส่ดูแล แม้ผู้ที่จะมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ในอนาคตก็ควรจะต้องได้รับด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้การบริหารจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าวในอารยประเทศถือเป็น หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของรัฐที่รัฐจะต้องดำเนินการ ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงการบริหารงานของรัฐด้านเศรษฐกิจกับด้านพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิตของประชาชน และสิทธิชุมชนแล้ว เห็นได้ว่าความเสียหายที่เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมจะได้รับอาจเป็นเพียง ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย ในกรณีนี้ได้แก่ รัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติใบอนุญาตได้พิจารณาผล การประเมินในเรื่องต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ หากจะเป็นการกระทบต่อสิทธิของเจ้าของโครงการ แต่ก็มิได้เป็นการจำกัดสิทธิการดำเนินการโดยสิ้นเชิง เพียงแต่กรณีเป็นโครงการหรือกิจกรรมใดที่อยู่ในประเภทที่มีผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรงก็ต้องดำเนินการ ตามนัยมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้ครบถ้วนก่อน ประกอบกับโครงการหรือกิจกรรมเหล่านั้นต้องมีความรับผิดชอบผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อม และให้ความสำคัญถึงสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่จะต้องสุ่ม เสี่ยงกับการได้รับมลพิษจากผลิตผลของการดำเนินการผลิตด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในการพิจารณาตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่สิบสามคนเป็นที่ประจักษ์ของศาล ว่า คำฟ้องมีมูล และมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ตาม ที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทา ทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาก็ตาม ในชั้นนี้ เมื่อพิจารณาเบื้องต้นตามประเภทลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมแล้วศาลปกครอง สูงสุดเห็นว่า บางโครงการหรือกิจกรรมไม่น่าจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงอย่างชัดเจน แต่เป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่งควบคุมหรือบำบัดมลพิษหรือติดตั้งอุปกรณ์ เพิ่มเติมเท่านั้น จึงยังไม่สมควรที่จะมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทา ทุกข์ชั่วครวก่อนการพิพากษา ได้แก่ โครงการหรือกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรม ลำดับที่ 16, ลำดับที่ 22, ลำดับที่ 37, ลำดับที่ 41, ลำดับที่ 45, ลำดับที่ 50 ลำดับที่ 54 และประเภทคมนาคม ลำดับที่ 2, ลำดับที่ 3, ลำดับที่ 4 และลำดับที่ 6 ส่วนโครงการหรือกิจกรรมที่เหลือนั้น
เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 เรื่อง โครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ลงวันที่ 14 กันยายน 2552 ได้กำหนดไว้ 8 ประเภทโครงการ หรือกิจกรรมที่รุนแรง และตามร่างประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่าง รุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพที่ได้กำหนดไว้ 19 ประเภทโครงการ ซึ่งได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาแล้ว และเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้กำหนดให้เป็นโครงการหรือ กิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า โครงการหรือกิจกรรมในส่วนที่เหลือซึ่งประกอบไปด้วยโครงการปิโตรเคมีและท่อ ส่ง โครงการเหล็ก นิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรม ท่าเทียบเรือ โรงไฟฟ้า โรงบำบัดกำจัดของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว จึงน่าเชื่อว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่าง รุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ
ถ้าโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2552 แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีหรือผู้มีส่วนได้เสีย อาจมีคำขอต่อศาลที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาให้มีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธี การชั่วคราวได้
ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งแก้คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้ผู้ถูกฟ้อง คดีทั้งแปดสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมตามเอกสารหมายเลข 7 ท้ายคำฟ้อง ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็น อย่างอื่น ยกเว้นโครงการหรือกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรมลำดับ 16, 22, 37, 41, 45, 50 และ 54 และประเภทคมนาคม ลำดับที่ 2, 3, 4 และ 6 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น @ เปิดรายชื่อ 11 โครงการ 11 รายชื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้ง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง และจังหวัดระยองที่ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 วรรคสอง และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 @ประเภทคมนาคม
โครงการ 2 โครงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและขนาดถังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ของ บริษัท มาบตาพุดแท็งค์ เพอร์มินัล จำกัด
โครงการ 3 โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการท่าเทียบเรือและคลังผลิตภัณฑ์(การเพิ่ม ถังเก็บและอุปกรณ์ขนถ่าย LPG/Butene-1) ตั้งที่ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ของ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน)
โครงการ 4 รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการขยายท่าเทียบเรือขนถ่ายสารปิโตรเคมี และคลังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์(การก่อสร้างถังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติม(ถัง โพรเพน/บิวเทน) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ของบริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด
โครงการ 6 โครงการติดตั้ง Loading Arm เพิ่มเติมที่ท่าเทียบเรือของโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด @ประเภทอุตสาหกรรม
โครงการ 16 โครงการเชื้อเพลิงสะอาดและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ของ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด(มหาชน)
โครงการ 22 โครงการปรับปรุงระบบหมุนเวียนก๊าซกลับคืนของโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดโพลี โพรพีลีน ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ของบริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอร์ส จำกัด
โครงการ 37 โครงการผลิตเชื้อเพลิงสะอาด ติดตั้งหน่วยควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงและเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล(ขอ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ)ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด
โครงการ 41 โครงการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงและเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ไบโอ ดีเซล ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ของบริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด(มหาชน)
โครงการ 45 การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ ระบบบำบัดมลพิษทางอากาศโรงงานผลิต Purified Terephthalic Acid(PTA) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ของ บริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม จำกัด
โครงการ 50 โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 6(การเพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ ใหม่) ตั้งอยู่ที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)
โครงการ 55 การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโรงงานผลิตคลอ-อัลคาลี และอีพีคลอโรไฮดรินภายใต้โครงการติดตั้ง Chlorine Vaporizer ,Wet Scrubber ของ HCL Section และการปรับเปลี่ยนขนาดถังบรรจุคลอรีนเหลว ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ของบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์(ประเทศไทย )จำกัด(คลอ อัลคาลี ดีวิชั่น)