สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดีลอยท์ฯติวเข้มผู้ประกอบการ พัฒนาคน-องค์กรรับมือเศรษฐกิจปี 2010

จากประชาชาติธุรกิจ
สัญญาณเศรษฐกิจที่ส่งผ่าน ดัชนีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การส่งออกล้วนมีทิศทางที่ดีขึ้นถ้วนหน้า

ผู้ ประกอบการไทยจะเตรียมองค์กรอย่างไรเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่กำลังจะ ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ซีอีโอหลายในหลายองค์กรยังมองทิศทางไม่ออก

ใน โอกาสนี้ ดีลอยท์ฯ บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ ภาษี และกฎหมาย และด้านการสอบบัญชีชั้นนำของไทย จึงถือโอกาสตอกย้ำปรัชญาการดำเนินงานของดีลอยท์ที่ว่าจะทำงานนำหน้าหนึ่ง ก้าวเสมอ (Deloitte-Always One Step Ahead) โดยจัดสัมมนาเพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้าให้กับกลุ่ม ผู้ประกอบการให้พร้อมรับความเปลี่ยน แปลงในด้านต่าง ๆ ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การบริหารจัดการองค์กรให้อยู่รอดและเติบโตได้ในสภาวะวิกฤต และเตรียมองค์กรให้พร้อมรับมือเมื่อเศรษฐกิจเริ่ม ฟื้นตัวภายใต้หัวข้อสัมมนา "Deloitte Forum : It"s time to make the most of the opportunities created"

โดยโฟกัสไปที่หัวข้อสำคัญ ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบและการประยุกต์ใช้สนธิสัญญาการเปิดเขตการค้าเสรีล่าสุด (AFTA) ที่ดีลอยท์ฯมองเห็นเป็นโอกาสกับ ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทยที่จะได้เปิดตลาดใหม่ ๆ ในภูมิภาคอาเซียน หรือกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในองค์กร โดยใช้หัวข้อว่า การเพิ่มประสิทธิภาพของบรรษัทภิบาล

การบริหารจัดการควบคุมต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ในหัวข้อ การบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ และการนำ IT มาใช้ในการบริหารจัดการ ในหัวข้อ การกำกับดูแลกิจการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมและตอบทุกโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการไทยในยุคเศรษฐกิจ เริ่มฟื้นฟูในปี 2010 ได้เป็นอย่างดี

ในงานสัมมนา Deloitte Forum "สุภศักดิ์ กฤษณามระ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด ได้ชี้ให้เห็นแนวโน้มโดยรวมของเศรษฐกิจโลกว่าในปีนี้เริ่มจะฟื้นตัวแล้ว โดยเฉพาะการกลับมาลงทุนของภาคเอกชน หากแต่ยังมีปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจยังชะลอตัวอยู่บ้าง อันเนื่องมาจากผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่น ธนาคารยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ บวกกับอัตราการว่างงานที่ยังสูงอยู่ และปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน

แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจในประเทศไทยก็ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงปีนี้

เท่า ที่ได้สัมผัสกับลูกค้าส่วนใหญ่บอกตรงกันว่ามีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับที่ น่าพอใจ ด้วยเหตุนี้ดีลอยท์ฯจึงมองว่าสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับผู้บริหารองค์กร เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ หนีไม่พ้นการเพิ่มรายได้และการตัดค่าใช้จ่ายขององค์กร

และสิ่งที่จะหลงลืมไม่ได้คือการบริหารความคาดหวังของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพนักงาน ฯลฯ

นอกจากนั้น ดีลอยท์ฯยังมองลงลึกถึงปัจจัยหลัก ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรในสภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในหลายเรื่องที่น่าสนใจ

ประการ แรก External Factor หรือปัจจัยภายนอก เช่น ตลาดที่กำลังจะเปิดกว้างมากขึ้นจากสนธิสัญญาการค้าเสรี (AFTA) หรือกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะบังคับใช้ในภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือ IFRS ที่จะเริ่มใช้กับกลุ่มบริษัทจดทะเบียนของไทยในปี 2554

หรือเทรนด์ เรื่องการดำเนินธุรกิจใหม่ที่เน้นด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือราคาน้ำมัน ที่ปัจจุบันกลายเป็นสินทรัพย์ใหม่ที่นักลงทุนนิยมเก็งกำไร

ประการ ถัดมาเป็นปัจจัยทางด้าน Operations โดยเน้นที่วิธีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น โดยดีลอยท์ฯมองว่าผลกระทบจากวิกฤตทำให้องค์กรต่าง ๆ มีโอกาสของการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (M&A) มากขึ้น

และ ประการสุดท้ายคือ Organization ซึ่งหมายความถึงการดูแลบุคลากรในองค์กร คุณภาพของคนในองค์กร ความโปร่งใสในองค์กร ซึ่งมีผลกระทบต่อการแสวงหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกเป็นอย่างมาก

"สุ ภศักดิ์" บอกต่อไปว่า การเตรียมความพร้อมล่วงหน้าให้กับกลุ่มผู้ประกอบการไทย ระบบมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือ IFRS เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากในชั่วโมงนี้

"เราเชื่อว่า IFRS จะสามารถปรับปรุงการทำงานในองค์กร ช่วยในการจัดสรรเงินทุนขององค์กร ซึ่งจะมีผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีขึ้น เพราะ IFRS ไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในการหาแหล่งเงินทุนจาก ต่างประเทศ แต่บังแสดงให้เห็นถึงข้อมูลทางการเงินที่โปร่งใสและเปรียบเทียบกันได้ง่าย แต่ยังมีส่วนช่วยในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมาก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกประกาศในเรื่องของการจัดอันดับบริษัทที่มี การบริหารจัดการองค์กรที่ดี (Corperate Good Governance) ในประเทศไทย ซึ่งตรงนี้จะช่วยยกระดับองค์กรต่าง ๆ ได้

ที่มากกว่า IFRS ยังช่วยในด้านการลดต้นทุนในการจัดทำรายงานทางการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาและการ ฝึกอบรมบุคลากรของบริษัท รวมถึงการจัดการระบบ IT และการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมภายในอีกด้วย"

view