สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กำกับดูแลกิจการธุรกิจครอบครัว (ต่อ)

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์:


ข้อ 2. ให้ดำเนินการโดยคำนึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น
หลักเกณฑ์ข้อนี้เป็นข้อที่มีความสำคัญมาก เพราะหากผู้ถือหุ้นที่เป็นสมาชิกในครอบครัวมีสิทธิเท่าเทียมกันและได้รับการ ดูแลอย่างเป็นธรรม ข้อพิพาทก็จะลดน้อยลง สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ถือหุ้นควรจะได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรมในฐานะ เป็นผู้ถือหุ้น แต่ก็รวมถึงแต่สมาชิกในครอบครัวที่ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้น ก็ควรจะได้รับการดูแลในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือ Stakeholders ด้วยเช่นกัน การจัดสรรความเป็นเจ้าของสมาชิกในครอบครัวต้องเป็นธรรม ความเท่าเทียมกันนั้นเป็นเรื่องที่ธุรกิจครอบครัวจะต้องมีการตกลงกันและมี ความเข้าใจระหว่างกัน อย่าลืมว่าหลักของการจัดการธุรกิจครอบครัวนั้น การจัดสรรความเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นนั้น ต้องเป็นธรรม แต่หลักความเป็นธรรมไม่ได้หมายถึงความเท่ากันนักวิชาการต่างประเทศกล่าวใน เรื่องนี้ไว้ว่า “Fair does not mean equal” ดังนั้น การจัดสรรผลประโยชน์ของสมาชิกในครอบครัว จึงควรดำเนินการด้วยความเป็นธรรมอย่างมีหลักเกณฑ์หากเจ้าของกิจการธุรกิจ ครอบครัวจะจัดสรรหุ้นให้กับทายาทก็ควรมีหลักเกณฑ์ และหากได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกในครอบครัวก็จะเป็นการดี แต่ในฐานะสมาชิกในครอบครัว ผมมีความเห็นโดยส่วนตัวว่า หากผู้ที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ก่อร่างสร้างธุรกิจมาด้วยตนเอง การที่เจ้าของจะแบ่งให้ใครจำนวนเท่าใด ก็ควรจะเป็นสิทธิของท่าน ถ้าเจ้าของเห็นดีเห็นงาม ก็ควรต้องยอมรับที่จะลดการโต้เถียงและข้อพิพาทได้

ข้อ 3.       ให้รับรู้ถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ นอกเหนือจากผู้ถือหุ้น และดูแลว่าสิทธิดังกล่าวได้รับความคุ้มครองและปฏิบัติ ด้วยดี

การบริหารจัดการบริษัทครอบครัวเองก็มีผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า ลูกจ้าง หรือบางทีมีสมาชิกในครอบครัวซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้น ดังนั้น การดูแลผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง คู่ค้า หรือสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรมนั้น ก็จะทำให้บริษัทสามารถเจริญเติบโตและป้องกันมิให้เกิดข้อพิพาทขึ้นได้อีก เช่นกัน และยังทำให้ธุรกิจครอบครัวได้รับความสนับสนุนจากลูกจ้างและคู่ค้าอันจะทำให้ ธุรกิจครอบครัวเจริญเติบได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

ข้อ 4.       ให้จัดการประชุมผู้ถือหุ้น โดยจัดสรรเวลาให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสแสดงความเห็นและตั้งคำถามโดยกรรมการ ทุกคน โดยเฉพาะประธานคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ควรเข้าประชุมเพื่อตอบคำถาม

หลักการข้อนี้อาจจะใช้ได้ในกรณีที่มีการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นและ จัดสรรเวลาให้ผู้ถือหุ้น หรือสมาชิกในครอบครัวได้มีโอกาสซักถามสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้บริหาร จัดการ การจัดประชุมในรูปลักษณะของสภาครอบครัว (Family Council) ที่เป็นลักษณะเป็นทางการจึงมีความสำคัญยิ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความเห็นและซักถามในเรื่องใดๆ อันจะช่วยไม่ให้เกิดข้อสงสัยอันจะนำไปสู่ข้อพิพาทในภายหลัง หรืออาจรวมถึงการสื่อสารอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในระหว่างผู้ถือหุ้นทั้งที่เป็นสมาชิกในครอบครัวกับผู้บริหารที่เป็นสมาชิก ในครอบครัว การสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัวจึงเป็นเรื่องที่จะช่วยลดข้อพิพาท และอาจมีโครงการหรือข้อแนะนำดีๆ จากผู้ถือหุ้นที่เป็นสมาชิกในครอบครัว

ข้อ 5.       คณะกรรมการควรมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยรวม

คณะกรรมการของบริษัทครอบครัวจึงควรมีกระบวนการที่จะต้องคัดเลือก สมาชิกในครอบครัวที่จะมาเป็นคณะกรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดและควรมีการ พิจารณาดูว่า คณะกรรมการบริษัทครอบครัวคนใดที่มีภาวะผู้นำและมีวิสัยทัศน์และเป็นอิสระใน การตัดสินใจได้และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทได้แค่ไหนเพียงไร การสื่อสาร การพูดคุยกัน และการจัดทำนโยบายก็จะมีส่วนช่วยให้สมาชิกในครอบครัวทราบดีว่าจะเลือกใคร บางกรณีที่ปรึกษาของสมาชิกในครอบครัวอาจจะมีส่วนช่วยในกระบวนการแต่งตั้งคณะ กรรมการของบริษัทครอบครัวได้ การเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในครอบครัวมีส่วนสำคัญมาก และหากจำเป็นก็อาจจะต้องมีการจัดหามืออาชีพให้เข้ามามีส่วนในการบริหาร จัดการ

ข้อ 6.       ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ ควรขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างรอบคอบ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเพราะความขัดแย้งของบริษัท ธุรกิจครอบครัวมักจะเกิดขึ้นจากผลประโยชน์ โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัวที่เป็นทั้งผู้ถือหุ้นและผู้บริหารที่จะมีเรื่อง การขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้นเสมอกับผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร จึงควรมีการกำหนดหลักการและนโยบายให้ชัดเจน โดยการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เพราะมิเช่นนั้นก็จะเกิดการขัดแย้งกันทางผลประโยชน์และไม่มีความเชื่อมั่น ระหว่างกันได้ อันจะเป็นที่มาของความล้มเหลวในการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวได้ โดยเฉพาะหากสมาชิกในครอบครัวไปทำธุรกิจแข่งกับธุรกิจครอบครัว โดยเข้าเครือข่ายหรือแหล่งเงินทุนของธุรกิจครอบครัวเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วน ตัว กรณีเช่นนี้ควรเขียนไว้ในข้อบังคับสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นหรือข้อพึงปฏิบัติ ของสมาชิกในครอบครัว

ข้อ 7.       ส่งเสริมให้จัดทำแนวทางเกี่ยวกับจริยธรรมธุรกิจ เพื่อให้กรรมการและลูกจ้างทุกคนได้รับทราบ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่เพราะ จริยธรรมทางธุรกิจหมายถึง มาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรม ที่ใช้กับองค์กรทางธุรกิจ รวมทั้งพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นในต่างประเทศได้กำหนด

หลักการทางด้านจริยธรรมธุรกิจไว้ 12 ข้อ (ซึ่งผมเห็นว่า ผู้บริหารธุรกิจครอบครัวควรนำมาใช้ปฏิบัติได้)

view