จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์: |
หลักการทางด้านจริยธรรมธุรกิจไว้ 12 ข้อ (ซึ่งผมเห็นว่า ผู้บริหารธุรกิจครอบครัวควรนำมาใช้ปฏิบัติได้) คือ
2.ความซื่อตรง (Integrity)
3.การรักษาสัญญาและความเป็นที่ไว้วางใจ (Keep Your Trustworthiness)
4.ความจงรักภักดี (Loyalty)
5.ความมีใจเป็นธรรม (Fairness)
6.การคำนึงถึงผู้อื่น (Concern for Others)
7.ความเคารพต่อผู้อื่น (Respect for Others)
8.การยึดมั่นต่อกฎหมาย (Law Abiding)
9.การมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ (Commitment to Excellence)
10.ความเป็นผู้นำ (Leadership)
11.ความมีชื่อเสียงและศีลธรรม (Reputation and Moral)
12.ความรับผิดชอบที่อธิบายได้ (Accountability)
ข้อนี้ก็มีความสำคัญที่บริษัทธุรกิจครอบครัวอาจจะต้องจัดทำ ข้อพึงปฏิบัติ แนวจริยธรรมให้แก่สมาชิกในครอบครัวได้รับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และอบรมแนวทางดังกล่าวเพื่อให้คุณค่าของธุรกิจครอบครัวเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น และบรรดา สมาชิกในครอบครัวทุกคนทราบถึงแนวทางการทำธุรกิจเพื่อจะทำให้ธุรกิจและ จริยธรรม คุณธรรม สามารถเจริญยั่งยืนได้ต่อไป และต้องทำความเข้าใจเรื่องจริยธรรมทางธุรกิจว่าที่จริงคืออะไรกันแน่ เพราะนักธุรกิจมักมีปัญหาเรื่องความเข้าใจหลักจริยธรรมมากกว่าวิชาชีพอื่น เพราะการบริหารไม่ใช่วิชาชีพ
นักธุรกิจเดิมเคยถูกสอนว่าให้ทำรายได้และอย่าทำผิดกฎหมาย (ดู สมชาย ศุภธาดา บทที่ 8 คุณธรรม จริยธรรม, อ้างแล้ว หน้า 250-263)
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่จึงต้องศึกษาอย่างละเอียดและนำเอา ตัวอย่างแนวทางเกี่ยวกับจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน น่าจะเป็นประโยชน์ได้ในระดับหนึ่งและอาจเกี่ยวโยงไปถึงบทบาทความรับผิดชอบ ต่อสังคมของบริษัทตามแนวทาง (Corporate Social Responsibility) เพราะบริษัทที่ผู้บริหารมีคุณธรรมและ จริยธรรมก็เท่ากับมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ข้อ 8 ควรมีการถ่วงดุลของจำนวนกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร โดยเสนอว่าการมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์
หลักเกณฑ์ข้อนี้เป็นเรื่องที่ธุรกิจครอบครัวจะเปิดโอกาสให้บุคคลภาย นอกเข้ามาเป็นกรรมการ โดยเฉพาะบริษัทที่ประกอบธุรกิจ (Operating Company) ที่จะสร้างมูลค่ากลับคืนหรือไม่ เพราะคณะกรรมการจะมีส่วนสำคัญในการกำกับดูแลกิจการโดยเฉพาะการสร้างมูลค่า เช่น กรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เฉพาะทางหรือสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างกิจการกับธุรกิจอื่นของหน่วยราชการ และการเพิ่มช่องทางให้เข้าสู่ธุรกิจใหญ่และความน่าเชื่อถือที่จะมีต้นทุนการ เงิน ถูกรวมถึงการที่มีมืออาชีพเข้ามาทำงานในธุรกิจครอบครัว (ดู เดือนเพ็ญ จันทร์ศิณัศ บทที่ 6 คณะกรรมการ, อ้างแล้ว หน้า 172-226) จากการสำรวจของบริษัทธุรกิจครอบครัวกว่า 80 รายในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในรุ่นที่ 3) พบว่าการมีกรรมการอิสระที่เป็นบุคคลภายนอก มีส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทดังกล่าวอยู่รอดแล้วประสบความสำเร็จ (รายละเอียด ดู IFC Family Business Governance Handbook, International Finance Corporation 2008 Page 37-45)
แต่หากบริษัทธุรกิจครอบครัวนั้นก็อาจจะนำไปใช้ได้ เช่น ให้บุคคลภายนอกหรือลูกจ้างที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในครอบครัวเป็นกรรมการอิสระ หรือให้บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของครอบครัวเข้ามาเป็นกรรมการอิสระ เพื่อถ่วงดุลหรือให้ความเห็นในการประกอบธุรกิจ โดยเป็นกรรมการในบริษัทประกอบการ (Operating Company) ไม่ใช่บริษัทโฮลดิง
ข้อ 9 ควรมีการแยกหรือกำหนดหน้าที่ของประธาน ของกรรมการ หรือของผู้จัดการ ให้มีความชัดเจน โดยระวังมิให้คนใดคนหนึ่งมีอำนาจโดยไม่จำกัด
หลักเกณฑ์ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดโครงสร้างของคณะกรรมการ ธุรกิจครอบครัวผู้ถือหุ้นว่า บทบาทแต่ละคนจะต้องมีการจัดสรรให้ดี เช่น การกู้ยืมเงิน การลงทุน นโยบายการจ้าง การทำงานของสมาชิกครอบครัว ต้องกำหนดขอบเขตหน้าที่ให้ชัดเจนว่า ใครมีอำนาจมากน้อยเพียงใด
ข้อ 10 กำหนดค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารให้เหมาะสมต่อหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยกำหนดวิธีการอนุมัติค่าตอบแทนที่เหมาะสมรัดกุมด้วย
หลักเกณฑ์นี้เป็นข้อที่มีความสำคัญกับธุรกิจครอบครัวอีกเช่นกัน เพราะธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ก็จะเกิดจากข้อขัดแย้งเรื่อง ผลประโยชน์ของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกรรมการและผู้บริหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นบุคคลที่ 7 ที่อยู่ในวงกลม 3 วง มีสถานะที่เป็นทั้งผู้ถือหุ้น สมาชิกในครอบครัว และเป็นผู้บริหาร ก็จะมีปัญหามากที่สุด) ดังนั้นการกำหนดผลตอบแทนที่เป็นธรรม และชัดเจนก็จะช่วยขจัดข้อพิพาทของสมาชิกในครอบครัวในอนาคตได้