สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ออฟฟิศซินโดรม ภัยใกล้ตัวที่มิอาจมองข้าม...

จากประชาชาติธุรกิจ

จรัญ ยั่งยืน...เรื่อง


อย่าเผลอไผลไปเชียวนา เพราะว่าในสถานที่ทำงาน นี่แหละมีภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นกับเราโดยไม่รู้ตัวและปัจจุบันยิ่งพบบ่อยขึ้น

โดยโรงพยาบาลศิริราชเคยสำรวจพบว่าเกินร้อยละ 60 ของคนที่นั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์ มันเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่า "ออฟฟิศซินโดรม"

สาเหตุ เกิดมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ร่วมกับการนั่งผิดท่า จนมีอาการหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน ที่พบบ่อย ๆ คือ ปวดคอ ปวดบ่า รองลงมา คือ ปวดตา หรือแสบรอบกระบอกตา รวมทั้งอาจปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา

อาการนี้จะพบได้ในคนช่วงอายุ 21-50 ปี แต่ส่วนมากระหว่าง 21-30 ปี และจะพบว่าในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

นายแพทย์นฤพงศ์ ตันติภิรมย์สิน แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู

โรง พยาบาลนครธน บอกว่า คนไข้จะมาหาหมอด้วยอาการปวด โดยหลังจากเรานั่งผิดท่านาน ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงในกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะยึดเกร็งเป็นจุด ๆ หรืออีกลักษณะหนึ่ง คือ จะเกิด กล้ามเนื้อเกร็งแข็งทั้งมัด

ในอาการกล้ามเนื้อเกร็งแข็งทั้งมัดนั้น ต้องแยกว่า เป็นเพราะกล้ามเนื้อเกร็งแข็ง หรือว่ากล้ามเนื้อถูกยืดมาก ๆ จนกระทั่งเรา ไปจับแล้วพบว่ามันแข็งเกร็ง ด้วยการนั่งผิดท่า เช่น นั่งไหล่ห่อจะไปยืดกล้ามเนื้อส่วนบ่า จะมีกล้ามเนื้อด้านหนึ่งที่แข็ง ต้องไปดูว่า กล้ามเนื้อเกร็งตัว หรือการถูกยืด เพราะการรักษาจะไม่เหมือนกัน

กล้ามเนื้อเกร็งตัวนั้นการรักษาที่ตอบสนอง คือ การวางผ้าร้อน ประคบร้อน และการนวดจะช่วยลดอาการได้ดี

แต่ ถ้าเป็นกลุ่มอาการที่กล้ามเนื้อถูกยืดจะต้องปรับท่านั่งให้ถูกต้อง กล้ามเนื้อที่ยืดจะหดสั้นลง หรืออาจจะใช้อุปกรณ์บางอย่างเข้ามาช่วย เช่น โชลเดอร์ซัพพอร์ต เพื่อพยุงไหล่

ส่วนการปวดกล้ามเนื้อเป็นจุด ๆ นั้น การรักษาจะมีตั้งแต่การทำกายภาพ การฝังเข็ม และการนวดกดจุด ซึ่งแต่ละอย่างจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน

การทำกายภาพอาจจะใช้ระยะเวลานานเพราะต้องทำต่อเนื่องกันในระยะเวลาหนึ่ง

การฝังเข็มให้ผลค่อนข้างเร็วแต่จะเจ็บในขณะที่ทำ โดยการ ฝังเข็มจะมีสองแบบ คือ แบบจีนกับแบบตะวันตก

สำหรับการนวดกดจุดขึ้นกับฝีมือคนทำ ซึ่งถ้าทำได้ดีและ ถูกต้อง อาการปวดจะลดลง

เมื่อ มาหาหมอจะตรวจว่า มีจุดกระตุ้นอาการปวดหรือไม่ กล้ามเนื้อตึงหรือไม่ การรักษาจะใช้ 3 วิธีข้างต้น จากนั้นก็จะดูว่าคนไข้สามารถกลับไปออกกำลังกายได้เองหรือยัง โดยดูจากอาการปวด จะมีการปวดต่อเมื่อมีการขยับ หรือมีช่วงที่ไม่มีอาการปวด หรือมีอาการปวดไม่รุนแรง

ซึ่งกลุ่มที่มีอาการปวดไม่รุนแรงจะสอนการออกกำลังกายและ ปรับท่านั่ง

จากการที่คลุกคลีกับคนไข้มาอย่างต่อเนื่องนายแพทย์นฤพงศ์ ได้พบวิธีการปรับท่านั่งที่ช่วยลดอาการปวดได้

"ปกติการนั่งกระดูกสะโพกจะหมุนไปด้านหลัง จะดึงกระดูก สันหลังส่วนล่างให้โค้ง จะดึงไปถึงกระดูกคอและกระดูกบ่า

เพราะ ฉะนั้นการปรับท่านั่ง ต้องปรับตั้งแต่กระดูกสะโพกให้หมุนมาทางด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อที่จะดึงกระดูกสันหลังให้แอ่นโดยที่ไม่ต้องเกร็ง นั่งให้เท้าเหยียบพื้น เอาก้นส่วนหน้าสัมผัสเก้าอี้เลื่อนก้นมา ด้านหน้านิดหนึ่ง และเข่าจะอยู่ต่ำกว่าสะโพก โดยจะถ่ายน้ำหนัก

ลงที่เท้า หลังจากนั้นก็เอาหมอนเล็ก ๆ เสียบเข้าไปที่ช่วงเอว"

ส่วนที่สองที่ต้องปรับ คือ ไหล่ ถ้าไหล่ยังห่ออยู่เหมือนเดิมจะ

ไม่ได้ประโยชน์ วิธีการแก้ คือ ให้ยกไหล่ขึ้น หมุนไปทางด้านหลัง

ให้มากที่สุดแล้วผ่อนไหล่ลง หรือยืนแล้วประสานมือไปด้านหลัง

ดึงแล้วก็คลาย

รวมทั้งการออกกำลังกายอื่นที่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอกับบ่าได้

ที่ทำอยู่มีการยืดกล้ามเนื้อ เช่น เอียงคอ ดัดยืดคอ หรือ

การออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหว โดยจะทำช้า ๆ ขณะที่ทำพยายาม

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้ได้มากที่สุด โดยจะบริหารเพื่อผ่อนคลาย คอ หัวไหล่ และหลัง

ซึ่งการออกกำลังกายเหล่านี้ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น เพื่อจะได้ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี

นอก จากนี้ยังใช้อุปกรณ์ฟิตเนสเพื่อบริหารกล้ามเนื้อมัดที่ปวด โดยจะไม่เล่นกล้ามเนื้อมัดนั้น เช่น ปวดกล้ามเนื้อบ่าจะไม่ให้ คนไข้เล่นท่าบ่าแต่จะให้เล่นกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง เพราะกล้ามเนื้อหลังจะทำงานตรงข้ามกับกล้ามเนื้อบ่ามัดที่ปวดซึ่งจะทำให้ เกิดการผ่อนคลาย

หากคนไข้ปวดมากหรือข้อที่กระดูกคอติดขัดอาจจะต้อง สอน คนไข้ให้ดัดกระดูกคอเองโดยใช้ผ้าช่วย แต่แพทย์จะต้องประเมิน ก่อนว่าเป็นกระดูกคอระดับไหน และจะต้องเป็นคนสอนว่าจะต้องวางผ้าที่ระดับไหน ดึงท่าไหน เพราะถ้าทำผิดอาการอาจจะรุนแรงขึ้น

และการใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ลูกตาทำงานหนัก จะมีการปวดรอบ ๆ กระบอกตา หรือมีอาการ ปวดตื้อ ๆ ที่ขมับ โดยกลุ่มคนที่สายตาสั้นเวลามองจอบางคนอาจจะก้มลงไปมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อคอกับบ่ามีอาการปวดมากขึ้น

"วิธีการหลีกเลี่ยงก็ ต้องไปแก้ไขเรื่องสายตา อันที่สองแก้ไขเรื่องการปรับความสว่างของจอคอมพิวเตอร์ให้สว่างเท่า ๆ กับภาวะปกติ ร่วมกับการพักสายตาเป็นระยะ ๆ ถ้าปวดมากก็ใช้ประคบเย็นรอบ ๆ ลูกตาก็จะช่วยลดอาการได้"

เช่นเดียวกับความเครียดเป็นตัวกระตุ้นมี อาการปวดมากขึ้น เพราะว่าศูนย์ควบคุมการปวดของเราอยู่ที่สมองส่วนหน้า เมื่อใดที่สมองส่วนหน้าถูกกระตุ้นมากขึ้นอาการปวดจะเพิ่มขึ้น

แล้วทำอย่างไรที่จะให้คนทำงานออฟฟิศหลีกหนีพ้นจากอาการนี้ ?

นายแพทย์นฤพงศ์แนะนำว่า การลดกลุ่มอาการนี้ที่สำคัญที่สุดคือ awareness การรู้ตัวเอง เมื่อใดเรารู้ว่านั่งผิดท่าให้แก้ไขทันที

หากมีอาการปวด แล้วให้ใช้การบริหาร เบื้องต้น เช่น การยืดกล้ามเนื้อพอจะช่วยได้

แต่ถ้ามีอาการปวดมากก็ต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าต้องทำกายภาพบำบัดหรือ ฝังเข็มหรือเปล่า

และควรตระหนักไว้ด้วยว่า การรักษานั้นไม่หายขาด เมื่อใดก็ตามคนไข้กลับไปอยู่ในภาวะดังกล่าวอาจจะมีอาการนี้เกิดขึ้นมาอีก

ฉะนั้นเรื่อง awareness จึงสำคัญอย่างยิ่ง

view