สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หม่อมอุ๋ย แฉเบื้องหลัง เบรกหวยออนไลน์ กลัวยี่ปั๊วรายใหญ่เสียประโยชน์... ท่อน้ำเลี้ยงแห้ง?

จากประชาชาติธุรกิจ


หม่อมอุ๋ย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล แฉเบื้องหลัง โอบามาร์ค เบรก หวยออนไลน์ ตั้งคำถาม ตรงๆ เป็นห่วงเด็ก หรือ กลัว ยี่ปั๊วรายใหญ่ที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคใหญ่อายุเก่าแก่เสียผลประโยชน์กันแน่ เผยนักการเมืองรุ่นใหญ่ในพรรคขนาดใหญ่ชงเรื่องนี้ในที่ประชุมพรรค ท้าทาย อภิสิทธิ์ แน่ใจหรือจะปราบคอร์รัปชั่น

...สัปดาห์ที่แล้วนายกรัฐมนตรีทำให้คนประหลาดใจ อีกครั้งด้วยการออกมาให้ความเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับการให้ประชาชนซื้อ ลอตเตอรี่ผ่านเครื่องที่ขายโดยอัตโนมัติ

     ทั้งๆที่คณะกรรมการกองสลากได้มีมติให้ออกหวย 2 ตัว และ 3 ตัวขายผ่านเครื่องดังกล่าวโดยกำหนดวันขายครั้งแรกแล้วในต้นเดือนมีนาคม และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำลังเตรียมการตามมติดังกล่าวด้วยเข้าใจว่าเรื่อง นี้คงจะได้รับอนุมัติโดยรัฐบาลแล้วคณะกรรมการกองสลากจึงได้มีมติเช่นนั้น
      จู่ๆ นายกรัฐมนตรีก็แสดงความเห็นที่ไม่เห็นด้วย  เกิดอะไรขึ้น!

    ก่อนอื่นขอเล่าย้อนถึงที่มาของการที่จะใช้เครื่องขายลอตเตอรี่แทนคนเสียก่อน เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์หลายฉบับยังสับสนอยู่   เป็นข้อเท็จจริงที่ว่าราคาขายของสลากกินแบ่งที่ผู้ซื้อสลากต้องจ่ายสูงกว่า ราคาขายที่กองสลากมาเป็นเวลานานแล้ว 

     สมัยที่กองสลากกำหนดราคาขายที่ฉบับละ 10 บาท ก็ขายกันอยู่ที่ฉบับละ 11 บาทบ้าง 12 บาทบ้าง และปัจจุบันสลากกินแบ่งซึ่งกองสลากกำหนดให้ขายฉบับละ 80 บาทนั้น ผู้ซื้อสุดท้ายต้องซื้อในราคาฉบับละ 110 บาท  ผลต่าง 30 บาทนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร 

      มีคนพยายามอธิบายว่าในการจำหน่ายสลากกินแบ่งให้ทั่วถึงทั่วประเทศจำเป็นต้อง จัดเครือข่ายของคนขายเป็นหลายระดับ  ตั้งแต่ระดับแรกที่รับซื้อจากกองสลากไปจัดจำหน่ายต่อที่เรียกว่ายี่ปั๊ว ซึ่งเท่าที่ทราบมี 5 รายใหญ่ ซึ่งนำสลากที่รับซื้อมาทั้งหมดไปกระจายต่อไปยังผู้จัดจำหน่ายระดับรองลงไป และกระจายต่อไปจนถึงผู้ขายปลีกในขั้นสุดท้าย   เนื่องจากมีหลายระดับขั้นจึงต้องเพิ่มราคาขายในขั้นสุดท้ายขึ้นเพื่อให้ผู้ จำหน่ายแต่ละระดับมีรายได้คุ้มกับค่าใช้จ่ายและค่าเหนื่อยในการจัดจำหน่าย 

      นอกจากนี้ผู้จัดจำหน่ายที่รับซื้อสลากไปจากกองสลากแล้ว หากขายออกไม่หมดยังต้องรับซื้อไว้เองซึ่งเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง ด้วย 
   ฟังเผินๆก็ดูมีเหตุผลดี แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียด พบว่าในการจำหน่ายสลากนั้น พ.ร.บ.สลากกินแบ่งอนุญาตให้แบ่งส่วนรายได้จากการขายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัด จำหน่ายถึงร้อยละ 12 อยู่แล้ว  ซึ่งหมายความว่าในราคาสลากที่กำหนดไว้ฉบับละ 80 บาทนั้นมีส่วนที่เตรียมไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายอยู่แล้วถึง 9.60 บาท

     และแม้ว่าผู้จำหน่ายระดับยี่ปั๊วจะต้องรับภาระสลากที่ขายไม่ออก แต่ความรู้เกี่ยวกับสถิติการจัดจำหน่ายที่ทำอยู่เป็นประจำก็น่าจะช่วยให้ยี่ ปั๊วทุกรายสามารถประมาณจำนวนที่ควรรับไปจำหน่ายได้ใกล้เคียงกับยอดที่จะขาย ได้จริงไม่น่าจะมีจำนวนที่เหลือขายมากนัก  

    ถ้าเปิดโอกาสให้มียี่ปั๊วรายใหม่เข้าไปแข่งขันเพิ่มขึ้นหรือถ้ายี่ปั๊วราย ใหญ่ที่มีอยู่เดิมแข่งกันอย่างจริงจัง ราคาสุดท้ายไม่น่าจะเพิ่มสูงขึ้นไปถึง 110 บาทดังที่เป็นอยู่ได้เลย

แต่ เป็นที่น่าเศร้าใจที่ในโลกแห่งความเป็นจริง ยี่ปั๊วรายใหญ่ไม่ได้แข่งขันกันอย่างจริงจัง มียี่ปั๊วรายใหญ่ที่สุดเป็นแกนกลางประสานประโยชน์ จัดระบบการจำหน่ายทั้งเครือข่ายและกำหนดราคาจัดจำหน่ายในขั้นต่อๆไป 

   ผมเข้าใจดีว่าผู้จัดจำหน่ายรายย่อยจะต้องมีรายได้ในการจัดจำหน่ายเพื่อใช้ จ่ายในการยังชีพ แต่เท่าที่ทราบมาผู้จัดจำหน่ายรายย่อยนั้นได้รับส่วนแบ่งรายได้ไม่มากนัก รายได้ขนาดใหญ่ตกอยู่กับยี่ปั๊วระดับแรกซึ่งเป็นผู้จัดระบบทั้งหมด  ระบบนี้มีมานานหลายสิบปีและยี่ปั๊วรายใหญ่เหล่านี้ก็ได้รับประโยชน์มานาน แล้ว

    ทำไมจึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงระบบนี้ได้ และทำไมจีงปล่อยให้ผู้ซื้อสลากซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นผู้มีรายได้ต่ำต้องรับ ภาระราคาส่วนเพิ่มที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว มาโดยตลอด  คำตอบก็คือยี่ปั๊วชุดนี้มีผู้นำที่เก่งมาก  เป็นผู้ประสานประโยชน์ที่มีความสัมพันธ์ทีดีกับนักการเมืองในพรรคขนาดใหญ่ พรรคหนึ่ง และเป็นท่อน้ำเลี้ยงที่สำคัญสำหรับพรรคการเมืองนั้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว

    ย้อนไปเมื่อกว่า 20 ปีมาแล้วเมื่อพรรคขนาดใหญ่ดังกล่าวเป็นฝ่ายค้าน พรรคการเมืองคู่แข่งที่อยู่ในรัฐบาลพยายามเปลี่ยนระบบจัดจำหน่ายให้เป็นธรรม ขึ้น   เตรียมจัดให้มีการจำหน่ายสลากกินแบ่งด้วยเครื่องแทนการจำหน่ายด้วยคนเพื่อมิ ให้มีการโก่งราคากันอีกต่อไป  จึงได้จัดให้มีการจัดซื้อเครื่องขายสลากซึ่งมีการประมูลกันอย่างนับว่า ยุติธรรมมากด้วยมีคุณสุธี อากาศฤกษ์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตของแผ่นดินเป็นประธานในการตัดสิน การประกวดราคา

     ซึ่งสรุปผลการประกวดราคาได้เสร็จตั้งแต่รัฐบาลนั้นแต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบ เครื่องขายสลากดังกล่าวก็มีการเปลี่ยนรัฐบาล และพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับยี่ปั๊วสลากรายใหญ่เข้ามา อยู่ในรัฐบาลอีก  จึงมีการถ่วงไม่ให้มีการส่งมอบเครื่องดังกล่าวต่อไปอีก

     ต่อมาเมื่อพรรคไทยรักไทยเข้าเป็นรัฐบาล พรรคขนาดใหญ่นั้นก็กลับไปเป็นฝ่ายค้านอีก กองสลากจึงดำเนินการเจรจากับบริษัทผู้ขายเครื่องจำหน่ายสลากซึ่งประกวดราคา เสร็จไว้แล้วต่อไป  จะด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ แทนที่จะเตรียมนำเครื่องนั้นไปใช้ในการจำหน่ายสลากกินแบ่ง กองสลากได้เปลี่ยนให้เตรียมนำไปใช้ในการจำหน่ายหวย 2 ตัว 3 ตัว ซึ่งเริ่มออกจำหน่ายในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย เพื่อทดแทนการจำหน่ายด้วยคนบางส่วน

     บังเอิญเรื่องหวย 2 ตัว 3 ตัวนี้ต้องชะงักลงในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ   เมื่อมาถึงรัฐบาลชุดปัจจุบันมีการรื้อฟื้นให้กองสลากเตรียมจำหน่ายหวย 2 ตัว และ 3 ตัวโดยจะให้จำหน่ายด้วยเครื่องไม่ใช้คนดังที่ทำอยู่เดิมในสมัยรัฐบาลไทยรัก ไทย 

    รัฐบาลปัจจุบันพิจารณาเรื่องนี้อยู่หลายครั้งจนในที่สุดกองสลากก็มีมติดัง กล่าวแล้ว หลายคนก็เข้าใจว่าพรรคแกนนำซึ่งรู้เรื่องความเป็นมาของการจำหน่ายสลากกิน แบ่งเป็นอย่างดี คงจะได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นที่พอใจแล้ว คงจะเห็นว่าการใช้เครื่องจำหน่ายหวย 2 ตัว 3 ตัว ไม่น่าจะมีผลกระทบระบบจำหน่ายสลากกินแบ่งที่เป็นอยู่

        แต่ยี่ปั๊วรายใหญ่ที่เป็นคนกลางมองเห็นอนาคตข้างหน้าได้อย่างทะลุปรุโปร่ง มากกว่า  โดยเห็นว่าถ้าปล่อยให้ใช้เครื่องขายหวย 2 ตัว 3 ตัว และปรากฏว่าผู้ซื้อหวยสามารถซื้อได้ตามราคาที่กองสลากกำหนดไม่ต้องจ่าย แพงกว่ามากดังเช่นในกรณีสลากกินแบ่ง  ในที่สุดผู้ซื้อสลากกินแบ่งก็อาจเรียกร้องให้มีการจำหน่ายสลากกินแบ่งด้วย เครื่องแทนระบบเดิม  ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นรัฐบาลและกองสลากก็ต้องสนองตอบต่อเสียงเรียกร้องของ ประชาชนผู้ซื้อสลาก ทุกอย่างก็จะสายเกินแก้  จึงจำเป็นต้องตัดไฟเสียแต่ต้นลมด้วยการหาทางขัดขวางไม่ให้มีการขายหวย 2 ตัว 3 ตัว ด้วยเครื่องตั้งแต่เริ่มแรก

       นี่คือที่มาของการที่นักการเมืองรุ่นใหญ่ในพรรคขนาดใหญ่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้น มาในที่ประชุมของพรรคนั้น เพื่อขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้หรือหาทางหยุดเรื่องนี้  หลังจากนั้นไม่เกิน 3 วัน นายกรัฐมนตรีก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ทั้งๆที่ทุกคนเข้าใจว่ารัฐบาล อนุญาตแล้วตามที่คณะกรรมการกองสลากลงมติ  

  มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย - หากนายกฯไม่เห็นด้วยทำไมไม่แสดงความเห็นคัดค้านตั้งแต่แรก เพราะมีช่วงเวลาที่จะคัดค้านได้หลายตอนก่อนที่กองสลากจะมีมติ - นายกฯเกรงใจใครหรือ จนถึงกับไม่กล้าดำเนินการในสิ่งที่รัฐมนตรีที่มีความสามารถหลายคนดูมาแล้ว ว่าเหมาะสม - หรือว่ากลัวว่าท่อน้ำเลี้ยงจะแห้งลง

        ถ้ากลัวเช่นนี้แล้วใครจะเชื่อว่าท่านกล้าปราบคอร์รับชั่นจริง

view