สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เส้นทางการพัฒนากาแฟที่ยั่งยืน Good Coffee Good Life

จากประชาชาติธุรกิจ




"กาแฟ ดีที่สุด เราเคยปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด แต่ก็ปลูกไม่ได้แล้ว ลิ้นจี่ที่เคยปลูกได้ก็ราคาไม่ดี ไม่มีอะไรสู้กาแฟได้" เหยื่อหยี อาเบกู่ หนึ่งในเกษตรกรชาวไร่กาแฟ บนดอยผาช้างมูบ ต.เวียงผาคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เล่าด้วยรอยยิ้มเมื่อถูกถามถึงกาแฟ ที่ปัจจุบันกลายเป็นผลผลิตหลักที่สร้าง รายได้ให้กับเธอและครอบครัว จนส่งเสียลูกหลานให้ได้เรียนหนังสือและมีชีวิตที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับชาวบ้านจำนวนมากในพื้นที่แห่งนี้ ที่มีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่ครั้งหนึ่งเคยยึดการปลูกฝิ่นเป็นรายได้หลัก

การเข้ามาทำแปลง ทดสอบและสาธิตกาแฟอราบิก้า ดอยตุง ของเนสท์เล่ บนพื้นที่กว่า80 ไร่ ตั้งแต่เมื่อ 21 ปีก่อน ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ หลังจากสมเด็จย่าได้ทรงโปรดเกล้าฯให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาดอยตุง เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาปลูกกาแฟทดแทนการปลูกฝิ่นตามแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่สร้างรายได้แก่ชาวบ้านบนพื้นที่บนดอยและเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน

จากไร่ฝิ่นสู่ไร่กาแฟ



แม้ วันนี้ "เนสท์เล่" จะไม่ได้เป็นผู้รับซื้อผลผลิตโดยตรง ด้วยเหตุที่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต "เนสกาแฟ" นั้นใช้กาแฟพันธุ์อราบิก้า แต่เพียงการรับซื้อจากผู้ซื้อทั่วไป ก็เพียงพอที่จะทำให้ชาวบ้านที่นี่มีรายได้เฉลี่ยสูงขึ้นจากเดิมนับเป็น 10 เท่า โดยมีรายได้เฉลี่ย 250,071 บาท/ครัวเรือน/ปี (ข้อมูลจากการสำรวจของโครงการพัฒนาดอยตุงปี 2551)

"นภดล ศิวะบุตร" ผู้อำนวยการ บริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า "ถ้าเปรียบเทียบกับโครงการเพื่อการพัฒนากาแฟในไทยอื่น ๆ ที่เราทำ อาทิ แปลงทดสอบและสาธิตกาแฟโรบัสต้า จังหวัดชุมพร โครงการผลิตพันธุ์ต้นกล้ากาแฟโรบัสต้าพันธุ์ดี จ.ฉะเชิงเทรา นั้น แปลงทดลองและสาธิตกาแฟอราบิก้าที่ดอยตุง จ.เชียงราย ถือว่ามีความแตกต่าง ขณะที่โครงการอื่นภายใต้แนวคิด creating shared value (CSV) (อ่านรายละเอียดใน Nestle Way to do CSR) แล้วจะเห็นว่าขณะที่เกษตรกรได้มีโอกาสพัฒนาผลผลิต ลดต้นทุนและมีรายได้ที่ดีขึ้น บริษัทได้คุณค่าในแง่ของการได้ผลผลิตที่ดี แต่ที่ดอยตุงนั้นต่างออกไป ที่นี่เป็นที่ที่เราลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเพียงเพื่อส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้าน มีชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น จึงไม่ได้หมายความว่าพอเราทำ CSV แล้วเราจะไม่ได้ทำโครงการเพื่อสังคมในลักษณะนี้ เพราะอย่างน้อยที่สุดเนสท์เล่ก็เชื่อว่าเราไปอยู่ในประเทศไหนเราต้องเป็น พลเมืองที่ดีต่อสังคมประเทศนั้น"

การพัฒนากาแฟที่ยั่งยืน

อย่าง ไรหากดูหลักปฏิบัติและแนวคิดของเนสท์เล่ภายใต้กรอบคิด creating shared value (CSV) ในการพัฒนากาแฟ ไม่เพียงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรเท่านั้นที่ถือเป็นภารกิจหลัก หากแต่ยังให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ "กาแฟ" ตั้งแต่ต้นทางจนปลายทาง ได้แก่ 1.input provider ด้วยการคัดเลือกและการขยายพันธุ์

เกษตรกร ในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ 2.trade processor การรับซื้อวัตถุดิบโดยตรงจากเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง 3.food industry ความรับผิดชอบในฐานะผู้ผลิตของเนสท์เล่ 4.trade retail การฝึกอบรมและพัฒนาคู่ค้า 5.consumer การให้ความรู้ด้านสุขภาพและโภชนาการ

"ใน ฐานะเนสท์เล่เป็นหนึ่งในผู้รับซื้อกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลก เราจึงต้องมั่นใจว่าวัตถุดิบที่มาถึงมือเราต้องผ่านกระบวนการที่ยั่งยืนและ ต้องสร้างคุณค่าให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่ธุรกิจที่จะเกิดขึ้นโดย เฉพาะเกษตรกร"

"นภดล" บอกว่า "การมุ่งมั่นในเรื่องนี้ เป็นเพราะเรามองไปข้างหน้าและเห็นสัญญาณแล้วว่าปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจะ กลายเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะปัจจุบันการเพาะปลูกกาแฟในประเทศไทยกำลังมีพื้นที่ที่ลดลง ดังนั้นบนเส้นทางในการพัฒนากาแฟที่ยั่งยืนเราจึงมองถึงการเพิ่มผลผลิตใน พื้นที่ที่เท่าเดิม เพราะไม่เพียงจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการผลิตแล้ว ในเวลาเดียวกันในฐานะผู้ผลิตก็เป็นการลดความเสี่ยงด้วย"

ซึ่งเป็น เหตุและผลที่ย้อนกลับไปถึงหลักการที่สำคัญที่สุดของ CSV ที่เป็นหลักปฏิบัติของเนสท์เล่ ในการสร้างคุณค่าสู่ผู้ถือหุ้นและสังคม ควบคู่ไปกับกลยุทธ์และการดำเนินงานทางธุรกิจ

view