จากประชาชาติธุรกิจ
ใน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อาจทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวกันอย่างรวดเร็ว ทั้งในเรื่องของการวางยุทธศาสตร์องค์กร การวางแผนกำลังคน
รวมถึงการวางแผนในเรื่องของการ ปรับเปลี่ยนโปรดักต์ และการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรในลักษณะแตกต่างกันไป
ซึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น นอกเหนือจากความคิด ของผู้บริหารระดับสูงทางหนึ่งแล้ว ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ก็ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องอยู่เคียงคู่กับผู้บริหาร
เสมือนเป็นคู่คิด คู่คุยทางธุรกิจ
ขณะ เดียวกัน พนักงานในระดับปฏิบัติต่าง ๆ ก็ต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ผู้บริหารระดับสูงวางไว้ เสมือนเป็นกฎเหล็กให้ พนักงานปฏิบัติตามไปในทิศทางเดียวกัน
บางองค์กรที่เข้มแข็งและมีความ เข้าใจในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงย่อมไม่มีปัญหา แต่บางองค์กรที่กำลังปรับตัวและกำลังเริ่มเข้าสู่กระบวนการของการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์อาจเกิดปัญหาได้
เพราะเขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำอยู่ทุกวันนี้ก็ดีอยู่แล้ว
ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง ?
ทำไมต้องทำงานหนัก ?
ทำไมต้องเข้าคอร์สฝึกอบรมสัมมนากันอย่างเอาเป็นเอาตาย ?
ท้าย ที่สุดจึงเกิดกระบวนการต่อต้านขึ้น โดยพุ่งเป้าไปที่ผู้บริหารระดับสูง ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ เพราะมองเห็นว่าต้นเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงจนทำให้ตัวเองต้องเกิดความยุ่งยาก ล้วนมาจากพวกเขาทั้งสิ้น
คำถามจึงเกิดขึ้นว่าทำไมถึงต้องเปลี่ยนแปลง ?
ทำไมจะต้องเข้าคอร์สอบรมสัมมนากันเสียหลายวัน เพราะหลังจากกลับมาทำงานตามปกติ ก็ไม่มีใครจดจำในสิ่งที่อบรมมาอยู่แล้ว
เพราะจะต้องทำงาน
และงานก็ไม่ได้มีน้อย ๆ แล้วเรื่องอะไรจะต้องมาเสียเวลากับเรื่องเหล่านี้
ผู้ เชี่ยวชาญหลายท่านในแวดวงทรัพยากรมนุษย์มองว่า เหตุการณ์อย่างนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ องค์กร ยิ่งเฉพาะองค์กรที่ไม่เคยให้ความสำคัญต่อเรื่องการอบรมสัมมนาเลย
หรือองค์กรแบบเถ้าแก่
เพราะ คิดอย่างเดียวว่า พนักงานในระดับปฏิบัติเป็นผู้ใช้แรงงาน และงานที่ทำอยู่ก็ล้วนเป็นการฝึกทักษะอย่างหนึ่ง ยิ่งฝึกทักษะมาก ก็ยิ่งมีความเชี่ยวชาญมาก
อีกอย่างองค์กรเหล่านี้ต่างมองผลกำไรเป็นผลสำเร็จ
ไม่ได้มองอย่างยั่งยืน
และ ไม่ได้มองอย่างการสร้างองค์กรให้เกิดความเป็นเลิศ หรือเป็นองค์กรแห่งความสุขแต่อย่างใด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเป็นยาขมสำหรับเขา
เพราะเขาไม่อยากรับประทาน
เขา ชินแต่การรับประทานในสิ่งที่เคยชิน ดังนั้นเมื่อหยิบยื่นในสิ่งที่ไม่เคยชิน เขาจึงพยายามที่จะบ้วนทิ้ง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงก็เช่นเดียวกัน
ในท้ายที่สุดจึงมีคนบางคน เลือกที่จะลาออกไปจากบริษัท เพราะมองเห็นแล้วว่า ขืนอยู่ไปก็จะอยู่แบบกล้ำกลืนฝืนทน ฉะนั้นต่อปัญหานี้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทรัพยากรมนุษย์จึงมองว่ามีหลายสาเหตุ
สาเหตุ หนึ่ง ผู้บริหารจะต้องสื่อสารกับพนักงานระดับปฏิบัติทั้งหมดอย่างเข้าใจและไปในทิศ ทางเดียวกัน เพราะการสื่อสารสามารถสร้างความเข้าใจในระดับหนึ่งได้
ขณะ เดียวกัน การสื่อสารก็สามารถสร้างความสับสนได้เช่นกัน ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงจึงต้องพูดทุกอย่างด้วยความจริงใจ และโน้มให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นล้วนเป็นการเปลี่ยน แปลงอย่างสร้างสรรค์
อีกสาเหตุหนึ่ง ผู้บริหารระดับสูงจะต้องชี้แจงให้พนักงานเห็นว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้พนักงานทุกคนทำงานอย่างมี ความสุข และทำงานอย่างสร้างสรรค์
ทั้งการเปลี่ยนแปลงยังมีส่วนช่วยทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืนในอนาคตด้วย
เพราะ ดั่งที่ทราบ หลายองค์กรในปัจจุบันค่อนข้างให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้ง นั้น เพราะเขามองเห็นแล้วว่าการแข่งขันที่ตัวเลขและ ผลกำไรเป็นการแข่งขันที่ไม่ยั่งยืน
ขณะเดียวกัน การแข่งขันทางเทคโนโลยีก็เป็นการแข่งขันเพื่อสร้างความทันสมัยเท่านั้น แต่การแข่งขันเรื่องคนเป็นสิ่งที่ยากและท้าทายเป็นอย่างมาก
ฉะนั้น ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า การลงทุนในเรื่องของการพัฒนาคนนั้น นอกจากจะเป็นการลงทุนในระยะยาว ยังเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กรด้วย
ด้วยเหตุนี้ หลาย ๆ องค์กรจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะสรรหาคนกันตามมหาวิทยาลัยเลย เสมือนเป็นการคัดเลือกคนเก่งคนดีให้มาฝึกงานในองค์กรเสียก่อน
ต่อจากนั้นจึงใช้กระบวนการในการ ฝึกอบรมคัดเลือกเพื่อให้เขาเข้ามาอยู่ในองค์กรอีกที
ดัง นั้น องค์กรเหล่านี้จึงไม่เพียงได้หัวกะทิมาอยู่กับองค์กร หากยังได้คนเก่ง คนดีมาเสริมทัพ จนทำให้องค์กรเกิดการ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
แต่ สำหรับองค์กรขนาดเล็ก หรือองค์กรที่ไม่ใหญ่เกินไปนัก ก็ใช่ว่าจะทำเช่นนั้น ไม่ได้ เพราะกระบวนการในการคัดสรรคนเพื่อมาทำงานกับองค์กร สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่รับสมัครพนักงาน
ยิ่งถ้าเรากำหนดมาตรฐานในการ คัดเลือกพนักงานให้อยู่ในระดับ A+ หรือ B+ เราจะย่อมได้คนเก่ง คนดีในระดับนั้นมา อยู่กับองค์กร
ยิ่ง ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ล้วนได้เปรียบ เนื่องจากบัณฑิตใหม่จบออกมา ค่อนข้างมาก ดังนั้นในตลาดแรงงานจึงมีอยู่ค่อนข้างมาก จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้องค์กรเหล่านั้นมีสิทธิเลือกพนักงาน ที่ดีได้เป็นจำนวนมากเช่นกัน
แต่อย่างที่บอก เมื่อพนักงานเหล่านั้นเข้ามาอยู่กับองค์กรแล้วก็ควรที่จะพัฒนาเขาเหล่านั้นให้เป็นไปในทิศทางที่องค์กรต้องการด้วย
เท่านั้นจะทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่องค์กรวางยุทธศาสตร์สัมฤทธิผล
หรือ ถ้าจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ควรเริ่มต้นจากเลือดใหม่เหล่านี้ เพราะเขาเหล่านั้นย่อมทราบดีว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น
เว้นแต่พวกเลือดเก่าเท่านั้นที่มองไม่เห็น
แต่ กระนั้นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องมีความจริงใจ มีความเป็นธรรม ให้โอกาส และต้องมีลางบอกเหตุด้วยว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นจริง ๆ
เพราะผลสัมฤทธิ์ ที่รออยู่ข้างหน้า จะเป็นคำตอบที่ดีดกลับมาที่ผู้บริหารระดับสูงอีกทีว่า สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูง หรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องการที่จะทำนั้น ล้วนเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อองค์กรจริง ๆ
ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อตัวเองและพวกพ้องไม่
เท่านั้นจะทำให้ทุกคนเชื่อฟังอย่างไม่อยากเย็น
ขณะ เดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นคำตอบในคำถามของตัวเองที่จะทำให้พนักงานทุก คนรู้ด้วยตัวเองว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อพวกเขาจริง ๆ
เท่านั้นทุกอย่างจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลวัตเอง
โดยมีตัวเราเป็นผู้ยืนชมความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงนั้น
ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปเลย ?