สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กำกับดูแลกิจการ ธุรกิจครอบครัว (ต่อ)

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์:


ในสองตอนที่แล้ว ผมนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้ง 15 ข้อ ที่มีการส่งเสริมให้บริษัท จดทะเบียนได้ปฏิบัติมาแล้ว 10 ข้อ
โดยในข้อ 10.กำหนดค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารให้เหมาะสมต่อหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยกำหนดวิธีการอนุมัติ ค่าตอบแทนที่เหมาะสมรัดกุมด้วย

หลักเกณฑ์นี้เป็นข้อที่มีความสำคัญกับธุรกิจครอบครัวอีกเช่นกัน เพราะธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ก็จะเกิดข้อขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของสมาชิกใน ครอบครัวที่เป็นกรรมการและผู้บริหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นบุคคลที่ 7 ที่อยู่ในวงกลม 3 วง มีสถานะที่เป็นทั้งผู้ถือหุ้น สมาชิกในครอบครัว และเป็นผู้บริหารก็จะมีปัญหามากที่สุด) ดังนั้น การกำหนดผลตอบแทนที่เป็นธรรมและชัดเจน ก็จะช่วยขจัดข้อพิพาทของสมาชิกในครอบครัวในอนาคตได้ วันนี้เราดูในเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่เหลือกันต่อนะครับ

ข้อ 11.กำหนดการประชุมคณะกรรมการไว้ล่วงหน้า จัดเวลาการประชุมให้เพียงพอ และเปิดเผยการเข้า หรือขาดประชุมของกรรมการแต่ละท่านไว้ในรายงานประจำปีด้วย

เรื่องนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทธุรกิจครอบครัวสมาชิกในครอบ ครัวเท่าใดนัก แต่ถ้าหากมีสมาชิกในครอบครัวจำนวนมาก การกำหนดเช่นนี้ก็อาจจะเป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน และเพื่อ ให้สมาชิกในครอบครัวรู้ว่าคณะกรรมการคนใดเข้าประชุมหรือไม่ เพื่อจะได้รู้ว่าเขาจะเลือกสมาชิกครอบครัวคนนั้นเข้ามาเป็นกรรมการอีกหรือ ไม่

ข้อ 12.กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เพื่อกลั่นกรองงานให้คณะกรรมการ โดยเฉพาะควรมีคณะอนุกรรมการตรวจสอบและอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทน

สิ่งนี้ก็ค่อนข้างจะมีประโยชน์ต่อธุรกิจครอบครัว เพราะจะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมและมีประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะครอบครัวขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ควรมีการให้บุคคลภายนอกที่เป็นที่ปรึกษาของธุรกิจครอบครัวหรือลูกจ้างระดับ บริหารมาช่วยดูแลกิจการของธุรกิจครอบครัว ในทำนองเดียวกับบริษัทที่จดทะเบียนก็จะเป็นประโยชน์ เพราะจะได้มีการฝึกอบรมบรรดาลูกหลานของสมาชิกในครอบครัวต่อไปด้วย

ข้อ 13.จัดให้มีระบบควบคุมและการตรวจสอบภายใน เพื่อเสริมการกำกับดูแลกิจการ ป้องกันความเสี่ยงโดยการบริหารความเสี่ยง เพราะการบริหารความเสี่ยงสามารถสร้างมูลค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสีย และลดโอกาสที่ความเสี่ยงจะส่งผลกระทบทางลบกับบริษัทในองค์กรธุรกิจครอบครัว ของไทยที่ต้องสูญหายไป ก็เพราะขาดการบริหารความเสี่ยงนั่นเอง โดยเฉพาะวิกฤตปี 2540 เราจะเห็นบริษัทธุรกิจครอบครัวหายไปมาก และให้ความสำคัญกับรายการผิดปกติและสัญญาณเตือนภัยที่อาจเกิดขึ้น

ข้อนี้ก็มีความสำคัญกับธุรกิจครอบครัวมาก ที่จะต้องมีระบบและมีการตรวจสอบภายใน และป้องกันความเสี่ยงโดยการบริหารความเสี่ยง ธุรกิจครอบครัวขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จะต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงเช่นเดียวกับบริษัทจดทะเบียน เพราะธุรกิจครอบครัวที่ต้องล่มสลายก็เพราะขาดการบริหารความเสี่ยงที่ดีนั่น เอง (รายละเอียดดู สุลักษมณ์ ภัทรธรรมมาศ บทที่ 10 การบริหารความเสี่ยง อ้างแล้ว, หน้า 282-311)

ข้อ 14.จัดให้มีการรายงานของคณะกรรมการ ระบุถึงความรับผิดชอบของคณะกรรมการในการจัดทำรายงานทางการเงินโดยแสดงไว้ใน รายงานประจำปีการดำเนินการด้วย

หลักการนี้ก็อาจจะไม่จำเป็นมากนักสำหรับบริษัทธุรกิจครอบครัว แต่ถ้าจะมีการจัดทำก็จะเป็นประโยชน์ เฉพาะกรณีที่มีสมาชิกในครอบครัวขนาดใหญ่และอาจจะเป็นการทำภายในเพื่อการ ประเมินผลงานของฝ่ายจัดการหรือคณะกรรมการก็ได้ และยังเปิดโอกาสและให้มีการสอบทาน

15.ดูแลให้มั่นใจว่าบริษัทเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญของ บริษัทอย่างถูกต้อง ตรงเวลา และโปร่งใส โดยควรจัดให้มีผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับ “ผู้ลงทุนสัมพันธ์” (Investor Relations)

หลักการนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัวเลย ถ้าหากบริษัทไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่อาจมีประโยชน์สำหรับครอบครัวใหญ่ที่ต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลการสื่อสารกับ สมาชิกในครอบครัว

บทสรุป

ผมจึงเห็นว่าหลัก 15 ประการของการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน ที่จะนำมาใช้ประยุกต์กับธุรกิจครอบครัวเพื่อจะให้ธุรกิจครอบครัวนั้นสามารถ พัฒนาได้อย่างยั่งยืน ส่วนธุรกิจครอบครัวใดจะใช้ได้แค่ไหนเพียงไรนั้น สมาชิกในครอบครัวจะต้องมีการพูดจาหารือกัน แต่อย่างน้อยสมาชิกในครอบครัวต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องดังกล่าวเสียก่อน เพราะผู้ที่จะทำให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีก็คือ คณะกรรมการผู้ถือหุ้นของบริษัทธุรกิจครอบครัวเอง ดังนั้น การเรียนรู้หลักการดังกล่าวไว้วันนี้ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจของครอบ ครัวในอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัย และหากเมื่อใดบริษัทครอบครัวนั้นจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การเรียนรู้และการปฏิบัติตามในหลักการดังกล่าวจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เรื่องนี้เป็นเรื่องดีที่ไม่ควรลืมเพราะนอกเหนือจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ แก่ธุรกิจแล้ว การขจัดข้อพิพาทและการลดความเสี่ยงย่อมทำให้ธุรกิจมีความเจริญเติบโตได้ อย่างยั่งยืนต่อไป

view