จากประชาชาติธุรกิจ
การดำรงอยู่มาได้ตลอด 29 ปี นั้นมิใช่เรื่องง่าย ทั้งการแตกแขนงต่อยอดนั้นก็ยากยิ่งในการทำธุรกิจ แต่เกรย์ฮาวน์ผ่านมาได้ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ เจาะลึกปรัชญา 4 ข้อ ที่เปรียบเสมือนแนวทางที่ผู้บริหารเกรย์ฮาวน์สร้างและพัฒนาสืบเรื่อยมาจน เป็นขุมทรัพย์แห่งองค์กรที่มีแนวทางเฉพาะตัว ไม่ซ้ำใคร ซึ่งเป็นคุณค่าจากความแตกต่างที่พวกเขาสร้างขึ้นเรื่อยมา
1.When you reach for the star, you may not quite get one, but you will not come with a hand full of mud either."
2.When you deliver the best, the business will take care of itself."
ตลอดระยะเวลา 25 ปี ที่เป็นลูกจ้างในบริษัท ลีโอ เบอร์เน็ต ซึ่งมีสาขาใน 55 ประเทศทั่วโลก เป็นเอเจนซี่อันดับ 1 ในประเทศไทย ภาณุ อิงคะทัต ครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ บริษัท เกรย์ฮาวน์ จำกัด ทั้งเป็น 1 ใน 4 ผู้ก่อตั้งแบรนด์เสื้อผ้าไทยแบรนด์นี้ ได้จดจำคำกล่าวอันเฉียบคมที่คอยปลูกฝังและผลักดันให้คนทุกคนในองค์กรก้าว เดินไปพร้อมกัน ด้วยนัยยะสำคัญเดียว จนเมื่อลาออกมาทำธุรกิจของตัวเองอย่างเต็มตัว คำกล่าวนั้นก็เป็นเสมือนแรงบันดาลใจให้เขาสร้างสรรค์ปรัชญาใหม่ๆ ขององค์กรของตัวเอง
เกรย์ฮาวน์ถือกำเนิดเมื่อ 29 ปีที่แล้ว พร้อมหุ้นส่วน 4 คน เงินทุนคนละประมาณ 250,000 บาท ภาณูเล่าว่า ทั้งหมดไม่มีใครจบแฟชั่นดีไซน์ ตัวเขาเองจบกราฟฟิคดีไซน์ คนหนึ่งจบครู คนนึงจบโฮมอีโคโนมี อีกคนจบด้านเลขาฯ แต่ทุกคนล้วนมีสิ่งที่เหมือนกัน คือชอบแฟชั่น ชอบการแต่งตัว และที่สำคัญอยากทำอะไรร่วมกัน ซึ่งผลลัพธ์ก็คือธุรกิจร้านเสื้อผ้าแบรนด์เกรย์ฮาวน์
การเดินทางครั้งแรกเกิดขึ้นที่ สยามเซ็นเตอร์ ห้องขนาด 50 ตารางเมตร เริ่มด้วยขายเสื้อผ้าผู้ชายเพียงอย่างเดียว แนวแรกที่ทำคือ street casual chic เรียบ เท่ ง่าย ซึ่งนับว่าโชคดีที่เวลานั้นตลาดเสื้อผ้าเต็มไปด้วยช่องว่าง มีแบรนด์ไม่กี่ชื่อ ทั้งยังเป็น conservative แนวทางแรกที่เปี่ยมไปด้วยความทันสมัย ก็ได้รับการตอบรับจากเด็กวัยรุ่นสมัยนั้นมาก ภายในปีเดียว ผู้ก่อตั้งทั้ง 4 คนก็ได้เงินทุนคืน
ภาณุทำธุรกิจร้านเสื้อผ้าคล้ายงานอดิเรก ที่เป็นโอกาสได้เป็นเถ้าแก่ไปพร้อมๆ กับการเป็นลูกจ้าง เพราะยังคงทำงานประจำอยู่ที่เอเจนซี่ โดยภาณุบอกว่า การเป็นเถ้าแก่ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา ต้องผลักดันตัวเอง ขณะเดียวกันเราก็ต้องผลักดันคนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นก็มีความแตกต่างไป แต่ก็สนุก เพราะการเป็นเจ้าของนั้น ได้คิดได้ทำตามใจ
ปัจจุบันเกรย์ฮาวน์มีแบรนด์หลักๆ Greyhound, Playhound, Hound and Friends, Greyhound Cafe โดยมี 10 กว่าร้านในกรุงเทพฯ นอกเหนือจากนั้นก็มีบายเออร์ซึ่งเป็น Multi-Brand Store เอาหลายๆ แบรนด์มารวมกันคล้ายๆ คลับ 21
การดำรงอยู่มาได้ตลอด 29 ปี นั้นมิใช่เรื่องง่าย ทั้งการแตกแขนงต่อยอดนั้นก็ยากยิ่งในการทำธุรกิจ แต่เกรย์ฮาวน์ผ่านมาได้ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ เจาะลึกปรัชญา 4 ข้อ ที่เปรียบเสมือนแนวทางที่ผู้บริหารเกรย์ฮาวน์สร้างและพัฒนาสืบเรื่อยมาจน เป็นขุมทรัพย์แห่งองค์กรที่มีแนวทางเฉพาะตัว ไม่ซ้ำใคร เหมือนกับสินค้าต่างๆ ของพวกเขา
1. Stay small
ฟังดูเหมือนแบรนด์เราใหญ่ แต่ความจริงก็ยังค่อนข้างเล็กอยู่ ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนา อันนี้ก็อาจเป็นปรัชญาของเรา เราอยากเป็นบริษัทเล็กเสมอ สิ่งที่เราชอบก็เพราะ ทำงานกันง่าย ขั้นตอนน้อย พูดกันใกล้ๆ ไม่ต้องข้ามไปมา หรือวันที่เราตัดสินใจว่าจะเป็นร้านอาหาร เราเลือกที่จะแยกออกมา เพื่อจะเกิดความคล่องตัว ชัดเจน แล้วก็ทำให้แต่ละบริษัทกลายเป็นบริษัทเล็ก
เสื้อผ้าต่อให้มาอยู่รวม ก็พยายามแบ่งให้มันชัดเจน มี 3 ทีม แต่ละทีมเรียกว่า แบรนด์ทีม ประกอบด้วย ดีไซเนอร์ โปรดักชั่นทีม เมอร์แชนไดเซอร์ ช็อปออปเปอร์เรชั่น แต่ละทีมก็จะรู้รายละเอียดลึกซึ่งทั้งหมด ทั้งปัญหา คอมเมนต์ต่างๆ
อย่างบริษัท เล็กอื่นๆ มักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ เดินนำไปด้วยตัวคนเดียว อาจเกิดช่องโหว่ มีคนบอกว่า กองทัพ จะไปได้ถึงไหน ขึ้นกับหางแถว ถ้าหางแถวอยู่ไม่ได้ กองทัพก็จะอยู่ไม่ได้ มันจำเป็นที่คนทั้งหมดจะต้องแชร์ทั้งหมดได้เท่าเทียมกัน มันถึงจะเกิดการเดินหน้าไปอย่างสอดคล้อง
2. Basic with a Twist
เราชอบอะไรง่ายๆ ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา แอบมีแตกต่าง ลูกเล่นซ่อนอยู่ในรายละเอียด นั่นคือสิ่งที่เราชอบ ผมตัดแพทเทินเสื้อไม่เป็น แต่โชคดีที่ผมผ่านเอเจนซี่ ที่ซึ่งสอนให้มองแบรนด์ใหม่ เราไม่ใช่พี่ไข่ ต้องมาถามตัวเอง สิ่งที่เราเป็นดีที่สุดคือ เรานำเสนอสไตล์ นำเสนอดีไซน์ ซึ่งเรียกว่า สไตล์แบบเกรย์ฮาวน์ เรารวมสไตล์ที่ชอบ ร้านอาหารก็ใช้สไตล์ เป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ นำเสนอการใช้ชีวิตแบบเกรย์ฮาวน์ ซึ่งก็เปิดกว้างความเป็นตัวเรามากขึ้น และสามารถขยายตัวต่อไป วันข้างหน้าอาจมีเครื่องสำอาง ของแต่งบ้านเกรย์ฮาวน์ ขึ้นกับความพร้อมเท่านั้น
ตัวอย่าง เสื้อขาวตัวหนึ่ง ถ้าเป็นเกรย์ฮาวน์ต้องมีลูกเล่น เราก็เอาสองตัวมาผสมกัน กลายเป็นเลเยอร์แปลก, สเว็ตเตอร์ ใส่ได้สองแบบ ธรรมดา ตีลังกา ก็เป็นอีกวิธีที่สร้างความแตกต่าง, กระโปรงพรีส ก็นำมาซ้อนกัน เฉียงไป เกิดโทนแปลกๆ หรือเพลย์ฮาวน์ ซึ่งทำชุดที่เด็กกว่า รุ่นกว่า ยืนอยู่บนคอนเซ็ปต์ Experimental Art ก็เป็นอะไรที่ดูท้าทาย ทดลอง เช่นเสื้อก็เอากระดาษมาเย็บลงไป ทุกครั้งที่ซักจะได้เสื้อใหม่ ก็เป็นสิ่งที่เล่นกับลูกค้า, การเอากระดาษมาเย็บที่กระเป๋า ซักที่ก็เปลี่ยนรูปแบบไป ได้ความสนุก, สเว็ตเตอร์ ที่เป็นกระเป๋า คาดเอวได้ สะพายได้, กระเป๋าสตางค์ ที่รูปร่างเป็นกางเกงใน อย่างที่บอก สนุกไปกับแบรนด์
เมื่อ 10 ปีก่อน เปิดร้านอาหาร ไม่มีใครรู้อะไรเลย ก็เรียนรู้จากประสบการณ์ สิ่งที่ง่ายที่สุด กลับไปดูเสื้อผ้า ก็ได้ Basic with a Twist แล้วก็มาประยุกต์ลงไป แล้วก็มาดูว่าชอบกินชอบอยู่ยังไง เราสนุกกับการเดินทาง เรื่องราวที่ผ่านมา ชีวิตที่เติบโต การเลี้ยงดู เรื่องเล็กน้อยที่เราใส่ไปในร้านอาหาร อย่างสลัดน้ำพริกปลาทู อันนี้เป็นตัวอย่างที่ มันสนุกดี ผมก็จำมาตลอดครั้งที่ยายใส่ข้าว ผัก น้ำพริก แล้วก็คลุกๆ มาให้ในจานเดียว ซึ่งสิ่งนี้ก็ตรงกับร้าน กับชีวิตที่ต้องเร็ว ง่าย ปลาแซลมอนแช่น้ำปลา วันหนึ่งมีเพื่อนมาทานแซลมอนที่บ้าน แล้วขอน้ำจิ้มพริกตำ เพราะอยากได้รสจัดจ้าน ก็หยิบมาเป็นจานนี้ ซึ่งตรงกับฟิวชั่นฟู้ดที่กำลังมาแรง ทับทิมกรอบ ของร้านก็ไม่ธรรมดา เอาน้ำมะพร้าวอ่อนไปแช่แข็งแล้ว แล้วก็เอาน้ำแข็งจากน้ำมะพร้าวอ่อนมาใส่ บนทัมทิม ราดกะทิ เอาเนื้อมะพร้าวอ่อนใส่ด้วย ทานทุกคำก็เจอน้ำมะพร้าวอ่อน แปลก สนุก ได้ทดลอง และไม่ยากจนเกินไปในการเข้าใจ
ถ้าจะเป็นจิตวิญญาณของแบรนด์ จะต้องมีอยู่ในทุกอณู แม้การเขียนคำพูดในเมนู ก็จำเป็นต้องหาแง่มุมที่จะสะท้อนมันออกมาให้ได้ ถ้าใครเคยไปทานอาหารที่ร้านเรา ก็จะรู้ว่า ในเมนูเรามีเรื่องราวให้ได้อ่าน เกร็ดต่างๆ มากมาย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งระหว่างรอ ได้สนุกไปกับเรา หรือการตบแต่งร้านที่เอ็มโพเรียม ข้างหลังกำแพง จะเหมือนแผนที่ จากที่เป็นชื่อประเทศ ของเราจะเป็นชื่ออาหารที่เราได้รับจากประสบการณ์ อย่างสปาเก็ตตี้ปลาเค็ม ก็จะไปอยู่ที่อิตาลี เพราะผมเคยไปทานสปาเก็ตตี้ วิปแอนด์โชวี่ ซึ่งเป็นปลาเค็มของอิตาลีที่นั่น ก็เอามาดัดแปลง เกิดเป็นเมนูใหม่ แล้วบรรยากาศร้านก็สะท้อนความเป็น Basic with a Twist และแทนที่ร้านจะออกมาเป็นร้านเสื้อผ้า ก็ออกแบบเป็นอพาร์ทเมนต์ ห้องนั่งเล่น ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสาร ห้องโชว์ก็ทำให้พิเศษขึ้น เอาศิลปะมาผสม สร้างเนื้อหา ทั้งหมดค่อยๆ เกิดเป็นความคุ้นชิน การตอกย้ำก็เป็นบุคลิกของแบรนด์ โดยคนที่มีบุคลิกเดียวกัน ก็ดูดคนประเภทเดียวกันเข้ามา เกิดสายสัมพันธ์ แล้วงานเราก็ไม่ยาก เพราะเรารู้ว่าลูกค้าที่เป็นเพื่อนเราชอบอะไร มันชัดเจนขึ้น สิ่งที่ทำอยู่ คือการได้เติมคุณค่าให้กับแบรนด์ หรือ Value-added มันเป็นสิ่งที่แบรนด์มากมายพยายามทำอยู่ คือไม่เป็นแบรนด์เสื้อผ้าธรรมดา ต้องเพิ่มอะไรบางอย่าง ไม่เป็นแบรนด์อาหารธรรมดา ต้องเพิ่มอะไรบางอย่าง เพียงแต่เราจะหยิบแง่มุมไหนมาสร้างคุณค่าเพิ่มเติม และกระแสยุคใหม่ ก็มีศัพท์ใหม่ขึ้นมา Massclusivity คือวันนี้ลูกค้าเป็นพระเจ้า ที่ต้องการของดีในราคาถูก ปัญหาจึงตกหนักที่ผู้ผลิต ที่สำคัญ มีคนทำได้ ลูกค้าแฮปปี้ ผู้ผลิตคนอื่นมีปัญหาเช่นเรา ก็ต้องตาม ต้องทำให้ได้ แบรนด์ซารา เป็นผู้บุกเบิกเลย ภาพลักษณ์ดี ราคาถูก กลายเป็นกระแสใหม่ไปเลย กับเราเป็นมดตัวเล็ก ถ้าเราต้องการอยู่ ก็ต้องเปลี่ยน แต่คุณค่าของเรา อาจไม่เกี่ยวกับราคา แต่เป็นอย่างอื่น มันมีเหตุผลที่ทำให้ลูกค้ายอมจ่าย เราต้องหาวิธีสร้างคุณค่าเหล่านั้นขึ้นมา
3. Forever young
เราอยู่ในเทรนด์ เราแก่ไม่ได้ เคยมีคนมาบ่นว่า "เมื่อก่อนเคยเป็นลูกค้ามาตั้งแต่ เกรย์ฮาวน์ เปิดร้าน มาบ่นว่าทำไมเสื้อผ้าวัยรุ่นมาก ใส่ไม่ได้แล้ว" ก็แอบคิดในใจ คุณสิเปลี่ยนไป แก่ลง อ้วนขึ้น เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ความสำเร็จมาพร้อมเงินในธนาคารและเส้นรอบวงเอวที่มากขึ้น ลูกค้าเหล่านั้นก็ผลัดไป สิ่งที่ต้องคำนึงคือ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าใหม่เข้ามา
การผ่านมาได้ 29 ปี นับว่าเราผ่านพ้นการเป็นแบรนด์ตกยุค ความพยายามรักษาดูแลตัวเองทำให้ผ่านจุดนั้นมาได้ วิธีการทำได้สองอย่าง 1. ตัวเราเอง ต้องขวนขวายให้ทันต่อยุค ต่อสมัย ผลักดันตัวเองเสมอ 2. เอาเลือดใหม่เข้ามา บริษัทจำเป็นต้องเปิดโอกาสรับคนรุ่นใหม่ที่จะมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และคนรุ่นเก่าเองก็จะเกาะกุมจิตวิญญาณแบรนด์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำ 4.The right team
ไม่มีใครทำงานคนเดียว ต้องมีทีมที่พูดจาภาษาเดียวกัน รู้เรื่อง ชอบคล้ายๆ กัน เชื่อว่าทุกองค์กร จะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่รู้หรือไหมว่า ภายใต้ความเชี่ยวชาญของแต่ละคน ยังมีความสามารถบางอย่างซุกซ่อนอยู่ อธิบายผ่านการประกอบร่างทีมจากทฤษฎีไอซ์ เบิร์ก
ถ้ามองจากสิ่งที่เห็น คุณจบบัญชีก็มีความสามารถทางบัญชี เป็นนักบัญชี นี่คือสิ่งที่เป็นภูเขาน้ำแข็งส่วนที่อยู่เหนือนำทะเล แต่ที่จริงข้างใต้ภูเขาน้ำแข็ง ในมหาสมุทร มีคุณลักษณะนอกเหนือจากสิ่งที่อยู่ข้างบนซุกซ่อนอยู่ ทั้ง Social Role, Self-image, Trait, Motive ซึ่งบอกได้ทุกอย่าง ทั้งนิสัยใจคอ ชอบทำงานคนเดียว หรือทีม แสดงออกถึงเป็นความเป็นตัวตน ซึ่งจำเป็นต้องลงลึก หยิบมาพิจารณา เพราะรวมหน้าที่ความรับผิดชอบด้านสังคมขององค์กร ที่ๆ รวมกัน ฉะนั้นต้องมีสังคมที่น่าอยู่ แต่บางครั้ง คนสัมภาษณ์มักลืมว่ากำลังมองหาอะไร เราต้องรู้ทุกอย่าง