จากประชาชาติธุรกิจ
ไม่ บ่อยครั้งนักที่ "พิเชียร คูสมิทธิ์" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด จะมานั่งคุยเรื่องปรัชญาการบริหาร
ทั้ง นี้เพราะบทบาทปัจจุบัน นอกจากจะต้องบริหารและดูแลทางด้านทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด เขายังจะต้องเป็นที่ปรึกษาของบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อดูแลการจัดจำหน่าย การบริหารจัดการ และกิจกรรมทางการตลาด รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในเครืออีกมากมาย
ผล เช่นนี้จึงทำให้หลากเรื่องที่ปรากฏผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงค่อนข้างเกี่ยวกับเรื่องของยอดขาย ผลกำไร หรือโปรดักต์ใหม่ ๆ รวมทั้งทิศทางในการขยายการลงทุนของโรงงานในที่ต่าง ๆ
สำหรับครั้งนี้ "พิเชียร" จะมาให้สัมภาษณ์ในแง่มุมที่แตกต่าง โดยเขาเริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2503 และในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้จะมีอายุครบ 50 ปี
"บริษัทแม่อยู่ ญี่ปุ่น และในปี 2553 จะอายุครบ 100 ปีเช่นกัน ส่วนอายิโนะโมะโต๊ะ ประเทศไทย เรามีทั้งหมด 18 บริษัทในเครือ มีพนักงานทั้งสิ้นกว่า 5,000 คน และมีสาขาอยู่ 21 ประเทศทั่วโลก"
"พิเชียร" จึงมองว่าการที่องค์กรจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ นอกจากผู้บริหารจะต้องมีความศรัทธาในเรื่องคนของตัวเอง ยังจะต้องมีความศรัทธาต่อการทำงานด้วย
เหมือนอย่างที่เขาเชื่อ "เล่าจื๊อ" ปราชญ์เมธีของจีน ที่มีความเชื่อในสรรพสิ่ง 3 อย่าง ที่จะทำให้ทุกอย่างหลอมรวมจนกลายเป็นหนึ่งเดียวได้ คือ
หนึ่ง ฟ้า
สอง ดิน
สาม คน
โดย ในความเชื่อเรื่อง "ฟ้า" นั้น "พิเชียร" อธิบายมุมมองต่อเรื่องนี้ว่า ฟ้านั้นกอปรด้วยหลายสิ่งหลายอย่างประกอบกัน และฟ้านั้นบางครั้งต้องเจอลมพายุ เมฆฝน และเมฆหมอก ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมอะไร ไม่ได้ แต่กระนั้นในท่ามกลางการควบคุมที่แตกต่าง เราก็ยังพอคาดคะเนได้บ้างว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ส่วน "ดิน" เปรียบเสมือนธรรมชาติที่ทำให้เกิดสรรพสิ่งขึ้นมาบนโลก พื้นดิน บางครั้งอาจเรียบ หรือบางครั้งอาจขรุขระ มีหลุมมีบ่อบ้าง แต่พื้นดินก็เป็นต้นตอของทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้
ขณะที่ "คน" เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้
"เล่า จื๊อ" บอกว่าถ้าใครครอบครองสรรพสิ่งทั้ง 3 อย่างนี้ได้ถือว่าสุดยอด เพราะสรรพสิ่งทั้ง 3 อย่างล้วนเป็นต้นตอของการมีอยู่และเป็นอยู่ต่อไปของอนาคต
"ในแง่ ธุรกิจก็เช่นกัน เราต้องยอมรับว่าการทำธุรกิจนั้นย่อมมีคู่แข่ง และคู่แข่งแต่ละรายล้วนต้องการส่วนแบ่งทางการตลาด ฉะนั้นในแง่ของการทำธุรกิจ เราต้องรู้ว่าเรากำลังแข่งขันกับใคร และเขามีสรรพกำลังมากกว่าเราหรือไม่"
"ที่สำคัญเราจะต้องมีความแตก ต่าง และต้องรู้ด้วยว่าในสรรพกำลังที่เรามีนั้นจะสามารถสู้กับคู่แข่งได้หรือไม่ ที่สำคัญเราต้องรู้ด้วยว่าสิ่งไหนที่ควบคุมได้ และสิ่งไหนที่ควบคุมไม่ได้"
"ใน แง่การบริหารก็เช่นกัน เราต้องฝึกหัดตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะควบคุมสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ หรือถ้าพูดตามหลักปรัชญาของซุนหวู่ก็ต้องพูดว่า จุดเริ่มต้นคือความว่างเปล่า หรือเต๋า ฉะนั้นเราในฐานะนักบริหารจึงต้องรู้ว่า เป้าหมายของการทำธุรกิจอยู่ตรงไหน พูดง่าย ๆ คือต้องมีความชัดเจน ไม่ใช่คิดคนละอย่าง"
ฉะนั้นในมุมมอง ต่อเรื่องนักบริหาร "พิเชียร" จึงเปรียบเสมือน "แม่ทัพ" ที่จำเป็นจะต้องรู้ว่าจะต้องเลือกใครเข้ามาเป็นขุนพล ก็เหมือนกับการเลือกพนักงานเข้ามาปฏิบัติงาน เขาต้องถึงพร้อมต่อการทำงานทุกรูปแบบ
นอกจากนั้น "พิเชียร" ยังกำหนดคุณสมบัติของ "ขุนพล" ที่จะเข้ามาร่วมงานของบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ที่จะต้องมี 5 องค์ประกอบคือ
หนึ่ง คนก่ง
สอง คนดี
สาม มีความเมตตาธรรม
สี่ มีความกล้า
ห้า มีระเบียบวินัย
ทั้ง นี้เพราะองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ ต่างล้อและสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย เหมือนกับองค์ประกอบหนึ่งที่ "พิเชียร" ยกตัวอย่าง คือเรื่องการหาคนเก่ง+คนดี โดยเขาเปรียบเทียบให้ฟังว่า การที่จะหาคนเก่ง+คนดีได้ ผู้บริหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน
เพราะ นอกจากจะทำให้เรารับรู้ทั้งความคิดและมุมมอง บางครั้งยังทำให้เรารับรู้ถึงอารมณ์ ความรู้สึก และความคาดหวังต่องานที่เขาจะทำต่อไปในอนาคตด้วย
ที่สำคัญผู้บริหารจะต้องหัดเป็นคนช่างสังเกตด้วย !
"เรื่อง การสังเกตนั้น ผมยกตัวอย่างให้ฟังถึงเรื่องการเลี้ยงกล้วยไม้ ซึ่งบางคนอาจมองว่าการเลี้ยงกล้วยไม้นั้นยาก แต่สำหรับผม ผมว่าเลี้ยงง่าย แถมผมยังคุยกับกล้วยไม้ได้ด้วย"
"ผมรู้ว่าเหตุที่ใบเหลืองเป็นเพราะ อะไร ผมรู้ว่าทำไมรากถึงพยายามแทงออกมาจากกระถาง หรือผมรู้ว่าทำไมดอกกล้วยไม้ถึงสีสันไม่สดใส ถามว่าผมรู้ได้ยังไง คำตอบคือผมเป็นคนช่างสังเกตไง"
"ฉะนั้นที่หลายคนมีมุมมองไม่เหมือน กัน หรือมีทัศนคติต่อเรื่องเดียวกันไม่เหมือนกัน ก็เนื่องจากเขาตีความในเรื่องนั้นแตกต่างกัน ผมถึงเชื่อไงว่าการที่เราเป็นผู้บริหาร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจลูกน้อง และต้องหัดสังเกตว่าเขามีความสุขต่อการทำงานหรือไม่ หรือเขาต้องการที่จะเติบโตไปทางไหน"
"ดังนั้นการให้โอกาสคนจึงต้องดู องค์ประกอบหลายอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญสุด เขาทุกคนจะต้องมีความเป็นทีมเวิร์ก ซึ่งเหมือนกับต้นไม้ ต้นหนึ่งจะเจริญเติบโตได้ รากก็สำคัญ ใบก็สำคัญ หรือดอกผลก็มีความสำคัญเช่นกัน"
"ผมจึงไม่ค่อยแคร์เวลาผมไปตรวจงาน ตามโรงงานต่าง ๆ และผมจะแจ้งให้หัวหน้างานรู้ว่าผมกำลังจะไป แม้เขาอาจจะทำงานแบบผักชีโรยหน้าเพื่อให้ผมพอใจ แต่ผมคิดว่าก็ยังดีกว่าเขาไม่ทำอะไรเลย ผมถึงมีความเชื่อว่าการที่เราเป็นผู้บริหารอย่าพยายามไปจับผิดลูกน้อง แต่จะต้องทำให้ลูกน้องมีความรู้สึกว่างานที่ทำในทุกขั้นตอนล้วนมีความสำคัญ ทั้งสิ้น พูดง่าย ๆ คือเราควบคุมลูกน้องด้วยใจ"
ฉะนั้นต่อคำถามว่า บริษัท อายิโนะ โมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นองค์กรที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น และวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยนั้นมีจุดแข็งอย่างไร ?
"ผมต้องบอกว่า วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นมีข้อดีอยู่อย่าง คือเขาจะสอนให้เรารู้จักการจัดการกับปัญหาจากระดับ ข้างล่างขึ้นข้างบน โดยปล่อยให้คุยกันเอง ซึ่งบางครั้งอาจช้าหน่อย แต่สุดท้ายคำตอบจะออกมาอย่างพอใจ"
"ซึ่งมีคำพูดหนึ่งคือมาวาชิ (mawashi) แปลว่าค่อย ๆ ขุดแซะ หมายความว่าเมื่อเราจะนำต้นไม้ต้นหนึ่งไปปลูกที่อื่น เราจะค่อย ๆ ขุดแซะลงไปในดิน เพื่อไม่ให้ รากช้ำ ต้นช้ำ หรือใบช้ำ เพื่อเวลาย้ายต้นไม้นั้นไปอยู่ที่อื่น เราจะได้บำรุงรักษาเพื่อให้เขาเติบโตเร็วที่สุด"
"ก็เหมือนกับการบริ หาร คนญี่ปุ่นเขาจะคุยข้างนอกให้จบทุกอย่าง แต่พอประชุมข้างใน เขาจะคุยรายละเอียดอย่างเดียว แต่วัฒนธรรมการทำงานแบบไทย เราจะประนีประนอม บางครั้งเถียงกันในห้องประชุม แต่พอออกข้างนอกก็ยังเถียงกันอีก หรือบางครั้งไม่คุยกันเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขตลอด"
นอกจาก เรื่องปรัชญาการบริหาร "พิเชียร" บอกว่าสิ่งที่เขากำลังวางแผนเพื่อสร้างองค์กรให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต คือการสร้างการบริหารสืบทอดตำแหน่ง (succession planning)
"เรื่อง นี้ผมวางแผนมา 3-4 ปีแล้ว ด้วยการส่งคนไปเรียน ไปทำงานที่ญี่ปุ่น เหมือนเป็นการ on the job training นอกจากนั้นเรายังมีอบรมภายในและภายนอก เพราะผมเชื่อว่าองค์กรจะต้องปรับตัวและจะต้องสร้างภาวะผู้นำตลอดเวลา"
"อีก อย่างเราพยายามที่จะสร้างผู้บริหารคนไทยให้ไปอยู่ประเทศต่าง ๆ ด้วย ดังนั้นเขาจึงต้องมีองค์ความรู้ นอกจากนั้นเรายังพยายามสร้างกลุ่มทาเลนต์ (talent group) ขึ้นมา และตอนนี้มีอยู่ประมาณ 50 คน เพื่อให้เขาคิดโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ออกมา"
"เพราะเราเชื่อว่าการให้โอกาส คนเป็นเรื่องสำคัญ เราเองก็เคยถูกให้โอกาส ดังนั้นเราก็ควรที่จะให้โอกาสคนอื่นด้วย เหมือนเป็นการส่งไม้ต่อ ดังนั้นคนที่รับไม้ต่อจากเรา เขาจึงต้องเก่งกว่าเราหรือดีกว่าเรา"
"เฉก เช่นเดียวกับการเล่นว่าว เพราะว่าวจะลอยบนฟ้าได้ดี ไม่ใช่แค่ตัวว่าวเท่านั้น แต่อยู่ที่คนบังคับว่าวด้วย ก็เหมือนกับตอนนี้ ผู้บริหารหลายคนที่เป็นคนไทยค่อนข้างได้รับโอกาสจากบริษัทแม่ให้เข้ามานั่ง บริหาร ดังนั้นเขาจึงต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่าเขาไม่ได้เป็นแค่ตัวว่าว แต่เขาจะต้องบังคับว่าวให้ลอยบนฟ้าได้ดีด้วย"
เพราะทุกคนเปรียบเสมือนน้ำ และน้ำหยดหนึ่งจะกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ถ้าทุกคนมีความพร้อมที่จะหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน
ซึ่งเหมือนกับบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ในวันนี้
ในวันที่กำลังจะย่างกรายครบรอบ 50 ปี บนผืนแผ่นดินไทย ?