สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความเสี่ยงป้องกันได้ ??

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :อรุณี ศิลปการประดิษฐ:


ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทุกๆ ท่านคงจะคุ้นเคยกับการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น จากการที่มีกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศออกมาเสนอขายค่อนข้างมาก

ทั้ง ที่ไปลงทุนในตราสารหนี้ของธนาคารต่างประเทศ หรือในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั้งเกาหลีใต้ อังกฤษ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งกองทุนส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนที่มีระยะการลงทุนที่แน่นอน รวมทั้งผู้ลงทุนทราบอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ

ความ เสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง ของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้จัดการกองทุนมักจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลก เปลี่ยนโดยการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลก เปลี่ยน (Hedging) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ผู้จัดการกองทุนจะได้ทราบแน่นอนว่าเมื่อครบกำหนดเราจะได้รับผลตอบแทน จากการลงทุนในต่างประเทศเป็นจำนวนเงินเท่าไร

การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนนั้น คืออะไร ลองยกตัวอย่างกัน เช่น ในกรณีที่เราลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะครบกำหนดในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น ทำให้เมื่อครบกำหนด 6 เดือนอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนลดลง จึงป้องกันโดยซื้อเงินบาทและขายเงินเหรียญสหรัฐล่วงหน้าที่อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบัน โดยมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ 1 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ (หรือเรียกว่าเป็นต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้) ดังนั้นก็จะเท่ากับ เราสามารถแลกเงินได้ที่อัตราแลกเปลี่ยน 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แม้ว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม ทำให้เราได้ผลตอบแทนลดลง แต่ข้อดีก็คือ เราสามารถทราบได้อย่างแน่นอนเลยว่าเงินสดที่จะได้รับนั้นเป็นจำนวนเงินเท่า ไหร่ โดยที่ไม่จำเป็นต้องกังวลกับการผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยน

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าหลังจากที่เราทำการป้องกันความเสี่ยงแล้ว ความเสี่ยงจะหมดไปซะทีเดียว ข้อดีของการป้องกันความเสี่ยงคือ ทำให้เราสามารถทราบได้อย่างแน่นอนว่าจะแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ที่ อัตราแลกเปลี่ยนเท่าไร ไม่ต้องกังวลกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งอาจจะได้รับผลดีถ้าหากอัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นไปตามที่คิดไว้ ก็อาจจะทำให้เราเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นก็ได้ เช่น ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และเราทำการ Hedging อัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อครบกำหนด ค่าเงินบาทกลับอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 35 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งในกรณีนี้ ถ้าเราไม่ทำ Hedging ไว้เราก็จะสามารถแลกเงินบาทกลับมาได้เป็นจำนวนที่มากขึ้น หรือเป็นการขาดทุนจากการทำ Hedging นั่นเอง

นอกจากนี้แล้วการทำ Hedging ก็ยังมีความเสี่ยงประเภทอื่นๆ อีก เช่น ความเสี่ยงจากการที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว เช่น กรณีที่คู่สัญญาที่เราทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงด้วยประสบปัญหาทางการเงินจน กระทั่งไม่สามารถส่งมอบเงินตามสัญญาให้ได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่มักจะเลือกคู่สัญญาที่มีความมั่นคง ทางการเงินค่อนข้างสูง ได้รับการจัดอันดับ Rating ระดับ Investment Grade เพื่อให้มั่นใจเพิ่มขึ้นว่าจะไม่เกิดการผิดนัดจากคู่สัญญา

สุดท้ายนี้ ขอบอกว่า การลงทุนทุกประเภทนั้นมีความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยงด้วยวิธีการต่างๆ เป็นเพียงแค่การลดความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นได้ค่ะ

view