สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มุมมองจากห้องทำงานของคณะกรรมการ

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :วันวิสาข์ พันธุ์ตา:


กลุ่มสมาชิกของ Harvard Business School ได้จัดทำรายงาน Perspectives from the Boardroom-2009 เผยแพร่ในปีที่แล้ว

โดย รายงานฉบับนี้รวบรวมความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์กรรมการบริษัทจดทะเบียนใน สหรัฐอเมริกากลุ่มหนึ่งที่มีต่อการทำหน้าที่ของคณะกรรมการก่อนเกิดวิกฤตทาง การเงิน ซึ่งสาเหตุหนึ่งถูกมองว่าเป็นเพราะคณะกรรมการทำหน้าที่กำกับดูแลไม่ดีพอ

กรรมการที่ให้สัมภาษณ์ในรายงานนี้มีจำนวน 45 คน ซึ่งเป็นกรรมการที่มีประสบการณ์ ทำหน้าที่อย่างทุ่มเท และเป็นที่เคารพนับถือในแวดวงกรรมการด้วยกัน รวมๆ กันแล้วทั้ง 45 คน เป็นกรรมการอยู่ใน 78 บริษัท จากหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น พลังงาน สื่อสาร สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น

ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าคณะกรรมการทำหน้าที่ในปัจจุบันได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น กรรมการแต่ละท่านเองก็ทำการบ้านและทำหน้าที่อย่างมีคุณภาพมากขึ้น คณะกรรมการมีการสรรหากรรมการใหม่ๆ เข้ามา เพื่อให้ได้กรรมการที่มีประสบการณ์ มีความเป็นมืออาชีพ มีความหลากหลายในเชิงความรู้ความสามารถ และเต็มใจอุทิศเวลาที่จะทำงานให้บริษัท

อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการที่คณะกรรมการไม่เข้าใจ ธุรกิจที่ซับซ้อนของบริษัท เพราะบริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และดำเนินธุรกิจในหลายภูมิภาคทั่วโลก นอกจากนั้น บริษัทเหล่านี้ยังมี General Manager มากกว่าหนึ่งระดับ และมีสายการรายงานขึ้นไปเป็นทอดๆ จนถึง CEO จึงทำให้เกิดคำถามว่าคณะกรรมการได้รับข้อมูลจากฝ่ายจัดการเพียงพอที่จะทำให้ เข้าใจถึงประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทหรือไม่ และคณะกรรมการทำหน้าที่กำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรภายในเวลาอัน จำกัด

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้คณะกรรมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กรรมการกลุ่มนี้ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาสำหรับการทำงานใน อนาคตไว้ดังนี้

1.ความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ : วิกฤตเศรษฐกิจทำให้เกิดความคาดหวังต่อการทำหน้าที่ของคณะกรรมการมากกว่า เมื่อก่อน บางส่วนเห็นว่าต้องเน้นที่การกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายมากกว่าพิจารณา เรื่องของธุรกิจ แต่บางส่วนเห็นในทางตรงกันข้าม ดังนั้น ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบริษัท แต่ไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในภาวะที่ดีหรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยคณะกรรมการควรดูแลให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงและระบบควบคุมที่ เพียงพอ

2.ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัทให้มากขึ้น : มักมีคำถามว่าคณะกรรมการเข้าใจเรื่องราวของบริษัทดีแค่ไหน เข้าใจ Business Model ภาวะการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ หรือไม่ ที่ผ่านมาคณะกรรมการพึ่งพาฝ่ายจัดการมากเกินไป คือ คอยรับข้อมูลและรายงานจากฝ่ายจัดการ และตัดสินใจตามที่ฝ่ายจัดการเสนอ ดังนั้น คณะกรรมการต้องถามข้อมูลจาก ฝ่ายจัดการมากขึ้น และใช้เวลาในการพิจารณาเรื่องสำคัญ มากขึ้น หากจะทำธุรกิจอะไรที่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ ก็ควรหยุด ไว้ก่อน

ข้อจำกัดทางความรู้ทางการเงินและความเสี่ยงของคณะกรรมการก็เป็นอีก หนึ่งปัญหา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสรรหากรรมการอิสระที่มีความรู้ ประสบการณ์ที่จะเข้าใจธุรกิจอย่างดี หาไม่ได้ง่ายๆ

ดังนั้น จึงต้องให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแก่กรรมการ มากขึ้น อาจมีการไปเยี่ยมชมกิจการของบริษัท รวมทั้งพูดคุยกับ ผู้บริหาร เพื่อให้เห็นและเข้าใจการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้น กรรมการบางท่านให้ข้อเสนอแนะว่าอาจจัดพบปะกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อบริษัทอยู่ในภาวะวิกฤต

3.รักษาสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายจัดการ : ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดการพูดคุยระหว่างกันอย่างเปิดอก และกำหนดเส้นแบ่งการทำงานระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ และความเชื่อมั่นในตัว CEO และอาจปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของแต่ละบริษัท หากคณะกรรมการต้องมีการซักถามเรื่องใดจากฝ่ายจัดการอย่างละเอียด ก็ควรทำความเข้าใจร่วมกันก่อน และในกรณีที่ประธานกรรมการเป็นบุคคลเดียวกับ CEO ต้องมีกรรมการท่านอื่นมาทำหน้าที่เป็นผู้นำและควบคุมการประชุม เพื่อช่วยรักษาสัมพันธ์ที่ดีเมื่อมีประเด็นใดที่ต้องหารือกันมากเป็นพิเศษ

4.ทำหน้าที่กำกับดูแลกลยุทธ์ของบริษัท : หน้าที่หนึ่งของคณะกรรมการคือการพิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าการกำหนดกลยุทธ์เป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการ ส่วนคณะกรรมการมีหน้าที่ประเมินและให้ความเห็นชอบ ดังนั้น คณะกรรมการจะพิจารณาและอนุมัติกลยุทธ์ได้ ก็ต้องเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในธุรกิจให้ดีขึ้น

5.ดูแลให้ฝ่ายจัดการมีแผนพัฒนาและสืบทอดตำแหน่ง CEO : เป็นหน้าที่สำคัญที่คณะกรรมการควรเตรียมการล่วงหน้าหลายๆ ปี แต่ปัญหาคือ คณะกรรมการไม่ได้มีโอกาสเห็นความสามารถของผู้บริหาร ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านได้ยกตัวอย่างที่ดีของ McDonald ที่คณะกรรมการดูแลและวางแผนในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ทำให้เมื่อ CEO จากไปอย่างกะทันหัน ก็สามารถมีคนในที่พร้อมจะทำหน้าที่แทนได้อย่างดี

6.ปรับปรุงเรื่องการบริหารความเสี่ยง : การทำหน้าที่ในช่วงปีที่ผ่านมา คณะกรรมการพึ่ง CEO มากเกินไป ที่ผ่านมาจึงมีความเสี่ยงหลายเรื่องที่ถูกมองข้ามไป ดังนั้น คณะกรรมการต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น และกำหนดให้ครอบคลุมในกระบวนการทำงานทั้งหมด

แม้ว่าบริษัทในประเทศไทย จะไม่ได้ประสบปัญหาเหมือน ในสหรัฐอเมริกา แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะความประมาท พลาดพลั้งเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้

view