สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เตือน ถดถอยรอบ 2 กระหึ่ม โลกเผชิญทางสองแพร่งนโยบายหนุน ศก.

จากประชาชาติธุรกิจ


มุม มองของนักเศรษฐศาสตร์ นักลงทุนมีชื่อเสียง และแม้กระทั่งบุคคลระดับรัฐมนตรีคลังในบางประเทศที่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงสูงจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้งหนึ่ง (double dip recessions) กำลังสอดรับไปกับปฏิกิริยาของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก ที่ปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงนี้

ทั้งสองปรากฏการณ์ได้เพิ่มน้ำหนักให้กับความวิตกกังวลต่อความแข็งแกร่ง และความยั่งยืนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

สำนัก ข่าวรอยเตอร์สตั้งข้อสังเกตในช่วงต้นเดือนมกราคมว่า ในสหรัฐ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) และแคนาดา ตัวเลขว่างงานที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงความไม่รีบร้อนของบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่จะเพิ่มการจ้างงาน แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นแล้ว ดังนั้นสถานการณ์เช่นนี้อาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่ชี้ว่า หลายบริษัทยังคลางแคลงใจต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจว่าจะดำเนินไปอย่างต่อ เนื่องได้หรือไม่ หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทยอยยกเลิกไป

ขณะ ที่ผลสำรวจผู้บริหารระดับสูงในระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของสถาบันการเงิน 70 ราย โดยบริษัทโอลิเวอร์ วายแมน ที่ปรึกษาด้านการจัดการ ซึ่งจัดเตรียมเพื่อเผยแพร่ระหว่างการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่ดาวอส พบว่า ซีอีโอส่วนใหญ่เชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั่วโลกจะดำเนินไปอย่างไม่ต่อเนื่อง จนกว่าจะถึงปี 2555 เป็น อย่างน้อย โดยในจำนวนนั้น 22% เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญสถานการณ์การถดถอยทางเศรษฐกิจระลอกสอง

สัญญาณเตือน "ถดถอยรอบ 2" กระหึ่ม

เวที การประชุมเศรษฐกิจโลกล่าสุดได้กลายเป็นเวทีในการส่งสัญญาณเตือนต่อความ เสี่ยงของ double dip recessions อย่างชัดเจน บุคคลระดับแถวหน้าของโลกล้วนทำนายออกมาในทิศทางนี้ ซึ่งรวมถึง โจเซฟ สติกลิทช์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ศาสตราจารย์นูเรียล รูบินี แห่งวิทยาลัยธุรกิจสเติร์นส์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก จอร์จ โซรอส นักลงทุนชั้นนำของโลก และ อเล็กซี คูดริน รัฐมนตรีคลังรัสเซีย

โซรอ สเตือนว่า การฟื้นตัวจากภาวะถดถอยที่เลวร้ายที่สุด นับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และ ความวิตกกังวลต่อความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลต่าง ๆ จะเป็นอุปสรรคต่อการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการเติบโต

หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจโลกเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะถดถอยระลอกสองในปีหน้า

ขณะ ที่มุมมองของคูดรินให้น้ำหนักไปกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก จากการที่ธนาคารตะวันตกอาจจะต้องแทงหนี้สูญเพิ่มอีก เป็นมูลค่าสูงสุดถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตการณ์รอบสอง ยังมีความเป็นไปได้อยู่ เขายกตัวอย่างกรณีของจีนว่าวิกฤตยังไม่ได้สิ้นสุดลง มีโอกาสที่เศรษฐกิจของจีนจะชะลอลง และเกิดฟองสบู่สินทรัพย์ขึ้นในประเทศ

ด้าน ศาสตราจารย์รูบินียังคงเตือนถึงความเสี่ยงของภาวะฟองสบู่สินทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการที่นักลงทุนกู้ยืมเงินจากธนาคารโดยเสีย ดอกเบี้ยต่ำ และได้นำไปลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภทโดยเฉพาะสินทรัพย์คอมโมดิตีส์ 4 ตัว ที่มีเม็ดเงินไหลเข้าไปลงทุนมาก ได้แก่ น้ำมัน พลังงาน อาหาร และทองคำ

รู บินียังเตือนด้วยว่า แม้ในขณะนี้เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเติบโต แต่ต้องระวังความเสี่ยง หากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ยกเลิก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ

หลายประเทศคงนโยบายรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ

ความ วิตกกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกผลักดันให้หลายรัฐบาลยังไม่สามารถยก เลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นำมาใช้รับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก

รอง นายกรัฐมนตรี หลี่ เก๋อเจียง ของจีน ยืนยันว่าแม้เศรษฐกิจของประเทศจะฟื้นตัวแล้ว หลังรัฐบาลดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อจัดการกับวิกฤต แต่รัฐบาลยังจำเป็นต้องคงนโยบายการเงินผ่อนคลายในระดับปานกลางไว้ต่อไป เช่นเดียวกับการคงจุดยืนทางการคลังเชิงรุก แม้ว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2553 ก็ตาม เนื่องจากมองว่ายังมีความไม่แน่นอนอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังคงย้ำเป้าหมายของรัฐบาลในการพยายามกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยให้จีนลดการพึ่งพาการส่งออกลง

การชะลอการถอนมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจยังคงพบเห็นในหลายประเทศ ในจำนวนนั้นรวมถึงสหรัฐ ดังการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำที่ 0-0.25% ต่อไป ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และลดอัตราการว่างงานลง หลังการประชุมวันที่ 27 มกราคมเสร็จสิ้นลง

ใน แถลงการณ์ของเฟดหลังการประชุม ได้ฉายภาพเศรษฐกิจทั้งแง่ลบและแง่บวก โดยระบุว่าธนาคารมีการปล่อยกู้น้อยลง แต่ไม่กล่าวถึงว่าตลาดบ้านกำลังปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เคยระบุไว้ในแถลงการณ์ฉบับก่อนนั้น

ส่วนในแง่บวก เฟดชี้ว่า การใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางธุรกิจได้แข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เฟดยังคาดว่าจะสามารถยุติโครงการมูลค่า 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ ที่มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการจำนองอสังหาริมทรัพย์ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ คือวันที่ 31 มีนาคมนี้ แต่ย้ำว่าสามารถเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาได้หากจำเป็น

ขณะ เดียวกันรายงานยอดขายบ้านของสหรัฐล่าสุดแสดงให้เห็นว่าตลาดบ้านยังคงเปราะ บางอยู่ โดยวอชิงตัน โพสต์ ได้อ้างข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐว่า ยอดขายบ้านใหม่ร่วงลง 7.6% ในเดือนธันวาคมปีกลาย เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน หรือมาอยู่ที่ระดับ 342,000 หลัง เมื่อเทียบอัตราทั้งปี

ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ประเมินว่ายอดขาย บ้านจะเพิ่มขึ้น แต่ตัวเลขที่น่าผิดหวังนี้ถือเป็นหนึ่งในปีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับคนสร้าง บ้านในทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อมองยอดรวมทั้งปี พบว่าปีกลายมียอดขายบ้านใหม่เพียง 374,000 หลัง หรือลดลง 22.9% จากปี 2551 และต่ำกว่ายอดขายในสภาพตลาดปกติกว่า 50% ทั้งนี้ในช่วงตลาดบูมสุดในปี 2548 มียอดขายบ้านใหม่เกือบ 1.3 ล้านหลัง

นักเศรษฐศาสตร์มองว่า อากาศหนาวอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ ยอดขายบ้านเดือนธันวาคมลดลง และอาจเป็นผลจากการที่เหล่า ผู้ซื้อบ้านเร่งโอนบ้านก่อนมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกหมด อายุลงในเดือนพฤศจิกายน แต่ต่อมาทางการสหรัฐ ได้ขยายเวลาไปจนถึงเดือนมิถุนายนปีนี้

ดานา ซาพอร์ต้า นักเศรษฐศาสตร์ของสโตน แอนด์ แมคคาธี รีเสิร์ช เผยกับเอบีซีว่า รายงานยอดขายบ้านไม่ได้ทำลายความคิดว่าตลาดบ้านกำลังฟื้นตัวไปทั้งหมด แต่เน้นถึงความเปราะบางของการฟื้นตัว ซึ่งไม่ใช่ข่าวดีสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม

เอเชียเจอทางตันนโยบายการเงิน

วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ฉบับวันที่ 29 มกราคม ตั้งข้อสังเกตว่า ธนาคารกลางหลายแห่งของเอเชียมีการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายอัตรา ดอกเบี้ย และพบว่าพวกเขากำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต เพราะที่ผ่านมา เอเชียจะรอดูทิศทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ แต่ในช่วงเวลานี้ เอเชียไม่สามารถรอเช่นนั้นได้ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะรอจนถึงปลายปีนี้ จึงจะขยับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณเงิน แม้ว่าการเติบโตของสหรัฐจะฟื้นแล้ว และราคาก็ขยับสูงขึ้น ความไม่สอดคล้องกันดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เงินสกุลท้องถิ่นของเอเชีย แข็งค่าขึ้น

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (28 ม.ค.) ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานไว้ที่ระดับเดิม แต่เปลี่ยนไปขยับดอกเบี้ยในกลไกเงินกู้อื่นแทน พร้อมส่งสัญญาณว่า วัฏจักรนโยบายการเงินเข้มงวดได้เริ่มต้นแล้ว เช่นเดียวกับธนาคารกลางมาเลเซีย ซึ่งแม้จะยังไม่ขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ได้เตือนถึงความเสี่ยงของความไม่สมดุลทางการเงิน ที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเกินไป และเป็นระยะเวลายาวนาน ขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียเริ่มปรับเนื้อหาในคำแถลง โดยตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาท้าทายต่าง ๆ อาทิ การฟื้นตัวของอินโดนีเซียจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จของนโยบายการยกเลิกการ กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศสำคัญ ๆ รวมถึงประเทศคู่ค้าของอินโดนีเซีย

view