จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์: |
ฉบับที่แล้วผมนำ เสนอเรื่องควรทำอย่างไรจึงจะเจริญเติบโตอย่าง ยั่งยืน โดยยึดแนวทางจากหนังสือของศาสตราจารย์ Ward ซึ่งสรุปเป็นหลักว่าเรื่อง Five Insights และ The Four P’s ไว้ดังนี้คือ
2.ประเด็นปัญหาของธุรกิจครอบครัวจะเหมือนกัน แต่วิธีการแก้ไขปัญหาจะแตกต่างกัน
3.การสื่อสาร การแลกเปลี่ยน ข้อมูลของสมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุม ระเบียบการประชุม
4.การวางแผนให้ธุรกิจครอบครัวมีความเจริญเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
5.ความตั้งใจที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ความตั้งใจในการวางแผนเพื่ออนาคต ความตั้งใจที่จะทำงานที่มีคุณค่าในการประชุมครอบครัว และความตั้งใจต่อธุรกิจและความต่อเนื่องของครอบครัว
นอกจากนี้ ความสำคัญของธุรกิจครอบครัวที่ศาสตราจารย์ Ward ให้ข้อคิดเพิ่มเติมคือ หลัก 4P ก็คือ
1.จะต้องมีนโยบายก่อนที่จำเป็นต้องใช้ (Policy before the need) หมายความว่านโยบายต่างๆ ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวขึ้นไม่ว่าจะเป็นวิธีการขจัดข้อพิพาท วิธีการบริหารจัดการ ข้อพิพาท การบริหารจัดการต่างๆ ควรจะมีก่อนที่จะมีปัญหา เมื่อทำหลังจากการเกิดปัญหาแล้ว ก็จะเกิดปัญหาเรื่องของข้อโต้แย้งหรือโต้เถียงกันได้
2.มีความตั้งใจจริงหรือเป้าหมายที่ชัดเจนหรือที่เรียกว่า “Sense of Purpose” ว่า เรากำลังทำอะไร ทำไมเราต้องทำงานหนักเพื่อธุรกิจครอบครัว
3.มีกระบวนการ (Process) ที่ชัดเจน ซึ่งกระบวนการที่จะบริหารธุรกิจครอบครัวนั้น จะต้องดำเนินการโดยการสื่อสารแก้ไขปัญหาและได้รับความยินยอมทั้งหลายฝ่าย และโดยการทำด้วยกัน
4.สิ่งที่ไม่อาจแตกแยกได้ในธุรกิจครอบครัวก็คือ ความเป็นพ่อแม่ลูก “Parenting” เพราะว่าในการที่จะทำธุรกิจครอบครัวที่เจริญเติบโตได้นี้ ความสัมพันธ์ในลักษณะพ่อแม่ ก็จะทำให้ธุรกิจครอบครัวเจริญเติบโตได้ เพราะสามารถเรียนรู้ในเรื่องหลายๆ อย่างจากความเป็น พ่อแม่ลูก เช่น การติดต่อสื่อสาร การไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนตัวและ การดำเนินการที่เป็นธรรม
ปัญหาของธุรกิจครอบครัวไทย
สำหรับบริษัทธุรกิจครอบครัวไทยจากการศึกษาจากตำราและประสบการณ์จาก การทำงานของผมที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ผมเองคิดว่าปัญหาของธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวไม่ สามารถเจริญเติบโตอยู่รอดได้โดยยั่งยืนกว่า 3 รุ่น เป็นปัญหาเดียวกับต่างประเทศ วิธีการแก้ไขก็อาจคล้ายกัน แต่อาจแตกต่างเนื่องจากแนวคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ ผมจะนำปัญหาแต่ละข้อมากล่าวถึงรายละเอียดพร้อมแนวทางแก้ปัญหาใน 10 ประการคือ
1.ขาดการจัดโครงสร้างที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งบริษัทเพื่อธุรกิจในครอบครัวเพื่อความเป็นเจ้าของ Holding Company หรือเพื่อประกอบการ การจัดโครงสร้างการถือหุ้นโดยไม่คาดการณ์ถึงความเสี่ยงทางกฎหมายที่เกิดจาก การจัดโครงสร้างที่ผิดพลาด เช่น การถูกฟ้องคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ล้มละลาย ไม่แยกหน่วยธุรกิจตามความชำนาญและความสามารถ
2.ขาดการวางแผนกลยุทธ์ทั้งด้านธุรกิจและการเงิน ทั้งของ ธุรกิจในครอบครัวและสมาชิกในครอบครัวและการบริหารความเสี่ยง ทำให้ต้นทุนด้านการเงินมีปัญหาและการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจไม่ทันสมัย ไม่สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะกติกากฎเกณฑ์เรื่องการค้าการลงทุน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3.ขาดกลไกในการจัดสรรเรื่องผลประโยชน์หรือความเป็นเจ้าของในธุรกิจครอบครัว ทั้ง ในบริษัทโฮลดิงบริษัทประกอบการที่มีความเป็นธรรมหรือยุติธรรมและไม่สามารถ อธิบายได้ โดยเฉพาะบุคคลของสมาชิกในครอบครัว 4 คน (ตามทฤษฎีวงกลม 3 วงของ Tagiuri และ Davis แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด) จึงทำให้เกิดความขัดแย้งและก่อให้เกิดข้อพิพาทขึ้น
4.ขาดมาตรการทางกฎหมายในการจะระงับข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งของสมาชิกในครอบครัวที่ วางไว้ล่วงหน้าชัดเจนโปร่งใส เพราะไม่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับหรือไม่มีสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ธรรมนูญครอบครัว พินัยกรรม ส่วนใหญ่ก็เพราะขาดความรู้ทางกฎหมายและไม่เห็นความจำเป็นของเอกสารทางกฎหมาย
5.ขาดกรรมการอิสระหรือที่ปรึกษาที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในคณะกรรมการบริษัท ที่ช่วยวางกลยุทธ์และวางแผนดำเนินธุรกิจครอบครัวทั้งในรูปการสร้างเครือข่าย การสร้างโอกาสและเป็นตัวกลางประนีประนอมระหว่างสมาชิกในครอบครัว
6.ขาดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกในครอบครัวอย่างจริงใจและโปร่งใส เพราะไม่เข้าใจจิตวิทยาเรื่องการสื่อสารระหว่างกัน
7.ขาดนโยบายการจ้างงาน โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัวที่เข้ามาทำ งานในบริษัทครอบครัวโดยไม่มีความสามารถที่แท้จริง เพราะไม่มีระบบกฎเกณฑ์ที่เขียนไว้อย่างชัดเจน ทำให้ธุรกิจเติบโตไม่ได้
8.ขาดมืออาชีพที่จะมาช่วยสร้างเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจในครอบครัวในส่วนที่ขาดไป
9.ขาดแนวคิดในการที่จะสามารถแยกความแตกต่างระหว่างประเด็นทางธุรกิจหรือทางครอบครัว เมื่อเกิดข้อขัดแย้งว่าควรจะใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินใจ
10.ขาดการวางแผนการถ่ายโอนอำนาจและการเลือกผู้นำของธุรกิจครอบครัว
จะเห็นว่า 10 ปัญหาของธุรกิจครอบครัวไทยที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยว กับการค้าการลงทุนทั้งในและต่างประเทศจะมีผลกระทบและเป็นความท้าทายอย่าง สำคัญของบริษัทธุรกิจครอบครัวไทยในการปรับตัวเพื่ออยู่รอดและเจริญเติบโต อย่างยั่งยืน ซึ่งผมจะได้นำแนวทางแก้ไขมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป