มาร์คชูนโยบายเศรษฐกิจระบบเดียวไม่แยกหนุนคนจน-รวย
จาก โพสต์ทูเดย์
ประเด็น:โพสต์ทูเดย์-อินเวสต์เมนต์-เอ็กซ์โป-2553 , 05 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 17:15 น.
อภิสิทธิ์ เปิดงานโพสต์ทูเดย์อินเวสต์เมนต์เอ็กซ์โปร์ 2010 พร้อมปาฐกถาพิเศษยันเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัว-เชื่อสามารถฝ่าฟันปัญหาการ เมืองได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การได้มาพูดหัวข้อมองข้างหน้าเพื่ออนาคตไทย ที่หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์จัดขึ้น ถือเป็นโอกาสและจังหวะที่ดีในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ได้ฟันฝ่าวิกฤตในปีที่ แล้ว และมายืนอยู่ในจุดที่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ตัวเลขชี้วัดต่างยืนยันได้ดี จากไตรมาส 1 ปี 2552 เศรษฐกิจติดลบ 7.1% แต่ในไตรมาสแรกของปีนี้จะได้เห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่เป็นบวกที่สูงกว่าที่คาด การณ์ก่อนหน้านี้
นอกจากนี้จากที่มีการคาดว่า จะมีคนตกงาน 1 ล้านคน จากการสำรวจล่าสุดการตกงานอยู่ที่ 4-5 แสนคน หรือ 1% ถือว่าต่ำมาก เรื่องการท่องเที่ยวที่ติดลบ 20-30% ในช่วงต้นปี 2552 ก็จะได้เห็นตัวเลขที่ขยายตัวเป็นประวัติการณ์ เหมือนกับนักท่องเที่ยว 1.6 ล้านคน เฉพาะในเดือน ธ.ค. 2552 ด้านตัวเลขการส่งออกที่เคยติดลบสองหลัก ก็จะได้เห็นการขยายตัวเป็นสองหลักเช่นกัน ขณะที่ดัชนี้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับสูง การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงคาดว่าทั้งปีงบประมาณ 2553 จะสูงกว่าเป้า 2 แสนล้านบาท ตัวเลขโครงการขอส่งเสริมการลงทุนคิดเป็นมูลค่าโครงการเพิ่มขึ้นถึง 60% ตัวเลขทั้งหมดยืนยันได้ว่า เศรษฐกิจอยู่ในช่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมีความเสี่ยง เรื่องราคาน้ำมัน ภาวะเศรษฐกิจโลกสำคัญทั้งสหรัฐอเมริกา จีน ที่ส่งผลกับตลาดเงินตลาดทุน ปัญหาภายในประเทศ จากโครงการมาบตาพุด ปัญหาการเมืองยังเป็นสิ่งที่ท้าทายไม่ใช้เฉพาะรัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นทั้งสังคม เศรษฐกิจ และประชาชนทั้งประเทศ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดี เพราะมาจากพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยที่ดี ภาคการเกษตรที่ขยายตัวดี ทำให้เกษตรกรมีรายได้สูง ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกและไตรมาสต่อไปขยายตัวได้ดี ทั้งหมดทำให้ต้องกลับมามองไปข้างหน้า และตั้งโจทย์ว่า จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี และจากปัจจัยเสี่ยงที่มี จะวางอนาคตของประเทศ และวางรากฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างไร
สำหรับรัฐบาลนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่การแก้ปัญหาทุกด้านจะนึกถึงประเทศในระยะกลางและยาวทุกครั้ง จึงอยากให้เห็นความตั้งใจของรัฐบาลที่มองอนาคตของประเทศและประชาชนคนไทยไป ข้างหน้าอย่างไร และมาตรการที่จำเป็นที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไปอย่างไรประการแรก เมื่อเห็นเศรษฐกิจเติบโตชัดเจน และสถานการณ์อย่างเป็นไปต่อเนื่อง และภาคเอกชนเริ่มเข้ามาลงทุน เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการปรับแผนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ EXIT STRATEGY ที่ผ่านมาไม่มีใครกล้าพูดเรื่องนี้ แต่รัฐบาลมั่นใจว่าปีนี้ต้องทำ EXIT STRATEGY ต้องเริ่มคิดว่า หากสามารถเก็บรายได้เกินเป้า เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี จนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องจับตาปัญหาเงินเฟ้อมากยิ่งขึ้น นั้นหมายความว่าสิ่งที่เคยตั้งใจจะกู้เงิน 8 แสนล้านบาท ยังจำเป็นหรือไม่ สิ่งที่รัฐบาลคิด เพราะต้องการให้ภาวะการเงินการคลัง หนี้สาธารณะกลับสู่ภาวะปกติเร็วที่สุด โดยไม่กระทบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการปรับลดการกู้เงินจะไม่กระทบกับโครงการไทยเข้มแข็ง เพราะอนาคตของประเทศต้องเสริมขีดความสามารถการแข่งขันภายใต้การเปิดเสรีการ ค้า
นายก กล่าวว่า สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นชัดเจนใน 1 ปีข้างหน้า คือการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของไทย ที่ยังเป็นจุดอ่อน เช่น การขนส่งที่มีต้นทุนสูงเทียบกับหลายประเทศ การขนส่งระบบราง ที่ไม่ใช้แค่ในกรุงเทพ แต่ต้องเป็นระบบรางทั่วประเทศ ทั้งไปพื้นฐานเศรษฐกิจในภาคตะวันออก ไปแหล่งท่องเที่ยว และที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อบ้าน เป็นแผนที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม เราไม่สามารถปล่อยให้รถไฟไทยวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 50-60 กม.ต่อชั่วโมงต่อไปไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดความเร็วเฉลี่ยต้อง 120 กม.ต่อชั่วโมง ในบางเส้นทางต้องทำรถไฟความเร็วสูงที่ 200-400 กม.ต่อชั่วโมง
สำหรับเศรษฐกิจในชนบท จะมีการแก้ไขหนี้นอกระบบ หนี้เกษตรกร จะมีการจำแนกแจกแจงการใช้ที่ดินสาธารณะ และการลงทุนแหล่งน้ำขนาดใหญ่ โดยจะผสมผสานการใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ และการร่วมกับเอกชน
นอกจากนี้มีอีกหลายเรื่องที่รัฐบาลต้องดำเนินการ เช่น เรื่องของสนามบิน ที่จะต้องนำสนามบินดอนเมืองกลบมาใช้งานอีกครั้ง และเรื่องการยกระดับท่าเรือแหลมฉบัง และลดความสำคัญของท่าเรือคลองเตย เพื่อนำไปสู่การปรับพัฒนาเมืองหลวง สิ่งต่างๆ ทั้งหมดเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะทำให้เกิดขึ้นในปีนี้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการลงทุน การวางแผนการเงินการคลังได้ชัดเจนในอนาคต
หลังจากนั้นรัฐบาลจะต้องมีการปฏิรูประบบภาษี ทั้งภาษีศุลกากร ภาษีเงินได้ โดยจะมีการผลักดันเรื่องของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม กระจายการถือครองที่ดิน การเปลี่ยนแปลงระบบประชานิยมเป็นระบบสวัสดิการสังคม ที่เป็นระบบยั่งยืน ชัดเจน โปร่งใส เรื่องสิทธิของประชาชนตั้งแต่เด็กเรื่องโภชนาการ การศึกษา การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ คนพิการได้รับการสนับสนุนด้านรายได้ ต้องมีการผลักดันกองทุนการออมแห่งชาติ การสนับสนุนระบบสวัสดิการชุมชน
นายกกล่าว แนวนโยบายที่รัฐบาลนี้กำลังดำเนินการ เป็นการปรับเปลี่ยนจากยุคเศรษฐกิจคู่ขนาน หรือ DUAL TRACK ที่มีนโยบายชุดหนึ่งสำหรับเศรษฐกิขสมัยใหม่ สำหรับคนชั้นกลาง และมีนโยบายอีกชุดหนึ่งที่เป็นโครงการประชานิยมสำหรับคนยากจน รัฐบาลนี้ไม่มองอย่างนั้น รัฐบาลนี้มองว่าระบบเศรษฐกิจมีระบบเดียว การสร้างโอกาสที่ดีสำหรับคนจนไม่ใช่การแยกชีวิตของเศรษฐกิจคนยากจนออกจาก เศรษฐกิจหลัก แต่ต้องส่งเสริมผสมผสานนโยบายกลไกของตลากให้ทุกคนเข้ามาอยู่ในส่วนของ เศรษฐกิจหลักได้ รัฐบาลจึงมีนโยบายการประกันรายได้ ที่ไม่ได้แทรงตลาด แต่เป็๋นนโยบายที่เป็นมิตรกับตลาด และส่งเสริมความสามารถการแข่งขัน ไม่ได้เป็นนโยบายที่บอกว่าจะสนับสนุนเกษตรกร และทำลายการส่งออก แต่ตรงข้ามเป็นนโยบายแทรกแซงที่เพิ่มโอกาสการส่งออก และทำให้เกษตรกรมีรายได้ นโยบายในลักษณะนี้ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน
นายก กล่าวว่า งานทั้งหมดจะทำได้มากน้อยขึ้นอยู่กับเรื่องของการเมือง ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้พิสูจน์ว่าท่ามกลางความยากลำบากการแก้ปัญหาทางการเมือง แต่รัฐบาลไม่เคยหยุดเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะมีปัญหามากเท่าไร แต่รัฐบาลก็ไม่เสียสมาธิ รัฐบาลรู้ว่าจะทำอะไรเพื่ออนาคต และได้ดำเนินการตามที่วางแผนไว้ ซึ่งหากรัฐบาลจัดการเรื่องปัญหาทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ การทำงานดังกล่าวจะง่ายขึ้น ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจต่อการดำเนินการของรัฐบาล
ช่วงนี้มีข่าวสารทางการเมืองสับสน ประชาชนก็มีความกังวล อยากจะบอกว่า ผมมีความเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ต้องการวนเวียนอยู่ในปัญหาเดิมๆ ผมเชื่อมั่นว่สังคมไทยไม่นิยมต้องความรุนแรง ไม่ต้องการเห็นบ้านเมืองมาทะเลาะมาฆ่ากัน แต่วันนี้สิ่งที่มีอยู่ในตัวเราที่เป็นคนไทยทุกคนจะปรากฎออกมาเป็นภาพรวมของ สังคมหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่อยู่ที่สังคมโดยรวม และคนทุกคนที่ต้องช่วยกันแสดงออก
ผมคิดว่า เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2552 ที่ผ่านมา พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพราะเจ้าอยู่หัว ข้อความสั่นๆ แต่มีความหมายที่สุดในการเป็นเข็มทิศในการชี้ทิศทาง ท่านรับสั่งว่า พระองค์ท่านจะมีความสุขสวัสดีได้ บ้านเมืองต้องมีความเจริญมั่นคงและเป็นปกติสุข และความเจริญความมั่นคงจะเป็นปกติสุขได้ ก็คือการที่พวกเราทุกคนรู้หน้าที่ ทุ่มเททำงานด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยความสื่อสัตย์ และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน
นายก กล่าวว่า ช่วงระยะเวลา 1 เดือนเศษๆ ข้างหน้าท่ามกลางความสับสน ท่ามกลางการยั่วยุต่างๆ ผมยืนยันว่ารัฐบาลนี้หนักแน่นในการยึดมั่นตามเข็มทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวพระราชทานไว้ให้เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ปีที่แล้ว และเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคนมาร่วมกันเดินตามเข็มทิศ เมื่อที่ผ่านมาได้ประชุมกับหน่วยงานความั่นคง เพื่อซักซ้อมความเข้าใจร่วมกันชัดเจนว่า ภาวะการณ์เช่นนี้รัฐบาลไม่มีหน้าที่ไปต่อสู้กับใคร และใครมาท้ารบรัฐบาล รัฐบาลไม่รบด้วย รัฐบาลทำหน้าที่เพียงรักษากฎหมายให้มีความศํกดิ์สิทธิ์ และรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับบ้านเมืองนี้ เพื่อความสงบสุขของสังคม เพื่อความผาสุกของประชาชน และเมื่อทุกคนทำหน้าที่เช่นนี้ผมมั่นใจว่า นอกจากเราจะฟันฝ่าปัญหาเฉพาะหน้าได้แล้ว สิ่งต่างที่จะทำในอนาคตของสังคมและเศรษฐกิจไทย รวมทั้งความสุขของประชนเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
"กานต์" แนะพัฒนา 3 ด้านพาเศรษฐกิจโตยั่งยืน
ประเด็น:โพสต์ทูเดย์-อินเวสต์เมนต์-เอ็กซ์โป-2553 , 05 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 17:56 น.
"กานต์ ตระกูลฮุน" เปิดมุมมองอนาคตไทยจะโตยั่งยืนได้ต้องพัฒนา 3 ด้าน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร-ต่อยอดภาคบริการ-ขยายภาคอุตสาหกรรม
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือซีเมนต์ไทย (เอสซีจี) กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "มองข้างหน้าเพื่ออนาคต ในมุมมองกานต์" ในงานโพสต์ทูเดย์ อินเวสต์เม้นท์ เอ็กซโป 2010 ว่า ประเทศไทยจะเติบโตอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องปรับตัวให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลง ในอนาคต โดยการเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตร ต่อยอดภาคบริการ และขยายภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย ความตกลงเขตการค้าเสรี การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปัญหาโลกร้อนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงวิกฤตพลังงานและอาหาร พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยชนชั้นกลางและสังคมผู้สูงอายุ ความสมดุลของโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว และก้าวไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน
สำหรับการเพิ่มมูลค่าภาคเกษตรกรรมจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำ งาน โดยการบริหารงานแบบครบวงจร เน้นการเพิ่มมูลค่า และให้ภาครัฐสนับสนุนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดการใช้ปุ๋ยดูแลแมลงและศัตรูพืชอย่างเหมาะสม มีการเตรียมรักษาดิน และระบบชลประทาน เพื่อให้เกิดการวางแผนการเพาะปลูกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา
ขั้นตอนการปลูกและแปรรูป จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายเพิ่มผลผลิต โดยใช้เครื่องมือการเกษตรในการเพิ่มผลผลิต และลดความเสียหาย รวมทั้งพัฒนาวิธีการเก็บรักษา และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยการปลูกพืชควรจะปลูกพืชหลัก 60-70% ของพื้นที่ และปลูกพืชอื่นๆ ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าได้อีก 30-40% เพื่อให้เกิดความสมดุล และไม่เกิดปัญหาด้านการเพาะปลูก รวมทั้งจัดระบบการขาย การตลาด และกระจายสินค้าอย่างมีระบบ
ด้านการต่อยอดภาคบริการ ควรจะใช้จุดแข็ง เช่น ความงามของวัฒนธรรม ศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาค ธุรรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม ของไทยมาต่อยอดด้านบริการต่างๆ รวมทั้งขยายรายได้จากกลุ่มคนต่างชาติที่มีโอกาสมาเมืองไทย โดยเฉพาะจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาอยู่แบบระยะยาว
สุดท้ายการขยายภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ด้วยการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา และตราสินค้า เนื่องจากไทยไม่มีความได้เปรียบจากแรงงงานต้นทุนต่ำอีกต่อไปการจะเป็นผู้ ผลิตที่มีการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าจึงต้องอาศัยการสนับสนุนให้เกิดกระบวน การวิจัยและพัฒนาที่ดี รวมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต่อผลงานที่คิดค้นได้
“งบด้านวิจัยและพัฒนาของไทยรวมทั้งของภาคเอกชนและรัฐเมื่อเทียบกับจีดีพี เท่ากับ 0.25% เท่านั้น หากกระทรวงแต่ละแห่งสามารถแบ่งงบประมาณมา 1% เพื่อทำวิจัยและพัฒนา จะทำให้ตัวเลขเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว” นายกานต์ กล่าว
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรัฐและเอกชนต้องให้ความสำคัญและดูแลเอาใจใส่ ซึ่งอาจมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ในภาพรวมจะช่วยลดต้นทุนทั้งระบบ อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจด้านพลังงานทางเลือก เป็นต้น
สมคิดแนะรัฐเร่งปฏิรูปประเทศ-แก้วิกฤตความเชื่อมั่น
ประเด็น:โพสต์ทูเดย์-อินเวสต์เมนต์-เอ็กซ์โป-2553 , 05 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 15:32 น.
อดีต รมว.คลัง ปาฐกถาพิเศษ ในงาน "โพสต์ทูเดย์อินเวสต์เมนต์ เอ็กซ์โป 2010" แนะรัฐเลิกพีอาร์ผลงาน ควรเร่งเครื่องปฏิรูปประเทศ-แก้ปัญหาขาดความน่าเชื่อถือ
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวในงานโพสต์ทูเดย์ก้าวสู่ปีที่ 8 หัวข้อ มองข้างหน้าเพื่ออนาคต ในมุมมองสมคิดว่า วันนี้ประเทศไทย ยืนอยู่ในจุดพลิกผันได้ง่าย มองไปข้างหน้าขณะนี้เห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของประเทศ โอกาสของไทยขณะนี้คือสามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานของประเทศอาเซียนสู่การ ค้าเต็มรูปแบบและเอเชียกำลังเป็นกระแสศูนย์กลางของอนาคต ขณะที่ความเสี่ยงมองว่า ประเทศไทยต้องใช้ความระมัดระวังมาก ๆ รัฐบาลต้องก้าวเดินด้วยความรอบคอบเพื่อให้มีเงื่อนไขที่ดีที่สุดต่อประเทศ เนื่องจากสถานภาพของไทยขณะนี้ ไม่เอื้ออำนวยทั้งจากปัญหาเก่าที่หมักหมมในอดีต และเงื่อนไขใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้น
"หลังการปฏิวัติ 3 ปีก่อนผมเคยเตือนว่าการสูญเสียความเชื่อมั่นสามารถฟื้นฟูได้ง่าย แต่อย่าลามไปถึงความเชื่อถือของประเทศ หากเสียหายเมื่อไรจะใช้เวลานานในการฟื้นคืน ทุกวันนี้ภาพของประเทศ คนในชาติมีความขัดแย้ง สังคมขาดระเบียบ ขาดกติกา และภาครัฐมีความอ่อนแอ ขาดประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้พร้อมจะปะทุความรุนแรงและความไม่สงบได้อีก" นายสมคิดกล่าว
นายสมคิด กล่าวว่า ปัญหาของไทยขณะนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจระยะสั้นรัฐบาลควรเลิกพูดเรื่องจีดีพีและ เลิกประชาสัมพันธ์ได้แล้ว แต่ควรจะมองประเทศให้ไกลกว่าจีดีพี ขณะนี้ทุกฝ่ายต้องร่วมกันทั้งรัฐและเอกชนเพราะปัจจุบันประเทศไม่ได้จริงจัง กับการปฏิรูป ประเทศก็เลยเริ่มเสื่อม ทุกคนมองประโยชน์เฉพาะกลุ่มไม่ได้มองส่วนรวม สิ่งเหล่านี้ทำให้ไทยอยู่ในทาง 2 แพร่ง ทุกคนต้องช่วยกันคิดใหม่สร้างใหม่ จึงจะทำให้ภายใน 5 ปี ประเทศไทยถึงจะเดินหน้าอย่างก้าวกระโดด
คลิ๊กชมประมวลภาพงานโพสต์ทูเดย์ทูเดย์ นเวสต์เมนต์ เอ็กซ์โป 2553 ได้ที่นี่
http://www.posttoday.com/รูปภาพ/8566/ประมวลภาพโพสต์ทูเดย์-อินเวสต์เมนต์-เอ็กซ์โป-2553