สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กลยุทธ์ 3 เพิ่ม กุ้งไทย มาตรฐาน-ภาพลักษณ์-ศักยภาพ

จากประชาชาติธุรกิจ



โดย ภาพิตร เพชรรัตน์




งานวัน กุ้งไทย ครั้งที่ 20 ที่โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประสบความสำเร็จ มีเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งเข้าร่วมงานมากกว่าทุกปีนับพันคน โดยเฉพาะห้องสัมมนาทางวิชาการ มีเกษตรกรเข้าร่วมฟังเต็มทุกหัวข้อ ส่วนบูทขายสินค้าเกี่ยวกับกุ้ง 70 บูท ก็ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเช่นกัน เรียกว่าผู้เลี้ยงกุ้งของไทยตื่นตัวที่จะยกระดับตนเองมากขึ้น

ใน ส่วนของภาควิชาการมีหัวข้อที่น่าสนใจคือ "นโยบายภาครัฐ และ GAP ใหม่ สำหรับฟาร์มกุ้งไทย" โดย ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวถึงการควบคุมปริมาณการผลิตกุ้งให้คงที่ ที่ 500,000-550,000 ตันต่อปี หรือเท่ากับปริมาณการผลิตของปี 2552 การลดต้นทุนการผลิต การสร้างความเข้มงวดในการสร้างมาตรฐานฟาร์ม และเดินหน้าโครงการการประกันภัยกุ้ง

ส่วนนโยบายของรัฐด้านการตลาดของ ปี 2553 ปริมาณการส่งออกสินค้ากุ้ง ไม่ต่างจากปี 2552 คือประมาณ 370,000-400,000 ตัน แม้ว่าประเทศผู้นำเข้ากุ้งจากไทย 80-85% จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ปริมาณการบริโภคกุ้งไม่ได้ลดลง ส่งผลให้การแข่งขันด้านราคามีมากขึ้น ในขณะที่ผู้ส่งออกต้องถูกบังคับให้จำหน่ายสินค้าในราคาต่อหน่วยที่ถูกลง ขณะเดียวกันผลผลิตกุ้งในแต่ละประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย ส่วนมูลค่าการส่งออกจะอยู่ที่ 88,000-95,000 ล้านบาท

ส่วนการเปิดการ ค้าเสรีในอาเซียนจะมีการเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยใช้มาตรการด้านสุขอนามัย เพื่อควบคุมการนำเข้ากุ้งจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่องคุณภาพ การปนเปื้อนสารเคมี และโรคระบาด

สำหรับการเพิ่ม ประสิทธิภาพด้านการตลาด โดยการเพิ่มภาพลักษณ์สินค้ากุ้งให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับผ่านการ ประชาสัมพันธ์ด้านวิชาการ ในรูปแบบ technical knock door mission หรือการประชาสัมพันธ์งานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานกุ้งไทย ในประเทศคู่ค้า เช่น ดูไบ รัสเซีย อเมริกา และจีน พร้อม เข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านอาหารทะเลในระดับโลก ขณะเดียวกันผู้ผลิตและผู้ส่งออกต้องร่วมกันดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามกระแส ความต้องการของประเทศผู้นำเข้าสินค้ากุ้ง เช่น การปลูกป่าชายเลน ซึ่งสื่อถึงการรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ขณะ เดียวกันภาครัฐจะเดินหน้าผลักดันการจัดตั้งกองทุนกุ้ง เพื่อทำให้โครงสร้างด้านราคาของวัตถุดิบกุ้งจากฟาร์มมีความมั่นคงมากยิ่ง ขึ้น รวมทั้งสร้างความมั่นคงด้านราคาจำหน่ายกุ้งให้แก่เกษตรกร

ส่วน หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ หัวข้อสถานการณ์กุ้งไทยปี 2552 และ แนวโน้มปี 2553 เรื่องการเพิ่มมาตรฐาน เพิ่มภาพลักษณ์ เพิ่มศักยภาพกุ้งไทย เรื่องทางเลือกการเลี้ยงกุ้งในภาวะต้นทุนเพิ่ม ราคาลด เป็นต้น

ด้าน ทันตแพทย์สุรพล ประเทืองธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย เปิดเผยเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรฐาน เพิ่มภาพลักษณ์ เพิ่มศักยภาพกุ้งไทย ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการจัดงานในครั้งนี้ว่า ทั่วโลกเลี้ยงกุ้งกันเยอะมาก ลูกค้าต้องการกินกุ้งมากขึ้น ต้องการทั้งคุณภาพและความปลอดภัย ของอาหาร ต้องการความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องการสวัสดิการคนงาน ทำอย่างไรเราจะสนองความต้องการของลูกค้าได้

ปัจจุบันมีผู้ออก ระเบียบมาตรฐานสินค้าต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ เช่น มาตรฐาน ISO ซึ่งแต่ละปีโรงงานต่าง ๆ เสียค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ ISO หลายพันล้านบาท ซึ่งมาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องมี เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เหนือกว่าคู่แข่ง แต่ก็ทำให้ ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เราจึงคิดพัฒนามาตรฐานของเราเอง ซึ่งแตกต่างกับมาตรฐานอื่น ๆ คือมาตรฐาน SSP (sustainable shrimp program) หรือโครงการฟาร์มผลิตกุ้งอย่างยั่งยืน คือต้องไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในทุกกระบวนการผลิตโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังต้องดูแลสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม สวัสดิการคนงาน และมีกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น การปลูกป่าชายเลน

ขณะที่เกษตรกรผู้ เลี้ยงกุ้งจาก จ.ปัตตานี "สมศักดิ์ พุ่มพฤกษา" ซึ่งเข้าร่วมงานวันกุ้งไทย บอกว่า ปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ จ.ปัตตานี ไม่ใช่เรื่องปัจจัยการผลิต แต่เป็นผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ และปัญหาด้านราคา โดยกุ้งราคาลดลงมามาก และถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาลงมาอีก 10-15 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ทั้งพันธุ์กุ้ง อาหาร ถือว่าไม่เป็นปัญหา

ส่วนมาตรฐาน SSP ที่ฟาร์มกำลังทำอยู่ ขณะนี้ยังไม่ผ่าน เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือในการรับรอง เช่น น้ำบาดาล ต้องตรวจและรับรองโดยกรมทรัพยากรธรณี หรือน้ำแข็ง ก็ต้องได้รับการรับรอง ทำให้เป็นภาระกับเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายเล็ก ๆ จะอยู่ไม่ได้ ตอนนี้มีเกษตรกรยื่นขอรับรองมาตรฐาน SSP ไปประมาณ 100 ราย แต่ผ่านแค่ 5 รายเท่านั้น

ด้าน นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง กล่าวว่า การจัดงานวันกุ้งไทยครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก โดยบริษัทต่าง ๆ ที่มาออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างได้รับคำสั่งซื้อต่อเนื่อง เชื่อว่ามีเงินสะพัดตามมานับพันล้านบาท และความสำเร็จอีกอย่างหนึ่งคือ ภาควิชาการ เกษตรกรให้ความสนใจองค์ความรู้ใหม่ ๆ เทคนิควิธีการเลี้ยงกุ้ง หรือเกร็ดความรู้ โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งนั่งฟังวิทยากรเต็มห้องสัมมนาทุกหัวข้อการบรรยาย โดยปีนี้มียอดเกษตรกรลงทะเบียนเข้างาน 1,045 คน ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วที่มีเพียง 800 คน สำหรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็มีมากขึ้น เช่น เครื่องมือตรวจวัดที่ทันสมัยขึ้นเป็นระบบดิจิทัล ทั้งเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจน ตรวจค่าความเป็นกรดเป็นด่าง เครื่องวัดอุณหภูมิ
นวัต กรรมใหม่เลี้ยงกุ้ง
จากประชาชาติธุรกิจ


งานวันกุ้งไทยปีนี้มีนวัตกรรมการเลี้ยง กุ้งใหม่ ๆ มาโชว์เช่น เครื่องมือวัดค่าต่าง ๆ ในฟาร์มกุ้ง

นาง สาวกรวีณา โกมลโยธิน ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท เลกะ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บอกว่า เกษตรกรให้ความสนใจสินค้ามาก เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ในฟาร์มกุ้ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะเครื่องวัดออกซิเจนในน้ำซึ่งพบว่ามีคำสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีฟังก์ชั่นการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ราคาไม่สูง มีคู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทย เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย หรือฟาร์มขนาดเล็ก ราคาอยู่ที่ 12,600-16,000 บาท ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากนี้ ยังนำเทคโนโลยีการให้ออกซิเจนในน้ำจากประเทศญี่ปุ่นมาแสดง คือระบบ microbubble ซึ่งจะทำให้ออกซิเจนแทรกอยู่ในน้ำได้อย่างละเอียด และยาวนานขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้ในญี่ปุ่น ใช้ในฟาร์มเลี้ยงหอยนางรมเพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคในน้ำ ป้องกันอาการท้องเสียจากการกินหอยนางรมสด ๆ

อีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่คือ ท่อเติมออกซิเจน ของบริษัท เทคโนโลยีสากล เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด โดยการนำยางรถยนต์เก่ามารีไซเคิล โดยทำเป็นท่อที่มีรูเล็ก ๆ จ่ายฟองอากาศขนาดเล็ก จากพื้นบ่อขึ้นไปในแนวดิ่ง ซึ่งช่วยให้ ออกซิเจนละลายน้ำได้เพียงพอ มีอายุ การใช้งานถึง 10 ปี ที่สำคัญเป็นนวัตกรรม ของคนไทย

ผลงานอีกชิ้นคือ เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำด้วยพลังงานลม ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีเพียงตัวต้นแบบมาโชว์เท่านั้น นายมาโนช ชวนเสถียร เจ้าของผลงาน เปิดเผยว่า เครื่องเติมออกซิเจนด้วยพลังงานลม ทำงานโดยใช้หลักการเดียวกับกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวกำเนิดพลังงานผ่านไดอะเฟรมปั๊ม ส่งอากาศตรงลงใน บ่อเลี้ยงกุ้ง ถ้ากระแสลมแรงจะทำให้เกิดออกซิเจนในน้ำได้มาก ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการนำไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์มาปั่นเครื่องตีน้ำให้เกิดออกซิเจน แต่ควรใช้ร่วมกับกระแสไฟฟ้าหลัก สนนราคาไม่รวมค่าติดตั้ง 40,000 บาท

view