สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Contract Farming รายใหญ่ดูแลรายเล็ก จากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค

จากประชาชาติธุรกิจ



อาชีพ เกษตรกรไทย ใคร ๆ ก็ว่ายากลำบาก ยิ่งในยุคอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ฝนฟ้าตกไม่เป็นฤดูกาล หน้าแล้งก็แล้งจัด หน้าฝนก็ น้ำท่วม อาชีพที่ต้องพึ่งพิงฟ้าฝนอย่างอาชีพการเกษตรจึงต้องปรับตัว และเปลี่ยนวิธีการผลิต รู้จักวางแผน รู้วิธีการรับมือกับความแปรปรวนของภูมิอากาศ และโรคภัยนานาชนิดที่พร้อมถล่มพืชผัก ฟาร์มเลี้ยงให้ราบคาบเพียงข้ามคืน

การ ส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกร รายย่อยให้รู้จักวางแผนการผลิต รู้วิธีรับมือกับโรคภัย และมองทิศทางแนวโน้มตลาดเป็น ป้องกันตัวเองได้จากความผันผวน ของราคาสินค้าเกษตรในตลาด เป็นกระบวนการสร้างอาชีพให้ยั่งยืน และต้องได้รับความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่ตัวเกษตรกร จนถึงภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ขายวัตถุดิบและผู้ซื้อผลผลิต

ปัจจุบัน ประเทศไทยพัฒนาสู่การทำเกษตรอุตสาหกรรม มีบริษัทใหญ่ด้านการเกษตรในประเทศหลายแห่งพัฒนาปรับปรุงสินค้าการเกษตรส่ง ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ มูลค่าหลาย แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน บริษัทการเกษตรเหล่านี้ก็ได้นำระบบการประกันความเสี่ยงจากราคาผลิตผลการ เกษตรจาก ต่างประเทศเข้ามาใช้กับเกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "contract farming" หรือ "เกษตร พันธสัญญา"

สอง ด้านของเหรียญ

แม้ว่าในด้านหนึ่ง การทำเกษตรพันธสัญญาจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นสัญญาทาส ข้อตกลงระหว่างตัวแทนบริษัทกับเกษตรกรเป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม มีทั้งเป็นสัญญาปากเปล่า และสัญญา ลายลักษณ์อักษร สินค้าที่ผลิต ถูกกำหนดโดยบริษัทเพียงฝ่ายเดียว เกษตรกรไม่มีสิทธิต่อรองราคา

ส่วน ในงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ภายใต้แผนงานสร้างเสริมสุขภาพแรงงานนอกระบบในภาคเกษตร เรื่อง "เกษตรพันธสัญญากับโอกาสการพัฒนาของเกษตรกรรายย่อย" ซึ่งเผยแพร่ในการประชุมวิชาการของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร (ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2549 ระบุว่า

"เทคโนโลยี การผลิต วัสดุการผลิต และเวชภัณฑ์ ถูกกำหนดโดยบริษัท โดยเฉพาะเกษตรพันธสัญญาด้านปศุสัตว์ และประมง แม้เกษตรกรจะสามารถเพิ่มทักษะและประสบการณ์ อันเกิดจากการปฏิบัติจริง แต่โอกาสจะพัฒนาและปรับใช้วิธีใหม่ ๆ ด้วยตัวเองยังจำกัด เนื่องจากพันธุ์สัตว์ ปลา และพืช ถูกกำหนดโดยผู้ประกอบการ นอกจากนี้ เวชภัณฑ์และอาหารสัตว์ปีก สุกร และประมง ถูกกำหนดโดยผู้ประกอบการเช่นกัน"

"ดัง นั้น เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนสูงสุดจะต้องจัดการพันธุ์และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดผลเชิงทวีคูณภายใต้สภาพสิ่งแวดล้อมพร้อมสมบูรณ์ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีของตัวเอง นำมาพัฒนาใช้ในระบบเกษตรแบบมีพันธสัญญายังจำกัด ไม่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเกษตรกรเอง และปัจจัยการผลิตขึ้นอยู่กับบริษัท แม้ว่าจะเป็นในรูปสินเชื่อก็ตาม"

ขณะ ที่ "อดิศร์ กฤษณวงศ์" รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสธุรกิจขายอาหารสัตว์น้ำจืด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวถึงที่มาของการนำระบบเกษตรพันธสัญญามาใช้ในระบบการผลิตว่า เนื่องจากในปัจจุบัน การทำเกษตรได้รับผลกระทบจากดีมานด์-ซัพพลายสูงมาก และถ้าไม่มีการควบคุม เกษตรกรที่ทำด้วยตัวเองในบางพื้นที่ก็ทำในลักษณะดูเขารวย ช่วยเขาจน คือเห็นคนหนึ่งปลูกอะไร เลี้ยงอะไรร่ำรวย ได้เงินดี ก็พากันปลูก พากันเลี้ยง จนผลผลิต ล้นตลาด ขายไม่ออก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

เมื่อผล กระทบจากดีมานด์-ซัพพลาย แรงมาก การทำเกษตรกรรมแบบดูเขารวย ช่วยเขาจน ก็จะไม่ยั่งยืน แม้จะทำแบบพอเพียงแล้วก็ตาม ดังนั้น ในต่างประเทศแถบยุโรป จึงมีการนำเกษตรพันธสัญญามาใช้ โดยในประเทศที่พัฒนาจนถึงขั้นเป็นเกษตรอุตสาหกรรม ผู้แปรรูปเป็นฝ่ายต้องการวัตถุดิบที่มีความสม่ำเสมอทั้งราคา คุณภาพ และปริมาณ ไม่ว่าจะเป็นการจัดจำหน่ายในประเทศ หรือส่งออกก็ตาม ผู้แปรรูปจึงต้องไปทำสัญญากับเกษตรกรให้ผลิตวัตถุดิบตามจำนวนและคุณภาพ ภายใต้ต้นทุนและราคาที่ตกลงกัน

3 รูปแบบ contract farming

ข้อ ตกลงระหว่างบริษัทกับเกษตรกร รายย่อยจะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1) การประกันรายได้ ทำกับเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินของตัวเอง แล้วเกษตรกรเป็นผู้ลงทุนด้านโรงเรือน วัสดุอุปกรณ์ ส่วนบริษัทเข้าไปช่วยเหลือด้านพันธุ์สัตว์ อาหาร เวชภัณฑ์ และส่งนักวิชาการไปให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยีและวิชาการ เมื่อได้ผลผลิต บริษัทจะคำนวณประสิทธิภาพการผลิตและจ่ายค่าตอบแทนแก่เกษตรกร รวมทั้งผลตอบแทนจากประสิทธิผลการผลิตที่เพิ่มขึ้น

2) การประกันราคา จะทำในกรณีที่เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินของตัวเอง มีเงินทุนทำการเกษตรและรับหน้าที่ลงทุนทุกด้านเอง ตั้งแต่โรงเรือน วัสดุอุปกรณ์ พันธุ์สัตว์ อาหาร และเวชภัณฑ์ ส่วนบริษัทจะส่งนักวิชาการไปให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยี และเมื่อผลผลิตออกมา บริษัทจะรับซื้อทั้งหมดจากเกษตรกร ตามราคาที่ได้รับประกันไว้

และ 3) การประกันการรับซื้อผลผลิตคืน เกษตรกรจะดำเนินงานด้านการเกษตรในลักษณะธุรกิจส่วนตัว และมีบริษัทเป็น ผู้ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ สรรหาเทคโนโลยีการเลี้ยงสมัยใหม่มาแนะนำ รวมถึงการชี้แนะทิศทางการเติบโตของธุรกิจ โดยบริษัทจะรับผิดชอบด้านการตลาดให้ทั้งหมด เพื่อให้เกษตรกรสามารถ มีตลาดขายผลผลิตที่มั่นคงและยั่งยืน

CSR in process

ความ สัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับเกษตรกรรายย่อยในระบบเกษตร พันธสัญญา ไม่ว่าจะถูกเรียกว่า "สัญญาทาส" หรือ "ความช่วยเหลือเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกร" แต่ธุรกิจด้านอาหารและการเกษตรหลายแห่งได้นำเอาระบบนี้เข้ามาใช้ และเป็นกระบวนการหนึ่งที่ธุรกิจขนาดใหญ่จะแสดงความรับผิดชอบต่อคู่ค้า ซึ่งในที่นี่คือเกษตรกรรายย่อย และเป็นหนึ่งใน stakeholder ของธุรกิจได้ ด้วยการดูแลให้คำแนะนำ รับประกันรายได้ หรือราคาผลผลิต

เป็นการรับ ผิดชอบที่คู่ค้าจะมีให้ต่อกันในกระบวนการผลิต หรือเป็นสิ่งที่จะนำมาประเมินได้ว่า ธุรกิจนั้นทำซีเอสอาร์ในกระบวนการผลิตหรือไม่

สำหรับซีพีเอฟ มีโครงการเกษตรพันธสัญญาในหลายพื้นที่ มีเกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกส่งผลผลิตการเกษตรให้หลายพันครัวเรือน กระชังปลานิลและปลาทับทิมของ "บัวลี ทินพิษ" เกษตรกรบ้านขี้เหล็ก จ.มหาสารคาม วัย 65 ปี เป็นสมาชิกรายใหญ่เจ้าหนึ่งของ ซีพีเอฟในภาคอีสานตอนบน

ผู้เริ่มต้นเลี้ยงปลาในกระชังตั้งแต่ปี 2541 จาก 6 กระชัง ปัจจุบันขยายเป็น 50 กระชัง มีรายได้จากการเลี้ยงปลาในกระชังปีละ 2-2.5 แสนบาท มีชีวิตที่เขาบอกว่า ลืมตาอ้าปากขึ้น

มาได้ ก็เพราะได้รับการ แนะนำจากตัวแทนบริษัทและนักวิชาการจากซีพีเอฟให้ทดลองเลี้ยงปลาในกระชัง

จากอดีต ชาวไร่ ช่างไม้ เคยเดินทางไปขายแรงงานถึงซาอุดีอาระเบียนานกว่า 4-5 ปี รายได้ต่อปีไม่กี่หมื่นบาท เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ก็ขาดทุน แต่วันนี้บัวลีบอกว่า เขามีความสุขที่ได้เลี้ยงปลาในกระชัง ได้คุยกับปลา ให้อาหารปลาวันละ 3 มื้อ สามารถ ส่งทอดอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังให้ลูกชาย และลูกสาวได้มีเงินมีรายได้เลี้ยงลูกหลานให้เรียนหนังสือถึงระดับ มหาวิทยาลัย

ในวันที่อาหารปลาถุงละ 360 บาท ถุงหนึ่งมี 20 กิโลกรัม ลูกปลานิลตัวละ 3-4 บาท ปลาทับทิมราคาแพงกว่า 50-60 สตางค์ บัวลีขายปลาให้กับตัวแทนบริษัทซีพีเอฟในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53 บาท หักต้นทุนค่าอาหาร ค่าวิตามิน และอื่น ๆ เขาจะได้กำไรจากการเลี้ยงปลากิโลกรัมละ 20-25 บาท การลงปลาในกระชังรอบหนึ่ง เขาจะลงปลากระชังละประมาณ 500 ตัว ระยะเวลาการเลี้ยง 4 เดือน หากอยากได้ตัวใหญ่ก็เลี้ยงนานหน่อย

"น้ำ มากก็ปล่อยมาก น้ำน้อยก็ปล่อยน้อย ต้องดูว่า หน้าไหนคนอยากกินปลาเยอะ อย่างสงกรานต์ เดือนบุญก็จะขายปลาได้เยอะ" บัวลีกล่าว

อดิศร์กล่าว ว่า การเข้ามาของซีพีเอฟตรงนี้ เราเข้ามาวางระบบ บริหารดีมานด์-ซัพพลายให้เหมาะสม เราแบ่งกลุ่มการเลี้ยงปลาใน 17 จังหวัดภาคอีกสาน ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไม่ให้เกินปริมาณความต้องการของตลาด วางแผนการผลิต วางแผนตลาดให้ ดูแลเรื่องโรค ความปลอดภัยของอาหาร การทำอย่างนี้ เป็นประโยชน์ทั้งกับเกษตรกร ผู้บริโภค ตัวแทนจำหน่ายและบริษัทซีพีเอฟเองด้วย

จากกระชังปลาสู่โรงเลี้ยง หมู

การให้แม่พันธุ์ อาหารสัตว์ และรับซื้อผลผลิตในระบบเกษตรพันธสัญญา ที่ซีพีเอฟทำในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง ที่สร้างความสุข สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผู้เลี้ยงหมูให้สามารถก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของกิจการ สร้างชุมชนที่มีความเอื้ออาทร มีการสร้างรายได้ร่วมกัน จนเป็นชุมชนตัวอย่างภายในพื้นที่ 1,253 ไร่ จากพื้นที่รกร้างเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซีพีนำมาจัดสรรให้เกษตรกรครอบครัวละ 25 ไร่ โดยในระยะแรก ซีพีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้เกษตรกรทำอาชีพเลี้ยงหมู และผ่อนค่าที่จากธนาคารกรุงเทพ โดยมีซีพีเป็นผู้ค้ำประกัน

จากเสียง ร่ำลือเมื่อ 30 ปีก่อน ในยุคที่เมืองไทยเกรงกลัวภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง การจัดตั้งชุมชน หรือคอมมูน แบบหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ยังถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงไม่มากก็น้อย แต่ถึงปัจจุบัน โมเดลการสร้างชุมชนให้คนมีที่ดิน มีอาชีพ ด้วยการเลี้ยงหมู มีซีพีเอฟเข้ามารับซื้อ ได้สร้างรายได้ให้กับคนใน หมู่บ้าน เฉลี่ยครอบครัวละ 8 หมื่นบาทเลยทีเดียว

นอกจากการเลี้ยงหมูแล้ว หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ยังสร้างอาชีพเสริมจากทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น การผลิตก๊าซ ชีวมวลจากมูลสัตว์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวโฮมสเตย์ ให้คนเข้ามาศึกษาเรียนรู้การใช้ชีวิตของคนในหมู่บ้าน ฝึกลูกหลานให้เป็นยุวทูตน้อย เป็นวิธีฝึกเด็ก ๆ ค่อย ๆ ซึมซับความภาคภูมิใจอาชีพเลี้ยงหมูของคนรุ่นพ่อแม่ ด้วยประสบการณ์ของตัวเอง

ตามเจตนารมณ์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ 3 ด้าน คือการสร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติ แก่ประชาชน สังคม และบริษัทต้องอยู่ได้

มะเขือเทศ "โรซ่า" สร้างโภชนาการเด็ก

ไม่ เพียงแต่การดูแลผู้ผลิต ในฐานะคู่ค้าให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น เป็นเกษตรกรที่พึ่งพาตัวเองได้ บางธุรกิจพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น ในกรณีของบริษัท โรซ่า เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจในกลุ่มของ บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ "ตราโรซ่า" ได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรใน 6 จังหวัดอีสานตอนบน ได้แก่หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู และกาฬสินธุ์ เพาะปลูกมะเขือเทศในระบบเกษตรพันธสัญญา จำนวนกว่า 6 พันราย

โดย บริษัทจ่ายเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแก่เกษตรกร และเป็นมะเขือเทศสายพันธุ์สำหรับการแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน บริษัท โรซ่า เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ก็ก่อตั้งโรงงานที่ ต.บ้านเดื่อ อ.เมือง จ.หนองคาย ด้วย เจตนารมณ์ให้เป็นโรงงานที่อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ นอกจากจะได้วัตถุดิบสดใหม่ป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปเป็นซอสมะเขือเทศ ปลากระป๋องแล้ว การตั้งโรงงานในท้องถิ่น ยังเป็นการสร้างแรงงาน กระจายรายได้ออกสู่ชนบท

อีกด้านหนึ่ง บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการ "เฮลท์ตี้เดย์ สุขภาพดีด้วยคุณค่าธรรมชาติ" ปลูกฝังนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกสัดส่วน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินผักของเด็กไทย ผ่านโครงการ "สคูลโปรแกรม" ประกวดแผนโภชนาการดีอย่างยั่งยืนใน 52 โรงเรียนใน จ.อุดรธานีและหนองคาย และทำต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดมาถึงปีที่ 6 แล้ว

"สุ วิทย์ วังพัฒนมงคล" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮคิวฯ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้ โรซ่าและกรมอนามัยหวังมีส่วนช่วยให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ดี เด็กไทยสามารถเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสมและถูกสัดส่วนตามเกณฑ์ โภชนาการของกรมอนามัย ซึ่งเป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ของเราที่จะคืนประโยชน์สู่สังคมอย่างยั่งยืน และเป็นความภาคภูมิใจของเราโดยเสมอมา

เป็นกิจกรรมที่คิดตั้งแต่ต้น ทางถึงปลายทาง จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ดูแลตั้งแต่ซัพพลายเออร์ เกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบจนถึงผู้บริโภค เพื่อสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจและสังคมให้ยั่งยืนต่อไป

view