สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เศรษฐกิจตกตํ่าฝ่ายขายยักยอกทรัพย์สูงขึ้น

จาก โพสต์ทูเดย์


ปัจจุบันปัญหาการยักยอกทรัพย์ของพนักงานขายของบริษัทที่มีแนว โน้มสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้นควรหาทางวางมาตรการควบคุมไว้แต่เนิ่นๆ

โดย...อ.เดชา กิตติวิทยานันท์

สวัสดีครับ วันนี้คอลัมน์ทนายคลายทุกข์ ขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับปัญหาการยักยอกทรัพย์ของพนักงานขายของบริษัทที่มี แนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะขณะนี้ผมในฐานะทนายความจำเป็นต้องเดินทางไปศาลเกือบทุกวัน พบว่าในคดีศาลแขวงโดยเฉพาะคดีอาญา ส่วนใหญ่เป็นคดีเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อันสืบเนื่องมาจากพนักงานยักยอกทรัพย์ทั้งสิ้น  ผมสรุปตัวอย่างของพฤติกรรมคดียักยอกทรัพย์ที่เกิดจากพนักงาน มีดังนี้

1.เก็บเงินสดแล้วไม่นำส่งบริษัท พนักงานฝ่ายขายเก็บเงินสดจากลูกค้าที่ตัวเองมีหน้าที่ขายและเก็บเงินแล้ว ไม่นำส่งบริษัทและไม่รายงานบริษัท

2.อ้างว่าทำใบเสร็จรับเงินหาย พนักงานฝ่ายขายเก็บเงินได้ แต่นำไปใช้ส่วนตัว แต่รายงานบริษัทว่ายังเก็บเงินไม่ได้ เนื่องจากลูกค้ามีปัญหาทางการเงิน เช่น กิจการย่ำแย่ เก็บเงินจากลูกค้าของตนเองไม่ได้ มีหนี้สินเยอะ กำลังหาเงินอยู่ เป็นต้น

3.แจ้งความใบเสร็จหายแต่นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว พนักงานฝ่ายขายทำใบเสร็จรับเงินหายและไปแจ้งความตำรวจ หลังจากนั้นนำสำเนาบันทึกประจำวันมาส่งมอบให้บริษัท ซึ่งความเป็นจริงไม่ได้หาย แต่นำใบเสร็จที่เบิกไปทั้งเล่มไปออกให้กับลูกค้าของบริษัท ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย

4.ทำใบเสร็จปลอม พนักงานฝ่ายขายออกใบเสร็จรับเงินที่ตัวเองจัดทำขึ้นเองและนำไปออกให้กับ ลูกค้า และนำเงินที่ได้จากการทุจริตไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว

5.ปัญหาด้านการเงินส่วนตัวของพนักงานขาย ปัญหาส่วนตัวของพนักงานฝ่ายขาย เช่น ปัญหาครอบครัว ค่าเทอมบุตร ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน บัตรเครดิต บัตรเงินด่วน หนี้นอกระบบ ทำให้หมุนเงินไม่ทัน เป็นต้นเหตุให้ยักยอกทรัพย์สินของบริษัท

6.ระบบงานหละหลวมมีช่องว่าง บริษัทมีช่องว่าง เปิดโอกาสให้พนักงานฝ่ายขายทุจริตได้ง่าย

ผมเห็นว่าแนวทางในการป้องกันพนักงานยักยอกทรัพย์ของเจ้าของกิจการ ควรจะให้ความสนใจในเรื่อง

1.ต้องออกข้อบังคับการทำงาน ห้ามพนักงานรับเงินสดจากลูกค้าโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนถือว่าผิดวินัยร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ต้องถูกไล่ออกสถานเดียว

2.พิมพ์ข้อความลงในใบเสร็จรับเงินว่า ห้ามชำระด้วยเงินสด หรือส่งมอบเงินให้พนักงานขาย และให้โอนเงินเข้าบัญชีบริษัทเท่านั้น

3.พนักงานขายสินค้าและบริการต้องเป็นบุคคลคนละคน พนักงานขายสินค้าควรขายสินค้าอย่างเดียว ส่วนการเก็บเงินจากลูกค้าเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีหรือการเงิน ต้องแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการชงเองกินเองโกงเองโดยคนคนเดียว

4.พนักงานบัญชีหรือการเงินต้องมีการสุ่มตรวจลูกค้าที่มีปัญหาทางการเงิน สม่ำเสมอทุกสัปดาห์ หรือบางครั้งอาจต้องเดินทางไปเยี่ยมลูกค้าสม่ำเสมอ โดยไม่แจ้งล่วงหน้า เพื่อป้องกันการทุจริต

5.ในกรณีมีการทำให้ใบเสร็จรับเงินหายของพนักงานฝ่ายขาย ต้องทำหนังสือเวียนแจ้งลูกค้าทุกรายทราบ เพื่อป้องกันการนำเอาใบเสร็จที่แจ้งหายไปใช้ในทางมิชอบ และผู้บริหารต้องเดินทางไปตรวจสอบลูกค้าทุกรายของฝ่ายขายที่ทำใบเสร็จรับ เงินหาย เพื่อหาความจริง

6.ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ ต้องเยี่ยมเยียนลูกค้าสม่ำเสมอ มิฉะนั้นลูกค้าของบริษัทจะกลายเป็นลูกค้าของพนักงานฝ่ายขาย ฝ่ายขายมักนำสินค้าส่วนตัวมาขายพ่วงกับสินค้าบริษัท

7.ตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานฝ่ายขายอย่างสม่ำเสมอ โดยการสืบจากเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า เป็นต้น โดยเฉพาะพฤติกรรมในการใช้จ่ายเงิน หนี้สิน การใช้ของราคาแพงหรือฟุ่มเฟือยเกินฐานะความเป็นอยู่ หรือเล่นการพนันหรือมีภรรยาหลายคน ชอบทำผิดศีลธรรม เป็นต้น เพราะถ้าไม่มีระเบียบวินัยในการใช้เงิน โอกาสทุจริตมีสูงมาก

สำหรับข้อกฎหมายลงโทษพนักงานยักยอกทรัพย์ ปลอมเอกสาร บทลงโทษตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีดังนี้

มาตรา 264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท

มาตรา 268 ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ

ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเอง ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

view