สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

GSVC ค้นไอเดีย สร้างแนวคิด วัดมูลค่าจากคุณค่าธุรกิจเพื่อสังคม

จากประชาชาติธุรกิจ




หลัง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และโลกท่ามกลางความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้เกิดกระแสผลักดันให้คนทำธุรกิจในหลายสาขาหันมาคิด และใส่ใจกับการทำธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น กระแสนี้เกิดขึ้นแล้วในประเทศฝั่งตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานสะอาด การประกอบกิจการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการสร้างเทคโนโลยีลดการปล่อย คาร์บอน

สิ่งเหล่านี้เป็นกระแสในต่างประเทศ ที่ในแวดวงธุรกิจไทยก็ติดตาม และมีหลายธุรกิจทั้งใหญ่และเล็กหันมาผลักดันวางเป็นภารกิจหลักขององค์กร แต่ก็ยังมีอีกหลายธุรกิจที่มีใจคิดทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน

ขณะเดียวกันยังมีผู้ประกอบการ รุ่นใหม่อีกหลายคนที่อยากเห็นธุรกิจของตน เป็นธุรกิจที่สร้างทั้งผลกำไรที่เป็นตัวเงินและ ผลกำไรที่เป็นความสุข ความภาคภูมิใจ ส่วนตัว ในฐานะผู้ประกอบกิจการที่ได้สร้างคุณค่าและประโยชน์กับสังคมส่วนรวม

การ เกิดขึ้นของ "ผู้ประกอบการทางสังคม" หรือ social enterprise หรือแม้แต่การดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (ซีเอสอาร์) จึงได้รับการกล่าวถึงและลงมือทำอย่างเป็นจริงเป็นจังในบางธุรกิจ และเป็นส่วนผลักดันให้เกิด ความคิดพื้นฐานในเรื่องการทำธุรกิจกับการสร้างสังคมที่เป็นสุข น่าอยู่ร่วมกัน

10 ปีที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกา ได้เกิดธุรกิจและการแข่งขันแผนธุรกิจเพื่อสังคม หรือ GSVC (global social venture competition) ในมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย, เบิร์กลีย์ ที่ได้สร้างธุรกิจเพื่อสังคมมาแล้วกว่า 70 แห่ง ไม่ว่าจะในสาขาสาธารณสุข การศึกษา ไมโครไฟแนนซ์ การพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี พลังงานทดแทน และอื่น ๆ ด้วยแนวคิดการทำธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ขณะเดียว กันการแข่งขันแผนธุรกิจเพื่อสังคม (GSVC) ยังเป็นแห่งแรกของโลกที่คัดเลือกแผนธุรกิจจากนักศึกษาเอ็มบีเอที่เข้าแข่ง ขันด้วยคุณสมบัติว่า ต้องเป็นธุรกิจใหม่ที่สามารถแก้ไขปัญหาสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อมได้ และที่สิ่งสำคัญที่เป็นความแตกต่างจากการประกวดแข่งขันแผนธุรกิจที่มีอยู่ใน โลกขณะนี้คือ การสามารถวัดมูลค่าของการแก้ปัญหาออกมาเป็นตัวเงิน พร้อมกับการสร้างผลกำไรทางการเงินได้อย่างยั่งยืน

"เรามีเป้าหมาย จัดการประกวดแผนธุรกิจใน 3 เรื่อง คือ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก 2) การแสดงให้เห็นว่าการทำธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสามารถวัดมูลค่า ธุรกิจด้วยการสร้างผลลัพธ์ให้เกิดกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ และ 3) เป็นความท้าทายของเราที่ต้องการเห็นไอเดียใหม่ ๆ ของการทำธุรกิจเพื่อสังคมจากการแข่งขันที่เกิดขึ้น" เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการโครงการจีเอสวีซี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

ก้าว สู่ปีที่ 3 GSVC-SEA

สำหรับประเทศไทย การแข่งขันแผนธุรกิจเพื่อสังคมได้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของโครงการปริญญาโท บริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ (IMBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยย่าง เข้าสู่ปีที่ 3 ในปีนี้

โดยการแข่งขันแผนธุรกิจเพื่อสังคม (GSVC) ประจำปี 2553 ได้คัดเลือกทีมที่เข้าสู่รอบตัดสิน 12 ทีม จากผู้ส่งแผนเข้าประกวดทั้งหมด 23 ทีม จาก 8 ประเทศ 15 มหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ซึ่งในวันที่ 18 มีนาคมนี้ จะเป็นการแข่งขันรอบสุดท้าย เพื่อชิงรางวัลชนะเลิศ มูลค่า 6,000 เหรียญสหรัฐ และรางวัลการวัดมูลค่าธุรกิจที่มีต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม มูลค่า 4,000 เหรียญสหรัฐ จำนวน 1 รางวัล

นอกจากนี้ทีมที่ได้รับรางวัลจะ เป็นตัวแทนของภูมิภาคไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลกที่มหาวิทยาลัยแห่งแค ลิฟอร์เนีย, เบิร์กลีย์ ในเดือนเมษายน

สร้างนวัตกรรมคำนวณมูลค่า ทางสังคม

"อาร์. พอล เฮอร์แมน" ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง บริษัท HIP (Human Impact+ Profit) Investor บริษัทจัดอันดับและดัชนีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา หนึ่งในกรรมการตัดสิน และเป็นผู้เข้าร่วมในงานสัมมนาด้านการประกอบการเพื่อสังคม ที่จัดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม ที่โรงแรมแพนแปซิฟิค สีลม ระบุถึงความแตกต่างของรางวัลชนะเลิศกับรางวัลการวัดมูลค่าธุรกิจที่มีผลต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม ทั้ง ๆ ที่การประกวดแข่งขันนั้นมีเป้าหมายหาแผนธุรกิจใหม่ที่สามารถวัดมูลค่าทาง ธุรกิจด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมได้อยู่แล้ว แล้วทำไมต้องแยกมีรางวัลสำหรับการวัดมูลค่าธุรกิจอีก

พอลอธิบายว่า ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศนั้นจะแสดงให้เห็นว่าเป็นทีมที่มีแผนธุรกิจที่ดี ซึ่งแน่นอนว่าต้องสามารถวัดมูลค่าทางธุรกิจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ด้วย พร้อมกับเป็นแผนธุรกิจที่จะเห็นถึงความสำเร็จในการดำเนินการ มีแนวโน้มที่จะได้รับการตอบรับในตลาด

ขณะที่ทีมที่จะได้รับรางวัล การวัดมูลค่า ธุรกิจฯ คือทีมที่แสดงให้คณะกรรมการเห็นว่า มีวิธีคิดในการวัดมูลค่าธุรกิจออกมาเป็นผลลัพธ์ต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้ อย่างยอดเยี่ยม เพราะการวัดมูลค่าที่เกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องยาก ดังนั้นทีมใดที่สามารถคิดวิธีการวัดผลออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงนับว่าเป็นทีมที่เป็นผู้สร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมในการคิดคำนวณ และทีมนั้นก็จะได้รับรางวัลการวัดมูลค่าธุรกิจไป

โดยยกตัวอย่างว่า เมื่อปีที่ผ่านมามีทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ ทีม ecofabric จากอินโดนีเซีย เป็นทีมผลิตอิฐจากมูลวัว เนื่องจากในอินโดนีเซียมีวัวจำนวนมาก และมีปริมาณมูลวัวเยอะมากที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และปล่อยมลพิษไหลสู่ แหล่งน้ำ บริษัทนี้จึงนำมูลวัวมาทำเป็นอิฐโดยใช้เทคโนโลยีสร้างความคงทน

ขณะที่ทีมที่ชนะรางวัลการวัดมูลค่าธุรกิจฯ เป็นผู้ผลิตเกมติดตามตรวจสอบว่า เด็กคนไหนเป็นออทิสติกหรือไม่ โดยทีมนี้วัดมูลค่าของธุรกิจจากค่าใช้จ่ายในการรักษาเลี้ยงดูเด็กออทิสติกมา วัดคำนวณเป็นมูลค่าธุรกิจ ซึ่งเกมนี้จะทำให้ผู้ปกครองทราบได้เร็วขึ้นว่าลูกกลายเป็นออทิสติกหรือไม่ และจะได้หาทางรักษาหรือสร้างพัฒนาการของเด็กได้เร็วขึ้น

"ในแง่การ ลงทุนแล้ว บริษัทผลิตอิฐจากมูลวัวถือว่าน่าลงทุนกว่า แต่ในแง่วิธีคิดการสร้างวิธีการคำนวณมูลค่าทางธุรกิจแล้ว ทีมผลิตเกมสำหรับหาเด็กออทิสติกน่าสนใจกว่า แต่อาจไม่น่าลงทุนเท่าผลิตอิฐ" พอลกล่าว

ธุรกิจไทยตอบรับแนวคิด

ในเวทีสัมมนาด้านการ ประกอบการเพื่อสังคม ในวันที่ 19 มีนาคม จะมีเจ้าของกิจการ ตัวแทนบริษัทจากต่างประเทศหลายรายมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนิน ธุรกิจเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม โดยในเวทีนี้จะมีบริษัทไทยเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2 แห่ง คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และเครือซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจี

"พีระพงษ์ กลิ่นละออ" ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด ดีแทค ระบุว่าการเข้าร่วมการสัมมนานี้ ดีแทคจะร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นเรื่องกลยุทธ์การ แข่งขันบนแนวคิดแบบธุรกิจเพื่อสังคม โดยนำเอาวิธีการในการพัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจและ เสริมสร้างสังคมไปได้กันนั้นทำอย่างไร การนำหลักการตลาดมาประยุกต์กับเรื่องสังคม แล้วนำสิ่งเหล่านี้มาสร้างกิจกรรมซีเอสอาร์

นอกจากนี้ในเวทีสัมมนา ยังมีนักธุรกิจอีก 8 ราย ซึ่งดำเนินกิจการเพื่อสังคมที่มีไอเดียใหม่ น่าสนใจ มาบอกเล่าประสบการณ์และร่วมค้นหาคำตอบว่า การทำธุรกิจนั้นสามารถทำเงินและสร้างจิตวิญญาณของการเอื้อเฟื้อห่วงใย ใส่ใจสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้ โดยไม่ลอยอยู่ในอากาศ เพราะมีตัวอย่างธุรกิจหลายรายที่แสดงผลวัดได้เป็นตัวเลขและมูลค่าทางการเงิน เป็นผลตอบแทนแก่ธุรกิจและสังคม

view