สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกับ...ธุรกิจรับสร้างบ้านปี 53

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โดย : สิทธิพร สุวรรณทัต


เปิดมุมมองหลัง บ้านธุรกิจรับสร้างบ้าน เบื้องลึกของการเลี่ยงภาษี อุปสรรค์ชิ้นโตของการไม่ได้มาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ

เมื่อรัฐบาลโอบามาร์คเข้าบริหารประเทศเมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2550  ท่ามกลางปัจจัยลบทั้งวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ และความวุ่นวายทางเมืองของประเทศที่ต้องเผชิญ หนึ่งในมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการออกมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ เหมือนดังเช่นที่รัฐบาลในอดีตเคยนำมาใช้กระตุ้นเป็นผลสำเร็จมาแล้ว

โดยในขณะนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "กรณ์ จาติกวนิช" ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ก่อนหน้านั้นฟากผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจ อสังหาฯ บ้านมือสอง ธุรกิจรับสร้างบ้าน และนักวิชาการต่างออกมาขานรับกันเซงแซ่ พร้อมชี้ให้เห็นว่าธุรกิจอสังหาฯ นั้น สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาทิ วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบ้าน ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลเองก็ต้องพิจาณาเงื่อนไขโดยมีผลประโยชน์ของผู้บริโภค ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และผลได้ผลเสียของประเทศเป็นหลัก

กระทั่งสุดท้ายคณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบมาตรการทางภาษีช่วยเหลือเพียง เฉพาะธุรกิจโครงการที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรเท่านั้น ทำให้ธุรกิจ บ้านมือสองและรับสร้างบ้าน...อกหักไปตามระเบียบ

การตัดสินใจของรัฐบาลที่ผลักดันมาตรการทางภาษีช่วยเหลือธุรกิจอสังหาฯ ครานั้น ปรากฏว่ามีตัวแทนกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านที่อกหักออกมาบ่นน้อยอกน้อยใจผ่านสื่อ ต่างๆ เพราะต้องการจะบอกไปยังรัฐบาลได้รับรู้ว่าธุรกิจสร้างบ้านและธุรกิจที่ เกี่ยวข้องนั้น มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงาน ทั้งภาคอุสาหกรรมวัสดุก่อสร้างและบริการในวงกว้างเช่นกัน

เหตุใดรัฐบาลจึงมองข้ามผ่านไป

ผู้เขียนเองเห็นก็ตรงกันว่าภาพรวมของธุรกิจสร้างบ้าน (ที่มิใช่บ้านในโครงการจัดสรร) มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี แต่ก็เชื่อเช่นกันว่าการที่ภาครัฐไม่พิจารณามาตรการทางภาษีให้กลุ่มธุรกิจ สร้างบ้าน เป็นเพราะว่าข้อมูลที่รัฐบาลมีอยู่ได้แก่ ตัวเลขรายได้และงบดุลของกลุ่มผู้ประกอบการ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และตัวเลขการเสียภาษีของผู้ประกอบการ จากกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ขัดแย้งกับข้อมูลที่ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการนำมาโชว์...

แล้วเกิดอะไรขึ้น?

สาเหตุหลักๆ ที่ข้อมูลจากภาครัฐกับภาคธุรกิจสร้างบ้านขัดแย้งหรือไม่ตรงกันนั้น สามารถกล่าวได้ดังนี้คือ การแสดงตัวเลขรายได้และการเสียภาษีประจำปี ของผู้ประกอบการในธุรกิจสร้างบ้าน ต่ำกว่าตัวเลขที่หน่วยงานของรัฐได้รับจากการยื่นงบดุลหรือเสียภาษีประจำปี โดยตัวเลขมีความแตกต่างกันมิใช่น้อย ส่วนจะตัดสินว่า...ตัวเลขหรือข้อมูลของฝ่ายใดถูกต้องหรือฝ่ายใดไม่ถูกต้อง คงต้องให้หน่วยงานของรัฐหรือสรรพากรและตัวแทนกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน นำข้อมูลที่มีอยู่มาตรวจสอบและแจกแจงกันเอง ว่า เพราะเหตุใด...มูลค่าทางการตลาดกับมูลค่าที่แสดงในงบดุล และเสียภาษีถึงแตกต่างกันมากนัก

หากมองว่าตัวเลขทางการตลาดเป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อ? ...ก็มีความเป็นไปได้ แต่ถ้าเป็นตัวเลขรายได้ที่แท้จริงตามที่ตัวแทนกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านชี้ แจง นั่นแสดงว่าข้อมูลที่หน่วยงานราชการมีอยู่เป็นข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยากจะตรวจสอบ

สำหรับในมุมมองของผู้เขียนเอง กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยธุรกิจอสังหาฯ และก่อสร้าง รัฐบาลควรยึดประโยชน์ที่ผู้บริโภคและประเทศเป็นหลัก มิใช่เพื่อประโยชน์ของกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ขณะที่มาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นธุรกิจสร้างบ้านนั้น ผู้เขียนเองยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนว่าจะมีแนวทางดำเนินการอย่างไร เพราะหากใช้วิธีคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ให้แก่ผู้บริโภค... “ย่อมเป็นไปไม่ได้” หรือหากพิจารณาถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ผู้ประกอบการและผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้วิธีตกลงกันเลี่ยงการจ่ายภาษีมูลค่า เพิ่มอยู่แล้ว เพราะว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) มีผลกระทบโดยตรงกับราคาสินค้าหรือราคาค่าก่อสร้างอย่างมาก และมีผลต่อการแข่งขันราคาระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง ตัวอย่างเช่น ราคาค่าก่อสร้าง 2 ล้านบาท บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ราคาเท่ากับ 2.14 ล้านบาท จึงไม่มีความจำเป็นที่ผู้บริโภคจะขอใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีจากผู้ ประกอบการ เพราะเท่ากับว่าทำให้ตัวเองจ่ายค่าก่อสร้างบ้านแพงขึ้น

โจทย์สำคัญของภาครัฐหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี...จึงอยู่ที่ ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการจูงใจทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการไม่ให้หลีก เลี่ยงภาษี เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับธุรกิจสร้างบ้านมิใช่เงินหลักสิบ ร้อย พัน แต่เป็นเงินหลักแสนบาทที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่ม และยังมีผลต่อเนื่องไปถึงธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ที่ผ่านมาต้องยอมรับความจริงว่าภาคธุรกิจก่อสร้างและค้าวัสดุก่อสร้างกับ เรื่องภาษีเป็นสีเทามานาน

ดังนั้นควรหรือไม่ควรที่ภาคธุรกิจจะเรียกร้องความช่วยเหลือใดๆ ทั้งที่ยังไม่มีการฏิบัติตามกฏหมายภาษีอย่างถูกต้อง  ลองเปลี่ยนมาทำในสิ่งตรงข้ามแบบที่เรียกว่า 180 องศา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ในฐานะผู้ประกอบการที่มีจริยธรรมด้วยการยอมเสียภาษีอย่างตรงไปตรงดีกว่าหรือ ไม่?

view