จากประชาชาติธุรกิจ
ใน สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง แทรกซึมสู่ปัญหาสังคม-ครอบครัว และธุรกิจ
สื่อ มวลชน-นักข่าว ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก...ในระหว่างกระแสเหลือง-แดง-น้ำเงิน
นัก วิชาการวิพากษ์ว่า สื่อ-ทันสมัยแต่ ไม่พัฒนา ?
นักสิทธิมนุษยชน ครหาว่า สื่อ-ละเมิดสิทธิผู้อื่นจนเกินขอบขีด ?
แหล่งข่าว-คนสำคัญ ถึงกับตั้งคำถาม กับนักข่าวว่า สื่อ-เต้าข่าว-สร้างข่าว ขึ้นมาเอง ?
นักการ เมือง-ผู้เสียผลประโยชน์ วิจารณ์ว่า สื่อ-เป็นชนวนก่อสงครามการเมือง ?
วัน นักข่าว 5 มีนาคมปีนี้ "ประชาชาติธุรกิจ" ตระเวนสัมภาษณ์บุคคลจากหลาย วงการด้วยคำถามเดียวที่ว่า "วันนี้คุณ คิดว่าสื่อทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว หรือไม่" ?
นี่อาจ เป็น...กระจกที่สะท้อนบทบาท สื่อ พ.ศ.นี้ได้เป็นอย่างดี
พระมหา วุฒิชัย เมธี (ว.วชิรเมธี)
"...ต้องยอมรับว่าสื่อมวลชนในรอบ หลายปีที่ผ่านมาก็มีปัญหามาก เราได้เห็นอย่างชัดเจนว่า สื่อจำนวนมากเลือกข้างและเอียงกะเท่เร่เลย และหาสื่อที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมในเวลานี้น้อยมาก สื่อหลายฉบับกลายเป็นสื่อมอมชน ไม่ใช่สื่อมวลชนตัวจริง เรียกว่า เวลานี้มีสื่อเทียมมากกว่าสื่อแท้ มุ่งการขายข่าว มุ่งความมั่นคงของตัวเองมากกว่ามุ่งความมั่นคงและผาสุกของประชาชน"
และ ที่สำคัญที่สุดคือ สื่อจำนวนมาก มุ่งแต่แสดงความรู้สึก เราเรียกสิ่งนั้นว่า เป็นความคิดเห็น เมื่อเราอ่านจริง ๆ เราจะเห็นว่า คอลัมนิสต์จำนวนมากเขียนแสดงความรู้สึกทุกวัน ๆ แต่ไม่ค่อยทำการบ้าน ไม่ค่อยมีความรู้อยู่ในสิ่งที่เขียน
สิ่ง ที่เสนอแนะกับสังคมบางทีก็เป็นเพียงแค่ความรู้สึกของปัจเจกชนคนหนึ่ง ไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างลึกซึ้ง แล้วเราก็เรียกสิ่งนี้ว่าเป็นความคิดเห็น แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่ความรู้สึกเท่านั้น
"ฉะนั้น สื่อคงต้องทำการบ้านให้มากขึ้น แล้วก็คงต้องแสวงหาดุลยภาพทางปัญญาเพื่อเป็นที่พึ่งของประเทศชาติในยามวิกฤต ให้ได้มากกว่านี้"
อาตมาคิดว่า สื่อต้องเป็นมากกว่าสื่อ คือ ต้องเป็นปัญญาชนด้วยมิเช่นนั้นแล้ว เราจะกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมกัไปอย่างนี้
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
"...สื่อต้อง ทบทวนตัวเอง มีหน้าที่ พร้อมมูล คนกลางพูดไปเถอะ ไม่มีมรรคผลหรอก คนกลางออกมา คนฟังก็อาจจะมี คนไม่ฟังก็อาจจะมี ถ้าสื่อจับมือกันกระหน่ำคนที่ทำผิด พักเดียวก็อยู่ ตอนนี้สื่อไม่มีเอกภาพ แต่ถ้าลองพร้อมใจกัน หยุดทำมาหากินสักพัก แล้วเห็นใคร
บ้า ๆ บอ ๆ ก็กระหน่ำให้อยู่...ขุดโคตรมาเลย รับรองทุกอย่างจะเข้าที่โดยเร็วที่สุด ดังนั้นสื่อนั่นแหละคนกลาง"
"ผมคาดหวังในพลังของสื่อมาก ต้องนำมาใช้ในทาง positive ที่ผมพูดนี้พูดโดยบริสุทธิ์ใจ ผมเสนอว่าลองหยุดสัก 6 เดือน เป็นสื่อกู้ชาติ"
เรื่องอ้าง เรื่องข่าวลือ มันมีมาตั้งแต่สมัยไหนแล้ว สมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีเรื่องหยุมหยิม เรื่องมูลฝอย ผมเคยอ่านหนังสือสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีรับสั่งว่า "เลิกนินทากัน ซะทีเถอะ"
ผมเป็นอำมาตย์ 100% ในชีวิตไม่เคยทำอะไร นอกจากเป็นข้าราชการ อำมาตย์ก็คือข้าราชการ มียศ มีศักดิ์ แล้วตอนบ้านเมืองจนมุม ก็มีแต่พวกอำมาตย์กู้ชาติ
ถ้า จะให้เตือน มีอย่างเดียว คือไม่ต้องห่วงใคร ถ้ามีสติ ห่วงตัวเองเท่านั้นแหละ ถ้ามีสติ จะรู้ตัวว่าตัวเองยืนอยู่ตรงไหน หรืออยากจะเป็นคนอพยพ
อยากอยู่ที่โน่น ที่นี่ ก็เชิญ ผมอยากอยู่ที่นี่ อยากให้ลูกหลานอยู่ที่นี่ ใครจะสร้าง รัฐใหม่ ไปอยู่รัฐใหม่ก็เชิญ
ศ.ดร.อักขราทร จุฬารัตน
ประธาน ศาลปกครองสูงสุด
"การเป็นสื่อต้องให้ข้อมูลข่าวสารครบทุกด้าน และถ้าจะให้ดีเมื่อตนเองอยู่ในเวทีของข้อมูลข่าวสารแล้ว สังคมก็อยู่ในสภาพอย่างนี้ด้วย ถ้าจะให้ดีเราในฐานะที่เป็นสื่อแต่ละสื่อควรจะมีคำชี้นำสังคมว่า เห็นว่าที่ถูกเป็นอย่างนี้ ก็ต้องบอก แต่ทุกวันนี้ยังน้อยไป คือ เราบอกแต่เพียงว่าคนนี้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ชาวบ้านยังไม่รู้เยอะ"
"จะ เรียกว่าสื่อไปชี้นำก็อาจจะได้ แต่ฐานะของสื่ออยู่ในฐานะที่น่าจะรู้ดีกว่าคนทั่วไป เพราะเราคลุกคลี รู้เห็นอะไรเยอะ คนที่รู้อะไรเยอะ เห็นอะไรเยอะ มีเหตุมี ผลเยอะ ย่อมชี้นำในสิ่งที่ดีได้ ผมจึงคิดว่า ถ้าช่วยกันตรงนี้ได้ก็ดี ไม่ต้องไป take sides (เลือกข้าง) หรอก แต่บอกให้รู้ว่าที่น่าจะถูกเป็นอย่างนี้ ด้วยเหตุด้วยผล อย่างนี้จะช่วยให้คนคิดได้เป็น"
ทุกวันนี้ จะว่าไปแล้ว เราปล่อยอะไรให้เสียหายมามาก กฎหมายไม่เป็นกฎหมาย คือปล่อยเสียจนไม่ทำให้บ้านเมือง กฎหมายเป็นกฎหมาย ซึ่งอันตราย
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายท่านให้โอวาทไว้เตือนผู้พิพากษาเสมอว่า ให้รู้จักหน้าที่ แล้วทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด ซื่อสัตย์สุจริต ถ้าทุกคนทำอย่างนี้กันทุกส่วน มันไม่ มีปัญหา ซึ่งที่เราขาดตรงนี้ไป เพราะสิ่งแวด ล้อมต่าง ๆ มันอาจจะเสีย แต่ถ้ามีความตั้งใจ ทำงานให้ดี ก็ไม่มีปัญหา แต่วันนี้ก็อาจจะเป็นอย่างนี้ทั่วโลกมั้ง อาจจะต้องใช้เวลาพัฒนากันอีกหลายสิบปีหลาย 100 ปี"
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
"เดี๋ยว นี้เวลาสื่อเสนอข่าว ข้อเท็จจริงหรือ fact ปะปนกับความเห็นไปหมดแล้วในสื่อ วิธีการเขียนข่าวหรือการรายงานข่าว ลองสังเกตดูให้ดีซิครับ ไม่ได้พูด fact อย่างเดียว แต่ใส่ทัศนคติของตัวลงไปในเนื้อข่าว ซึ่งทำอย่างนั้นไม่ได้ ผมบอกว่ามันผิดแล้ว ที่บอกว่าสื่อต้องเลือกข้าง ผิดตั้งแต่ต้น"
"ผม แปลกใจมากว่าในวงการวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ อยู่กันได้ยังไง (ครับ) อาจจะมีคนบอกว่า วงการกฎหมายก็เหมือนกันนั่นแหละ (หัวเราะ) แต่ถามว่า เฮ้ย ! มีเหรอประเภทสื่อเลือกข้าง ไม่ใช่ว่าสื่อเสนอข้อเท็จจริงหรือครับ ส่วนที่เป็นข้อคิดเห็นก็แยกไป แต่ fact คือ fact บิด fact ไม่ได้ สื่อเลือกข้าง เท่าที่ผมเห็นชัดก็คือ สื่อของรัฐบาลในยุคนาซีเรืองอำนาจในเยอรมนีนะ"
สื่อบางท่านอย่าให้ผมเอ่ยเลย ผิดเพี้ยนไปถึงขั้นละเมิดจรรยาบรรณของตัว เขียนอะไรที่รุนแรง แม้กระทั่งเรียกร้องให้คนฆ่ากันได้ ทำได้ยังไง แล้วไม่มีการพูดประณามอะไรกันเลย ก็ยังทำ
"ทุกวันนี้สื่อเลยกลาย เป็นเครื่องมือใช้ถ้อยคำที่รุนแรงขึ้นทุกที ๆ เพราะคิดว่าตัวเองคือผู้ผูกขาดความดีงาม เป็นผู้พิทักษ์ความถูกต้อง
ไม่ ได้มองว่าบริบททางการเมืองมันมี มุมมอง มีข้อเท็จจริงจำนวนมาก เอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่"