จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
'กิตติศักดิ์ 'หนุนกระบวนการศาลตัดสินคดียึดทรัพย์ ยันแนวคิดผลของต้นไม้พิษ ใช้ไม่ได้ แนะให้ดูกระบวนการตัดสิน เชื่อสังคมไทยเปลี่ยนปแลงดีขึ้น
นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ในการตัดสินยึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นที่ระบุว่าการพิพากษาเท่ากับรับรองรัฐประหาร ซึ่งเป็นแนวคิดว่าด้วยผลของต้นไม้พิษ ซึ่งเขาไม่เห็นด้วย และระบุคนวิจารณ์เข้าใจประเด็นผิดพลาด
อาจารย์คิดอย่างไรที่ระบุว่าศาลรับรองอำนาจคณะรัฐประหาร
ความ เข้าใจผิด ในแนวคิดเรื่องผลของต้นไม้พิษ(Fruit of the poisonous tree) เพราะว่าไม่ละเอียด หลักก็คือว่าความอิสระของศาล มันคนละเรื่องกันกับการที่ระบบการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นระระชาธิปไตยหรือเผด็จการ หรือสมบูรณาญาลิทธิราช วัฒนธรรมองค์กรของศาลมีความเป็นอิสระ แล้วมันพัฒนามาร้อยกว่าปี เหมือนกับหมอ มันยากที่จะมีเหตุสงสัยว่ามีการซื้อขายกันได้ แน่นอนมันก็มีเหตุสงสัย แต่เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องไปแก้ไขกัน กำจัดจุดที่บกพร่อง แต่ว่าเมื่อเราดูประวัติศาสตร์ของศาลไทยเรา เราต้องรู้ว่าเรามีจุดแข็ง เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ศาลเรา ตลอดเวลาเขาต้องการเป็นอิสระ ในยุคเผด็จการ เขาก็พยายามไม่ตัดสินปัญหาการเมือง ด้วยเหตุนี้ เขาถึงไม่ก้าวก่ายไปวินิจฉัยว่ารัฐประหารผิดหรือไม่ผิด หลักกฎหมายมันก็มีอยู่เหมือนกัน กฎหมายก็ต้องคุ้มครองว่าคุณต้องรักษาความสงบ หลักนั้นก็ต้องมาใช้กับการยึดอำนาจการปกครอง คุณมีอำนาจการปกครอง การที่คุณจะได้รับการยอมรับมีเงื่อนไขสองอย่าง คือ คุณยึดอำนาจได้ รักษาความสงบ ประชาชนไม่ต่อต้าน นี่คือเงื่อนไอันที่หนึ่ง เงื่อนไขข้อที่สอง คุณมีเจตจำนงค์ที่จะรักษากฏหมาย และเคารพกฎหมาย อันนี้ต่างหาก อันหลังที่มันเป็นอำนาจการปกครองได้ เพียงแต่มีอำนาจครอบงำเด็ดขาด ยังถือว่าเป็นอำนาจปกครองสูงสุดไม่ได้ มันต้องมีเจตนาว่าที่จะใช้อำนาจการปกครองนั้นภายใต้กฎหมาย
ในทางต่าง ประเทศมีการถกเถียงในเรื่องนี้ คือการปกครองระบอบเผด็จการ อย่างน้อยนักวิชาการในศตวรรษที่ 20 ก็สรุปว่ากฎหมายบางทีมันก็ไม่ยุติธรรม มันอยู่ที่ว่าถ้าหากว่า หนึ่งมันถูกใช้เสมอภาค รวมถึงกับผู้ที่ออกกฎหมายด้วย สองมันแสดงเจตจำนงค์ ที่รักษาให้เป็นกฎเกณฑ์ สามต้องพิพากษาให้มันเป็นกฎหมายได้ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ที่ว่ามันบังคับกันโดยเสมอหน้า และหากกฎเกณฑ์นั้นถูกบังคับใช้ในทางที่ไม่เป็นธรรม อันนั้นก็จะใช้ดุลยพินิจของศาลในการสะกัดกั้น หรือลดทอนความไม่เป็นธรรม เช่นป้องกันการใช้กฎหมายกลั่นแกล้งกัน เผด็จการเพื่อกลั่นแกล้งบุคคลบางคน ศาลจะพยายามจะให้มันใช้ไม่ได้ไปเลย กฎหมายต้องใช้อย่างเสมอหน้า
ประเด็น อำนาจของคณะรัฐประหาร อาจารย์คิดว่าอย่างไร
ต้องดูว่าคุณภาพ มันคืออะไร คุณภาพของมันคือการตั้งคณะกรรมการสอบสวน ส่วนข้อโต้แย้งการรัฐประหาร ผมก็เข้าใจนะ ปล่อยให้อำนาจรัฐประหารตั้งตำรวจพิเศษหรือตั้งหน่วยสอบสวนพิเศษได้ เพราะว่ามันเป็นความเป็นไปได้ที่จะเกิดการกลั่นแกล้งกัน นี่เป็นประเด็น แต่ว่าเขาไม่ได้ยกประเด็นนี้ว่าเขาถูกกลั่นแกล้ง ประเด็นอยู่ที่ว่ามันใช้อย่างเสมอภาคหรือเปล่า อันนี้คตส.เล่นงานทักษิณคนเดียวหรือเปล่า หรือคตส.เล่นงานการใช้อำนาจโดยมิชอบทั้งหมด ถ้าเจตจำนงค์ เป็นเจตจำนงค์ทั่วไปที่จะดำเนินการกับการใช้อำนาจโดยมิชอบทุกกรณี มันก็เป็นกฎหมายนะ เพราะอันนี้เป็นหลักกฎหมาย ที่สำคัญคือใครจะเป็นผู้ออกกฎหมายนะ ประมวลแพ่งของเราออกโดยอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราช ประมวลกฎหมายอาญาของเรา ก็ออกโดยอำนาจของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่มีใครค้านได้ แล้วเป็นกฎหมายที่ดี ก็เป็น ปัญหาอยู่ว่าผู้ตรากฎหมายมีการใช้โดยเจตจำนงค์ใช้เป็นการทั่วไป และตัวเองผูกพันตามกฎหมายหรือไม่ ในแง่นี้ แนวคิด ผลของต้นไม้พิษ มันจึงใช้ไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะมายกย่องอำนาจรับประหาร ประเด็นของผมอยู่ที่ว่ารัฐประหารนั้นมันไม่ได้ทำให้ศาลสูญเสียอำนาจอิสระ หรือ ศาลนั้นสูญเสียความยุติธรรม เพราะเหตุเพียงแค่การรัฐประหาร
ประเด็น สำคัญอยู่ที่ว่าคุณภาพของสิ่งที่เขาเอามาใช้เป็นคุณภาพทางกฎหมายไหม หรือเป็นคุณภาพตามอำเภอใจ ถ้าเป็นคุณภาพตามอำเภอใจ ศาลต้องพยายามบอกว่าไม่ให้มันมีผลเลย แต่ก็มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัด กรณีฎีกาคดียึดทรัพย์ปี 2536(พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ) อันนั้นศาลบอกว่าไม่ดี ผู้พิพากษาบางคนที่ผมรู้จัก เขาบอกว่าโดยส่วนตัวเขาเห็นด้วยกับการยึดทรัพย์นะ แต่ตรงนี้ใช้ตามอำเภอใจ ไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบและเปิดให้มีการไต่สวนอย่างเต็มที่ เป็นข้างเดียว ผลที่สุดก็ตัดสินปล่อยไป
ให้อาจารย์มองการตัดสิน ศาลมีอิสระไหม
เท่าที่ฟัง ผมมีหลักอย่างนี้ อันที่หนึ่งต้องดูว่าการตัดสินทั้งหมด มันมีกลิ่นไหม ว่าเขาใช้ตามอำเภอใจ ตั้งธงไว้ก่อน เล่นงานอย่างเดียวโดยปราศจากเหตุผล หรือว่ามันมีเหตุผลพอฟังได้ หากเป็นการตัดสินมีเหตุผล ไม่ใช่ตามอำเภอใจ แล้วมันอยู่ในกระบวนการที่มีหลักประกันให้กับผู้ถูกกล่าวหาเพียงพอไหม คือ หนึ่ง เปิดโอกาสให้เขาต่อสู้ไหม สอง พิจารณาโดยเปิดเผยไหม สาม เมื่อมีการนำพยานหลักฐานมาปักปำ หรือการกล่าวอ้างหลักฐานอะไรต่างๆมีการไต่สวนเป็นที่พอใจไหม และข้อสุดท้าย ในกรณีที่เราจะเรียกว่าศาลตัดสิน ได้ตัดสินให้เหตุผลในข้อโต้แย้งของผู้ที่ถูกกล่าวหาจนสิ้นถ้อยกระแสความไหม ถ้าเขาโต้แย้งจนครบถ้อยกระแสความ คุณมีสิทธิโต้แย้ง เป็นเรื่องธรรมดา คุณก็ต้องยอมรับว่าอันนี้เป็นการตัดสินจากคนกลางนะ หนึ่งเขาไม่ได้ตัดสินตามอำเภอใจ สอง เขาตัดสินโดยกระบวนการได้เปิดให้ต่อสู้แล้วจนเพียงพอ เปิดเผยต่อสาธารณชน เวลาตัดสินก็อ้างกฎหมาย แล้วกฎหมายที่อ้างก็มีข้อวินิจฉัยมีเหตุผลประกอบ เราก็ต้องยอมรับนะ เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเป็นอีกเรื่องนะ
คนใน กระบวนการยุติธรรมชี้แจงประเด็นนี้มาก แสดงว่าศาลหวั่นไหว
ก็ ดี ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ มันอธิบายได้ ไม่ใช่เรื่องอธิบายไม่ได้ มันเป็นเรื่องว่าคุณภาพของกฎเกณฑ์ที่ทรราชออกมานั้นเป็นกฏหมายหรือเปล่า หากเป็นคุณภาพของกฎหมายก็ใช้ได้
ศาลตัดสินครั้งนี้ อาจารย์คิดว่าเป็นอย่างไร
มีคุณภาพกฎหมาย ไม่ใช่ธรรรดา แต่เป็นมาตรฐานโลกไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยนะ อธิบายไว้แล้วว่าเป็นมาตรฐานของสหประชาชาติ สหประชาชาติรู้ตัวว่าเรื่องนี้ชัดเจนหลังเกิดดับบลิวทีโอ เพราะหลังเกิดดับบลิวทีโอ เกิดโลกาภิวัฒน์ เกิดการยึดอำนาจรัฐ การที่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เข้าไปงาบรัฐ เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่เกิดเฉพาะประเทศไทย ในเมื่อเป็นอย่างนี้ สหประชาชาติ โออีซีดี สหภาพยุโรป เห็นว่าเป็นต้นตอให้คนยากจนทั้งหลาย คนยากไร้ทั้งหลาย จะต้องยากไร้อีก เพราะจะเกิดการดูดเอาทรัพยากรส่วนเกิน ดูเอาเงินออม ดูดเอาสิ่งทั้งหมดไปรวมศูนย์ไว้ในที่เดียว ทั้งที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้นเขาหาวิธีในการสกัดกลั้นมัน สร้างหรือเสนอให้มีอนุสัญญาต่อต้านการคอร์รัปชั่น หัวใจของมาตรการนี้เลยก็คือว่าถ้าเป็นเจ้าหน้าที่แผ่นดิน หรือ คนที่ใช้อำนาจสาธารณะไปในทางที่ตนเองได้ประโยชน์ หรือทำให้รัฐเสียหายหรือทำให้คนของตน ผู้ที่ใกล้ชิดตัวเองได้รับประโยชน์ต้องริบเป็นของแผ่นดิน
ตอน นี้เหมือนยังพูดกัน มาวิพากษ์วิจารณ์
มันมีภาพรวมของมันอยู่ สำหรับปัญญาชน มันมีความท้าทายของการที่จะได้ไป เขาเรียกว่าแกว่งไกวแสงดาบของปัญญาต่อหน้าศาลยุติธรรม
อยากให้ มองตรงการลงมติแต่ละประเด็น เสียงไม่เท่ากัน
นักกฎหมาย ความคิดเห็นย่อมแตกต่างกัน เหมือนกับนักชั่งทอง แล้วนักชั่งทองเห็นบิดและแตกต่างไปได้ นักกฎหมายที่ดีต้องมีอย่างน้อย 2 ความคิดเห็น แล้วต้องชั่งให้ดีว่าเอาความคิดเห็นอย่างไหน อย่างผมเรียนจากเยอรมัน ปัญหาข้อหนึ่ง โดยทั่วๆไปมี 5 ช่อง แล้วคุณช่วงน้ำหนักกันว่าเลือกช่องไหน
การลงมติแต่ละประเด็น อาจารย์มองอย่างไร
ละเอียดมาก ในทางตำรา เรารู้ว่าอย่างน้อยต้องมี 3 ความเห็น นักกฎหมายทำคดีต้องอ่านคดีว่าเมื่อเราพูดอย่างนี้แล้ว อีกฝ่ายจะตอบโต้อย่างไร เมื่อตอบโต้แล้ว ประเด็นของเราจะตอบโต้ให้สิ้นกระแสความได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ มันจึงมีข้อโต้แย้งได้เสมอ แต่ข้อโต้แย้งอาศัยคนที่มีอคติน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ชั่งน้ำหนักดีแล้ว ชั่งใจดีแล้ว ชั่งกฎหมายดีแล้ว ตัดสินไปตามเหตุผล เราจึงต้องไว้วางใจเขา ไม่เช่นนั้นเราไม่ต้องใช้กฎหมาย
ทำไมเจ้าหน้าที่ศาลออกมาชี้ แจง แสดงว่ากังวล
ไม่ใช่เรื่องศาลเขาอ่อนไหว ตัวผู้ตัดสินคดี เขาไม่มีหน้าที่ต้องมาอธิบายอยู่แล้ว แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของศาล เป็นเรื่องของกระทรวงยุติธรรมที่ทำหน้าที่อธิบาย หรือเป็นหน้าที่ของอัยการสูงสุด เขาคงรู้สึกเหมือนผม ผมรู้สึกว่าสังคมกำลังลื่นไถลไปสู่การตัดสินกันอย่างฉาบฉวย ไม่ได้ใช้เหตุผลไตร่ตรอง เรียกสติของสังคมคืนมาซะ ผมเชื่อว่าสติมี
เป็น ห่วงกระบวนการยุติธรรมไหม
ผมไม่เป็นห่วง กระบวนการยุติธรรมเป็นของประชาชน เขาไม่ได้อยู่ได้ด้วยตัวเขาเองอย่างเดียว ถ้ากระบวนการยุติธรรมอยู่ไม่ได้ สังคมมันก็อยู่ไม่ได้หรอก
อาจารย์ มองว่าการเคลื่อนไหวถอดถอนผู้พิพากษาอย่างไร
เขามีสิทธิที่จะ ทำได้ หากเขาไม่เห็นด้วย แต่เขาก็ต้องพิสูจน์ว่าเขาทำผิดกฎหมายอย่างไง ถูกไหมครับ ในการที่คุณจะไปถอดถอรใคร เหตุก็คือ 1. ทุจริตต่อหน้าที่ 2. ฝ่าฝืนกฎหมาย 3. ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เวลาคุณจะถอดถอน คุณต้องยื่นทั้งสามอย่าง คุณคิดว่าประชาชนกินแกลบไหม หากประชาชนไม่กินแกลบ โอเค เขาอาจจะโกรธชั่วครั้งชั่งคราวและยื่นมาก็ได้ คนที่รับเรื่องพวกนี้กินแกลบไหม ถ้าสังคมนี้เป็นสังคมคนกินแกลบนะ
สังคม ได้อะไรจากกรณีนี้
เรียนรู้ว่าผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่สาธารณะ หรือผู้ที่ทำการแผ่นดิน จะมีส่วนได้เสียขัดกับแผ่นดินไม่ได้ หลักอันนี้ เดิมเป็นหลักที่มีมาตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 5 แล้ว เพียงแต่ว่าเดิมเขาถือกันเคร่งครัด และต่อมามันหละหลวมไปเรื่อยๆ ในวันนี้ คุณทำงานให้กับแผ่นดินแล้ว คุณต้องทำตามสัญญานั้น ก็คือว่าคุณจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีประโยชน์ได้เสียขัดกับ ประโยชน์แผ่นดิน
คำพิพากษาครั้งยังมีประเด็นที่ยังถกเถียงได้
ผม คิดว่าเขาใช้หลักการกฎหมายที่เข้าใจได้ เพียงแต่ว่าในหลายกรณีอาจอธิบายได้ชัดเจนกว่านี้ แต่ต้องยอมรับว่าภายใต้เวลาอันจำกัด เขาก็อธิบายได้ดีพอสมควร ยังมีบางตอนต้องอธิบายให้ชัดเจน เช่น คุณหญิงเขาควรจะได้สินสมรสไปครึ่งหนึ่ง แต่ศาลไม่ให้เป็นเพราะอะไร ศาลก็อธิบายเหมือนกันว่าคุณมีส่วนรู้เห็นมาตั้งแต่ต้น ถามว่าใช้กฎหมายอะไร ตรงนี้ศาลไม่ได้อธิบาย ตรงนี้ศาลต้องอธิบายว่าการที่บุคคลใดจะใช้สิทธิในการเรียกทรัพย์คืน ต้องใช้สิทธิภายใต้กรอบของความสุจริต ในเมื่อคุณร่วมมือ ร่วมหัวจมท้าย วางแผน คุณจึงใช้ไม่ได้เพราะมันขัดกับหลักสุจริตตามมาตรา 5 ประมวลกฎหมายแพ่ง ศาลไม่ยกให้เห็น ศาลสรุปตรงนี้ว่าคุณทำตรงนี้ขัดกับหลักสุจริต ประชาชนก็จะเข้าใจได้อีก แต่นี่บอกว่าคุณรู้เห็นจะเรียกไม่ได้ แต่เป็นเหตุผลที่ต้องคิดอีกชั้นหนึ่ง เหมือนกับตีขุม เมื่อคิดให้ดีเขาไม่ได้ตีขุม ศาลสรุปว่าทำเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิที่ไม่สุจริต หากปล่อยให้มีการใช้สิทธิสุจริตเพื่อให้ได้สิทธิ มันก็จะทำให้วันหนึ่งใครทำอะไรผิด แล้วมาอ้างว่าตัวเองมีสิทธิได้เสมอ อันนี้เป็นสิทธิที่กฎหมายไม่ต้องการคุ้มครอง มันก็จะชัดขึ้น
คดียึดทรัพย์ยังมีคดีอื่นด้วย
เรื่องภาษีเหมือนกัน คนก็บอกว่าเก็บภาษีไม่ได้ ถึงแม้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ เป็นนิกรรมอำพราง ก็ไม่เคยตกเป็นของบุตรเลย บุตรก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องมีคำอธิบายว่าอันนี้ตกเป็นโมฆะก็จริง แต่เป็นโมฆะที่คุณอ้างไม่ได้ เพราะว่าเป็นไปตาม 158 ประมวลแพ่ง อธิบายว่านิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะโดยคุณประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กฎหมายบอกเลยว่าห้ามอ้างเป็นประโยชน์ต่อตัว แต่นี่ไม่ใช่แค่ประมาทเลินเล่อร้ายแรงนะ แต่ตั้งใจ ยิ่งอ้างไม่ได้ ดังนั้นถ้ากรมสรรพากรไม่อ้างว่าเป็นโมฆะ กรมสรรพากร มีสิทธิที่จะอ้างว่ามันสมบูรณ์อยู่ จะอ้างเป็นโมฆะได้ก็ต่อเมื่อคุณพานทองแท้และคุณทักษิณ ถูกปิดปากไม่ให้อ้าง เมื่อคุณใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสียแล้ว กรมสรรพากรก็เก็บภาษีได้เสมอ
บาง คนบอกว่ายึดหมด คิดว่าอย่างไร
อันนี้คิดแบบไม่สนใจกฎหมาย เพราะกฎหมายบอกว่าเป็นมาตรการยึดทรัพย์ ไม่ใช่มาตรการว่าคุณผิดอาญา จึงไม่ใช่คดีอาญานะ เป็นคดีเรียกทรัพย์คืนแผ่นดิน เรียกทรัพย์คืนแผ่นดินหมายความว่าอันไหนที่มันเพิ่ม คุณต้องคืน จึงออกมาอย่างนี้ จะออกอย่างอื่นไม่ได้ ก็มีนะเสียงข้างน้อยที่อยากจะยึดหมด ก็มีเหตุผลยึดหมด ต้องมีเหตุผลลึกกว่านี้อีก คือทรัพย์เดิมของคุณไม่มีแล้ว คุณทำลายมันแล้ว เอาง่ายๆคุณเอาเนื้อไปดักเสือ เมื่อคุณจับเสือมาได้ คุณจะเอาเนื้อคืนหรือ ไม่ได้ เพราะเนื้อเป็นลาภที่หมดเปลือง มันสูญไปแล้ว แต่กรณีนี้มันไม่ใช้ หากศาลจะไปยึดหมด ก็ต้องอธิบายอย่างที่ผมว่าให้ได้ว่าที่คุณเอามาเป็นทุน คุณได้ใช้ทุนนั้นหมดเลย ที่คุณได้มานั้นคุณได้ใหม่ ยึดหมดได้ แต่ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลพิพากษา คนพูดว่ายึดหมดนั้น หนึ่งไม่ได้ศึกษากฎหมายให้ดี ไม่ได้เอาใจใส่ เป็นแสดงความคิดเห็นตามอารมณ์ อย่างบางคนว่าศาลตัดสินประนีประนอม ผมว่าไม่ใช่ เขาตัดสินตามกฎหมาย
ข้อ ถกเถียงที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
ไม่เข้าใจ เอาความรู้สึกเข้าว่า ทั้งสองฝ่าย