เงินยูโร ระเบิดเวลาลูกเก่า (1)
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ทุกวันนี้มีการพูดถึงกันมากเรื่องวิกฤตการณ์หนี้ในยุโรป ที่เริ่มจากกรีซ ที่มีขนาดเศรษฐกิจไม่ต่างจากประเทศไทยนัก และลามไปสู่ ไอร์แลนด์ โปรตุเก
และทำเอานักลงทุนใจหายใจคว่ำ เมื่อมีข่าวว่าประเทศขนาดใหญ่อย่าง สเปน และอิตาลี ก็เริ่มมีชื่อเข้าไปในข่ายผู้ต้องสงสัยเสียแล้ว เพราะขนาดของประเทศและปัญหาไม่ “เล็ก” อีกต่อไป เริ่มจะเข้าไปสู่ขนาดที่เรียกได้ว่า too big to fail คือใหญ่เกินไปที่จะปล่อยให้เจ๊ง เพราะไม่มีใครมีปัญญาจะรับมือกับขนาดของปัญหาได้
ทำไมปัญหาหนี้สินถึงเกิดขึ้นกับประเทศในยุโรปพร้อมๆ กัน หรือไม่ไปเกิดที่อื่นกันบ้าง?
ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างด้านการคลังที่บางประเทศมีภาระการคลังสูง โดยเฉพาะการเป็นรัฐสวัสดิการทำให้ภาระค่าใช้จ่ายช่วยเหลือประชาชนเมื่อตกงานและเกษียณอายุค่อนข้างมาก เมื่อเศรษฐกิจเริ่มซบเซารายได้ภาษีไม่พอกับรายจ่าย ทำให้หนี้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนบางประเทศเช่น ไอร์แลนด์เกิดจากภาระที่รัฐบาลต้องเข้าไปอุ้มระบบสถาบันการเงิน
แต่ปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่ง ซึ่งผมว่าเป็นปัญหาที่ซ่อนตัวมานาน และเริ่มแสดงให้เห็นชัดเจนมากขึ้น คือ จุดอ่อนของการขาดอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจากการใช้เงินยูโรของหลายประเทศในยุโรป จนทำให้บางประเทศเข้าสู่ภาวการณ์ขาดความสามารถทางการแข่งขันแบบถาวร สังเกตได้จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแบบยาวนาน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำเอามากๆ
ฟังดูแล้วอาจสงสัยว่ามันเกี่ยวอะไรกัน ผมขอย้อนเล่าเรื่องเงินยูโรให้ฟังสักหน่อยนะครับ
เงินยูโร เริ่มเป็นรูปเป็นร่างปลายทศวรรษ 1980s และต้นทศวรรษ 1990s โดยความคิดในการใช้เงินสกุลร่วมกันเพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและลดต้นทุนจากความเชื่อมโยงกันทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรป ก่อนที่จะมีการใช้เงินสกุลยูโรอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999
ก่อนหน้านั้น ในปี ค.ศ. 1992 ประเทศในประชาคมยุโรปได้ร่างสนธิสัญญา Maastricht เพื่อตั้งกฎเหล็กสี่ข้อไว้สำหรับประเทศที่ต้องการใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน คือ
๐ เงินเฟ้อต้องต่ำ คือต้องไม่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำสุดในสหภาพยุโรปเกินร้อยละ 1.5
๐ ต้องมีวินัยทางการคลังดีเยี่ยม คือ ขาดดุลงบประมาณได้ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี และหนี้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
๐ ต้องผ่านการทดสอบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ไม่น้อยกว่าสองปี กล่าวคือต้องเข้าสู่ระบบที่เรียกว่า exchange rate mechanism (ERM) ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่โดยยึดค่าเงินไว้กับเงินยูโร (หรือเรียกว่า European Currency Unit-ECU ก่อนที่จะมีเงินยูโร)
๐ อัตราดอกเบี้ยระยะยาว ต้องไม่สูงกว่าประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำสุดเกินร้อยละสอง
กฎเหล็กสี่ข้อนี้ มีไว้เพื่อทดสอบว่าประเทศที่จะร่วมใช้เงินยูโร มีความสามารถในการสละนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของตนได้ (แต่ก็มีการแอบยกเว้นกฎบางข้อให้กับบางประเทศ)
ถ้ามองทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การสละเงินสกุลของประเทศ ก็คือก็การยอมสละนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไปด้วย เพราะนโยบายการเงินจะถูกกำหนดโดย “ประเทศอื่น” ที่ไม่ใช่ธนาคารกลางของตนเอง (เช่นในกรณีของยูโร ก็คือธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB)
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากนะครับ เพราะเท่ากับว่าประเทศนั้นๆ ไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงิน (ไม่สามารถตั้งอัตราดอกเบี้ยของตัวเองได้) และไม่สามารถเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเองได้อีกต่อไป ไม่ว่าเศรษฐกิจของประเทศตนจะเป็นอย่างไร
ทีนี้ปัญหาคือว่า ถ้าประเทศในกลุ่มที่มีการใช้เงินสกุลเดียวกัน มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกัน ใครจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผมขอเขียนถึงเรื่องนี้ในสัปดาห์หน้าครับ
บทความนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)
และทำเอานักลงทุนใจหายใจคว่ำ เมื่อมีข่าวว่าประเทศขนาดใหญ่อย่าง สเปน และอิตาลี ก็เริ่มมีชื่อเข้าไปในข่ายผู้ต้องสงสัยเสียแล้ว เพราะขนาดของประเทศและปัญหาไม่ “เล็ก” อีกต่อไป เริ่มจะเข้าไปสู่ขนาดที่เรียกได้ว่า too big to fail คือใหญ่เกินไปที่จะปล่อยให้เจ๊ง เพราะไม่มีใครมีปัญญาจะรับมือกับขนาดของปัญหาได้
ทำไมปัญหาหนี้สินถึงเกิดขึ้นกับประเทศในยุโรปพร้อมๆ กัน หรือไม่ไปเกิดที่อื่นกันบ้าง?
ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างด้านการคลังที่บางประเทศมีภาระการคลังสูง โดยเฉพาะการเป็นรัฐสวัสดิการทำให้ภาระค่าใช้จ่ายช่วยเหลือประชาชนเมื่อตกงานและเกษียณอายุค่อนข้างมาก เมื่อเศรษฐกิจเริ่มซบเซารายได้ภาษีไม่พอกับรายจ่าย ทำให้หนี้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนบางประเทศเช่น ไอร์แลนด์เกิดจากภาระที่รัฐบาลต้องเข้าไปอุ้มระบบสถาบันการเงิน
แต่ปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่ง ซึ่งผมว่าเป็นปัญหาที่ซ่อนตัวมานาน และเริ่มแสดงให้เห็นชัดเจนมากขึ้น คือ จุดอ่อนของการขาดอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจากการใช้เงินยูโรของหลายประเทศในยุโรป จนทำให้บางประเทศเข้าสู่ภาวการณ์ขาดความสามารถทางการแข่งขันแบบถาวร สังเกตได้จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแบบยาวนาน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำเอามากๆ
ฟังดูแล้วอาจสงสัยว่ามันเกี่ยวอะไรกัน ผมขอย้อนเล่าเรื่องเงินยูโรให้ฟังสักหน่อยนะครับ
เงินยูโร เริ่มเป็นรูปเป็นร่างปลายทศวรรษ 1980s และต้นทศวรรษ 1990s โดยความคิดในการใช้เงินสกุลร่วมกันเพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและลดต้นทุนจากความเชื่อมโยงกันทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรป ก่อนที่จะมีการใช้เงินสกุลยูโรอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999
ก่อนหน้านั้น ในปี ค.ศ. 1992 ประเทศในประชาคมยุโรปได้ร่างสนธิสัญญา Maastricht เพื่อตั้งกฎเหล็กสี่ข้อไว้สำหรับประเทศที่ต้องการใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน คือ
๐ เงินเฟ้อต้องต่ำ คือต้องไม่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำสุดในสหภาพยุโรปเกินร้อยละ 1.5
๐ ต้องมีวินัยทางการคลังดีเยี่ยม คือ ขาดดุลงบประมาณได้ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี และหนี้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
๐ ต้องผ่านการทดสอบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ไม่น้อยกว่าสองปี กล่าวคือต้องเข้าสู่ระบบที่เรียกว่า exchange rate mechanism (ERM) ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่โดยยึดค่าเงินไว้กับเงินยูโร (หรือเรียกว่า European Currency Unit-ECU ก่อนที่จะมีเงินยูโร)
๐ อัตราดอกเบี้ยระยะยาว ต้องไม่สูงกว่าประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำสุดเกินร้อยละสอง
กฎเหล็กสี่ข้อนี้ มีไว้เพื่อทดสอบว่าประเทศที่จะร่วมใช้เงินยูโร มีความสามารถในการสละนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของตนได้ (แต่ก็มีการแอบยกเว้นกฎบางข้อให้กับบางประเทศ)
ถ้ามองทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การสละเงินสกุลของประเทศ ก็คือก็การยอมสละนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไปด้วย เพราะนโยบายการเงินจะถูกกำหนดโดย “ประเทศอื่น” ที่ไม่ใช่ธนาคารกลางของตนเอง (เช่นในกรณีของยูโร ก็คือธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB)
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากนะครับ เพราะเท่ากับว่าประเทศนั้นๆ ไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงิน (ไม่สามารถตั้งอัตราดอกเบี้ยของตัวเองได้) และไม่สามารถเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเองได้อีกต่อไป ไม่ว่าเศรษฐกิจของประเทศตนจะเป็นอย่างไร
ทีนี้ปัญหาคือว่า ถ้าประเทศในกลุ่มที่มีการใช้เงินสกุลเดียวกัน มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกัน ใครจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผมขอเขียนถึงเรื่องนี้ในสัปดาห์หน้าครับ
บทความนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)