สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดแถลงการณ์สภาทนายความ วิพากษ์ นิติราษฎร์ ..การโกงบ้านโกงเมืองนั้น เลวร้ายยิ่งกว่าการรัฐประหาร

เปิดแถลงการณ์สภาทนายความ วิพากษ์"นิติราษฎร์"..การโกงบ้านโกงเมืองนั้น เลวร้ายยิ่งกว่าการรัฐประหาร

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

วันที่ 27 กันยายน 2554  นายสัก กอแสงเรือง  นายกสภาทนายความ ได้ออกแถลงการณ์สภาทนายความ  ฉบับที่ 2/  2554   เรื่อง คำแถลงของกลุ่มนิติราษฎร์  สาระสำคัญ มีดังนี้


ตามที่กลุ่มนิติราษฎร์ประกอบด้วยอาจารย์สาขากฎหมายมหาชน 7  คน จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่  18  กันยายน 2554  ในหัวข้อ “การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร  19  กันยายน  2549  ” และการชี้แจงเพิ่มเติมของกลุ่มดังกล่าวสรุปได้ว่า กลุ่มนิติราษฎร์ได้เสนอให้ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร  19  กันยายน  2549 , การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 , กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร  19  กันยายน  2549  , การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยชี้แจงเพิ่มเติมว่ามีตัวอย่างในต่างประเทศที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว นั้น

สภาทนายความเห็นว่า ประเด็นการนำเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์อาจทำให้ประชาชนที่ยังไม่ทราบข้อเท็จ จริงในระบบประชาธิปไตยภาคปฏิบัติของประเทศอย่างถ่องแท้ที่แตกต่างกับนัก วิชาการและโดยที่เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ของสภาทนายความในการช่วยเหลือ ประชาชนทางกฎหมายให้รู้เท่าทันกลไกการเมืองและนักวิชาการบางท่าน

สภาทนายความจึงขอให้ความเห็นทางกฎหมายอันอาจเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปดังนี้

1. สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารที่ล้มล้างรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหาร โดยชอบธรรม เนื่องจากเป็นการทำให้ระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องสะดุดและต้องเริ่มต้นใหม่ตลอดมาถึง  17  ครั้ง สำหรับการรัฐประหารเมื่อวันที่  19  กันยายน  2549  ก็มีเหตุผลเช่นเดียวกัน

สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารในขณะนั้นได้ใช้อำนาจ เงินครอบงำพรรคการเมืองอื่น จนสามารถรวบรวมเป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเด็ดขาดในรัฐสภา ใช้อำนาจบริหารและอำนาจเงินครอบงำสื่อสารมวลชน และองค์กรอิสระ จนทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่บรรลุผล ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีการทุจริต ประพฤติมิชอบ เพื่อหาประโยชน์แก่ตนเอง และพวกพ้อง จนกระทั่งเป็นเหตุให้มีการรัฐประหาร

รัฐบาลผู้ใช้อำนาจบริหารก็ดี สภานิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้อำนาจตุลาการที่มีการดำเนินการหลังการรัฐประหาร มีส่วนที่สร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน มีการตรากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และมีส่วนในการสร้างความสงบสุขให้เกิดแก่สังคม ซึ่งไม่ควรให้ตกเป็นเสียเปล่า หรือไม่มีผลทางกฎหมาย ซึ่งรวมถึงรัฐบาล และรัฐสภาในปัจจุบันต่างก็มีที่มาจากกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการรัฐประหาร ทั้งสิ้น อันไม่สมควรให้สิ้นผลตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร

2 . การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เป็นการช่วยให้การสอบสวนในคดีที่มีความสับสนและการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่มี กลไกสนับสนุนจากนักการเมือง เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ต้องส่งแก่อัยการสูงสุด และนำไปฟ้องยังศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตาแหน่งทางการเมือง และวิธีพิจารณาในศาลฎีกาดังกล่าว เป็นศาลและวิธีพิจารณาที่อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2540  ซึ่งใช้บังคับก่อนที่จะมีการรัฐประหาร จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และมีบางคดีที่ศาลดังกล่าวมีคำพิพากษายกฟ้อง ซึ่งเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้แก่จำเลยได้เป็นอย่างดี

3 . ความผิดทางอาญาตามมาตรา  112  แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น อยู่ในหมวดของความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร เป็นตัวบทกฎหมายซึ่งมีที่มาจากประวัติศาสตร์ของชาติไทยอันมีความผูกพันกับ พระมหากษัตริย์อยู่ในทุกรัฐธรรมนูญ เมื่อพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงไม่อาจดำเนินการใด ๆ โดยลำพัง การดำเนินการใด ๆ ของพระมหากษัตริย์ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา จะมีบทบัญญัติให้องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้น มาตรา  112  ดังกล่าว จึงมุ่งที่จะคุ้มครองพระมหากษัตริย์มิให้มีผู้ใด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย และให้ความสำคัญเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งมีโทษรุนแรง สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ดังกล่าว

4. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญในประเทศไทย มีมาหลายฉบับแล้ว ในฉบับหลัง ๆ มักจะมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนที่แก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  ก็เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน การนำรัฐธรรมนูญฉบับเก่ามาใช้บังคับ ย่อมทำให้ประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาต้องสูญเปล่าไปอย่างน่าเสียดาย การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนย่อมต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็ม ที่ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของกลุ่มนักการเมืองและพวกพ้อง ย่อมต้องได้รับการคัดค้านอย่างเต็มที่

5. อย่างไรก็ตาม การที่กลุ่มนิติราษฎร์ได้ชี้แจงเวลาต่อมาว่า มิได้เสนอให้ลบล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช  2549   และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  เป็นการทั่วไป แต่ที่ให้ลบล้างรัฐธรรมนูญดังกล่าว เนื่องจากมีการนิรโทษกรรมการรัฐประหาร สภาทนายความเห็นว่า เป็นการเลือกใช้หลักการที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มที่ตนเองต้องการสนับสนุนเท่า นั้น มิได้ยึดถือหลักการที่ต้องใช้เป็นการทั่วไป

6 . ตัวอย่างที่กลุ่มนิติราษฎร์นำเสนอว่าเคยมีกรณีลบล้างคำพิพากษาและการกระทำ ที่เสียเปล่าในนานาอารยประเทศ นั้น เป็นกรณีการกระทำที่เกิดขึ้นจากอำนาจเผด็จการที่ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่มีการรัฐประหารและทำการตรวจสอบความผิดของผู้มีอำนาจบริหารประเทศที่ใช้ อำนาจแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง อีกทั้งในประเทศไทยก็เคยมี กรณีที่ศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาไม่ยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหารที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายเช่นกัน

การยกตัวอย่างในประเทศเยอรมัน ความเสียเปล่าของกลุ่มนาซี กลุ่มเสียเปล่าใน ระบบวิซี(Vichy) ในประเทศฝรั่งเศสรวมถึงคำพิพากษาลงโทษบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือผู้หลบหนีลี้ ภัยนาซีจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในประเทศกรีกและในประเทศตุรกี นั้น สภาทนายความเห็นว่า ระบบการเมืองและระบบกฎหมายของประเทศที่กล่าวอ้างมานั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ระบบการเมืองในประเทศไทยที่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยโดยมิได้มีการเสียเลือดเนื้อ และไม่เคยมีการทำร้ายเข่นฆ่ากันแต่อย่างใด เพียงแต่มีนักการเมืองบางคนที่สืบทอดเจตนารมณ์ทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยนั้น ทุจริตคิดมิชอบต่อทรัพย์สินของรัฐอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุให้มีการรัฐประหารช่วงชิงอำนาจกันตลอดมา

พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยได้ต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างยากลำบาก จนสามารถก่อตั้งประเทศขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ ได้เสียดินแดนเพื่อเสริมสร้างอิสรภาพเพื่อให้ทุกคนได้อยู่อย่างร่มเย็นเช่น ทุกวันนี้ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ที่สืบทอดตลอดมา

7 . สภาทนายความขอตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มนิติราษฎร์เสนอให้ส่วนที่เป็นผลร้ายต่อนักการเมืองในอดีตเป็นอันสูญ เปล่า เสียไป แต่กลับเป็นประโยชน์ต่ออดีตนักการเมืองมากกว่าการแสวงหาความยุติธรรมให้แก่ สังคม การฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งไม่มีนักการเมืองคนใดที่จะทำให้สังคมไทยรับรู้ว่าการโกงบ้านโกงเมือง นั้น เลวร้ายยิ่งกว่าการรัฐประหารที่มุ่งทำลายความเลวของนักการเมืองบางคนและ กระทำการเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงที่ประชาชนให้การรับรอง ประชาชนควรต้องติดตามตรวจสอบพฤติการณ์ของกลุ่มนิติราษฎร์อย่างใกล้ชิดต่อไป

(นายสัก กอแสงเรือง)
สภาทนายความ
27 กันยายน 2554

 


 

สภาทนายฯค้านแนวคิดนิติราษฎร์

จาก โพสต์ทูเดย์

สภาทนายความออกแถลงการณ์ ค้านกลุ่มนิติราษฎร์ ยัน ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจบริหารครอบงำองค์กรอิสระ

เมื่อเวลา 11.00 สภาทนายความได้จัดแถลงข่าวเรื่องข้อเสนอขของคณะนิติราษฏรขึ้น นำโดย นายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความ พร้อม นายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ นายเจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน นายไสว จิตเพียร อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ

สัก

นายสัก เปิดเผยว่า แถลงการณ์ของกลุ่มนิติราษฏร์ที่ออกมา อาจทำให้ปชช.สับสนในความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข สภาทนายความ ซึ่งมีหน้าที่เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย จึงได้ออกแถลงการณ์ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจกลไกทางการเมือง และกลไกของนักวิชาการบางท่านมากขึ้น โดยได้แบ่งข้อเสนอ ออกมาตอบโต้กลุ่มนิติราษฏร์ โดยแบ่งออกเป็น  7 ข้อ ได้แก่

1.สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร ล้มรัฐบาล ที่ใช้อำนาจโดยชอบธรรม แต่ก็ ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจบริหารครอบงำ จนเป็นเผด็จการรัฐสภา อย่างไรก็ตามรัฐประหารที่ผ่านมามีการตรากฎหมายที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชน จึงไม่ควรทำให้กฎหมายทั้งหมดเป็นโมฆะ หรือเสียเปล่า

2.การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารนั้น เป็นกลไกเพื่อช่วยให้การสอบสวนในคดีที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ก็ต้องผ่านกลไกของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ก่อนการรัฐประหาร พร้อมกับเปิดโอกาสให้จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ จึงไม่สมควรที่จะต้องแก้ไข

3.ความผิดทางอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น สภาทนายความเห็นว่าเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร และเป็นตัวบทกฎหมายที่มาจากรากฐานประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ คือเมื่อพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และไม่ใช้พระราชอำนาจโดยลำพัง จึงเห็นควรให้มีกฎหมายดังกล่าวต่อไป เพื่อคุ้มครองพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย และคงไว้ซึ่งโทษรุนแรงต่อไป

4.การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้มีการแก้ไขสิ่งที่เคยเกิดขึ้น และเป็นข้อผิดพลาดหรือช่องโหว่ของกฎหมายในอดีตมาปรับใช้ หากจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ก็ย่อมทำให้ประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาสูญเปล่าไปอย่างน่าเสียดาย

5.การใช้รธน.เพื่อลบล้างบทบัญญัติ เนื่องจากมีการนิรโทษกรรมการรัฐประหาร สภาทนายความเห็นว่า เป็นการเลือกใช้หลักการที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายนักการเมืองที่เป็นประโยชน์ ต่อกลุ่มที่ตนเองต้องการสนับสนุน ไม่ได้ยึดถือหลักการที่ต้องใช้เป็นการทั่วไป

6. ตัวอย่างที่นิติราษฏร์ชี้แจงว่ามีการลบล้างคำพิพากษา เพืและการกระทำที่เสียเปล่าในต่างประเทศ โดยยกตัวอย่างในประเทศเยอรมัน  ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศกรีก และประเทศตุรกีนั้น สภาทนายความเห็นว่าเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เพราะประเทศเหล่านี้ล้วนมีการฆ่าเข่นฆ่ากันจนเสียเลือดเนื้อ แต่ประเทศไทยไม่เคยเกิดขึ้น แต่กลับมีนักการเมืองบางคนทุจริต และคิดมิชอบต่อทรัพย์สินของรัฐมาอย่างต่อเนื่อง

และ  7. สภาทนายความเห็นว่า สิ่งที่กลุ่มนิติราษฏร์เสนอจะทำให้ส่วนที่เป็นผลร้ายต่อนักการเมืองในอดีต สูญเปล่า และเป็นประโยชน์กับอดีตนักการเมืองมากกว่าจะแสวงหาความยุติธรรมให้กับสังคม ซึ่งถือว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงของนักการเมืองแต่ละคนนั้น เลวร้ายกว่าการรัฐประหารอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ นายสักยังได้เปิดเผยภายหลังการแถลงข่าวอีกว่า หากกลุ่มนิติราษฏร์อยู่เฉย ๆ ไม่ออกแถลงการณ์ดังกล่าวออกมา บ้านเมืองก็มีความสงบอยู่แล้ว แต่พอภายหลังกลุ่มนิติราษฏร์ออกแถลงการณ์มาก็ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก ครั้ง จึงขอเรียกร้องให้นักวิชาการกลุ่มนี้ออกไปพบปะประชาชน และหาประสบการณ์ในการรับใช้ประชาชนในแง่มุมทางกฎหมายมากกว่าที่จะออกข้อเสนอ ให้เกิดความแตกแยกเช่นนี้

ส่วนข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฏร์จะเอื้อประโยชน์ให้กับพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร อดีตนายกฯหรือไม่นั้น นายสักกล่าวว่า ประชาชนสามารถพิจารณาได้เอง และทางสภาทนายความจะยังไม่ขอเคลื่อนไหวต่อ แต่จะรอดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฏร์และรัฐบาลต่อไป พร้อมกับขอยืนยันว่าข้อเสนอทั้ง 7 ข้อเป็นเพียงการให้ข้อมูลกับประชาชน ในฐานะองค์กรที่มีการทำงานรับใช้ประชาชนมาโดยตลอดเท่านั้น

 


 

สภาทนายตอก"นิติราษฎร์"หวังลบล้างผลรัฐประหาร-กระบวนยธ.


 

ผบ.ทบ.ปัดวิจารณ์นิติราษฎร์

จาก โพสต์ทูเดย์

ผบ.ทบ.ปัด วิจารณ์นิติราษฎร์ แนะให้สังคมจับตา ยัน ไม่จำเป็น แก้รัฐธรรมนูญ  มาตรา 112

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เปิดเผยก่อนการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจยัง จ.นราธิวาส ที่ กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก ถึงกรณีการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มนักวิชาการในนาม คณะนิติราษฎร์ ว่า ตนไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ แต่ขอให้สังคมช่วยกันติดตามตรวจสอบเรื่องความถูกต้องต่อไป และหากเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ก็ต้องให้หน่วยงานนี้ร่วมตรวจสอบด้วย ขณะที่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 นั้น ตนเห็นว่าไม่มีความจำเป็นและต้องช่วยกันติดตามว่า จุดประสงค์เพื่ออะไร ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการละเมิดกฎหมายด้วย

ส่วนโผโยกย้ายนายทหารประจำปีนั้น ได้ส่งให้ คณะรัฐมนตรี แล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นเรื่องการทูลเกล้าทูลกกระหม่อมรายชื่อดังกล่าวต่อ ไป

 


 

'ประยุทธ์'บอกแก้รธน.ห้ามแตะสถาบัน แจงไม่ปรับแก้ม.112


 

วิปค้านอัดแนวคิดนิติราษฎรทำเพื่อคนๆเดียว

จาก โพสต์ทูเดย์

ฝ่ายค้านอัดนิติราษฎร์เสนอ19โมฆะเพื่อคนเดียว ไม่ใช่เพื่อชาติ ข้องใจทำไมวิปรัฐฯหนุนแนวคิดโดยเฉพาะรื้อมาตรา 112

ที่รัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงภายหลังประชุมวิปฝ่ายค้านถึงกรณีที่วิปรัฐบาลออกมาสนับสนุนแนวคิดของ กลุ่มนิติราษฎร์จะทำให้เกิดความปรองดองว่า ฝ่ายค้านมองตรงข้ามอาจจะนำไปสู่ความแตกแยก เพราะขณะนี้มีความขัดแย้งกันทางความคิดขึ้นในสังคมและมีแนวโน้มจะรุนแรง เรื่อยถ้ายังดึงดันที่จะปฏิบัติตามกลุ่มนิติราษฎร์ เพราะเป้าหมายชัดเจนว่าเป็นประโยชน์กับคนๆ เดียว ซึ่งฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกต 3 ข้อคือ1.ทำไมจึงเจาะจงให้คดีเฉพาะการรัฐประหาร19 ก.ย.เป็นโมฆะ แต่กรณีของการยึดอำนาจไม่ก้าวล่วงไปเช่นกรณีรสช.หากเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ถ้ายกเลิกกรณีคดีความต่าง ๆหลังวันที่ 19 ก.ย.คนๆเดียวจะได้ประโยชน์ใช่หรือไม่ และถ้าไปเกี่ยวพันกับกรณีรสช.ให้มีการยกเลิกกรณีการให้สิทธิประโยชน์จะทำให้ คนๆเดียวเสียประโยชน์ใช่หรือไม่ เช่นกรณีการให้สัมปทานดาวเทียมเป็นต้น 2.การตัดตอนให้ความเห็นเฉพาะการยึดอำนาจ แต่ไม่พูดถึงกรณีสาเหตุเกิดก่อนการยึดอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการแทรกแซงองค์กรอิสระ การทุจริต เพราะเกรงว่าจะกระทบคน ๆเดียวอีกใช่หรือไม่ 3.การเสนอให้แก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำไมวิปรัฐบาลไม่ท้วงประเด็นนี้ เพราะในการแถลงนโยบายรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่แก้ไข หรือวิปรัฐบาลเห็นด้วยกับประเด็นนี้

ชี้นโยบายรัฐเอื้อคนรวยมากกว่าคนจน

นายจุรินทร์  กล่าวว่า  ในการตั้งกระทู้ถามสดในวันที่ 29 ก.ย. ฝ่ายค้านจะสอบถามรัฐบาลเรื่องนโยบายบ้านหลังแรก เนื่องจากเป็นโครงการที่มุ่งช่วยคนรวย ไม่ได้ช่วยคนจน และเอื้อประโยชน์ต่อบริษัท เอสซีแอสเซท และเครือญาตินายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นโครงการที่กลับไปกลับมาเหมือนโครงการอื่นๆของรัฐบาลก่อนหน้า นี้ในหลายโครงการ ส่วนที่รัฐบาลเตรียเสนอเพิ่มนโยบายลดดอกเบี้ย โครงการบ้านหลังแรก 0 % ก็เป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเสนอมาก่อนหน้านี้แล้ว

จี้รัฐเร่งเสนอกม.เข้าสภาก่อนสิ้นเดือน

 

นอกจากนี้ นายจุรินทร์ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งยืนยันกฎหมายที่มีการเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของ รัฐสภาในสภาชุดที่ผ่านมาเพื่อเป็นการลดขั้นตอนกระบวนการในการพิจารณากฎหมาย ให้สั้นลง ซึ่งรัฐบาลสามารถยืนยันได้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก และภายในสิ้นเดือนก.ย.นี้ก็จะครบแล้ว  แต่ขณะนี้รัฐบาลยังไม่ได้เสนอกฎหมายฉบับใดเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อให้ความ เห็นชอบ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการยึดหลัก 3 ประการ คือ1. จะต้องเป็นกฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชน มีทั้งหมด 9 ฉบับ 2.กฎหมายขององค์กรอิสระต่างๆ 3. กฎหมายที่ค้างพิจารณาอยู่ในขั้นตอนกระบวนการของรัฐสภา วุฒิสภา อย่างไรก็ตามฝ่ายค้านได้เสนอเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐบาลแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันกลับมา

 


ธาริตเมินข้อเสนอนิติราษฎร์

จาก โพสต์ทูเดย์

“ธาริต” ไม่สนข้อเสนอ “นิติราษฎร์” ยึดหลักกฎหมายและมติ ครม.เท่านั้น

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ที่เรียกร้องให้มีการลบล้างผลพวงการดำเนินคดีหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อ วันที่ 19 ก.ย.49 ที่ผ่านมา เป็นเพียงความเห็นของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น และไม่มีผลกระทบต่อการทำคดี เพราะดีเอสไอยึดหลักกฎหมาย และมติของครม. ซึ่งไม่มีคำสั่งให้ทบทวนคดีใด

Tags : เปิดแถลงการณ์ สภาทนายความ วิพากษ์ นิติราษฎร์ การโกงบ้านโกงเมือง เลวร้ายยิ่งกว่า การรัฐประหาร

view