รวมเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์"ช่วยเหลือ-ติดตาม"น้ำท่วมที่สำคัญ
จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เว็บไซต์:
1. แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.)
http://maintenance.doh.go.th/test.html
2. ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ
3. ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม.
http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/
4. รายงานสภาพการจราจร
5. ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก
http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx
6. ติดตามข่าวสารน้ำท่วม
http://dds.bangkok.go.th/m/index.php
7.กรมทรัพยากรน้ำ
8.กรมทางหลวงชนบท
เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ:
สำนักนายกรัฐมนตรี 1111
สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784
บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี 1669
ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193
การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
สายด่วน กฟภ. 1129
ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111
ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822
ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี 0-3641-4480-1 , 0-3641-1936
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก 0-5523-0537-8 , 0-5523-0394
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา 0-3533-5798 , 0-3533-5803
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา 035 – 241-612
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก 0-5551-5975
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี 0-3652-0041
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง 0-3564-0022
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ 0-5625-6015
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี 0-2591-2471
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี 0-2581-7119-21
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร 0-5661-5932
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก 0-3738-6209 , 0-3738-6484
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี 0-3553-6066-71
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี 0-3621-2238
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย 0-5561-2415
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี 0-5652-4461
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ 0-5544-4132
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง 0-5426-5072-4
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ 0-5321-2626
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน 0-5356-2963
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี 0-4531-2692 , 0-4531-3003
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย 0-4286-1579 , 0-4296-1581
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท 0-5641-2083
ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 02-281-5443
ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ 053-248925, 053-262683
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน 053-202609
ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )
สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร 034-881175, 034-839037 ต่อ 11
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433
ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232
สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง
สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253
แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7
ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183
เ
ทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.
สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง
ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง
รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง
ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013
มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599
มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง
ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111
บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771
นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955
นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325
นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6
แอร์เอเชีย 02 515 9999
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถติดตามสถานการณ์และดูคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านบัญชีทวิตเตอร์ดังนี้:
@thaiflood - ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
@Rawangpai -สถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ
@BKK_BEST - รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่อตัน ฝาท่อชำรุด น้ำเน่าเสีย@
@floodcenter- ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย
@thaiflooding - ศูนย์ข่าวรายงานการแจ้งเตือนน้ำท่วมนาที ต่อนาทีโดยอาสาสมัคร-นักศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ
@help_thaiflood-สร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
@Asa_Thai - อาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม
@PR_RID - กรมชลประทาน สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ โทร.022410965 สายด่วน 1460 สอบถามสถานการณ์น้ำ 026692560(24ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
@ndwc_Thai - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
@Aormortor - องค์การนศ.ธรรมศาสตร์ (ทวิตเตอร์ประสานงานกลางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมธ.)
@bangkokgovernor - ทวิตเตอร์กทม.
@BKKFlood - ตามติดสถานการณ์กรุงเทพฯ และรอบนอก
@SiamArsa - อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย | เครือข่ายอาสาสมัครออนไลน์ | ตลาดนัดกิจกรรมอาสา | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ข้อมูลช่วยเหลือ | แหล่งบริจาค | ประกาศรับอาสาสมัคร
@GCC_1111 - ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน
@aunonline - Owner of Red Dane Milk @Samyarn Chula, Citizen Journalist
นอกจากนั้น ผู้สนใจยังสามารถติดตามผ่านช่องทางเฟซบุ๊คได้ดังนี้:
"เกษตรศาสตร์รวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"
"อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย
"อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม"
"The Thai Red Cross Society"
"ThaiFlood ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"
"น้ำขึ้น ให้รีบบอก"
จุดรับบริจาค
-จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://www.princess-pa-foundation.or.th/index.html
-จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://www.facebook.com/ArsaDusit
-จุดบริจาค อาสาไทยฯ (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ http://ow.ly/6Bzaj
-จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้า ร.ร.ดุสิต สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด
-จุดบริจาค โรงแรมไนซ์พาเลซ (5 -15 ต.ค.) ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร อยู่ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8 บริจาคของ น้ำดื่ม ถุงดำ อาหารแห้ง ยา เช่น ยาน้ำกัดเท้า แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ฯลฯ แพมเพอสผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ
-จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110 รายละเอียด
-จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม)
-จุดบริจาค หอศิลปกรุงเทพ (แยกปทุมวัน) 1-31 ต.ค.
-จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7
-จุดบริจาค ร้านแมคโดนัลด์ ทุกสาขาทั่วประเทศ รับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่ม
-จุดบริจาค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภค-บริโภค ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ที่ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามโทร. 0 2419 7646-56
สายด่วนช่วยเหลือน้ำท่วม-ที่จอดรถฟรี
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สายด่วนช่วยเหลือน้ำท่วมและที่จอดรถฟรี ประชาชนที่เดือดร้อนสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้
สายด่วนช่วยเหลือน้ำท่วม
- ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ของรัฐบาลตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง โทร 1111 กด 5
- กทม. เปิดรับสายผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ โทร. 1555 ตลอด 24 ชม.
- กรมทางหลวง เปิดสายด่วน 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสำนักงานประชาสัมพันธ์ 0-2354-6530,0-2354-6668-76 ต่อ 2014, 2031 ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0-2354-6551
- ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทาง โทร. 1193 ตลอด24 ชม.
- กระทรวงการคลัง สายด่วน โทร.1689
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม โทร.1102
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)โทร.1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
-กรมชลประทาน (กรมชลฯ) สายด่วน สอบถามสถานการณ์น้ำ โทร.1460 ตลอด 24 ชั่วโมง
-บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล โทร.1669 ฟรี
-ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146
-การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690
-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร. 1129
-การท่าอากาศยานไทย กด โทร. 02-535-1111
- ไฟฟ้าขัดข้อง/เคลื่อนย้ายปลั๊กไฟฟ้า และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี 081-7014858 และ 081-8251343
สถานที่ให้บริการจอดรถยนต์ฟรี สำหรับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม
1. ท่าอากาศยานดอนเมือง บริเวณอาคารจอดรถผู้โดยสารภายในประเทศ และ อาคารคลังสินค้าสูง 5 ชั้น รับรถได้ 3,000 คัน
2. ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต สอบถามได้ละเอียดได้ที่ 0-2958-0011 กด 0
3. ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ เปิดพื้นที่ดาดฟ้า ชั้น 6 รองรับรถได้ถึง 750คัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7-16 ตุลาคม นี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ฝ่ายสื่อสารการตลาด โทร.02-721-8888 ต่อ 313 , 314 หรือ www.seaconsquare.com / www.twitter.com/seaconsquare / www.facebook.com/SeaconSquareFanPage
4. บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา เปิดให้บริการจอดรถฟรี ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า, บางนา, พระราม 2, พระราม 3, แจ้งวัฒนะ, รัตนาธิเบศร์, รามอินทรา, เชียงใหม่ แอร์พอร์ต,เชียงราย, ขอนแก่น, อุดรธานี, ชลบุรี และเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช
5. ตลาดนัด บานาน่าสแควร์ข้างๆ โลตัสลพบุรี และตึกจอดรถของห้างโลตัสอีก 8 ชั้น รวมจอดรถได้กว่า 1,500 คัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอู้ 089- 884-4839
6. ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ รองรับรถยนต์ได้ถึง 650 คัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-787-2191
ชีวิตที่ยังไม่รู้วันพรุ่งนี้
จาก โพสต์ทูเดย์
เสียงสะท้อนจากผู้ประสบภัยน้ำท่วมในอยุธยาที่เดินทางมาอาศัยศูนย์พักพิงชั่วคราวที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต
โดย...สุภชาติ เล็บนาค
บรรยากาศภายในศูนย์พักพิงมธ.รังสิตที่มีผู้ประสบภัยเดินทางมาอาศัยอย่างต่อเนื่อง
บรรยากาศศูนย์พักพิงชั่วคราวที่อาคารยิมเนเซียม 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ซึ่งเปิดบริหารมาได้เป็นวันที่ 2 คราคร่ำไปด้วยผุ้คนทั้งอาสาสมัครและผู้อพยพที่ทะยอยหนีน้ำมาอาศัยพักพิงชั่ว คราว
สถานการณ์แห่งนี้ได้จัดแบ่งออกเป็น “โรงครัว” “ห้องคัดแยกของ” และห้อง “สต๊อกของ” พร้อมทั้ง “ห้องพยาบาล” ที่ส่งตรงแพทย์ฝึกหัด และแพทย์ตัวจริงจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มาคอยรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มธ. กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประสบภัยเข้ามาอาศัยในศูนย์แล้วประมาณ 400 คน จากที่ประเมินไว้สามารถรองรับคนได้ 1,800 คน และหากเกินกว่านี้จะเปิดอาคารยิมเนเซียม 1 เพิ่มเติม
สุรชัย ลายนารี พนักงานบริษัท วัย 33 ปี เล่าว่า ตัดสินใจชวนแฟนมาอยู่ที่ศูนย์ฯแห่งนี้ หลังจากบ้านที่ ต.บ้านสร้าง อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยาเริ่มมีปริมาณน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ และทะลักคันกั้นน้ำออกมาช่วงเย็นของวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา
“ผมน่าจะมาถึงคนแรกๆ ตอนมายังมีคนอยู่ประมาณ 10 คนเท่านั้น โรงครัวก็ยังไม่มี หน่วยต่างๆ ก็ยังมีไม่มาก ซึ่งคืนแรกกว่าจะนอนหลับก็ดึก เพราะไม่คุ้นที่ รวมถึงห่วงอนาคตว่าจะเป็นยังไง แต่พอวันที่สองก็ดีขึ้น เพราะคนเยอะขึ้นของกินก็มีให้กินทั้งวัน” สุรชัย เล่า
สุรชัย บอกว่าที่ทำงานอยู่ติดกับโรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้าในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ โดยบริษัทให้หยุดงาน 1 สัปดาห์ ซึ่งยังรู้สึกเครียดกว่าหลังออกจากศูนย์อพยพแล้ว บริษัทจะจ้างต่อ หรือจะจ่ายเงินชดเชยหรือไม่ และหากไม่จ่ายจะทำอย่างไรต่อ
"ใจหนึ่งก็ห่วงบ้าน ใจหนึ่งก็ห่วงงาน แต่คิดดูแล้วก็คงไม่มีทางที่ดีกว่าหนีออกมา"สุรชัยเล่าปลงๆ พร้อมกับฟังข่าวน้ำทะลักเข้าเมืองนครสวรรค์ไปด้วย
ขณะที่ หนูแดง รื่นพิทักษ์ อายุ 53 ปี จาก ต.บ้านพลับ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เพิ่งย้ายมาอยู่ที่ศูนย์ฯ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากน้ำท่วมบ้านถึง 2 เมตรอย่างรวดเร็วเมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา “นั่งดูข่าวน้ำท่วมอยู่ตลอด ยังไม่เคยคิดว่าสักวันจะเข้ามาถึงบ้าน เพราะว่าบ้านอยู่สูง และอยู่คนละฝั่งจากแม่น้ำด้วย แต่เมื่อเช้าวันที่ 10 ต.ค.ตอนตี 3 กู้ภัยก็ประกาศว่าคันกั้นน้ำจะเอาไม่อยู่แล้ว ก็เลยโทร.หาลูกให้มารับมาส่งที่ธรรมศาสตร์” หนูแดงเล่าเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ ด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น
หนูแดงและครอบครัวไม่ได้หอบเครื่องมือเครื่องใช้อะไรติดไม้ติดมือมา เพราะหนีน้ำมาอย่างทุลักทุเล ด้วยตั้งแต่เกิดมาบ้านเธอยังไม่เคยมีน้ำท่วม และเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นหมู่บ้านตัวเองจมลงไปในพริบตา
เสียงของหนูแดงก็ไม่ต่างกับเสียงของสุรชัยที่ไม่มั่นใจว่าต้องอยู่ที่ ศูนย์ฯนี้กี่วัน กี่อาทิตย์ หรืออีกกี่เดือน แต่ก็ดูมีความสุขกว่าจะต้องนั่งเฝ้าบ้านตัวเองต่อไปโดยไม่รู้อนาคต
อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์พักพิงชั่วคราวแห่งนี้ ขอรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ดังนี้ 1.ถังน้ำ 2.กะละมัง 3.ขันน้ำ 4.ชุดชั้นใน (ทั้งผู้ชายและผู้หญิง) 5.ผ้าอ้อมเด็ก 6.เสื้อ 7.ผ้าห่ม 8.หมอน ขณะที่ข้าวปลาอาหารมีผู้บริจาคจำนวนมากแล้ว
สงบศึกน้ำลายช่วยวิกฤตน้ำท่วม
จาก โพสต์ทูเดย์
รุนแรงต่อเนื่องจนถึงขั้นที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย &<2288;
โดย...ทีมข่าวการเมือง
รุนแรงต่อเนื่องจนถึงขั้นที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ประกาศว่าปัญหาน้ำท่วมเที่ยวนี้ “วิกฤต” รุนแรงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา พร้อมประกาศในรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ดันให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ดึงความร่วมมือจากทุกฝ่ายมาร่วมกันแก้ปัญหา
จนถึงวันนี้ความเสียหายเกิดขึ้นใน 30 จังหวัด ได้แก่ จ.สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด ลำปาง เลย นครราชสีมา บุรีรัมย์ กำแพงเพชร และตาก รวม 223 อำเภอ 1,532 ตำบล 10,130 หมู่บ้าน
ราษฎรเดือดร้อน 784,097 ครัวเรือน 2,388,286 คน ผู้เสียชีวิต 261 คน สูญหาย 4 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 8,642,399 ไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บ่อปลา 123,824 บ่อ สัตว์ได้รับผลกระทบ 9,956,723 ตัว น้ำท่วมเส้นทางไม่สามารถสัญจรผ่านได้ รวม 216 สาย แยกเป็นทางหลวง 58 สาย ใน 15 จังหวัด ทางหลวงชนบท 158 สาย ใน 32 จังหวัด
ความเสียหายยังรุนแรงต่อเนื่องไปถึงนิคมอุตสาหกรรมที่มูลค่าความเสียหาย ทางเศรษฐกิจสูงนับแสนล้านบาทไปจนถึงพื้นที่ กทม.ที่กำลังสุ่มเสี่ยงจะประสบปัญหาน้ำท่วมที่จะซ้ำเติมความเสียหายมากยิ่ง ขึ้น
ลำพังแค่ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) ที่ตั้งมาก่อนหน้านี้ ดูจะควบคุมสถานการณ์ไม่อยู่ จนล่าสุดรัฐบาลเปิด “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” (ศปภ.) ณ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศสนามบินดอนเมืองให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่มี จำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายพื้นที่เจอน้ำท่วมหนัก ภารกิจสำคัญเวลานี้จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งระบายน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด ก่อนพายุลูกใหม่ที่จ่อเข้ามาซ้ำเติมความเดือดร้อนเพิ่มมากขึ้น
บรรยากาศการเมืองในเวลานี้จึงดูจะยุติความขัดแย้งไว้ชั่วคราว พักยกสงครามน้ำลายมาทุ่มเทสรรพกำลังแก้ปัญหาน้ำท่วมกันอย่างพร้อมเพรียง เมื่อต่างก็รู้ว่าในวาระหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ หากยังมาเดินหน้าเล่นการเมืองแบบเดิมๆ ย่อมถูก “น้ำท่วม” กัดเซาะคะแนนนิยมได้ง่ายๆ
เวลานี้สารพัดเรื่องร้อนทั้งหลายแหล่ของรัฐบาลต่างถูกพับเก็บลงกระเป๋า ไม่หยิบจับมาพูดถึง ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายในหลายหน่วยงานที่ต้องชะลอเรื่องออกไป ไม่อยากนำมาเป็นประเด็นให้ถูกโจมตีซ้ำเติมข้อครหาเดิมๆ ทั้งการ “ล้างบาง” คนจากขั้วอำนาจเก่าสวนทางกับนโยบายแก้ไขไม่แก้แค้น
ประเด็นใหญ่อย่างฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งหยิบยกนำมาปัดฝุ่นใหม่อย่างเร่งด่วน พร้อมตั้งคณะทำงานขึ้นมากลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริง ถูกเก็บงำไว้ไม่นำมาพูดถึงในช่วงเวลานี้ ป้องกันแรงเสียดทานที่จะถูกโจมตีซ้ำแผลเก่าเรื่องมุ่งช่วยเหลือเพื่อ ประโยชน์คนคนเดียว แทนที่จะทำเพื่อส่วนรวมโดยเฉพาะในเวลานี้ที่ประชาชนค่อนประเทศกำลังเดือด ร้อนอย่างรุนแรง
ที่สำคัญงานนี้ “ยิ่งลักษณ์” ประกาศยกเลิกหมายเดินทางไปเยือนมาเลเซียและสิงคโปร์ ในช่วงนี้ ด้วยเหตุผลว่าจะช่วยประสานงานและให้กำลังใจประชาชน
“ยามนี้คนไทยมีความทุกข์ ดิฉันและคณะก็ทุกข์ด้วย จึงตัดสินใจขอโทษผู้นำต่างประเทศเพื่อปฏิบัติภารกิจของประเทศก่อน”
ต้องยอมรับว่าบทเรียนจากเมื่อครั้งเดินทางไปเยือนต่างประเทศในช่วงหลัง รับตำแหน่งหมาดๆ ทั้งที่สถานการณ์น้ำท่วมในเวลานั้นยังไม่คลี่คลาย กลายเป็นอีกประเด็นร้อนที่ถูกรุมถล่มอย่างหนักถึงความไม่ใส่ใจปัญหา ซ้ำเติมเรื่องความล่าช้าในการแก้ปัญหา ฉุดภาวะผู้นำของ “ยิ่งลักษณ์” จนไม่อาจปล่อยให้ซ้ำรอยเดิมได้อีกครั้ง
ทุกองคาพยพของรัฐบาลในเวลานี้ แต่ละกระทรวง ทบวง กรม ถูกกำชับให้ไปเฝ้าระวังในพื้นที่ คอยแก้ปัญหาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเอาจริงเอาจัง พร้อมกับวางแนวทางป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่อื่นๆ ร่วมกับทหาร กรมชลประทาน ท้องถิ่น และภาคเอกชน แก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
ไม่ต่างจาก “ประชาธิปัตย์” ที่ปรับรูปแบบการทำงานช่วงนี้ ตามที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน สร้างสรรค์ หลบเลี่ยงลดการวิวาทะในประเด็นการเมืองต่างๆ หันมาเน้นหนักจี้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมครั้ง นี้เป็นหลัก
พร้อมกันนี้ยังได้เปิดศูนย์ “อาสาฯ คนไทยช่วยน้ำท่วม” ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางรับบริจาคและส่งต่อความช่วยเหลือไปแต่ละพื้นที่ พร้อมดัน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคทำงานเชิงลุกลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่เดือด ร้อน จนมองว่าลงพื้นที่หนักยิ่งกว่าสมัยเป็นนายกฯ ด้วยซ้ำ
ส่องดูการทำงานในสภาผู้แทนราษฎรเวลานี้ ทั้งกระทู้ถามสดในสภาฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการกระตุ้นถามถึงความคืบหน้าในมาตรการให้ความช่วยเหลือ น้ำท่วมของรัฐบาล ไปจนถึงเรื่องญัตติด่วนที่ สส.ให้ความสำคัญเสนอเป็นญัตติเกี่ยวกับน้ำท่วมการให้เข้าสู่การพิจารณาถึง 2 รอบ ที่ยังอภิปรายต่อเนื่องมาจนถึงวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
การเปิดศึกปะทะกันของนักการเมืองเวลานี้ ดูจะพุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ ดังจะเห็นจากรอยร้าวระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเองที่สมาชิกจาก “เพื่อไทย” ออกมาค่อนขอด “บิ๊กเติ้ง” บรรหาร ศิลปอาชา ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของ จ.สุพรรณบุรี รอดพ้นน้ำท่วม ปล่อยให้จังหวัดอื่นๆ ต้องแบกรับความเสียหายที่เกิดขึ้น จนกลายเป็น “วิวาทะ” ตอบโต้กันอยู่พักใหญ่
อย่างไรก็ตาม หากพรรคหนึ่งพรรคใดยังเล่นการเมืองรายวัน มีหวังก็ถูกประณาม มิได้ผุดมิได้เกิด ซึ่ง สส.ย่อมรู้ทางหนีทีไล่เป็นอย่างดี
ทิศทางการเมืองในเวลานี้ จึงเหมือนจะพร้อมใจกันยุติความขัดแย้งไว้ชั่วคราว เปิดทางให้กับการมุ่งแก้ “วิกฤตน้ำท่วม” ที่เป็นปัญหาใหญ่ของชาติเวลานี้
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี