เปิดแบบจำลอง!เขตไหนรอด...เขตไหนท่วมรุนแรง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ปัจจุบันสถานการณ์น้าท่วมกลายเป็นปัญหาสาคัญและเร่งด่วนที่ทาให้ทุกฝ่ายวิตกกังวลถึงความรุนแรง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจท้ำให้ไม่สามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
กทม.ก็เป็นอีกจุดที่มีการประเมินกันต่างๆนานา วันนี้จึงมีแบบจำลองให้พิจารณา บ้านที่อยู่อาศัยของแต่ละท่านนั้น ตั้งอยู่ในจุดเสี่ยงความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และหากท่วมจะสูงกี่เมตร ที่สำคัญในระดับความรุนแรงต่างๆ เราต้องเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรบ้าง
กลุ่มบริษัททีม ซึ่งมีประสบการณ์ความชำนาญในวิชาชีพด้านการบริหารจัดการน้ามากว่า 30 ปี กลุ่มบริษัททีม พร้อมเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รวบรวม และวิเคราะห์โดยใช้แบบจาลองคณิตศาสตร์ โดยได้จัดทาแผนที่แสดงพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้าท่วมในระดับต่างๆ และพื้นที่ต่างๆ (โดยเฉพาะกทม.)เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัย
1. พื้นที่น้าท่วมปี 2554 : พื้นที่น้ำท่วมถึงวันที่ 10 ต.ค.2554 แสดงไว้ในรูป
2. พื้นที่เสี่ยงภัยน้าท่วม ซึ่งมีระดับความเสี่ยงและข้อควรปฏิบัติดังนี้
2.1 พื้นที่เสี่ยงน้าท่วม ระดับที่ 3 (สีแดง:เสี่ยงสูงสุด)
(1) เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันพระราชดาริ จะมีสภาพการท่วมเช่นเดียวกับปี 2538 แต่ระดับสูงกว่า ประมาณ 0.50 เมตร น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1- 2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือนจำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น
(2) พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ นี้ จะเป็นทางที่น้ำจะหลากจากแม่น้าเจ้าพระยา และแม่น้าป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอาเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอาเภอธัญญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อาเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต
คันป้องกันน้ำท่วมต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0 ถึง 2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่
(3) พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อาเภอลาดบัวหลวง อาเภอลาดหลุมแก้ว อาเภอสามโคก อาเภอเมืองปทุมธานี อาเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้าท่าจีน
(4) การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูง ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
2.2 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 (สีส้ม).. ( สนามบินสุวรรณภูมิน้ำไม่ท่วม)
(1) เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง (เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีน้ำท่วมสูงสุด) เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม (ต้องสู้กับน้ำ) หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าว และติดตามระดับน้ำในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน
(2) พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่พื้นที่ ฝั่งตะวันออกของอาเภอเมืองปทุมธานี อาเภอคลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบาหรุไปบางพลี
(3) พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้าเจ้าพระยา พื้นที่อาเภอสามพรานที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้าท่าจีน อาเภอกระทุ่มแบน อาเภอเมืองสมุทรสาครที่อยู่ห่างจากแม่น้าท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง
(3) การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูงและติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด
2.3 พื้นที่เสี่ยงน้าท่วม ระดับที่ 1 สีเหลือง
(1) เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง เป็นพื้นที่น้าไม่ท่วมในปี 2538 แต่มีความเสี่ยงที่จะท่วมได้ในปี 2554 นี้ได้แก่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดนนทบุรี และพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3 ดังกล่าวข้างต้น
(3) ในการเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าว และเฝ้าระวัง
ดูคลิปสัมภาษณ์ ชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแหล่งน้ำ จาก TEAM GROUP http://www.bangkokbiznews.com/home/video/?id=413668&top=1§ion=1
หมายเหตุ:เป็นงานศึกษาทางวิชาการ ชิ้นหนึ่ง ประชาชนควรพิจารณาข้อมูลที่หลากหลายก่อนตัดสินใจ
ที่มา:กลุ่มบริษัททีม
เปิดแบบจำลองกทม.พื้นที่ไหนท่วม-ไม่ท่วม?
จาก โพสต์ทูเดย์
เปิดแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในระดับต่างๆของกรุงเทพฯ พบใจกลางเมืองเสี่ยงปานกลางหากท่วมจะสูง50ซม. ขณะที่รอบนอกเสี่ยงสูงหากคันกั้นน้ำแตกจะท่วม1-2เมตร
ฝ่ายสื่อสารองค์กรกลุ่ม บริษัททีม (TEAM GROUP) ได้เผยแพร่ข้อมูลและแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในระดับต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัย โดยบริษัททีมได้รวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์บริหารจัดการน้ำกว่า30ปีของบริษัท และวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์
ทั้งนี้ได้มีการแสดงจุดพื้นที่น้ำท่วมและจุดเสี่ยงในระดับต่างๆไว้ในพื้นที่ดังนี้
- พื้นที่น้ำท่วมปี 2554 ข้อมูลถึงวันที่ 10 ต.ค. แสดงด้วยสีฟ้า
- พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ซึ่งมีระดับความเสี่ยงและข้อควรปฏิบัติดังนี้
1.พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 1 แสดงด้วย "สีเหลือง"
1.1เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง เป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมในปี 2538 แต่มีความเสี่ยงที่จะท่วมได้ในปี 2554 นี้ได้แก่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดนนทบุรี และพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3
1.2.พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร
1.3ในการเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าว และเฝ้าระวัง
************************
2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 ( สนามบินสุวรรณภูมิน้ำไม่ท่วม) แสดงด้วย "สีส้ม"
2.1 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง (เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีที่น้ำท่วมสูงสุด) เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม (ต้องสู้กับน้ำ) หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าว และติดตามระดับน้ำในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน
2.2 พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่พื้นที่ ฝั่งตะวันออกของอาเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบาหรุไปบางพลี
2.3 พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่อำเภอสามพรานที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาครที่อยู่ห่างจากแม่น้าท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง
2.4 การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูงและติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด
************************
3.พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 (เสี่ยงสูงสุด) แสดงด้วย "สีแดง"
3.1 เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันพระราชดำริจะมีสภาพการท่วมเช่นเดียวกับปี 2538 แต่ระดับสูงกว่า ประมาณ 0.50 เมตร น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1- 2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือนจำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น
3.2 พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ นี้ จะเป็นทางที่น้ำจะหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต
คันป้องกันน้ำท่วมต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0 ถึง 2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่
3.3 พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน
การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูง ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
***แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงในระดับต่างๆ***
พื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ
พื้นที่กรุงเทพฯฝั่งตะวันตกตอนล่าง
พื้นที่กรุงเทพฯฝั่งตะวันตกตอนบน
พื้นที่กรุงเทพฯฝั่งตะวันออกตอนบน
พื้นที่กรุงเทพฯฝั่งตะวันออกตอนล่าง
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี