จาก โพสต์ทูเดย์
กรมชลเผยแผนที่น้ำท่วมลุ่มน้ำภาคกลางพบน้ำค้างทุ่งมีกว่า 1.1หมื่นล้านลบ.ม. อยุธยามีปริมาตรน้ำในพื้นที่สูงสุด5.6พันลบ.ม. ขณะที่ภาคเหนือตอนล่างยังเหลือน้ำค้างทุ่งอีก 4.2พันล้าน ลบ.ม.
กรมชลประทานได้รายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วมลุ่มน้ำภาคกลางเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2554 พบว่ามี ปริมาณน้ำค้างทุ่ง รวม 11,746 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ในพื้นที่ทั้งหมด 5,859,263 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก 4,340,044 ไร่ รวมปริมาณน้ำ 9,472 ล้าน ลบ.ม. และ ลุ่มน้ำฝั่งตะวันตก 1,519,219 ไร่ รวมปริมาณน้ำ 2,274 ล้านลบ.ม.
ทั้งนี้กรมชลฯได้จำแนกพื้นที่น้ำท่วม ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย และปริมาตรน้ำในแต่ละพื้นที่ดังนี้
ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก
1.จ.สิงห์บุรี พื้นที่น้ำท่วม 392.92 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.6 เมตร ปริมาตรน้ำ 628.67 ล้าน ลบ.ม.
2.จ.อ่างทอง พื้นที่น้ำท่วม 520.91 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.63 เมตร ปริมาตรน้ำ 849.08 ล้าน ลบ.ม.
3.จ.อยุธยา พื้นที่น้ำท่วม 1,832.28 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.99 เมตร ปริมาตรน้ำ 5,646.24 ล้าน ลบ.ม.
4.จ.ปทุมธานี พื้นที่น้ำท่วม 355.70 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1 เมตร ปริมาตรน้ำ 365.70 ล้าน ลบ.ม.
5.จ.นนทบุรี พื้นที่น้ำท่วม 68.92 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.50 เมตร ปริมาตรน้ำ 34.46 ล้าน ลบ.ม.
6.กรุงเทพฯ พื้นที่น้ำท่วม 11.95 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 44.78 ล้าน ลบ.ม.
7.จ.ลพบุรี พื้นที่น้ำท่วม 1,650 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.7 เมตร ปริมาตรน้ำ 2,887.5 ล้าน ลบ.ม.
8.จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่น้ำท่วม 751.43 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 300.57 ล้าน ลบ.ม.
9.จ.ปราจีนบุรี พื้นที่น้ำท่วม 437.8 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.35 เมตร ปริมาตรน้ำ 153.23 ล้าน ลบ.ม.
10.จ.สมุทรปราการ พื้นที่น้ำท่วม 42.28 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 18.11 ล้าน ลบ.ม.
ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันตก
1.จ.ชัยนาท พื้นที่น้ำท่วม 579.10 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.58 เมตร ปริมาตรน้ำ 914.98 ล้าน ลบ.ม.
2.จ.สุพรรณบุรี พื้นที่น้ำท่วม 1,307.86 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.75 เมตร ปริมาตรน้ำ 980.90 ล้าน ลบ.ม.
3.จ.นครปฐม พื้นที่น้ำท่วม 365.05 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.50 เมตร ปริมาตรน้ำ 183.03 ล้าน ลบ.ม.
4.จ.สมุทรสาคร พื้นที่น้ำท่วม 0.43 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.18 เมตร ปริมาตรน้ำ 0.08 ล้าน ลบ.ม.
นอกจากนี้กรมชลประทานยังรายงานอีกว่าในลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ยังเหลือน้ำค้างทุ่งอีกประมาณ 4,253 ล้าน ลบ.ม. โดยจังหวัดที่มีปริมาตรน้ำสูงสุดคือ จ.นครสวรรค์ ที่มีพื้นที่น้ำท่วม 1,787.70 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.35 เมตร ปริมาตรน้ำ 2,403.94 ลบ.ม.
เปิดแผนที่ศปภ.!กทม.เขตไหนสูง-ต่ำ'เช็คสภาพระดับน้ำท่วม'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุชัดเจนผ่านรายการ'รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน'เมื่อช่วงเช้าวันที่ 22 ต.ค.ชัดเจนว่าจะให้ กทม.เป็นพื้นที่รับน้ำและเป็นทางผ่านลงทะเล ด้วย ถือเป็นการเปลี่ยนแผนไปจากก่อน
โดยก่อนหน้านี้รัฐบาล หวังจะผลักดันให้น้ำออกไปทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก แต่เนื่องจากทั้งสองฝั่งระบายน้ำทำได้ช้า เพราะมีถนนหลายเส้นขวางทางน้ำ บวกกับประตูกั้นน้ำไม่สามารถต้านทานแรงน้ำที่มหาศาลได้ ทำให้ต้องปรับแผนหันมาใช้พื้นที่กทม.ใช้ในเป็นทางผ่านน้ำด้วย
จากแผนที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ซึ่งเปรียบเทียบจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พบว่าเขตคลองสามวา อยู่ในกลุ่มที่มีระดับต่ำกว่าน้ำทะเล รวมไปถึง บางกะปิ สวนหลวง ลาดกระบัง ประเวศ พระโขนง บางนา บึงกุม มีนบุรี หนองจอก ก็อยู่เหนือระดับน้ำทะเลไม่มากนัก ซึ่งจะสุ่มเสี่ยงน้ำท่วมขังหาก รัฐบาลไม่สามารถรักษาระดับระบายน้ำได้อย่างเหมาะสม
เช่นเดียวกับฝั่งตะวันตก ตลิ่งชั่น บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ บางแค ธนบุรี ก็อยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักวิชาการหลายท่านมีการประเมินเบื้องต้นว่า ระดับน้ำหากเข้ากทม.ชั้นใน หากมีจัดการที่ดี ก็น่าจะอยู่ประมาณ 0.5-1.0 เมตร
เปิดภาพประเมินระดับน้ำท่วมในกรุงเทพฯ
จาก โพสต์ทูเดย์
เปิดแบบจำลองจากภาพถ่ายดาวเทียมประเมินระดับน้ำท่วมในกทม.พบชั้นในสูง60ซม.-1เมตร รอบนอกมากกว่า 1 เมตร ด้านกทม.แก้น้ำท่วมสามเสนแล้ว
แถบ สีแทนระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆดังนี้ น้ำตาลเข้มความสูงมากกว่า 4.09 เมตร สีฟ้าอ่อน 0.69 เมตร ส่วนสีอื่นระดับน้ำจะลดหลั่นกันลงมาดังนี้ น้ำตาลเข้ม-เหลือง-เขียว-เขียวอ่อน-ฟ้าอ่อน
เมื่อวันที่ 23 ต.ค. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมประเมินค่าเฉลี่ยระดับน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล โดยระดับน้ำกทม.ชั้นในจะอยู่ที่ 60ซม.-1เมตร จากระดับน้ำทะเล ขณะที่พื้นที่รอบนอกจะมีน้ำท่วมตั้งแต่ 1 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป
กทม.ระบายน้ำท่วมบริเวณสามเสนแล้ว
ขณะที่กรุงเทพมหานครแ (กทม.)ได้รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ โดยระบุว่า สำนักการระบายน้ำได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณบางกระบือ ถนนเขียวไข่กา ซึ่งเกิดจากรั้วโรงเรียนราชินีด้านแม่น้ำเจ้าพระยาแตกได้แล้ว
นอกจากนี้ยังพบน้ำรั่วซึมแนวป้องกันบริเวณต่างๆ อาทิ บริเวณสะพานพระราม 7 หน้า เทคโนโลยีพระนครเหนือ ซึ่งเกิดจากแนวป้องกันของบริษัทซีแพค พัง 50 -60 ซม. ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเข้าแก้ไขแล้ว
สำหรับน้ำที่รั่วจากคลองประปาถึงพหลโยธิน บริเวณอนุสรณ์สถาน รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ซึ่ง สำนักการระบายน้ำได้ดำเนินการเรียงแนวกระสอบทรายบริเวณอนุสรณ์สถานด้านถนน วิภาวดี และถนนพหลโยธิน
แจ้งวัฒนะช่วงคลองประปา-ศูนย์ราชการท่วมสูง 50 ซม.
กรณีน้ำรั่วซึมจากคลองประปาทำให้เกิดน้ำท่วมถนนแจ้งวัฒนะจากคลองประปา ถึงศูนย์ราชการ ระดับน้ำ 50 ซ.ม. ทั้ง 2 ฝั่ง จากถนนแจ้งวัฒนะถึงศรีสมาน ระดับน้ำท่วมเป็นช่วงๆ ประมาณ 20 ซ.ม. หมู่บ้านบูรพา วัดเวฬุ วัดไผ่เขียว ระดับน้ำ 50 ซ.ม. ถนนแจ้งวัฒนะหน้ากรมทหารระดับน้ำ 40 – 50 ซ.ม. ซ.แจ้งวัฒนะ 14 ระดับน้ำ 40 – 50 ซ.ม.
สำหรับระดับน้ำคลองเปรมประชากรหน้าสน.ดอนเมืองยังอยู่ในระดับสูงใกล้ขอบ ตลิ่ง ส่วนคลองอื่นๆ ปกติ แต่ยังคงเฝ้าระวังเขตดอนเมือง หลักสี่ บางเขน สายไหม คันนายาว มีนบุรี คลองสามวา และหนองจอกอยู่ ระดับน้ำคลองสามเสนช่วงต่อเชื่อมคลองประปา ระดับต่ำกว่าสันเขื่อน 1.84 ม. และน้ำในคลองประปาไหลสู่คลองสามเสนในอัตราต่ำกว่าที่คาด
คลองหกวาระดับน้ำสูงเพิ่ม 2 ซม.
สำหรับการคาดการณ์น้ำทะเลหนุนสูงวันนี้ เวลา 16.19 น. ที่ระดับ 0.98 ม. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยระดับน้ำทะเลหนุนผิดปกติประมาณ 15 – 20 ซ.ม. คาดการณ์ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดวันนี้ที่ปากคลองตลาดโดยกรม อุทกศาสตร์ เวลา 16.16 น. ที่ระดับ 2.18 ม.สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับน้ำทุ่งเริ่มมาถึงคลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 ซ.ม. ต้องเฝ้าติดตามเป็นระยะๆ
ทีมกรุ๊ปเตือน7พื้นที่เสี่ยงท่วมเพิ่ม
ทีมกรุ๊ปออกแถลงการณ์น้ำท่วมฉบับ4 เตือน7พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเพิ่ม คาดน้ำท่วมขังยาวถึง 15 พ.ย. พร้อมเผยแผนที่ประเมินระดับน้ำท่วมล่าสุด
บริษัททีมกรุ๊ป ได้ออกแถลงการณ์เตือนภัยน้ำท่วมฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 27 ต.ค. โดยระบุว่า สถานการณ์น้าท่วมยังไม่ดีขึ้น แม้ปริมาณน้ำไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยาจะลดลงจนน้อยกว่าปริมาณน้ำที่ระบายลง สู่ทะเลแล้ว แต่ปริมาณน้ำในทุ่งดังกล่าวยังมีมากกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จึงจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน ในการระบายน้ำออกสู่ทะเล หากไม่สามารถเพิ่มช่องทางการระบายน้ำลงสู่ทะเลให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบันได้
เผย 7 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเพิ่มเติม
สำหรับ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ที่จะถูกน้ำท่วม เพิ่มเติมจากทีมกรุ๊ป เตือนภัยน้ำท่วม ฉบับก่อนนี้ ได้แก่
- พื้นที่ด้านเหนือของถนนบรมราชชนนี จากคลองบางกอกน้อย ถึงถนนวงแหวนรอบนอก
- พื้นที่ด้านตะวันออกของคลองบางกอกใหญ่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
- พื้นที่เหนือถนนแจ้งวัฒนะทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ด้านเหนือถนนสรงประภา เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการท่วมฉับพลัน น้ำไหลแรงและเร็ว หากมีการพังของพนังกั้นน้ำบนคลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณด้านตะวันตกของประตูน้ำจุฬาลงกรณ์
- พื้นที่เหนือถนนงามวงศ์วานทั้งหมด
- พื้นที่เหนือคลองบางเขนทั้งหมดและพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับคลองบางเขน
- พื้นที่เหนือคลองบางซื่อตั้งแต่คลองเปรมประชากร ถึงคลองลาดพร้าว และพื้นที่ใกล้คลองลาดพร้าวและคลองสาขา
- พื้นที่เหนือถนนรามอินทราทั้งหมดจากที่ทำการเขตบางเขนไปจนถึงเขตมีนบุรี รวมถึงพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอกที่อยู่เหนือคลองแสนแสบ
ทั้งนี้ของให้ทุกฝ่ายตรวจตราพนังกั้นน้ำในแต่ละพื้นที่ให้มีความมั่นคง แข็งแรง และให้มีระดับเพียงพอ ที่จะกั้นน้ำได้ หากพบรอยรั่วให้ช่วยกันวางกระสอบทรายซ่อมแซม หรือพบว่ามีน้ำรั่วลอดใต้พนังกั้นน้ำให้ใช้กระสอบทรายกั้นเป็นคอกล้อมไว้ โดยให้กระสอบทรายมีระดับสูงกว่าระดับน้ำขอให้จัดเวรยามคอยตรวจตรา เฝ้าระวังพนังกั้นน้ำอย่างเข้มแข็งอย่างน้อย จนถึงวันที่ 15 พ.ย.
คาดพื้นที่น้ำท่วมระดับน้ำจะทรงตัวถึง15พ.ย.จึงจะลดลง
พนังกั้นน้ำบนคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ด้านตะวันตกของประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ยังรั่วอยู่ และพนังกั้นน้ำบนคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ใกล้ตลาดรังสิตยังมีน้ำไหลล้นจาน วนมาก ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้คลองเปรมประชากร คลองประปา ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน และผู้ที่อยู่สะพานใหม่ บางบัว บางเขน เกษตร ลาดพร้าว โชคชัยสี่ สายไหม เฉพาะที่อยู่ในที่ลุ่มใกล้คลองถนน คลองบางบัว คลองลาดพร้าว และคลองสาขาที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง ให้เก็บของขึ้นที่สูง ระดับน้ำท่วมจะทรงตัวอยู่จนถึงวันที่ 15 พ.ย.
ผู้ที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือคลองบางกอกน้อย และเหนือทางรถไฟสายใต้และบริเวณด้านตะวันออกของคลองบางกอกใหญ่ และผู้ที่อยู่ในอาเภอพุทธมณฑล นครชัยศรี สามพราน กระทุ่มแบน และเมืองสมุทรสาคร ที่อยู่ในบริเวณด้านตะวันตกของถนนพุทธมณฑลสาย 4 และถนนสาย 3310
รวมถึงผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำท่าจีน คลองมหาชัย คลองสนามชัย คลองจินดา คลองดาเนินสะดวก และคลองสุนัขหอน ที่อยู่ทางตะวันออก ของถนนสาย 3097 ขอให้ย้ายของขึ้นที่สูงมากกว่า 1.5 เมตร และให้เอารถไปจอดไว้ที่สูง ระดับน้ำจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงหลังวันที่ 5 พ.ย. แล้วทรงตัวอยู่ถึงกลางเดือน พ.ย. หลังจากนั้นจึงจะเริ่มลดลง
น้ำทะเลจะหนุนสูงอีก 15 ซ.ม.
ผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 15 ซ.ม. พนังกั้นน้ำมีโอกาสจะพัง จะทาให้น้ำไหลเข้าท่วมแรงและเร็วมาก ขอให้เพิ่มความแข็งแรงและเสริมคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ป้องกันไม่ให้พนังกั้นน้ำพัง ให้ระวังจนถึงวันที่ 2 พ.ย. ส่วนพื้นที่อื่นๆ น้ำจะทรงอยู่จนถึง 15 พ.ย.ขอให้ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี
ความคิดเห็น