สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดแผนที่!น้ำล้อมกรุงเทพชั้นใน ไว้เรียบร้อยแล้ว รอถล่ม!

เปิดแผนที่!น้ำล้อมกรุงเทพชั้นใน'ไว้เรียบร้อยแล้ว'รอถล่ม!

แผนที่แสดงให้เห็น น้ำได้ลอมกรุงเทพชั้นในเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่น้ำในทุ่งเจ้าพระยาค้างอยู่ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร รอถล่ม

จากแผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียม จะเห็นว่า ขณะนี้น้ำได้ล้อมกรุงเทพ ชั้นในไว้หมดแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าแนวทางที่จะระบายน้ำเข้าคลองต่างๆ สามารถที่จะควบคุมปริมาณที่เหมาะได้มากน้อยแค่ไหนและที่สำคัญพนังกั้นน้ำ จะแข็งแกร่งพอจะรับมือหรือไม่ โดยเฉพาะช่วงที่น้ำขึ้นสูงอีกครั้งในสัปดาห์นี้

ขณะที่ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในภาพรวมทั้งประเทศ น้ำในภาคเหนือและภาคกลางตอนบนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนครสวรรค์และอยุธยา โดยน้ำเข้ามากดดันคลองระพีพัฒน์น้อยลง เพราะสามารถผันน้ำไปทางตะวันออกของกทม.ได้เร็วขึ้น จึงช่วยลดปริมาณน้ำ ที่คุกคามกทม.อยู่ ส่วนน้ำที่ไหลเข้าท่วมตอนบนของ กรุงเทพฯ เช่น ดอนเมือง หลักสี่ จะต้องเร่งเสริมแนวคันและซ่อมแซม รอยรั่วที่คลอง 1 และเมืองเอก ซึ่งกทม. มีศักยภาพในการควบคุมน้ำ

 ดร.อานนท์ กล่าวว่า จากนี้พื้นที่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ คือซีกตะวันตกของกทม. ตั้งแต่นนทบุรี ถึง นครปฐม ซึ่งมวลน้ำแผ่ลงมาใกล้คลองมหาสวัสดิ์ เหนือพุทธมณฑล โดยแนวรับที่คลองมหาสวัสดิ์ เชื่อว่า จะไม่สามารถกันน้ำได้ทั้งหมด โดยน้ำจะดันเข้ามาและข้ามคันกั้นและทางรถไฟ ซึ่งถ้าน้ำท่วมรางรถไฟ ก็จำเป็นต้องเปิดรางรถไฟ

       "ดังนั้น ใน  2-3 วันนี้ พื้นที่พุทธมณฑล และมหิดลศาลายา มีน้ำสูงตั้งแต่ 50 -80 ซม. คาดการณ์ว่าจะไม่เกิน 1 เมตร แต่ถ้าน้ำลงถึงสมุทรสาคร น้ำจะไม่ท่วมมากนัก เพราะจะเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้ระบบแก้มลิง ผลักดันน้ำเข้าไปในคลองจำนวนมาก และเร่งระบายออกในช่วงน้ำลง เมื่อน้ำขึ้นจะปิดประตู เพื่อรับน้ำจากทางเหนือให้ลงสู่คลอง ซึ่งวิธีการบริการจัดการน้ำในฝั่งตะวันตก ต่างจากฝั่งตะวันออก คือใช้แก้มลิงและการระบายน้ำ ตามเวลาน้ำขึ้น น้ำลง ประชาชนจะไม่ถูกน้ำท่วมขัง จึงขอให้ติดตามข้อมูลเวลาน้ำขึ้น น้ำลง เพื่อจะสามารถบริหารเวลาได้ตามน้ำขึ้นน้ำลง "


ขณะเดียวกันหากดูจากแบบจำลองของTEAM GROUP (เตือนภัยน้ำท่วม ฉบับที่ 3) ประเมินว่า จากปริมาณน้ำในทุ่งเจ้าพระยาที่ยังมีมากกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเสมือนมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลอีก 1 อ่าง อยู่ที่บางไทรและปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยา แม้จะลดลงแต่ยังมีปริมาณมากกว่าน้ำที่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ เช่น เมื่อ 21 ต.ค. มีน้ำไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยาวันละ 419 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในขณะที่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลทั้งที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และทางทุ่งและคลองฝั่งตะวันออกรวมทั้งสิ้นได้วันละ 403 ล้านลูกบาศก์เมตร ทาให้มีน้ำเหลือสะสมเพิ่มเติมในทุ่งเจ้าพระยาอีกวันละ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงทำให้ระดับน้ำในทุ่งเจ้าพระยาตอนล่างเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ นครชัยศรี บางเลน บางใหญ่ เมืองนนทบุรี ปากเกร็ด ลาดหลุมแก้ว เมืองปทุมธานี คลองหลวง ธัญบุรี สายไหม ลาลูกกา หนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง บางเสาธง และบางบ่อ


หากไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้มากกว่านี้ จะมีผลทาให้พนังกั้นน้ำที่อ่อนแอกว่าพังลง น้ำจะไหลพุ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น และพนังกั้นน้ำที่ไม่แข็งแรงหรือความสูงไม่เพียงพอ ก็จะพังลงเรื่อยๆ ตามลาดับ นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.นี้เป็นต้นไป น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไปหนุนสูงสุดในวันที่ 31 ต.ค.ทำให้ระดับน้ำในแม่น้าเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ อยู่ที่ +2.45 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง (สูงกว่าเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ประมาณ 15 ซ.ม.) ซึ่งจะมีผลเสริมทาให้ระดับน้ำในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำและมีคลองเชื่อมโยงกับแม่น้ำเจ้าพระยาและ ท่าจีน

หลังจากนั้นระดับน้ำจะทรงตัว และ จะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ จนถึงหลังวันที่ 15 พ.ย.ไปแล้ว ระดับน้ำในพื้นที่ อ่างทอง อยุธยา สุพรรณบุรี จึงจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในพื้นที่ บางไทร ปทุมธานี นนทบุรี นครชัยศรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ระดับน้ำจะลดลงอย่างช้าๆ

ดังนั้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่น้าจะท่วม (ดูจาก TEAM Group เตือนภัยน้ำท่วมฉบับที่ 1) จะต้องเสริมความแข็งแรงให้พนังกั้นน้ำต่างๆ และ เสริมเพิ่มความสูงให้เพียงพอ และให้คงทนอยู่ได้ถึงหลังวันที่ 15 พ.ย. ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูง โรงงาน และนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องป้องกันน้ำท่วมเป็นพิเศษที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้วและฝั่งตะวันออกของถนนบางพลี-บางตารุ ควรเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำให้มั่นคง และให้มีระดับความสูงไม่น้อยกว่า +3.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง

แผนที่น้ำกทม.และปริมณฑล ที่มา:GISTDA

http://122.155.18.230/gistda_n/Gallery/img/Flood2011/20111023-bangkok-drainage-noarrow.jpg


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : เปิดแผนที่น้ำ ล้อมกรุงเทพชั้นใน เรียบร้อยแล้ว รอถล่ม!

view