จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ใน ยามวิกฤต โลกไซเบอร์และโซเชียลเน็ตเวิร์กหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บบอร์ดต่าง ๆ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์และยูทูบ เป็นต้น ทั้งหลายเหล่านี้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการกระจายข้อมูล ข่าวสาร เพราะเป็นการแบ่งปันข้อมูลและสิ่งที่ตนพบเห็นได้ทันทีแบบเรียลไทม์ของ ประชาชนคนใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่ในแต่ละพื้นที่โดยตรง ทำให้การกระจายข่าวสารทำได้อย่างทันท่วงทีในกลุ่มคนใช้อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเชื่อมต่อผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก, แท็บเลต และสมาร์ทโฟน
มหาอุทกภัยในบ้านเราขณะนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นอีกครั้งที่เราได้เห็นถึงพลังของ "นักข่าวพลเมือง"
"โซ เชียลเน็ตเวิร์ก" เป็นช่องทางสำคัญในหลายด้าน ทั้งการรายงานเหตุการณ์ การส่งข้อความช่วยเหลือ และ การเผยแพร่แบ่งปันความรู้สารพัดเรื่อง ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วม เช่น หน้าเพจ เฟซบุ๊ก "น้ำขึ้น ให้รีบบอก" ที่ตั้งขึ้นมาเพื่ออัพเดตสถานการณ์น้ำท่วมโดยเฉพาะที่ http://www.facebook.com/ groups/MuangAke/#!/room 2680
ชุมชนใหญ่ อย่าง หมู่บ้านเมืองเอก ก็ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางแบ่งปันข้อมูลระหว่างสมาชิกในหมู่บ้าน (ข้อมูล ณ 26 ต.ค. 2554 มีสมาชิก 1,251 คน) ที่ http://www.facebook.com/groups/MuangAke/
อีกคลิปที่อยากแนะนำ เป็น "แอนิเมชั่น" น่ารักเข้าใจง่าย พากย์ไทยซับ ไทเทิลภาษาอังกฤษ เรื่อง "รู้สู้น้ำท่วม" ลองคลิกดูไม่กี่นาทีจะเข้าใจว่า ทำไม "น้ำท่วมปีนี้ถึงหนักหนากว่าปีที่ผ่านมา น้ำมาจากไหน และจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง"
รู้สู้น้ำท่วม เปรียบน้ำหนักน้ำที่มีทั้งหมด เท่ากับน้ำหนักของปลาวาฬสีน้ำเงินขนาดใหญ่จำนวน 50 ล้านตัว เมื่อปลาวาฬอยู่ผิดที่จึงเป็นอุปสรรคของประชาชน การแก้ปัญหา คือ ต้องพาปลาวาฬกลับสู่อ่าวไทยให้ได้เร็วที่สุด โดยทำได้ผ่าน 3 เส้นทาง ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเราพาปลาวาฬกลับสู่ทะเลได้วันละประมาณ 1 ล้านตัว
หมายถึงต้อง ใช้เวลาประมาณ 50 วัน จึงพาปลาวาฬกลับสู่ทะเลได้ อยากรู้เพิ่มเติมคลิกที่ http://www.youtube.com/ watch?v=b8zAAEDGQPM&sns=em
เชื่อว่า ใครได้ดูตอนแรกแล้วต้องใจจดใจจ่อดูตอนที่ 2 ต่ออย่างแน่นอน เพราะว่าด้วยเรื่องของการเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมอย่างมีสติ ก็เหมือนอย่างตอนท้ายในคลิป ที่พูดไว้นั่นละว่า เมื่อเราคาดหวังคำตอบเกี่ยวกับการแก้ปัญหาไม่ได้ จึงต้องตั้งสติและตั้งคำถามว่า จะเตรียมตัวอย่างไรให้ไม่ตกเป็นผู้ประสบภัยเมื่ออยู่ในภาวะน้ำท่วม
คลิ ปยอดนิยมที่แชร์กันเยอะมาก ของ "ศศิน เฉลิมลาภ" เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร มีด้วยกันหลายตอน ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอแนวทางการจัดการน้ำท่วม และการป้องกันกรุงเทพฯ ด้วยทฤษฎีน้ำดันน้ำ (ร่วมกับอภิชาติ สุทธิศิลธรรม) ที่ http://www.youtube.com/watch?v=bmI5WnecYdA&feature=share และ http://www.youtube.com/ watch?v=JKCNcnK1JbI&feature= related
คลิ ปท้าย ๆ ของศศินที่ได้ดู เป็นตอนที่ชื่อว่า "เราจะข้ามไปด้วยกัน"หนนี้ไม่มีแผนที่ และไม่มีเรื่องน้ำ "ศศิน" ตั้งใจพูดถึงอีกมุมของวิกฤตครั้งนี้ว่าทำให้ครอบครัวชุมชนใกล้ชิดกันมากขึ้น
"สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อาจเป็นไปได้ ถ้าเราไม่มองแต่ตัวเอง ความวุ่นวายจะถูกจัดระเบียบเป็นจิตอาสา ไม่โทษกันในภาวะเช่นนี้ เรามีหน้าที่ฟื้นฟูประเทศของเราร่วมกัน เราต้องปรับตัวอยู่กับเขา (น้ำ) วันนี้เขาให้โอกาสในการเรียนรู้ ครั้งใหญ่ และเราจะพัฒนาชาติร่วมกัน"
เช่น เดียวกับคลิปวิเคราะห์สถาน การณ์น้ำท่วม และการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในแต่ละวันทาง "ไทยพีบีเอส" ของ "รศ.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน แนะนำให้เข้ากูเกิลหรือเสิร์ชหาจาก "ยูทูบ"
หรือจะใช้เครื่องมือ ประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมด้วยตนเอง ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการ FLOOD_REST เป็นแผนที่ออนไลน์ที่เข้าถึงได้ในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์แผนที่ออนไลน์ ได้แก่ โปรแกรมกูเกิลแมปและกูเกิลเอิร์ท ที่เว็บไซต์ http://www. chula.ac.th/flood_rest/
FLOOD_REST เป็นส่วนหนึ่งของ "ระบบสารสนเทศ ประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วม" ที่กำลังพัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วในส่วนราชการ เช่น กรุงเทพมหานคร เป็นเครื่องมือที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับรู้สภาพกายภาพของตนเอง และประเมินระดับ "น้ำ" ที่อาจมีผลกระทบได้
อีกเว็บที่อยากแนะนำคือ ของการไฟฟ้านครหลวงมีคำแนะนำการใช้ ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยระหว่างน้ำท่วม ทั้งก่อน ระหว่างและหลังน้ำท่วมคลิก http://www.mea.or.th
เช่น ระหว่างน้ำท่วมให้ตัดไฟที่เมนสวิตช์ชั้นที่น้ำท่วมถึงทันที เมื่อยืนอยู่ในน้ำหรือเหยียบน้ำหรือพื้นที่ชื้นแฉะต้องไม่เปิดสวิตช์หรือ เสียบปลั๊กอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด หากพบเห็น สายไฟขาดหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแช่น้ำอยู่ ห้ามเข้าใกล้หรือจับต้องโดยเด็ดขาด กรณีใช้เครื่องสูบน้ำต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วป้องกันไฟดูด
บนโลกไซเบอร์และในโซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้งจึงเต็มไปด้วยสารพัดข้อมูลความรู้ที่นำมาแบ่งปันกัน
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี