สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดโฉมกูรูสร้างประเทศ-วางระบบน้ำ

จาก โพสต์ทูเดย์

ชำแหละ2คณะกรรมการวางยุทธศาสตร์ฟื้นฟูสร้างอนาคตประเทศ-วางระบบบริหารจัดการน้ำล่าสุดของรัฐบาล

โดย...ทีมข่าวการเมือง

สถานการณ์น้ำท่วมประเทศได้กลายเป็นวิกฤตชาติเป็นที่เรียบร้อย แม้จะยังไม่ชัดเจนจะคลี่คลายเมื่อไหร่ แต่ผลกระทบที่มีต่อประชาชน สังคม เศรษฐกิจ เป็นเรื่องต้องเร่งเยียวยาฟื้นฟู หรือสร้างชาติกันใหม่เลยทีเดียว

วีรพงษ์/ยิ่งลักษณ์

วิธีคิดของรัฐบาลคือการออกแบบคณะกรรมการมากมายหลายคณะเพื่อแก้ไขปัญหา ล่าสุดน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีพร้อมจัดพิธีการถ่ายทอดสดแถลงข่าวใหญ่ เปิดตัวคณะกรรมการระดับชาติอีก 2 คณะ  

คณะแรกชื่อว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ เรียกโดยย่อว่า “กยอ.” และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Strategic Committee for Reconstruction and Future Development” เรียกโดยย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SCRF”

สาเหตุตั้งกรรมการชุดนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ฟื้นความเชื่อถือ และ สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงของประเทศจากวิกฤตภัยธรรมชาติให้กลับฟื้นคืนมาใน ระยะยาวอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ

ส่องกล้องดูที่มาที่ไปกรรมการชุดนี้  ประกอบด้วย นายวีรพงษ์ รามางกูร หรือ “ดร.โกร่ง” เป็นประธาน มีรองนายกฯ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ และ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง และรมว.คลังเป็นกรรมการ  เป็นที่น่าสนใจถึงโครงสร้างกรรมการให้บุคคลภายนอกมานั่งหัวโต๊ะโดยมีรอง นายกฯผู้กำกับนโยบายเป็นแค่กรรมการ

ทั้งนี้เป็นเพราะ ดร.โกร่ง  มีประสบการณ์แก้ปัญหาเศรษฐกิจมาหลายรัฐบาลเป็นถึงรัฐมนตรีที่ปรึกษาตั้งแต่ ยุคพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จนกระทั่งมีชื่อมาตั้งแต่ช่วงเลือกตั้งว่าน่าจะเป็นนายกฯขัดตาทัพตามการ ทาบทามจากคนดูไบ หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกทั้งติดโผตำแหน่งขุนคลังเบอร์1 แต่ก็วืดไป  แม้จะไม่ได้กินตำแหน่งเสนาบดี แต่ฝีมือการทำงานก็เป็นที่ยอมรับพรรคเพื่อไทยด้วยการดึงมาให้ร่วมงานทีม เศรษฐกิจของพรรค ขณะเดียวกันยังเป็นที่รู้จักของบรรดานักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  ซึ่งทางการเมืองพรรคเพื่อไทยอาจเชื่อว่าจะสามารถเรียกความเชื่อมั่นจากนานา ประเทศได้  จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ดร.โกร่งได้รับการทาบทามมาทำงานตรงนี้ และมานั่งหัวโต๊ะคอยกำกับรองนายกฯสองรายอีกที 

กรรมการชุดนี้อุดมด้วยกูรูชั้นนำประเทศ แต่ละรายคุ้นหน้าคุ้นตาเคยทำงานกับรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นนายพันธ์ศักดิ์ วิญญารัตน์  ประธานที่ปรึกษานายกฯ ผู้ออกแบบนโยบายประชานิยมมากมาย   นายวิษณุ เครืองาม อดีตเลขาธิการครม.ที่หลังพ้นตำแหน่งได้ร่วมงานทางการเมืองกับพรรคไทยรักไทย มาระยะหนึ่งถึงขั้นขึ้นเวทีปราศรัยแต่ได้วางมือการเมืองไปเป็นอาจารย์สอน หนังสือและให้ความเห็นทางข้อกฎหมาย หลักธรรมมาภิบาลผ่านรายการทีวีดาวเทียม การมาทำงานตรงนี้หนีไม่พ้นมาดูรายละเอียดข้อกฎหมายต่างๆ 

นอกจากนี้ยังมีอดีตผู้บริหารระดับนำในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชี่ยวชาญการค้า การลงทุน ร่วมเป็นกรรมการ ไม่ว่าจะเป็นนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์  อดีตเอ็มดีบมจ.ปตท.ผู้เคยมีกระแสข่าวถูกทาบทามให้เป็นรมว.พลังงานในรัฐบาล ปัจจุบันแต่สุดท้ายหลุดโผ   นายกิจจา ผลภาษี  อดีตอธิบดีกรมชลประทานผู้คว่ำหวอดเกี่ยวกับระบบระบายน้ำ การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำและเคยเป็นที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.) และนายศุภวุฒิ สายเชื้อ  กรรมการผู้จัดการ บล.ภัทระ   ประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ประธานสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการนายกฯ เลขาธิการ ครม. โดยมีเลขาธิการ สศช.เป็นกรรมการและเลขานุการ      

สำหรับอำนาจหน้าที่  กยอ. มีดังนี้ 1) ระดมความคิดเห็นและความรู้เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำหนด ยุทธศาสตร์ประเทศในระยะยาว เสนอแก่รัฐบาล รวมถึงข้อเสนอในการจัดตั้งองค์กรถาวร วิธีการบริหารจัดการ   การบริหารการเงิน การสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน การเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการแผ่นดินในการฟื้นฟูและพัฒนา และอื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศจากภัยธรรมชาติในระยะยาว และวางอนาคตการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน   

2) รายงานการทำงานแก่คณะรัฐมนตรีเป็นประจำ 3) เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ กยอ. ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของ กยอ. 4) ให้ความเห็นชอบในการว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของ กยอ. และกำหนดค่าตอบแทนตามความจำเป็น 5) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่ กยอ. มอบหมาย 6) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย 

ตามคำสั่งสำนักนายกฯ ระบุด้วยว่า สศช.อาจว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยงาน ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อดำเนินงานตามระเบียบนี้

“นั่นหมายความว่า การวางยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศอาจจำเป็นต้องศึกษารูปแบบจากนานาประเทศที่เคย มีประสบการณ์เผชิญภัยพิบัติรุนแรงจนกระทั่งวางแผนป้องกันและสร้างประเทศ”

เหมือนอย่างช่วงที่ผ่านมาที่คนในรัฐบาลเคยให้สัมภาษณ์หลังผู้บริหารของ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้เข้าพบนายกฯในการให้ข้อมูลถึงแผนการป้องกันภัยพิบัติระยะยาว  และนำไปสู่คำว่า “นิวไทยแลนด์” ตามที่ พิชัย นริพธพันธ์ รมว.พลังงานเคยกล่าวไว้  

วีรพงษ์/สุเมธ

คณะกรรมการชุดที่สอง ชื่อว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เรียกโดยย่อว่า “กยน.” และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Strategic Committee for Water Resources Management” เรียกโดยย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SCWRM”

กยน.  มีนายกฯเป็นประธาน แต่ต้องจับตาที่สุด  เห็นจะเป็นการแต่งตั้ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล  อดีตเลขาสศช. อดีตเลขา กปร.และเป็นเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาผู้ทำงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวมาเป็นที่ปรึกษา ว่ากันว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นผู้ติดต่อมาร่วมงาน   มองเป็นอื่นไม่ได้นอกจากการประสานแนวความคิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ การบริหารจัดการน้ำตามที่นายกฯรับสนอง

ส่วนกรรมการมีทั้งอดีตข้าราชการประจำลูกหม้อกระทรวงเกษตร นักวิชาการ    ไม่ว่าจะเป็น นายธีระ  วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์  นายปลอดประสพ สุรัสวดี  รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์  มีอดีตปลัดกระทรวงเกษตร นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา  อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ได้แก่  นายปราโมทย์ ไม้กลัด  นายกิจจา ผลภาษี ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรกก็มาเป็นกรรมการชุดนี้ด้วย และยังมีอดีตข้าราชการทำงานเข้าขาสมัยรัฐบาลทักษิณ ไม่ว่าจะเป็น นายรัชทิน ศยามานนท์  อดีตอธิบดีกรมการผังเมืองและอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด  นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม   นายนิพัทธ พุกกะณะสุต  อดีตปลัดกระทรวงการคลัง 

กลุ่มนักวิชาการด้านน้ำ  ได้แก่   นายรอยล จิตดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร   นายชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล อดีตอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์     นายสนิท อักษรแก้ว   ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและยังเคยเป็นเลขานุการรมต.เกษตร   นายสมบัติ อยู่เมือง นักวิชาการจากศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทยภาควิชาธรณีวิทยา  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ    นายสมิทธ ธรรมสโรช  ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และเคยเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง)   

รวมถึงสองผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและเป็นทีมงานศูนย์ปฏิบัติการช่วยเลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)   ได้แก่ นายเสรี  ศุภราทิพย์  ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร  นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิศาสตร์สารสนเทศคณะกรรมการผลักดันน้ำ ร่วมเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการฝ่ายข้าราชการประจำที่ทำหน้าที่สนับสนุนด้านข้อกฎหมาย  ได้แก่ นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา  นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม. อธิบดีกรมชลประทานคนปัจจุบัน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสุพจน์ โตวิจักษ์ชัยกุล   รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อำนาจหน้าที่ 1.ทบทวนนโยบาย แผนงานและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ  ระดมความคิดเห็น  และความรู้เพื่อจัดทำเป็นจ้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาและวางระบบการ บริหารจัดการน้ำของประเทศ  รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและวางกรอบ ยุทธศาสตร์การลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศเสนอแก่รัฐบาล ทั้งนี้ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและการสร้างอนาคตประเทศ 2.รายงานการทำงานแก่คณะรัฐมนตรีเป็นประจำ 

3.เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของกยน.ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วน ราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐที่ต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของกยน. 4.ให้ ความเห็นชอบในการว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยว ข้องกับความรับผิดชอบของกยน.และกำหนดค่าตอบแทนตามความจำเป็น  5.แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่มอบหมาย  และ 6.ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกฯหรือครม.มอบหมาย


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : เปิดโฉมกูรู สร้างประเทศ วางระบบน้ำ

view