จาก โพสต์ทูเดย์
ถอดบทเรียนต่างประเทศ...รับมือมหาอุทกภัย
เรื่องภัสรา จิกคำ
วิกฤตจากภัยพิบัติในขณะนี้เกิดขึ้นทั่วโลกและมีการคาดการณ์กันว่าจะมีแนว โน้มถี่และรุนแรงขึ้น ในประเทศต่างๆ จึงมีการเชื่อมโยงเรื่องดังกล่าวกับมิติด้านการเรียนรู้และการศึกษา เพื่อเป็นเครื่องมือให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เท่าทันและสามารถรับมือจากภัย พิบัติได้ ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้เพราะเห็นว่าเป็น เรื่องที่อยู่ไกลตัว และเมื่อเกิดวิกฤตอุทกภัยขึ้นกับประเทศไทยจึงสร้างความเสียหายให้กับทุกภาค ส่วน วงเสวนาเรื่อง “บทเรียนมหาอุทกภัยกับการเรียนรู้ใหม่เพื่อเด็กและเยาวชน” จึงข้อเสนอแนะบทเรียนจากต่างประเทศที่น่าสนใจ
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ หัวหน้าโครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนา เด็กและเยาวชน (INTREND) สถาบันรามจิตติ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เสนอว่า บทเรียนจากต่างประเทศในการจัดการภาครัฐสำหรับการลดความเสี่ยงและผลกระทบจาก อุทกภัยและภัยธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 5 หมวด 12 เรื่อง เพื่อใช้ประกอบการแก้ปัญหาอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกในอนาคต ประกอบด้วย ดังนี้
1.ระบบการจัดการและประสานงานของภาครัฐ และการสื่อสารของภาครัฐที่มีต่อประชาชน
1) ในภาวะฉุกเฉินรัฐต้องไม่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่เดียว ต้องสนับสนุนให้มีกลไกจัดการระดับท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ก็ต้องมีการวางแผน ประสานและจัดการทรัพยากร 2) การประสานงานที่มีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งการประสานงานต้องรับฟังเสียงของทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน ท้องถิ่นและชุมชนด้วย 3) ในระยะยาวรัฐสามารถใส่วิธีคิดเรื่องการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัย ธรรมชาติต่างๆ เข้าไปอยู่ในวิธีคิดของการพัฒนาในทุกภาคส่วน 4) การสื่อสารข้อมูลแก่ประชาชนต้องมีความถูกต้อง รวดเร็วและไม่สร้างความตระหนกแตกตื่นโดยการเลือกใช้คำที่เข้าใจง่าย
2.ระบบการดูแลการใช้พื้นที่และปัจจัยพื้นฐานที่มี เพื่อการระบายน้ำหรือบรรเทาผลกระทบจากน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ยากจน
5) รัฐต้องจัดลำดับความสำคัญกับการลงทุนด้านการป้องกันภัยพิบัติในพื้นที่ยากจน ให้มาก เพราะเป็นพื้นที่ที่เกิดความสูญเสียมากที่สุด 6) ควรมีการให้ความรู้ทางเทคนิคในระดับพื้นที่เกี่ยวกับมาตรการและเครื่องมือใน การป้องกันสถานที่สำคัญ 7) รัฐต้องร่วมกับท้องถิ่นโดยมีหน้าที่ดูแลรักษาระบบป้องกันเท่าที่มีอยู่ เช่น การขุดลอกคูคลองอยู่เสมอ
3.ระบบข้อมูลเพื่อการประเมินความเสี่ยงและการเตือนภัยระดับพื้นที่
8) การมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้เต็มที่ เพื่อทำแผนที่ความเสี่ยงเป็นรายพื้นที่เพื่อเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบ แลพกำหนดความสำคัญในการช่วยเหลือ
4.ระบบการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการดูแลตนเอง
9) องค์กรปกครองท้องถิ่นต้องได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องดารวางระบบป้องกัน พร้อมทั้งเยียวยาเมื่อเกิดภัยพิบัติ รัฐมีหน้าที่เสริมศักยภาพท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ
10) ภูมิปัญญาชาวบ้านช่วยได้มาก เพราะชาวบ้านรู้พื้นที่ของตนเองดี รัฐควรหารือกับคนในท้องถิ่นและใช้ประโยชน์ความรู้ท้องถิ่นอย่างเต็มที่
11) ครูและโรงเรียนมีความสำคัญในการสร้างการเรียนรู้และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการรับมือภัยธรรมชาติได้
5.ระบบการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
12) คนยากจนมักเป็นผู้ได้รับผลกระทบสูงสุด เพราะขาดความรู้และทุนในการสร้างระบบป้องกันตนเอง การให้เงินช่วยเหลือทั้งชุมชนเพื่อให้สามารถพัฒนาโครงสร้างและเครื่องมือใน การรับมือธรรมชาติได้ อีกทั้งการเยียวยาฟื้นฟูที่ดี จึงไม่ควรเป็นแค่การวางกรอบกว้างๆ ให้เหมือนกันหมด
บทเรียนจากต่างประเทศทั้ง 5 หมวด 12 เรื่อง จากวงเสวนาในครั้งนี้ ก็เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ไม่ให้ต้องเผชิญทุกข์จากความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง...ดังที่คนไทยหลายล้านคน กำลังประสบอยู่.
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี