จาก โพสต์ทูเดย์
โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ
ขณะที่อุณหภูมิทั่วภูมิภาคยุโรปและสหรัฐกำลังระอุด้วยอิทธิพลความร้อนแรง จากวิกฤตหนี้สาธารณะ อีกซีกโลกหนึ่งในฟากแอฟริกาก็กำลังคุกรุ่นด้วยประเด็นอุณหภูมิความร้อนเช่น กัน โดยมาจากการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้
แม้ทั้งสองประเด็นจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อโลกใกล้เคียงกัน แต่มาถึงนาทีนี้ ทั่วโลกต่างยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้งแล้วว่า “โลกร้อน” คือภัยคุกคามที่อันตรายที่สุด หนักที่สุด และน่ากลัวที่สุด
เหตุผลก็เนื่องมาจากเกือบทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่กับผลลัพธ์ ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ทั้งภัยแล้งที่รุนแรง สภาพอากาศที่หนาวจัดในบางพื้นที่ พายุพัดกระหน่ำยาวนาน ฝนตกในปริมาณมาก และน้ำท่วมเสียหายหนัก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายประเทศทั่วโลกได้รู้ซึ้งถึงพิษภัยโลกร้อนที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี แต่หลายประเทศอีกเช่นกันกลับนิ่งเฉย ไม่รีบร้อนที่จะหามาตรการหรือวิธีการรับมือใดๆ
และหลายประเทศที่ว่าส่วนใหญ่นี้ก็คือประเทศกำลังพัฒนาที่ตั้งอยู่ในแถบ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นแหล่งที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุดในโลก ถึง 34% จากที่มีการบันทึกไว้โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี)
ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ติดโผประเทศลำดับต้นๆ ของภูมิภาคที่จะได้รับผลกระทบหนักหน่วงจากภัยโลกร้อน โดยมีตัวอย่างจากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ของไทยเป็นตัวอย่างโหมโรง
ทั้งนี้ เอดีบี ระบุว่า จากสถิติของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2547–2553 ประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก ได้รับผลกระทบมากถึง 90% โดยที่ 32% ถึงแก่ชีวิต ขณะที่คิดเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจของภูมิภาคสูงถึง 33%
จำนวนทางสถิติที่สูงจนน่าตกใจเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลกรวมถึงเอดีบีต้องออกมาเตือน ประเทศต่างๆ ในเอเชียให้เร่งลงมือจัดตั้งเรื่องโลกร้อนเป็นวาระแห่งชาติเสียที
หรือพูดให้ง่ายเข้าก็คือ อย่ามัวแต่พูดหรือรับฟังอย่างเดียว แต่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลงมือทำอย่างกระตือรือร้นและต้องทำได้แล้วเดี๋ยวนี้
เพราะการเตรียมแผนรับมือกับโลกร้อนไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นความจำเป็นที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเตรียมพร้อม
เพียงแต่ว่า ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ต้องเร่งลงมือเสียแล้ว เนื่องจากหลายเมืองในภูมิภาคแห่งนี้กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงสูงสุดที่จะหาย ไปจากแผนที่โลก
ทั้งนี้ จากการศึกษาขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ดับเบิลยูเอ็มโอ) แห่งสหประชาชาติ ระบุว่า ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 2–2.4 องศาเซลเซียส ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกบริเวณทวีปอาร์กติกละลาย และมีขนาดที่บางลงจนทำสถิติใหม่ ตลอดจนทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก ที่มีเมืองสำคัญๆ เช่น จาการ์ตา มะนิลา หรือ กทม. อยู่ใกล้ชายฝั่งและเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลก็คือฝันร้าย
เพราะหมายความว่า เมืองทั้งเมืองมีสิทธิกลายเป็นนครสาบสูญในอนาคตข้างหน้า โดยยังไม่นับรวมผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติอื่นๆ ที่จะตามมาเพราะปัญหาอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น
นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทุกสำนักยอมรับโดยพร้อมเพรียงกันแล้วว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้ปรากฏการณ์ลานินญา ซึ่งเป็นวงจรการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกๆ 3-7 ปี มีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้มาก ยิ่งขึ้น
รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเสริมว่า ลานินญาครั้งล่าสุดที่กินเวลาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปี 2553–พ.ค. 2554 นี้ ส่งผลให้ฤดูมรสุมในบริเวณเอเชียตะวันออกมีปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดย ปกติอย่างมาก ทำให้ประเทศไทยและลาวได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมหนักที่สุด ขณะที่ในบางประเทศ เช่น จีน ก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงและกินเวลายาวนานที่สุด
ทั้งนี้ ในระยะสั้นสิ่งที่เอเชียควรทำก็คือการลดความเสี่ยงของผลกระทบจากปัญหาน้ำ ท่วม ซึ่งเป็นปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้าอย่างรู้ซึ้งอยู่ในขณะนี้ โดยการลดความเสี่ยงดังกล่าวไล่เรียงตั้งแต่การปรับปรุงพัฒนาระบบระบายน้ำ และระบบสุขาภิบาล ตลอดจนการจัดตั้งแผนการบริหารจัดการของเสียที่ช่วยให้การจัดเก็บขยะเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและลดการใช้พลาสติก
ขณะที่ในระยะยาว ประเทศต่างๆ ในเอเชียจำเป็นจะต้องวางระบบชลประทานให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ และสามารถนำน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พร้อมกันนี้ รัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องพัฒนาแผนการพัฒนา เมืองให้เป็นแบบบูรณาการโดยคำนึงถึงชัยภูมิและความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติ การจัดหาน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค การคมนาคม การจัดการขยะ และการป้องกันความเสี่ยงจากภัยคุกคามอย่างน้ำท่วม
มาตรการรับมือภัยจากโลกร้อนนี้ ยังหมายรวมถึงการกระจายความมั่งคั่งทางสังคมและเศรษฐกิจไปสู่ชนบท และมองหาเมืองสำรองเพื่อให้ประเทศสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อไปได้ โดยไม่มีสะดุดติดขัด ในกรณีที่เกิดเหตุเลวร้ายหนักจนความคาดหมายและเกินความควบคุม
นอกจากนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักยังแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า การวางแผนรับมือเตรียมการป้องกัน จำเป็นจะต้องคำนึงถึงจำนวนประชากรของแต่ละประเทศที่จะเพิ่มขึ้นมาในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลสามารถประเมินความต้องการของสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานควบ คู่ไปกับกลไกรับมือโลกร้อนได้อย่างมีศักยภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียต้องเร่งหามาตรการรับมือกับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง นอกจากเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว อนาคตของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีแนวโน้มจะก้าวขึ้นมาเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก โดยเอดีบีคาดการณ์ว่าภายในปี 2563 มหานครใหญ่ๆ ของโลกมากกว่าครึ่งจะตั้งอยู่ในภูมิภาคแห่งนี้
เท่ากับว่า โอกาสดังกล่าวจะหายวับทันที หากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่เตรียมการรับมือกับภัยคุกคามที่ชื่อว่าโลกร้อนอย่างจริงจัง
แน่นอนว่า โอกาสดังกล่าวย่อมหมายรวมถึง ความหวังของไทยที่ต้องการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
เพราะขนาดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น ประเทศไทยยังทำให้นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเจ็บหนักแทบกระอักได้ขนาด นี้
หากยังคงเดินหน้าพัฒนาปฏิรูปประเทศโดยไร้แผนรับมือกับภาวะโลกร้อนที่หลาย ฝ่ายวิตกกังวลกัน ก็ให้น่าคิดว่าความหวังของไทยจะกลายเป็นฝันที่เลือนรางเพียงใด
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี