ทัศนะกฏหมายม.112 สู่การลงโทษ-คุมขังประชาชน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ทัศนะต่อการใช้กฏหมายมาตรา112นำไปสู่การลงโทษ จับกุม คุมขังประชาชนจำนวนมาก "อานันท์"เสนอแก้ไขอย่างไรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล หลังประชาชนรับโทษแรง
จากเหตุการณ์ชุมนุมการเคลื่อนไหวทางการเมือง ตั้งแต่ช่วงเม.ย.-พ.ค. 2553 ประชาชนจำนวนมากถูกจับกุม คุมขัง และการดำเนินคดี ภายใต้การบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 หลายคนถูกดำเนินคดีภายใต้กฏหมายอาญา มาตรา112 อย่างอากงอำพล ซึ่งถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอส ที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังโทรศัพท์ของเลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด ลงโทษจำคุก 20 ปี
นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ยังถูกคุมขัง และนายโจ กอร์ดอน คนไทยสัญชาติ ศาลตัดสินจำคุก เป็นเวลา 5 ปี แปลหนังสือ The King Never Smile ลงบล็อกบนเน็ต แต่จำเลยรับสารภาพลดโทษเหลือ 2 ปี 6 เดือน โดยทนายความจำเลย เตรียมยื่นขออภัยโทษ หากอัยการไม่ยื่นอุทธรณ์ และอีกหลายคนที่ยังถูกคุมขัง และศาลยังไม่ได้ตัดสินดำเนินคดีอยู่ในเวลานี้
หลากหลายทัศนะต่อมาตรา112
ศาสตราจารย์ นอม ชอมสกี้ นักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสเสทชูเสตต์ ประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า"การใช้มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งนำไปสู่การจับกุมคุมขังประชาชน เป็นภัยคุกคามต่ออนาคตของประชาธิปไตยไทย"
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ "สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอนุวัตให้สอดคล้องกับระบอบการปกครอง เราอยู่ในระบอบการปกครองประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญก็บัญญัติไว้ชัดเจนว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย"
"มาตรา 112 ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เพราะกำหนดโทษเกินสมควรกว่าเหตุ คุณเปิดโอกาสให้ใช้ตัวกฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง ใครที่เสนอเรื่อง 112 เป็นพวกมีปัญหากับสถาบัน เป็นพวกไม่เอาเจ้า ล้มเจ้า ความคิดอย่างนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน มันถูกสร้างขึ้นจากฝ่ายอำนาจรัฐ รัฐพยายามประดิษฐ์ถ้อยคำเป็น "ความผิดฐานล้มเจ้า" ซึ่งมันไม่มีในมาตรา112"
ล่าสุด นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ยกพระราชดำรัส เมื่อ 4 ธ.ค.2548 การใช้กฏหมาย มาตรา 112 นำไปใช้กันมาก จนพระเจ้าอยู่หัวฯเดือดร้อน ส่วนจะแก้ไขอย่างไรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
"เชื่อว่า ท่านเองคงอึดอัด ถึงได้ปรารภออกมาเมื่อ 4 ธันวาคม 2548 และบทลงโทษค่อนข้างรุนแรงไป เป็นทั้งอาญา และลงโทษ 10-20 ปี ซึ่งเมื่อถึงท่านแล้ว ก็จะอภัยโทษ แต่ความเดือนร้อนมาถึงท่าน คงแก้ไม่ได้แล้ว และยิ่งเป็นกฎหมายท่านไปพัวพันไม่ได้ ไม่อยู่ฐานะจะพูดว่าจะแก้อะไร แต่อาจจะทำได้เพียงปรารถ หรือทำได้ตามพระราชอำนาจนอกเหนือรัฐธรรมนูญ คือ ปรึกษา กรณีรัฐบาลถาม ให้กำลังใจ และเตือนสติเท่านั้น ส่วนจะทำหรือไม่ทำ ท่านบังคับไม่ได้"
ขณะที่พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ระบุว่า"ผมเชื่อเรื่องกรรม และเชื่อว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นธรรมิกราช ทรงทั้งศีลและทั้งธรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยหยุดยั้ง ผมเชื่อว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม และในฐานะที่เคยรับใช้พระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมานานในตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำ จึงเชื่อด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงหวั่นไหว หรือวิตกกังวลที่ผู้ใดจะให้ร้ายหรือลบหลู่พระยุคลบาท แต่ทรงมั่นอยู่ในอุเบกขาธรรม"
ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา "การจะแก้ไม่แก้มาตรา 112 ไปถกเถียงกัน แค่ให้คนสามารถถกเถียงกันได้อย่างรับผิดชอบ ถ้าพูดคุยไม่รับผิดชอบหมิ่นประมาทก็ว่ากันไป ถ้ารับผิดชอบไม่ใช่แต่นักวิชาการ ประชาชนสามารถออกความเห็นได้เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่อย่าหมิ่นประมาท ต้องดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายหรือไม่ แต่คนที่ถูกจับคุมไม่ใช่ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายก็ยังถูกเล่นงาน"
"พูดได้ง่ายว่า ปัญหาที่เป็นอยู่ตอนนี้ห่างไกลมากที่ผมอยากจะเห็น ไม่ใช่ว่าจะยกเลิก ผมมีเป้าหมายในใจ อันนี้ยากกฏหมายหมิ่นต้องให้พูดกันได้ในอนาคต ในระบอบกษัตริย์ ระบอบประชาธิปไตย ระบอบการเมือง และสังคมไทย การที่พูดอยู่ว่าสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองคนจำนวนมหาศาลและผมด้วยต้องการให้สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองอย่างแท้จริงไม่ต่างกันที่เขียนในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ปัญหาสังคมไทยควรจะถกกันสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ที่บรรดาพวกนิยมเจ้าทั้งหลายทำอย่างนั้นหรือเปล่า "
'อานันท์'พูดถึงกม.มาตรา112 'บทลงโทษรุนแรงไป'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
'อานันท์ ' พูดถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ชี้บทลงโทษรุนแรงไป ชี้พระองค์คง'อึดอัด'สะท้อนผ่านปรารภ 4 ธ.ค.48
นายอานันท์ ปัญยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการตอบโจทย์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทย พีบีเอส เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งเป็นการพูดถึง หนังสือ KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A LIFE'S WORK ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หวังว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านที่คนใจอ่าน อ่านแล้วสนุก ไม่ได้เขียนให้หวือหวา สองอ่านแล้วได้ข้อมูลเพิ่มเติม รู้ในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้รู้ รู้ในสิ่งที่ตัวเองเข้าใจผิด หลังจากนั้น ก็ถกเถียงกัน
"หนังสือเล่มนี้ไม่ได้หวังจะเปลี่ยนวิธีคิดของคน ก่อนอ่านหรือหลังอ่าน และหนังสือนี้ไม่เกี่ยวในวัง ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล เป็นของเอกชนโดยแท้"นายอานันท์ กล่าว
ขณะที่ตอนหนึ่งนายอานันท์ ได้กล่าวถึงการตามเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศต่างๆ และในขณะที่เป็นนายกฯ ว่า "ผมว่าคนไม่ยุติธรรมกับพระองค์ท่าน ในแง่หนึ่งอยากให้ท่านเป็นคนธรรมดา แต่ท่านเป็นแบบคนธรรมดาไม่ได้ ท่านไม่มีสิทธิ ไม่ได้ว่าท่านมีดีกว่า เราท่านมีน้อยกว่าเรา จำได้ตอนผมเป็นนายกฯ ทรงรับสั่งกับผมส่วนพระองค์ในลักษณะเบา คุณอานันท์ ดีนะใครเขาว่าอะไร เขาด่าอะไร วันละ 3 ครั้งก็มีไมโครโฟนยื่นมาให้พูด ผมก็โต้ได้ ส่วนท่าน ท่านบอกท่านอย่างนี้ (ชี้มาที่ริมฝีปาก) อันนี้ข้อจำกัดเลย เป็นส่วนหนึ่งที่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หลายคนยังเห็นว่าควรจะมีไว้แต่ควรมีไว้โดยควรปรับปรุงอะไรบางอย่าง เพราะว่าคุณด่าผม (ชี้มาที่พิธีกร) ผมฟ้องคุณได้เลย ผมคิดว่าจะฟ้องคุณอยู่เพราะวันนี้คุณถามแปลกๆ แล้วไปต่อสู้กันในศาล แต่เจ้านายฟ้องร้องไม่ได้ โต้ตอบไม่ได้เลย..."
นายอานันท์ ได้ยกพระราชดำรัส เมื่อ 4ธ.ค.2548 (http://www.youtube.com/watch?v=cwfwju0M66A )
พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่าการใช้กม. 112 นั้น นำไปใช้กันมากจนพระเจ้าอยู่หัวฯเดือดร้อน ส่วนจะแก้ไขอย่างไรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
"เชื่อว่า ท่านเองคงอึดอัด ถึงได้ปรารภออกมาเมื่อ 4 ธันวาคม 2548 และบทลงโทษค่อนข้างรุนแรงไป เป็นทั้งอาญาและลงโทษ 10-20 ปี ซึ่งเมื่อถึงท่านแล้ว ก็จะอภัยโทษ แต่ความเดือนร้อนมาถึงท่าน คงแก้ไม่ได้แล้ว และยิ่งเป็นกฎหมายท่านไปพัวพันไม่ได้ ไม่อยู่ฐานะจะพูดว่าจะแก้อะไร แต่อาจจะทำได้เพียงปรารถ หรือทำได้ตามพระราชอำนาจนอกเหนือรัฐธรรมนูญ คือปรึกษา กรณีรัฐบาลถาม ให้กำลังใจ และเตือนสติ เท่านั้น ส่วนจะทำหรือไม่ทำ ท่านบังคับไม่ได้"อดีตนายกฯระบุ
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี