กฎหมายปกป้องพระราชา ในมุมของเศรษฐศาสตร์
โดย : เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
คดี “อากง” ได้ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้อากงพ้นโทษ
มีการแสดงความเห็นว่า ข้อกำหนดในมาตร 112 รุนแรงเกินไป ทำไมคนแก่อายุปูนนี้แถมยังเป็นมะเร็งที่ปากต้องมาเจอเรื่องแบบนี้ในบั้นปลายชีวิต หนำซ้ำ เรื่องนี้ได้กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าขึ้นกว่าเดิมเมื่อสหรัฐอเมริกาและองค์กรฮิวแมนไรท์ วอทช์ กระโดดเข้ามาร่วมวงแสดงความเห็น จนกลายเป็นที่ฮือฮากันในระดับนานาชาติ
ในประเด็นแรกที่ว่า อากงมีความผิดหรือไม่ คงต้องรอดูคำพิพากษาว่าจะออกมาในรูปใด แต่ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ โทษ 20 ปีรุนแรงเกินไปหรือไม่
ที่ผ่านมา มีการแสดงความคิดเห็นในแง่นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์กันมาพอสมควรแล้วว่าทั้งสองศาสตร์ใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์ในการประเมินว่า 20 ปี รุนแรงเกินไปหรือเปล่า แต่ยังไม่ได้มีการมองประเด็นนี้ในมิติทางเศรษฐศาสตร์ ว่า ศาสตร์นี้ใช้อะไรมาตัดสินว่าบทลงโทษในระดับไหนจึงถือว่ารุนแรงเกินไป
การละเมิดกฎหมายนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ถ้าเป็นการละเมิดกฎหมายโดยเจตนา ทางเศรษฐศาสตร์ถือว่า เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้กับโทษจากการละเมิดกฎหมายนั้น การละเมิดกฎหมายโดยเจตนานั้นผู้กระทำผิดเล็งความเห็นว่า การละเมิดนี้คุ้มค่า มีประโยชน์มากกว่าโทษที่จะได้รับ
ประโยชน์ที่ได้จากการละเมิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทนั้น มีอยู่สองอย่าง คือ 1. ผลตอบแทนที่ประเมินค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น ค่าจ้าง ของขวัญ ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้น เป็นต้น และ 2. ผลตอบแทนในรูปของความรู้สึก เช่น ความพึงพอใจที่ได้พูดออกไป ความสะใจ เป็นต้น
ต้นทุนจากการละเมิดกฎหมาย คือ บทลงโทษที่ได้รับจากการทำเช่นนั้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า การกระทำนั้นจะได้รับผลเช่นใด ซึ่งในกรณีของกฎหมายไทย โทษที่ได้รับมีความรุนแรงแตกต่างกันไป โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามที่ได้นำเสนอไว้ในตาราง
ในทางเศรษฐศาสตร์ ความรุนแรงของบทลงโทษที่เกิดขึ้นจะต้องได้สัดได้ส่วนกับความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการละเมิดกฎหมายนั้น ยกตัวอย่างเช่น โทษของการหมิ่นศาลควรรุนแรงกว่าโทษของการหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะศาลมีหน้าที่ตัดสินคดีความ เป็นกลไกทางสังคมที่ช่วยรักษาความสงบสุขของส่วนรวม ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับศาล ทำให้ศาลมีความน่าเชื่อถือน้อยลง ย่อมส่งผลให้ศาลไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนเดิม มีความเสียหายเป็นวงกว้าง ด้วยเหตุนี้ บทลงโทษผู้ที่หมิ่นศาลจึงมีควรมีความรุนแรงมากกว่าบทลงโทษในกรณีของการหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป ข้อมูลในตารางที่นำเสนอไว้ สะท้อนให้เห็นว่า กฎหมายไทยก็สอดคล้องกับแนวคิดนี้
ที่น่าสนใจ ก็คือ มาตรา 112 ได้บัญญัติไว้ว่า
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
มาตรานี้ไม่ได้กำหนดโทษปรับไว้เหมือนกับมาตราอื่นๆ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ว่าไม่สามารถประเมินค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ การที่ก่อนหน้านี้ ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อให้แก้ไขมาตรานี้มาก่อน แสดงว่าสังคมยอมรับว่ากฎหมายนี้เป็นมีความเหมาะสมอยู่แล้วในระดับหนึ่ง
ในกรณีของอากง การติดคุก 20 ปี ถูกนำมารวมกับภาพของคนแก่ที่เป็นมะเร็งปาก เพื่อสร้างความน่าสงสาร ก่อเป็นกระแสให้เกิดการเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า งานนี้กฎหมายรุนแรงเกินไปหน่อย ทำกับคนแก่ที่ป่วย แบบนี้ได้อย่างไร สมควรต้องมีการแก้กฎหมาย
ตรรกะที่หละหลวมเช่นนี้ ขัดแย้งกับหลักทางเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง การกำหนดบทลงโทษในเรื่องหมิ่นประมาท ต้องเอาระดับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการหมิ่นประมาทเป็นที่ตั้ง ต่อให้ผู้ละเมิดกฎหมายมีอายุ 25 ปี 30 ปี 60 ปี หรือจะอายุเกิน 100 ปี ไม่ว่าจะสุขภาพดี เป็นความดัน หรือเป็นมะเร็ง ถ้าทำการหมิ่นในแบบเดียวกันโดยเจตนา ก่อให้เกิดความเสียหายได้เหมือนกัน ก็สมควรรับโทษในระดับเดียวกัน
ที่ผ่านมา พระองค์ท่านทรงทำทุกอย่างเพื่อประชาชน ทรงสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับประเทศและคนไทยโดยไม่ทรงหวังอะไรตอบแทน แต่ตอนนี้กลับมีการเคลื่อนไหว เพื่อให้แก้ไขกฎหมายมาตรานี้ ลองคิดดูว่า ขนาดบทลงโทษแบบที่ใช้อยู่ตอนนี้ ยังหยุดเว็บหมิ่นไม่ได้เลย ถ้าปรับลดลงมาจะเกิดอะไรขึ้นกับสถาบันกษัตริย์ของไทย
ผลที่ตามมาอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การแก้ไขกฎหมายโดยอาศัยข้ออ้างที่ตั้งอยู่บนตรรกะที่หละหลวมเช่นนี้ ถ้าทำสำเร็จ อาจกลายเป็นกรณีตัวอย่างให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ต่อไปคงไม่มีใครเกรงกลัวกฎหมายแล้ว เพราะถึงทำผิด แต่ถ้ามีพวกหนุนหลังเสียหน่อยก็มีสิทธิแก้กฎหมายได้เหมือนกัน ขนาดกฎหมายที่ปกป้องพระราชา ยังโดนแก้ไขได้ แล้วกฎหมายอื่นๆ จะเหลือหรือไม่ ท้ายที่สุด คนก็จะหมดศรัทธาในระบบกฎหมาย แล้วสังคมจะเหลืออะไรไว้ใช้เป็นเครื่องมือรักษาความสงบสุขของบ้านเมือง
กฎหมายที่ออกมาปกป้องพระราชาของเรา โดยเนื้อแท้แล้ว คือ กฎหมายที่ออกมาเพื่อปกป้องกฎหมายอื่นด้วย ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกฎหมายของพระราชา จึงมีผลสะเทือนในวงกว้าง ดังนั้น การจะประเมินความรุนแรงของบทลงโทษของอากง (ถ้าผิดจริง) ก็ต้องเอาความเสียหายทั้งหมดนี้ เป็นพื้นฐานในการกำหนดโทษ ซึ่งถ้ามองแบบนี้ ก็คงพอจะเห็นแล้วใช่ไหมว่า 20 ปีเป็นโทษที่มากไปหรือไม่
“อากง” หาใช่ชายแก่ ที่แท้แดงฮาร์ดคอร์ “ล้มเจ้า”
จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -“เชื่อ ว่าจำเลยเป็นเจ้าของโทรศัพท์ และซิมการ์ดโทรศัพท์ที่ใช้ก่อเหตุ ข้อความมีลักษณะแสดงความอาฆาตมาดร้าย ใส่ความทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทั้งที่ข้อความดังกล่าวล้วนไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง พิพากษาว่าให้ลงโทษตามมาตรา 112 อันเป็นบทลงโทษสูงสุด ให้จำคุกจำเลย 4 กระทง กระทงละ 5 ปี รวมจำคุกทั้งสิ้น 20 ปี”
พลันสิ้นเสียงคำพิพากษาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ นายอำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” ชายวัย 61 ปี ผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูงที่ฟังอย่างสงบอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้หันไปถามเจ้าหน้าที่ศาลเพราะฟังไม่ชัด เจ้าหน้าที่จึงบอกไปว่า "ลุงติดคุก 20 ปี"
กล่าวให้ชัดกว่านี้ก็คือ “อากง” หรือนายอำพล ตั้งนพกุล อายุ 61 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2), (3) ฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
เหตุที่จำเลยใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวพิมพ์ข้อความอันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่นพระเกียรติยศ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และส่งข้อความดังกล่าวไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตาม หลังคำพิพากษา กรณีดังกล่าวได้กลายเป็นประเด็นร้อนแรง โดยกลุ่มคนที่แสดงตัวว่ามีทัศนคติเชิงลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทลงโทษดังกล่าว บางคนพาลด่าว่าโทษรุนแรงเกินไป บางคนบอกว่าอากงเป็นผู้บริสุทธิ์ อากงถูกใส่ร้าย อากงคือเหยื่อมาตรา 112 !
นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่บทความออกมาโจมตีตามโซเชียลเน็ตเวิร์กจำนวน มาก ในทำนองว่า “จำเลยเป็นแพะ” ไม่ใช่ผู้กระทำความผิดที่แท้จริง โดยเฉพาะ “ขบวนการล้มเจ้า” ที่ใช้คดี “อากง” เป็นเครื่องมือ โดยการนำไปกระพือ ขยายผลเกินความเป็นจริง “บิดเบือน” ตัดทอนข้อมูลให้ประชาชนเข้าใจผิด สร้างละครชีวิตอากงขึ้นมาว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ที่ถูกลงโทษอย่างรุนแรง เพราะมาตรา 112 เป็นต้นเหตุ ฯลฯ
ผสมรวมกับพวกที่ “อยากดัง” สบช่องฉวยโอกาสโหนกระแส “อากง” ตะโกนโหวกเหวกโวยวายในโลกออนไลน์และเฟซบุ๊กเพื่อสร้างภาพให้ตัวเองเป็นนัก ประชาธิปไตยและนักมนุษยชนตัวยง ขณะที่บางคนใช้อากงเป็น “เหยื่อ” เพื่อสนองตัณหาความอยาก(แรง)ของตัวเอง อย่างที่ “หญิงร่านแห่งล้านนา” นักเขียนดอกทอง ได้กระทำ โดยนำกรณี “อากง” ไปอ้างเป็นเหตุในการแก้ผ้า “โชว์นม” ให้สาธารณชนได้ชมในโลกไซเบอร์ สมใจอยาก (จนหลายคนอยากอ้วกออกมาหลังจากได้ “ชมนม” ของเธอ)
รวมถึงการรณรงค์ให้เขียนคำว่า "อากง" บนฝ่ามือ แล้วถ่ายรูปมาโพสต์ในเฟชบุ๊ก เพื่อสร้างกระแสความเคลื่อนไหวให้ปล่อย "อากง" โดยพวกเขาสื่อออกมาแบบคิดเองเออเองว่า "อากง" เป็นเหยื่อกฎหมายมาตรา 112 โดยให้ความเห็นว่า "อากง" ชายชราอายุ 61 ปี ไม่น่าจะมีความชำนาญในการใช้โทรศัพท์มือถือ และส่ง SMS และการส่ง SMS เพียง 4 ครั้ง มีโทษจำคุกถึง 20 ปี ในประเทศไทย มันมากเกินไปหรือเปล่า!?
แต่ความจริงก็คือ พวกเขาพยายามเอา “นม” และฝ่ามือของตนเองที่เขียนคำว่า “อากง” ปิดบังข้อเท็จจริงไม่ให้ประชาชนรับรู้
เพราะ “อากง” ชายวัย 61 ปี ถูกกล่าวหาว่า ส่ง SMS ข้อความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไปเข้าโทรศัพท์ของนายสมเกียรติ เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9-22 พฤษภาคม 2553 ในช่วงที่คนเสื้อแดงกำลังจุดไฟเผาเมือง!
ศาลอาญาตัดสินจำคุกอากง 20 ปี ตามมาตรา 112 และกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
การบิดเบือนประเด็นว่า ส่ง SMS เพียง 4 ครั้ง ถูกลงโทษหนักจำคุกถึง 20 ปี ก็ไม่ต่างอะไรจากตรรกะแบบบิดๆ เบี้ยวๆ ที่ว่า “ทักษิณแค่เซ็นชื่อ ยินยอมให้เมียไปซื้อที่ดิน ทำไมต้องติดคุก 2 ปี” ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยการกระทำที่พยายามอ้างกันว่าไม่เห็นจะเป็นความผิดตรงไหนนั้น แท้จริงแล้ว มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ด้วยเหตุผลที่กระจ่างชัด และกำหนดบทลงโทษไว้ชัดเจน
ทั้งนี้ “อากง” ไม่ได้ผิดเพราะส่ง SMS ที่ผิดเพราะส่งข้อความอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อความนั้นเข้าข่ายการดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และเป็นการทำความผิดอย่างเดียวกันซ้ำซากถึง 4 ครั้ง จึงถูกลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมเป็น 20 ปี ทั้งๆ ที่ ศาลอาจจะลงโทษมากกว่านี้ก็ได้ เพราะความผิดตามมาตรา 112 มีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปี
หาก “อากง” ส่ง SMS เพียง 2 ครั้ง ก็จะติดคุกเพียง 10 ปี ถ้าส่งครั้งเดียว ก็ติด 5 ปี และหากอากงรับสารภาพ ก็จะได้รับการลดโทษกึ่งหนึ่ง และอาจจะได้รับการรอการลงโทษก็ได้ เหล่านี้คือ กระบวนการพิจารณาโทษตามปกติของศาล หาใช่การกลั่นแกล้งหรือความอยุติธรรมที่ “อากง” ได้รับไม่!
แต่เมื่อไม่รับว่าผิด และไม่สามารถแก้ข้อกล่าวหาจนศาลสิ้นสงสัยได้ ก็ไม่มีเหตุในการลดโทษ รอการลงโทษ
คำให้การปฏิเสธของอากงนั้น ผู้ที่ได้อ่านสรุปคำพิพากษาทั้งหมด ก็น่าจะเห็นว่า แค่คำให้การที่ว่า เคยนำโทรศัพท์ที่เสียไปซ่อม แต่วันเวลาที่นำไปซ่อม ที่อ้าง 2 ครั้ง ก็ไม่ตรงกัน และข้ออ้างที่ว่า จำไม่ได้ว่าไปซ่อมร้านไหน ทั้งๆ ที่ต้องไปส่ง ไปรับโทรศัพท์ที่ร้านถึงสองครั้ง ก็ทำให้คำให้การของ “อากง” หมดความน่าเชื่อถือไปเลย
ในขณะที่ การพิสูจน์ทางเทคนิคว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์ของอากง อาจถูกผู้อื่นปลอมแปลงนั้น ก็ได้มีการพิสูจน์กันต่อหน้าศาลว่า หมายเลขอีมี่ นั้น เป็นของโทรศัพท์ของ "อากง" จริง ทั้งยังจับได้ว่า มีการเปลี่ยนซิมจากเครือข่ายทรู เป็นซิมดีแทค ในช่วงที่มีการส่ง SMS เพื่อปกปิดหมายเลขผู้ส่ง แต่สถานที่ส่งเป็นที่เดียวกัน คือ บ้านของ "อากง"
ข้อเท็จจริง อันเป็นพยานแวดล้อมเหล่านี้ ได้ถูกพวกล้มเจ้า พวกอยากมีหัวคิดก้าวหน้า พวกเด็กๆ ที่กำลังหัดพูดคำว่า “ประชาธิปไตย” นักคิดเสื้อแดง นักเขียนเสื้อแดง นักวิชาการเสื้อแดง รวมถึงผู้ที่ร่วมแห่แหน กระพือกระแส "อากง" ตัดตอน และบิดเบือนให้เป็นว่า “หมายเลขอีมี่” เป็นหลักฐานที่อ่อน ไม่น่าจะรับฟังได้
ทั้งหมดนั้นคือขบวนการที่ใช้ “อากง” เป็น “เหยื่อ” เพื่อเซ่นสังเวยความคิดความเชื่อของตัวเอง และทั้งหมดนั้นก็คือ “เครื่องมือ” ของขบวนการล้มเจ้า ที่ต้องการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศ เพื่อสร้างความ “สั่นสะเทือน” ให้ไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า “อากง” จะคิดอย่างไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จะเป็นแดงฮาร์ดคอร์แถวสำโรงหรือไม่ จะไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงทุกครั้งหรือเปล่า จะเป็นผู้ส่ง SMS ด้วยตัวเอง หรือมีผู้อื่นส่งให้!?
“คำ ผกา” ถอยไปไกลๆ วันนี้เราจะมา “เปลือยอากง” ให้มันรู้กัน!
**“เปลือยอากง”
สำหรับ “อากง” หรือนายอำพล ตั้งนพกุล อายุ 61 ปี จำเลยในคดีหมิ่นสถาบัน ที่ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี คนนี้ ถูก พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศรัตรู ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(ขณะนั้น) นำกำลังเข้าจับกุม เมื่อเช้าวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ที่ห้องเช่าไม่มีเลขที่ ในซอยวัดด่านสำโรง หมู่ 4 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
เสียงเคาะประตูหลายครั้งปลุก “อากง” หรือนายอำพล ให้ลุกขึ้นมาเปิด เมื่อประตูเปิดออก เจ้าหน้าที่ได้ยื่นหมายจับและหมายค้นให้ดู พร้อมขอเข้าตรวจค้น ภายในห้องสี่เหลี่ยมคับแคบพบข้าวของระเกะระกะ มีเบาะนอนขนาดใหญ่วางอยู่ด้านหน้า และเด็กๆซึ่งเป็นหลานของนายอำพล 3 คน กำลังงัวเงียและตื่นตระหนก เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้ภรรยานายอำพล นำเด็กๆไปอยู่บริเวณหลังห้อง
จากการตรวจค้นพบโทรศัพท์มือถือ 3 เครื่อง โดยเครื่องที่ใช้ส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นสถาบันคือ ยี่ห้อโมโตโรล่า สีขาว ซึ่งซุกซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้า
“พระองค์ท่านไปทำอะไรให้ลุง” พล.ต.ท.ไถง ถามพลางจ้องตารอคำตอบจาก “อากง” หรือนายอำพล แต่ชายชรานิ่งเงียบ มีเพียงแววตาเฉยชาราวกับไม่รู้สึกรู้สาในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป
ทั้งนี้ ระหว่างการจับกุม ได้มีกลุ่มคนเสื้อแดงแห่มาที่เกิดเหตุเพื่อขัดขวาง เจ้าหน้าที่เห็นท่าไม่ดีเกรงจะมีการแย่งตัวผู้ต้องหา จึงรีบนำตัว “อากง” หรือนายอำพลเข้ากองปราบปรามมาสอบสวนต่อ
“ผมไม่ได้ทำ โทรศัพท์ผมเสียจึงเอาไปซ่อม และได้เลิกใช้โทรศัพท์เครื่องนี้ไปนานแล้ว” นายอำพล ให้การปฏิเสธในวันที่ถูกสอบเครียด
จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้นำตัว “อากง” หรือนายอำพลไปดูร้านซ่อมโทรศัพท์ ภายในห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียล สาขาสำโรง ที่อากงอ้างว่านำไปซ่อม แต่อากงกลับแสร้งทำเป็นจำไม่ได้
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนคดีดังกล่าวนายหนึ่งเล่าว่า คดีนี้เป็นคดีสำคัญกระทบกระเทือนกับสถาบันสูงสุดของประเทศ การสืบสวนจับกุมจำต้องกระทำอย่างรอบคอบและรัดกุมที่สุด เจ้าหน้าที่ใช้เวลาสืบสวนกระทั่งตามจับกุมโดยใช้เวลาเดือนกว่า แต่อากงก็ได้ปฏิเสธทั้งๆ ที่โทรศัพท์เครื่องที่ส่งข้อความมิบังควรถูกซุกซ่อนอยู่ในบ้านของอากงเอง
โดยจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ก่อนหน้านี้ พบว่าเบอร์ที่ส่งเอสเอ็มเอสมาจากซิมการ์ดหมายเลขเดียวกันทั้งหมด แต่ซิมการ์ดดังกล่าวได้เลิกใช้ไปแล้ว ส่วนโทรศัพท์เครื่องดังกล่าวตรวจสอบพบว่ายังมีการเปิดใช้อยู่ แต่ได้มีการเปลี่ยนซิมการ์ดใหม่ ทั้งนี้ ทางกองปราบปรามได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ 4 -5 นาย ลงพื้นที่ใน ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เนื่องจากตรวจสอบพบว่าโทรศัพท์เครื่องดังกล่าวเปิดใช้อยู่ในพื้นที่นั้น โดยเจ้าหน้าที่ฝังตัวหาข่าวนานกว่า 2 สัปดาห์
นอกจากนี้ได้ตรวจสอบข้อมูลที่โทรศัพท์เครื่องดังกล่าวโทรเข้า-โทรออก ย้อนหลัง กระทั่งเรียกตัวพยานรายหนึ่งซึ่งเป็น “บุตรสาว” ผู้ต้องสงสัยมาให้ปากคำ พยานคนดังกล่าวให้การว่าโทรศัพท์เครื่องนั้น นายอำพล หรือ “อากง” เป็นคนใช้จริง โดยใช้ทั้งซิมการ์ดปัจจุบันและซิมการ์ดที่ส่งข้อความหมิ่นสถาบัน
ถือเป็นการปิดคดีที่ใช้เวลานานร่วมเดือน การสืบสวนสอบสวนกระทำในลักษณะคณะกรรมการร่วม และพยานหลักฐานมัดแน่นทั้งสืบจากข้อมูลการใช้โทรศัพท์ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ นอกจากนี้ยังมีคำให้การที่มัดตัวอากงโดยลูกสาวอากงเอง กระทั่งศาลพิพากษาจำคุก 20 ปี ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2), (3) ฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
“ผมขอยืนยันว่าจะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคง เป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และจะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งจะดำเนินการตามกฎหมายกับบุคคลที่ล่วงละเมิดสถาบันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพได้ ” พล.ต.ท.ไถง กล่าวเสียงเข้มในวันจับกุม
**แดงฮาร์ดคอร์ ตัวพ่อ สายปากน้ำ
อย่างไรก็ตาม กับคำกล่าวที่ว่า “อากง” ไม่มีใจฝักใฝ่กลุ่มคนเสื้อแดงและไม่น่าจะทราบเบอร์โทรศัพท์บุคคลสำคัญ แต่ข้อมูลจากฝ่ายสืบสวนทราบว่า “อากง” หรือนายอำพล คือคนเสื้อแดงระดับ “ฮาร์ดคอร์” สายปากน้ำ คนหนึ่งที่ถูกขึ้นบัญชีดำโดย กอ.รมน. และมักเข้าร่วมชุมนุมมั่วสุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงอยู่เป็นประจำ และสม่ำเสมอ โดยในที่ชุมนุมจะมีการแจกจ่ายใบปลิวเบอร์โทรศัพท์บุคคลสำคัญที่กลุ่มคนเสื้อ แดงเกลียดชังเพื่อให้สมาชิกโทรไปด่าหรือส่งข้อความป่วน
“พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ” ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม (ผบก.ป.) หนึ่งในนายตำรวจที่นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ เข้าปิดล้อมซอยวัดด่านสำโรง หมู่ที่ 4 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อจับกุมตัว “อากง” ในวันนั้น ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวกับ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ว่า
“ผมไม่สนใจว่าใครจะเสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อเขียว วันนี้ผมมองว่า หนึ่ง-สิ่งที่ไม่ควรแตะต้อง ก็อย่าไปแตะต้อง เราก็รู้อยู่แล้วว่ามันไม่มีความเป็นจริง ไปแตะต้องทำไม เป็นสถาบันของชาติ ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนไทยในปัจจุบันทำไมไม่นึกถึงอดีตกันบ้างว่าเราเติบโตในสัญชาติไทยมาได้ อย่างไร แล้วทำไมต้องไปยุ่ง หรือต้องไปเชื่อ หรือจะต้องไปฟอร์เวิร์ด หรือต้องตามไปดู หรือต้องไปไลค์ (like) กัน ผมไม่เข้าใจ หรือจะไปมีประเด็นจะต้องไปพูดถึงทำไม
“ทำไมเมื่อเป็นคนไทย... คือการอ้างสิทธิเสรีภาพ มันใช่, ทุกคนอ้างได้อยู่แล้ว แต่ต้องถามว่าแล้วชาติไทยที่มีมาและอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ชาติไทยเป็นชาติพิเศษไม่เหมือนชาติอื่น ก็น่าจะต้องรู้ว่าอะไรที่ควรไม่ควร ถ้าถามว่าการที่จะไปกระทำความผิด เมื่อกฎหมายเขียนว่าเป็นความผิด การบังคับใช้หรือการลงโทษลงทัณฑ์ก็ต้องมองไปที่การกระทำนั้นๆ ว่ามันเป็นสิ่งที่บัญญัติออกมาใช้ในยุคนั้นสมัยนั้น ถ้าย้อนกลับไปสักร้อยสองร้อยปี ผมถามว่าคนประเภทนี้จะถูกทำอะไร คำตอบก็คือ 'เด็ดหัวทิ้ง' ก็กลับข้างดูสิ
“แต่ในสังคมไทย ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเรามีชาติกำเนิดเกิดขึ้นมาบนแผ่นนี้ด้วยใคร ต้องถามเลย ไม่ใช่แค่ด้วยพ่อแม่ของตัวเองสองคน เสื่อผืนหมอนใบ แล้วเข้ามาในประเทศ แล้วบอกว่า เฮ้ย! กูทำมาหากินของกู กูเติบโตมาได้ก็เพราะกู แต่ความจริงมันไม่ใช่ ความตระหนักตรงนี้มันไม่หยั่งลึกเข้าไปในจิตสำนึกของเขา แม้ผมไม่ได้เกิดในยุคนั้น ผมยังมีความสำนึกเลยว่า บรรพบุรุษในสมัยอดีตกว่าจะได้ผืนแผ่นดินนี้มา ต้องแลกด้วยหยาดเหงื่อและเลือดจริงๆ ลองนึกภาพกลับไปดู คุณอาจจะนึกภาพออกก็ได้
“มันจะเอาความรู้สึกที่ว่า กูเกิด ณ แผ่นดินนี้ เวลานี้ ความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นเสรีภาพ โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว อย่างนั้นมันก็ต้องกลับไปอยู่อีกชาติหนึ่งแล้ว หรือคุณก็ตายชาตินี้แล้วคุณไปเกิดอีกชาติหนึ่งก็แล้วกัน คุณไปรอชาติที่มันเปลี่ยนเป็นอย่างที่คุณอยากได้ มันก็กลับข้างกัน คุณต้องคิดบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ด้วยบริบทของกติกาของสัมคม ก็คือกฎหมายที่มาใช้บังคับ... ทีนี้ การกระทำที่อากงเขาทำ มันไปถึงชั้นศาลแล้ว มันเป็นกระบวนการที่ผ่านกระบวนการอันชอบธรรมที่กฎหมายบัญญัติไว้ มันก็สู่กระบวนการโดยชอบแล้ว”
ถามว่ามีการกลั่นแกล้งไหม พล.ต.ต.สุพิศาล ตอบชัดถ้อยชัดคำว่า “ไม่มีแน่นอน! ผมก็จับคนทุกคนที่มีพยานหลักฐานที่ทำผิดและมีกฎหมายบัญญัติไว้ แต่ผมทำเท่าที่มีหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีได้”
และกับกรณีที่หลายคนออกมาเรียกร้องว่า “อากง” ถูกรังแก ไม่ได้รับความเป็นธรรม และได้รับโทษที่รุนแรงเกินไป พล.ต.ต.สุพิศาล ให้ความเห็นว่า...
“อันนี้ข้อเท็จจริงต้องพิสูจน์สิว่า ตอนนี้มันถึงชั้นศาลไปแล้ว มันถูกตัดสินไปแล้ว แล้วกระบวนการมันไม่ได้หยุดแค่นั้น ยังมีถึงศาลฎีกา คุณก็ต่อสู้ไปในกระบวนการ ถามว่าถ้าคนมันไม่มายุ่ง หรือไม่ทำอะไร มันจะติดคุกไหม ผมอยากจะรู้ คุณทำมาหากินโดยอาชีพสุจริต โดยไม่แสดงความคิดเห็นแบบนี้ เรื่องนี้ก็รู้ๆ อยู่แล้วว่าไอ้สิ่งที่คนมันพูดมันไม่ใช่ เจ้านายของเราดีทุกพระองค์ มันทำไมต้องไปกล่าว... ผมไม่เข้าใจ
“ส่วนที่บอกว่าโทษรุนแรงเกินไปหรือเปล่า ทำกับคนแก่ มันเป็นดุลพินิจของทางผู้ที่ลงโทษ ไม่ใช่ดุลพินิจของตำรวจ แต่ถามผมก็คือ แล้วเหตุอันที่ควรกระทำ มันทำซ้ำไหมล่ะ ทำหลายๆ ครั้งหรือเปล่า ถ้าทำครั้งเดียวแบบเข้าไปลักของในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะอุ้มลูกไปต้องหานมให้ลูกกิน มันก็มีเหตุผลยอมรับได้ว่าเหตุหรือแรงจูงใจเป็นยังไง แต่นี่พิสูจน์แรงจูงใจ มันทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก! มันทำทำไม ถามว่าทำแล้วรู้หรือไม่, รู้! แล้วรู้ครั้งที่หนึ่ง รู้ครั้งที่สอง รู้ครั้งที่สาม รู้ครั้งที่สี่ รู้ครั้งที่ร้อย มันเป็นความผิดไหม มันต้องกลับไปขนาดนี้ ไม่ใช่คิดว่าแค่ปลายนิ้วกู ไม่มีใครเห็นกู กูอยู่หน้าจอ กูจะดูอะไรก็ได้ กูจะทำอะไรก็ได้ คิดว่าไม่มีใครรู้ คนที่อยู่ในหน้าจอทุกจอของโลกเสมือนคิดว่าตัวเองถูกบังด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์ คิดว่าไม่มีร่องรอยของหลักฐาน คิดว่าไม่มีใครเห็นตัวตน
เรื่องที่เกิดขึ้น พล.ต.ต.สุพิศาล บอกว่าต้องกลับไปดูกำพืดของเขาว่าทำไมเขาถึงเข้ามาสู่...
“แรงจูงใจมากกว่าที่ทำ อันนี้ถ้าพูดถึงแง่กฎหมาย การตัดสินคนมันต้องตัดสินด้วย มูลเหตุ หรือแรงจูงใจของการกระทำผิด และแรงจูงใจนั้นเป็นแรงจูงใจที่ถูกหลอกมาไหม เป็นแรงจูงใจที่ถูกกระตุ้นโดยอะไร เป็นแรงจูงใจที่ถูกสะสมมาในชีวิตของตัวเองหรือเปล่า ถูกใช้เป็นเครื่องมือไหม มันก็ต้องมี บางทีผมอาจจะตกเบ็ดล่อเหยื่อคุณก็ได้ มันก็มีหลายประเด็น คุณอยากตกเป็นเหยื่อทำไมล่ะ”
อย่างไรก็ตาม กรณี “อากง” พล.ต.ต.สุพิศาล บอกว่าตำรวจทำเท่าที่มีพยานหลักฐาน
“ผมยืนยันว่าผมเป็นผู้การที่นี่ ผมไม่ใส่ไข่ ผมยืนอยู่บนความที่ตรงต่อหน้าที่ อะไรได้มาเราก็ได้มาเท่านั้น ผู้ต้องหาอยากหักล้างก็เอามา เราก็ให้หักล้าง แล้วเราให้สิทธิตามกฎหมายที่พึงได้ในยุคประชาธิปไตยเต็มที่ เรียนยืนยันไว้ตรงนี้เลย
“ผมก็มีหน้าที่ ทำไปตามหน้าที่ของกฎหมาย ผมไม่ว่าแดงว่าเหลือง ผมบอกให้ นามสกุลผมเขียนว่า 'ภักดีนฤนาถ' นฤนาถ คำนี้แปลว่า 'เจ้าเหนือหัว' ดูเอาก็แล้วกัน ชีวิตผมมีแค่นั้นล่ะ” ผู้การกองปราบ กล่าวทิ้งท้ายด้วยเสียดังหนักแน่น
**อากงปลงไม่ตก
อย่างไรก็ตาม จากคดี “อากง” ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนในสังคมแทบทุกสาขาอาชีพต่างให้ความสนใจ รวมถึงต่างชาติบางประเทศก็ให้ความสนใจแสดงความห่วงใย วิพากษ์วิจารณ์ ศาลยุติธรรมไทยในทางไม่สร้างสรรค์นัก “สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ” โฆษกศาลยุติธรรม ได้ชี้แจงกรณี “อากง” ที่เกิดขึ้นไว้ในบทความชื่อ “อากงปลงไม่ตก” อย่างน่าสนใจว่า
“ไม่ว่าความเห็นของสังคมจะสื่อสารในทางใดก็ตาม ศาลและกระบวนการยุติธรรมไม่เคยขัดขวาง การแสดงความคิดเห็นของบุคคลใดๆ ขอเพียงการแสดงออกตั้งอยู่บนฐานคติที่ปราศจากอคติ ภายใต้หลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักนิติธรรม หลักเหตุผล หรือหลักความเชื่อส่วนตนที่สุจริตมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ดูเหมือนหลายคนที่วิจารณ์ผลคดีข้างต้นในทางลบ ยังมิได้รู้เห็นพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงในสำนวนความอย่างถ่องแท้...”
ในขณะที่คดีนี้ผ่านกระบวนการสอบสวน การกลั่นกรองจากอัยการ แล้วเปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีในชั้นศาลอย่างเต็มที่ อันเป็นหลักการสากลและหลักกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อสู้ คดีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นธรรม
“ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า อากงหรือจำเลยมีความผิดเพราะศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้วเชื่อ ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของอัยการโจทก์จริง แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยไม่พอใจในผลคำพิพากษา ก็ยังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาได้ตามกฎหมาย ซึ่งในอดีตมีคดีที่ศาลสูงเห็นต่างจากศาลชั้นต้นพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษา ศาลล่าง ก็ไม่น้อย”
ที่ว่าเหตุใดศาลจึงพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ปกติการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นบุคคลธรรมดาที่เป็นการดูหมิ่นใส่ ความทำให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงเกียรติคุณอย่างร้ายแรง กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมีโทษถึงจำคุก ศาลยุติธรรมก็เคยลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษมาแล้ว
“สำหรับคดีนี้ มีการใช้ถ้อยคำหยาบคายแสดงความอาฆาตมาดร้าย จาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์และพระราชินี ด้วยถ้อยคำภาษาที่ป่าเถื่อนและต่ำทรามอย่างยิ่ง เกินกว่าวิญญูชนคนทั่วไปจะพึงพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กระทำต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระประมุขของประเทศ อันเป็นที่เคารพยกย่องเทิดทูนของปวงชนชาวไทยและทั่วโลก ในหลวงทรงครองสิริราชย์มาเป็นเวลากว่า 65 ปี ทรงครองแผ่นดินด้วยหลักทศพิธราชธรรม ห่วงใยทุกข์เข็ญของอาณาประชาราษฎร์ตลอดเวลา
“แม้ในยามทรงพระประชวร พระองค์ก็ยังทรงงานเพื่อแก้ไขความทุกข์ยากของประชาชนเช่นอุกทุกภัยน้ำท่วมใน ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทุ่มเทพระวรกายตลอดพระชนม์ชีพ ทรงงานเพื่อความผาสุกของประเทศชาติและประชาชนทุกหมู่เหล่า”
ในกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็บัญญัติว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมิใช่คู่กรณีที่มีความขัดแย้งสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่จำเลยแม้แต่ น้อยนิด รวมทั้งพระองค์ท่านทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองจากมวลชนทุกหมู่เหล่า จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยหรือบางคนจะพยายามบิดเบือนว่า คดีนี้มาจากมูลฐานทางการเมือง ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นธรรมและห่างไกลจากความเป็นจริง
“แม้สังคมทั่วไปจะเรียกจำเลยว่า “อากง” ฟังดูประหนึ่งว่าจำเลยชราภาพมากแล้ว แต่ตามฟ้องจำเลยอายุ 61 ปี มิได้แก่ชราจนต้องอยู่ในความอนุบาลดูแลของผู้ใดสามารถเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ แสดงว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และมิได้แก่เฒ่าคราวปู่ทวด”
สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสีย หายอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้
“มาตรการที่เหมาะสม จึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กระทำความผิดคิดวางแผนไตร่ตรองในการกระทำความผิด อย่างแยบยลแนบเนียนด้วยแล้ว ก็ยิ่งสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการคุ้มครองรักษาความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงไม่แน่แท้เสมอไปว่า ชราชน ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับการลดโทษ ลงโทษน้อย หรือปล่อยตัวไปเสมอไป”
นั่นคือบางช่วงตอนจากบทความชื่อ “อากงปลงไม่ตก” โดย “สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ” โฆษกศาลยุติธรรม ที่กล่าวไว้อย่างมีเหตุมีผลและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
เช่นเดียวกับล่าสุด ที่ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 15 ปี น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ “ดา ตอร์ปิโด” ที่ปราศรัยหมิ่นเบื้องสูงบนเวที นปช. แม้เจ้าตัวจะทำเป็นเล่นลิ้น อวดดี โดยยืนยันว่าจะไม่อุทธรณ์ ไม่ศรัทธากระบวนการยุติธรรม และจะไม่ขออภัยโทษ ก็ตาม เพราะนี่คือมาตรการที่เหมาะสม ตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น
เพราะเหล่ากออันชั่วร้ายของขบวนการล้มเจ้าในประเทศไทยนั้นมิได้ต้อง การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจในทางสร้างสรรค์ หากแต่อิงแอบแนบแน่นอยู่กับเกมการเมืองเพื่อหวังผลในการทำลายล้างและทำให้ สถาบันกษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ พร้อมกับสถาปนาระบอบการปกครองใหม่ขึ้นมาเสียใหม่
กรณี “อากง” ที่ขบวนการล้มเจ้าปลุกระดมกันขึ้นมาในขณะนี้ คือตัวอย่างชัดเจน เพราะในที่สุดคนจำนวนไม่น้อยก็จะเห็นใจอากงว่ากะอีแค่ส่ง SMS ทำไมถึงต้องถูกพิพากษาจำคุกถึง 20 ปี ทั้งๆ ที่ในความจริงแล้ว “อากง” ผู้นี้คือ “แดงฮาร์ดคอร์” ตัวพ่อแห่งเมืองปากน้ำ ที่ถูกล้างสมองจากขบวนการล้มเจ้ากระทั่งส่ง SMS หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในต่างกรรมและต่างวาระ
ไม่รู้ว่า “สถาบันพระมหากษัตริย์” ไปทำอะไรให้ “อากง” เจ็บช้ำน้ำใจ ถึงกับทำให้อากงซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่บรรพบุรุษอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารถึงได้จงเกลียดจงชังเช่นนี้
แต่จะอย่างไรก็ตามแต่ “อากง” หาใช่ชายแก่ธรรมดา เพราะตัวตนที่แท้จริงของ “อากง” ก็คือคนเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ที่ต้องการ “ล้มเจ้า” นั่นเอง
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี