สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิพากษ์ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ กรณีปฏิรูปศาลยุติธรรม

วิพากษ์ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์  กรณีปฏิรูปศาลยุติธรรม

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์




โดย นายหิ่งห้อย
       
        ไม่ว่าสังคมจะเรียกกลุ่มนิติราษฎร์ว่า “กลุ่มนักวิชาการ” หรือ “กลุ่มการเมือง” ที่ออกมาเคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้ซึ่งมี ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์สอนกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแกนนำ มีความกล้าหาญที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ค่อนข้างอ่อนไหวในสังคม ไทย
       
        เพียงแต่การแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่มิได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและรากเหง้าหรือความเป็นมาของสังคมไทย เพราะข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ล้วนเป็นการลอกเลียนแบบต่างประเทศ ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับสังคมไทยแทบทั้งสิ้น
       
        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันสูงสุด ซึ่งมีความเป็นมาผูกพันกับคนไทยเป็นเวลายาวนาน และคนไทยยังเคารพเทิดทูนไว้เหนือชีวิต จึงทำให้กลุ่มนิติราษฎร์ถูกต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยอย่างรุนแรง
       
        นอกจากนี้ ข้อเสนอการปฏิรูปศาลยุติธรรมที่กลุ่มนิติราษฎร์เห็นว่า สถาบันตุลาการมิได้ยึดโยงกับประชาชน เพราะมิได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็เช่นกัน
       
        ที่กลุ่มนิติราษฎร์ได้เสนอแนวคิดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อผู้บริหารสูง สุดของทุกชั้นศาลต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาเพื่อให้การรับรองก่อนที่จะมี การแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งนั้น
       
        ก็เป็นการลอกเลียนแบบระบบศาลที่ใช้ในบางประเทศซึ่งมีวิวัฒนาการของระบบการ เมือง การปกครอง สภาพสังคม และความเป็นมาของผู้ใช้อำนาจตุลาการที่แตกต่างจากประเทศไทยเช่นกัน
       
        เชื่อว่า แม้แต่ชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปร่ำเรียนวิชากฎหมายจากต่างประเทศก็ย่อมทราบดี ว่า หากนำข้อเสนอดังกล่าวของกลุ่มนิติราษฎร์มาใช้กับสังคมไทย ศาลยุติธรรมไทยย่อมไม่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี
       
        และผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมก็คงจะไม่ต่างไปจากข้าราชการประจำในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่จะต้องคอยเงี่ยหูฟังคำสั่งจากฝ่ายการเมือง ก่อนที่จะมีคำพิพากษาในคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง หรือคดีอื่น ๆ ที่นักการเมืองต้องการแทรกแซงคดีความในศาล
       
        จึงเห็นได้ว่า ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ในประเด็นดังกล่าวมิได้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน แต่จะเป็นประโยชน์แก่นักการเมืองที่ต้องการแทรกแซงอำนาจตุลาการมากกว่า
       
        บ้านเมืองไทยทุกวันนี้ อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติแทบจะไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารได้ เลย เพราะนักการเมืองผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นผู้คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทน ราษฎร
       
        หากต้องให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายบริหารอีก แทนที่การเคลื่อนไหวผลักดันของกลุ่มนิติราษฎร์จะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่กลับจะได้ระบอบเผด็จการสมบูรณ์แบบโดยนักการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ผู้แทนราษฎร
       
        ผมเห็นว่า แม้ในปัจจุบันผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมิได้มีความยึดโยงกับภาคประชาชนโดยตรง แต่ก็มีกรรมการตุลาการ 2 คน ซึ่งมาจากการสรรหาของวุฒิสภาร่วมกับกรรมการตุลาการที่มาจากการเลือกตั้งจาก ผู้พิพากษาทำหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
       
        โดยคณะกรรมการตุลาการมีอำนาจในการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายและลงโทษทางวินัยแก่ผู้พิพากษาทุกตำแหน่งอยู่แล้ว
       
        การเปลี่ยนแปลงในสถาบันตุลาการมิใช่เป็นสิ่งต้องห้าม และก็มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะๆ เพื่อให้สถาบันตุลาการมีความมั่นคง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง
       
        ผมไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการบางกลุ่มที่ไปเรียนรู้ระบบตุลาการในต่างประเทศ เพียงไม่กี่ปี แล้วจินตนาการเอาว่าระบบตุลาการในประเทศนั้น ๆ เป็นระบบที่ดี แล้วเสนอแนะให้นำมาใช้กับสังคมไทย โดยไม่ศึกษาความเป็นมาของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละสังคมให้ลึกซึ้งเสียก่อน
       
        อนี่ง เมื่อปี 2547 ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ก็เคยแสดงความเห็นไว้ในหนังสือ “รู้ทันทักษิณ 2” วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญปี 2540 เกี่ยวกับการสรรหาองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า
       
        “บุคคลที่ทำหน้าที่ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีที่มาจากการ สรรหาของฝ่ายการเมือง จึงถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงและครอบงำ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมได้ ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในบ้านเมือง”
       
        จึงน่าสงสัยว่า เหตุใด ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คนเดียวกันนี้กลับเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรม โดยให้คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อประธานศาลทุกชั้นศาลเพื่อให้รัฐสภารับรองก่อนแต่ง ตั้ง
       
        อันเป็นข้อเสนอใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักการเมืองแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมได้โดยง่าย
       
        เชื่อว่า หากฝ่ายการเมืองพิจารณาแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรมตาม ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ จะมีผู้พิพากษาและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมร่วมกันออกมาคัดค้านอย่างถึงที่ สุดอย่างแน่นอน
       
        ผมมีข้อเสนอต่อกลุ่มนิติราษฎร์ให้ใช้ความรู้ทางวิชาการและความกล้าหาญในการ แก้ปัญหาอันเป็นรากเหง้าของปัญหาทั้งปวงในสังคมไทย นั่นก็คือปัญหาการคอร์รัปชั่นในวงราชการและการเมืองไทย ซึ่งยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้
       
        คงเห็นแต่เพียงการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการลบล้างคดีคอร์รัปชั่น ซึ่งศาลยุติธรรมได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โดยอ้างว่าศาลหยิบยกกฎหมายซึ่งออกในสมัยที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจมาใช้ในการ ตัดสินคดี
       
        ทั้งๆ ที่ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นต้นเหตุปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมไทย และเป็นต้นเหตุของการใช้เป็นข้ออ้างทุกครั้งที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการ ปกครองบ้านเมือง และข้ออ้างดังกล่าวก็เป็นความจริงที่คนในสังคมไทยรับรู้
       
        ผมเองก็ไม่ต้องการเห็นการปฏิวัติยึดอำนาจไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะไม่เกิดผลดีแก่ประเทศชาติและประชาชน แต่ก็ไม่ต้องการเห็นระบอบเผด็จการในรูปแบบประชาธิปไตยจอมปลอม ที่หลายๆ ฝ่ายพยายามเรียกร้องเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มเช่นกัน
       
        กลุ่มนิติราษฎร์จึงควรล้มเลิกความคิดในการเคลื่อนไหวขอแก้กฎหมายเกี่ยวกับ สถาบันสูงสุดและการปฏิรูปศาลเพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายการเมือง แล้วหันมาเคลื่อนไหวต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเอาการเอางาน
       
        หากสามารถทำได้ผล ก็เชื่อว่ากลุ่มนิติราษฎร์จะได้รับการสรรเสริญจากคนส่วนใหญ่ทุกกลุ่มในสังคม ไทย มิใช่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะสามารถแก้ปัญหาการปฏิวัติยึดอำนาจได้อย่างถาวรอีกด้วย


“เหลิม” หนุน ผบ.ทบ.เบรกนิติราษฎร์ เมิน กกต.อ้างไร้อำนาจจัดเลือกตั้ง ส.ส.ร.

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“เฉลิม” เห็นด้วย “ประยุทธ์” เบรกนิติราษฎร์ งงไม่มีใครเอาด้วยแล้วยังจะแก้ทำไม ย้ำไม่เคยให้ราคา แนะ ผบ.ทัพคนอื่นตบเท้าประสานเสียง หยันไม่หยุดจ้อคงเป็นสุขได้ออกทีวี ยักไหล่ กกต.อ้างไร้อำนาจจัดเลือกตั้ง ส.ส.ร. ปัดพวกสอบตก พท.จองที่นั่ง อ้างอ่านใจคนยาก

             วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ออกมาห้ามปรามให้คณะนิติราษฎร์หยุดการเคลื่อนไหวว่า ตนเห็นด้วยกับ ผบ.ทบ. เพราะท่านเป็น ผบ.เหล่าทัพ ทหารทุกคนเขายอมไม่ได้ แล้วทำไมไม่หยุดเสียทีไอ้ผู้ที่เสนอ ก็รู้ว่ามันมีแต่การเสนอแต่ไม่มีผู้สนอง ฝ่ายการเมืองก็ไม่มีใครเอาด้วย แล้วคุณจะแก้ไขทำไม พูดทำไม หยุดสักทีเถอะ ตนก็อยากให้หยุด แต่ว่าตนไปพูดเสียงเข้มอย่าง ผบ.ทบ.ไม่ได้ เพราะตนเป็นนักการเมือง เดี๋ยวจะบอกว่าไม่รับฟังอีก แต่จริงๆแล้วตนไม่เคยรับฟังเลย และไม่ให้ราคา แต่เมื่อเป็นข้อเสนอที่ไม่ผิดกฎหมายมันก็เป็นสิทธิ ซึ่งเราเป็นนักการเมืองก็พูดได้เพียงเท่านี้
       
       “เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ ผบ.ทบ. ผมยังอยากให้ ผบ.ทร., ผบ.ทอ. และผบ.สส.ออกมาประสานเสียง มันจะได้หยุดกันสักที ไม่มีงานทำหรือ ก็รู้ว่าเรื่องนี้ไม่สมควร ท่าน ผบ.ทบ.ทำถูกแล้ว” ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า กลัวว่าเรื่องนี้จะบานปลายหรือไม่ เพราะกลุ่มนิติราษฎร์ก็ระบุจะไม่หยุดแสดงความคิดเห็น ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า แสดงความคิดเห็นกันไป ยังไม่มีผิดกฎหมายก็ว่าไป แต่คุณไม่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาแล้วคุณจะไปแก้ได้อย่างไร เมื่อถามว่าวิเคราะห์หรือไม่เหตุใดกลุ่มนิติราษฎร์ถึงไม่หยุดแสดงความคิด เห็น ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวพร้อมหัวเราะว่า “เป็นสุขส่วนตัวได้ออกทีวี”
       
       รองนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุ ไม่มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ว่า ไม่เป็นไรปรึกษาหารือกันได้ ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้กลุ้ม อย่าไปมองทุกอย่างยากเย็น ทุกอย่างง่ายๆ ถ้าเรามีจิตบริสุทธิ์ ตั้งใจจริงๆ แล้วมันทำได้หมด
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวว่าบรรดา ส.ส.สอบตกภายในพรรคเพื่อไทยเริ่มเสนอตัวในการรับเลือกตั้ง ส.ส.ร. จนอาจถูกมองว่าล็อกสเปก ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ไม่ได้ และไม่ใช่ล็อกสเปก เพราะวิธีการเลือก ส.ส.ร.จะไม่เหมือนกับการเลือกตั้งแบบอื่น เมื่อถามว่า วัฒนธรรมการเลือกสสร.ของประชาชนเป็นอย่างไร ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า อ่านใจประชาชนยากในขณะนี้ เพราะครั้งที่แล้วขนาดเราโดนทั้งอำนาจรัฐ อำนาจเงินโกง ยังได้มา 265 เสียง ตนไปหาเสียงตนรู้ รอบนี้ 300 เสียงเพราะตนไปต่างจังหวัดทุกสัปดาห์ เขาดูที่คนทำงาน


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : วิพากษ์ข้อเสนอ กลุ่มนิติราษฎร์ กรณีปฏิรูปศาลยุติธรรม

view