cpa_thailand
ช่วงนี้ เห็นใครเขาก็พูดแต่เรื่อง ม.๑๑๒ ก็ขอบ้าง
มาตรา 112 กล่าวว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"
เขาว่าจะให้แก้หรือขอให้ตัดออกจากประมวลกฎหมายอาญา บ้างก็ขอตั้งกรรมการกลั่นกรองก่อนส่งฟ้อง ต้องถามว่า
คิดดีแล้วหรือลืมคิด
เอาทีละประเด็น
เรื่องเสนอตั้งกรรมการ อยากถามว่า จะตั้งอย่างไร ใครเป็นคนตั้ง รู้ได้อย่างไรว่าคนที่เลือกมาเหมาะสม ใครเป็นคนบอกว่า
เหมาะสม ถ้าเกิดเรื่องที่ผ่านไปไม่เหมาะสมใครรับผิดชอบ คนพิจารณาต้องรับผิดชอบไหม คนที่พิจารณาเลือกมาต้อง
รับผิดชอบต่อความผิดพลาดในการเลือกคนที่ไม่เหมาะสมมาไหม (เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องทั่วไปตามปกติ อย่าลืมครับ
การจะให้คนทุ่มเทสมองและการทำงานให้จริงจัง ด้วยความตั้งใจและความเป็นกลาง อำนาจควรมาพร้อมกับความรับผิดชอบ
ไม่ใช่อย่างทุกวันนี้ที่อำนาจมา แต่ความรับผิดชอบไม่มี ) และยังมีคำถามอื่นๆตามมาอีกมากมาย
ไปหาคำตอบให้ได้ก่อน มากกว่าที่จะมาเสนอโดยบอกว่าอย่างนี้แก้ปัญหาเบื้องต้น แต่ไม่ได้ตอบปัญหาพื้นๆ
ที่เกิดขึ้นอย่างเพียงพอ
อยากรู้ว่าคนกลุ่มนี้เก่งกว่า ตำรวจ , อัยการ และผู้พิพากษา จริงหรือไม่ ถ้าตำรวจ/อัยการ ไม่มีวิจารณญานในการพิจารณา
ส่งฟ้องเรื่องเหล่านี้ จะมีตำรวจ/อัยการ ไว้ทำไม ในเมื่อถ้าคนมีหน้าที่ กลับมีวิจารณญานไม่พอก็ต้องกระทบกับประชาชน
ที่เดือดร้อนเหมือนกัน ในทางเดียวกันหากตั้งกรรมการกลุ่มนี้ขึ้นมา ก็เท่ากับไม่ยอมรับ คำพิพากษาของศาลที่ผ่านมา
เพราะคุณคิดว่ากลุ่มคนที่คุณเสนอมามีวิจารณญานดีกว่าคำพิพากษาศาลที่ผ่านมา
เพราะฉะนั้นหากคิดกันดีๆ คนที่จะตั้งกลุ่มนี้ไม่มีความจำเป็น เพราะถึงแม้คุณจะพิจารณาว่าใช่ แต่คนไม่เห็นด้วย
ก็จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ต่างกัน จะต้องมีคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาตรวจการใช้วิจารณญานของกรรมการชุดนี้หรือไม่
ยิ่งมากคณะมากคนเข้ามาวุ่นวาย ก็จะมากมายเปล่าๆ เท่าที่เห็นก็เป็นคนมีความรู้ทั้งนั้น คงลืมคำว่า
"มากหมอ มากความ"
กันไปแล้ว
หรือเขาคิดว่า วิจารณญานของเขาดีกว่าคนอื่น
เพราะฉะนั้น คณะกรรมการชุดนี้ไม่มีความจำเป็น เพราะจะทำให้มากเรื่อง ขณะเดียวกันไม่ได้ทำให้ปัญหาของสังคมหมดไป
ในทางกลับกันอาจจะมากขึ้น คนที่ยังไม่ถูกเขากล่าวหาว่าเลือกข้าง จะเหลือน้อยลงเรื่อยๆ
แค่คนที่ออกมาโวยวาย ยอมรับวิจารณญานตามคำพิพากษา ก็พอที่จะให้ไม่มีปัญหาแล้ว
ถ้าขอตัด อยากถามว่า หมวดนี้ในกฎหมายอาญาตราขึ้นมาเพื่อรองรับกฎหมายอะไร
ลองดูให้ดีมีกฎหมายฉบับไหนที่กล่าวถึง เรื่องของสถาบันกษัตริย์ จะเห็นมีชัดๆก็แต่ในรัฐธรรรมนูญ แล้วคนที่ละเมิดรัฐธรรมนูญ
ในเรื่องนี้ มีบทกำหนดโทษไหนมารองรับ หรือ จะให้ใส่บทกำหนดโทษไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งไม่มีใครเขาทำกัน
หรือว่า คนที่เสนอตัด ต้องการตัดไปพร้อมกับหมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าไม่มีหมวดนี้ในรัฐธรรมนูญ
ก็ไม่จำเป็นต้องมีมาตรานี้ในกฎหมายอาญา เหมือนกับที่เขาร่างเตรียมไว้แล้ว หรือไม่
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ลืมไปได้เลยไม่เห็นด้วย เว้นแต่คุณต้องการทำอย่างที่ มีกลุ่มคนในพรรคการเมืองบางพรรคกำลัง
พยายามจะทำกัน อย่างนั้น คุณต้องถามคนไทยทั้งหมดก่อน และถ้าคนไม่เห็นด้วย คุณคิดว่าคุณยอมรับระบอบการปกครอง
อย่างที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ได้หรือไม่ ?
ถ้าไม่ได้คุณคิดว่าคุณควรอยู่เมืองไทยในสภาพไม่ยอมรับและสร้างปัญหาอย่างนี้ตลอดไปหรือไม่ ?
แค่ขอแก้มันจะมีอะไรไหม ทำไมไม่ได้
เรื่องนี้ มันไม่ได้อยู่ที่ว่า จะแก้หรือไม่แก้ เพราะตั้งแต่มีกฎหมายอาญามา เรื่องตาม ม.๑๑๒ ก็เคยมีการแก้ไข มาหลายครั้ง
กว่าจะมาเป็นอย่างปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ทำไมจะแก้ไม่ได้
มันอยู่ที่ว่า ถ้าจะแก้ จะออกมาอย่างไร ถ้าจะจุดกระแสใช้สื่อตีให้มันวุ่นวาย ควรจะจุดกระแสมาพร้อมข้อเสนอ เพราะเท่าที่เห็น
คนจุดกระแสส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ เป็นอาจารย์ ควรจะเสนอมาพร้อมกับทางเลือกให้ประชาชน
ไม่ใช่มาโดยที่ไม่มีเหตุผลที่สมควรประกอบ ไม่ได้ให้ประชาชนเห็นว่าควรจะแก้เป็นอย่างไร(ดูถูกกันเกินไปไหม)
เพียงได้เห็นแต่ว่า โทษแรงไปบ้าง มีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว มีมาตรานี้แล้ววิจารณ์ไม่ได้บ้าง ถ้าไม่แก้จะทำให้สถาบัน
แย่ลงบ้าง
แต่ไม่เคยบอกว่า ทำไม่ถึงสมควรแก้อย่างจริงๆจัง และถ้าแก้จะแก้เป็นอย่างไร และ แก้แล้วสถาบันกษัตริย์จะดีขึ้นอย่างไร
หรือ นักวิชาการของเราทุกวันนี้หลักลอยเหมือนนักการเมือง ขึ้นทุกวัน เห็นเสนอมาแต่ละเรื่องดูถูกคนอ่านคนฟังมาก
ขอแก้แต่ไม่บอกว่าจะแก้อย่างไร เหมือนกับว่าให้คนอนุญาตให้แก้แล้วคุณจะแก้อย่างไรก็ได้ เหมือนกับส.ส.บางคน
ประชาขนเลือกมันเขาไปแล้วมันอยากจะทำอะไรมันก็ทำไม่เห็นหัวประชาชน (ขอโทษครับใช้คำว่ามัน เพราะไม่ได้ยกย่อง
คนพวกนี้เลยเรียกเหมือนกับคนไทยอีกจำนวนมากที่เขาเรียกกันครับ) เอาเป็นว่ากฎหมายที่เขาจะให้เอามาปรับใช้
ก็คือใช้กฎหมายหมิ่นประมาทมาปรับใช้ ก็ต้องถามว่าเหมาะสมหรือไหม
ลองดูตัวบท เรื่องที่เขาอ้างถึง ครับ
"มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
ผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
กฎหมายมาตรานี้ รองรับกฎหมายรัฐธรรมนูญเพียงพอหรือไม่
ถ้าคิดว่า ไม่ ก็ลืมเรื่องนี้ไปได้เลย แต่ถ้าคิดว่าใช่ก็กลับไปดูรัฐธรรมนูญใหม่
แล้วโทษแรงไปหรือเปล่า
เรื่องนี้ถ้ามีความเป็นคนไทย ก็ไม่เห็นมีอะไรที่ต้องอธิบายกันมากมาย เพราะ
ความเป็นไทย ความเป็นชาติ ต้องมีกำพืด ต้องรู้ที่มาที่ไป และต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยว สิ่งยึดเหนี่ยวของประชาชนคนไทย
ที่ผ่านมาให้เป็นไทยได้ ก็คือสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในฐานะประชาชนเจ้าของประเทศก็ต้องรักษา
สิ่งที่ยึดเหนี่ยวไว้ ให้รวมกันติด สิ่งที่ช่วยให้สังคมและประชาชนรวมกันติดก็คือ ความสามัคคี
เพราะฉะนั้นจะเอาคดีหมิ่นประมาททั่วไป ไปใช้กับสถาบันกษัตริย์ มันคงไม่ได้ เพราะถ้าจะกล่าวให้แรงๆคือ
คุณกำลังทำลาย ความเป็นชาติ ความเป็นไทย ความสามัคคีของคนในชาติ
ก็เพราะมีคนพวกนี้มากเกินไป คิดเรื่องพวกนี้มากเกินไป ทำให้แรงยึดเหนี่ยวของชาติมันลดลง
ทำให้สังคมแตกแยก
จนเป็นปัญหาอย่างทุกวันนี้
ถ้าอย่างนั้นทำอย่างไร ก็ไม่เห็นยาก ถามว่าเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ดูแลความสงบเรื่องนี้ ทำงานเต็มที่หรือยัง
หรือคุณเต็มที่กันเฉพาะเรื่องการเมือง ถ้าคุณทำกันอย่างทุกวันนี้ก็ถือว่า
ไร้คุณธรรมในการทำงาน เพราะคุณไม่มีคุณธรรมตามหน้าที่
เรื่องนี้มันก็ร้ายแรงไม่ต่างกับยาเสพติดครับ ทำมันพร้อมกันทั้งสองเรื่องเลยก็ได้ ถ้าคิดว่า
ที่พวกคุณกำลังทำ คือทำงานเพื่อสนองนักการเมือง
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ได้ทำผิดก็ไม่ต้องกลัว ที่บอกว่ามันมากไปเพราะกลัวจะโดนกับตัว ในสิ่งที่อยากทำ ............. ใช่หรือเปล่า?
ก็ฉันอยากจะวิจารณ์สถาบัน แล้วเราทำอะไรไม่ได้เลยหรือ
ผมว่าเขาไม่ห้าม แต่อยากให้คนที่เสนอมาเอามาตราอื่นในกฎหมายอาญามาปรับใช้ก่อนไหม
ลองดูเรื่องที่ควรเอามาพิจารณา ที่มีในกฎหมายอาญา
"มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง
ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว
และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน "
ถัดไปจากเรื่องหมิ่นประมาทที่อ้างว่าจะใช้ไปแค่ไม่กี่มาตรา ทำไมไม่ดู ไม่อ่าน
เรื่องนี้ชัดเจนพอสมควร กฎหมายมีมานานแล้ว มีคนพูดกันว่า ถึงแม้คนพูดความจริง ก็ถือเป็นหมิ่นประมาท
เพราะเขาอ่านกันเฉพาะสรุปคำพิพากษา ถ้าดูกฎหมายจริงๆ ตัวบทมันชัดเจนจะตาย ไม่เห็นต้องให้ตีความกันให้มากมาย
ว่าแต่ว่า บทความ ที่เขียนกันผ่านมาแล้วมีปัญหา ถามตัวเองหรือถามคนอื่นบ้างหรือไม่ ว่าที่เขียนที่วิจารณ์กันมา
มีความจริงตรงไหนหรือใช้จับแพะชนแกะ มีอะไรที่บุคคลที่กล่าวถึงไม่เสียหาย ให้ความเป็นธรรมกับคนที่กำลังวิจารณ์หรือเปล่า
มีตรงไหนที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไม่ใช่แค่คิดแค่ว่าฉันมีสิทธิวิเคราะห์วิจารณ์ แต่บทความวิเคราะห์วิจารณ์
มันต้องทำบนข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานพิสูจน์ชัดเจน ถ้าไม่เช่นนั้น มันก็ไม่ใช่บทความวิชาการที่เหมาะสม
(เรื่องสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงระบอบการปกครองทั่วไปกับของไทยที่อ.ปรีดี ต้องการให้เป็น
ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๗๔ ของ อ.ปรีดี จะเอามาให้อ่านจะได้รู้ว่าสิทธิที่อ้างกันอยู่ทุกวันนี้ โดยคนบางกลุ่ม
และอ้างว่าเป็นของ อ.ปรีดี ให้ความเป็นธรรม กับอาจารย์แค่ไหน ก็คนที่เอามาอ้างเป็นบ้าเป็นหลัง มันเคย
พูดดังๆในธรรมศาสตร์ว่า "ปรีดี ไม่ใช่พ่อ" กันมาแล้ว
ถ้าพวกเขาอ้างจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการแล้ว มันจะเขี่ยเจตนารมย์ของอาจารย์ทิ้งไปไหม)
เพราะฉะนั้น คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองควรทำอะไร จะโดนกฎระเบียบของสังคมสั่งสอนบ้างมันก็สมควรอยู่ไม่ใช่หรือ
แต่ถ้าคิดว่าใช่ บทความวิชาการของฉัน ที่มาวิเคราะห์วิจารณ์ ไม่ทำให้ใครเสียหาย มีหลักฐานชัดเจน มีความเป็นธรรม
ก็ทำไปซิครับ กลัวอะไร
ส่วนที่บอกว่า ม.๑๑๒ ไม่จำเป็น มันพูดในที่อื่นแล้ว ไม่ต้องขยายความอีก ความเห็นอย่างนั้นมันไม่สมเป็นปัญญาชน
แต่สำหรับผม นักบัญชีเขามีว่ากันว่าให้ใช้หลักสาระสำคัญ อะไรก็ตามที่มันสำคัญ ก็ต้องแยกออกมาให้เห็นชัดเจน
เช่นถ้ารายการในรายการ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ถ้าจำนวนมันมาเกินไป ก็ต้องแยกออกเป็นหัวข้อหนึ่งออกจากรายการปกติ
จะได้ทำให้คนที่ใช้ข้อมูล ไม่เข้าใจผิด
คนทีออกมาพูดถ้าเป็นอาจารย์ก็ยิ่งไปกันใหญ่ ผมว่าตั้งแต่แต่เด็กยันโต คนพวกนี้ต้องเคยขีดเส้นใต้ ตอนเวลาอ่านหนังสือ
หรือไม่ก็ต้องเอามาร์คเกอร์ ทาไว้สำหรับข้อความที่คิดว่าสำคัญ
อยากถามว่า ขีดเส้นใต้หรือมาร์คเกอร์ทาไว้ มันทำให้ข้อความ หนังสือ หรือเนื้อหามันเปลี่ยนไปไหม ถ้าไม่เปลี่ยน
คุณทำไปทำไม ?
(เฮ้อ ..... คิดว่าจะไม่มีเรื่องบัญชี อีกซะแล้ว)
อย่างกรณี คนแก่ที่ไปโพสต์หมิ่น คนที่ออกมาแสดงความสงสารได้เห็นข้อความที่ได้โพสต์ไว้หรือเปล่า ถ้าไม่เห็นรู้ได้อย่างไรว่า
เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือเป็นการวิจารณ์ที่พอสมควรแก่เหตุ แต่ถ้าเห็นคิดว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัว ก็บอกมา จะได้มีน้ำหนัก
ไม่ใช่มาอ้างว่าแก่ ไม่รู้จัก SMS ผมเห็นคนแก่กว่านี้ก็ยังเป็นอาจารย์สอนเขียนโปรแกรม สอนเล่นเฟสบุ๊ค
แล้วทำไม ถึงคิดว่าตาแก่ที่อายุยังไม่เยอะจะใช้ SMS ไม่เป็น แล้วทำไมคิดว่า คนที่ใช้ SMS จะส่งทีละ 70 ข้อความไม่ได้
ผมว่าถ้ายังไม่ชัวร์ อย่าบอกว่า ของมันเป็นอย่างสภาพที่เห็น ถ้ายังไม่ได้หาคำอธิบายได้ดีกว่าคนที่ทำคดี
ส่วนเรื่องการลงโทษ แรงไม่แรงคงไม่ต้องกล่าวถึงเพราะกล่าวไปแล้ว เรื่องนี้มันทำลายชาติ แค่ที่โดนยังน้อยไป
ส่วนเรื่องโทรศัพท์ บอกเอาไปซ่อม ก็บอกไม่ได้ว่าซ่อมร้านไหน บอกว่าคนหยิบไปใช้ มันก็อ้างง่ายไป ของใช้ของตัวไม่ดูแล
ต่อไป ใครไปยิงคนตายคงอ้างได้ว่าไม่รู้ใครหยิบปืนไปยิง ในเมื่อตำรวจหาหลักฐานมาได้ว่า ตาแก่เป็นคนทำ
ก็หาหลักฐานมาหักล้าง ก็คนไม่ได้ทำจริงๆ คงหาหลักฐานได้ไม่ยาก
นอกจากจะสร้างเรื่องขึ้นมาจน พันกันมั่วไปหมดเหมือนกับนักการเมืองบางคนทำไว้จนดิ้นไม่หลุด
ผมว่าถ้าคิดจะแก้ ม.๑๑๒ ให้เหลือบๆมอง แล้ว ไปแก้ ม.๒๑๒ ก่อน ดีกว่าไหม
หรือไม่กล้า เพราะว่ามันเข้าตัว
สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี