จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com) | ||||
หุบป่าตาด ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต.ทุ่งงาม ในพื้นที่ดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อ.ลานสัก เดิมทีไม่มีใครรู้ว่ามีป่าประหลาดแห่งนี้อยู่ในอุทัย แต่กับพวกพรานในพื้นที่ที่มาล่าสัตว์หลายคนเคยตามรอยเลียงผามาพบป่าแห่งนี้ บ้างแล้ว แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร เพราะสนใจเลียงผามากกว่า กระทั่งในปี พ.ศ. 2522 พระครูสันติธรรมโกศล(หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดเขาทอง มีเหตุบังเอิญต้องปีนลงไปในหุบเขานี้ที่ปิดล้อม(สมัยนั้นยังไม่มีการระเบิด ภูเขาทำเป็นทางเดินเข้าไป) เมื่อลงไปแล้วถึงกับตะลึงในความแปลกพิศวงของป่าโบราณแห่งนี้ |
||||
อย่างไรก็ดีด้วยความแปลกโดดเด่นทำให้ผืนป่าให้นี้ได้รับการยกย่องจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ให้เป็นอันซีนไทยแลนด์(2)ใน ปี 2547 นั่นถือเป็นตัวผลักดันสำคัญให้หุบป่าตาดโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเด่นดังของจังหวัดอุทัยธานีขึ้นมาทันที สำหรับหุบป่าตาดมีลักษณะเป็นป่าดึกดำบรรพ์ที่อุดมไปด้วย “ต้นตาด” หรือ “ต้นต๋าว” (Arenga pinrata) พืชตระกูลปาล์ม มีใบเป็นแฉกแผ่กว้างสยาย ชอบขึ้นในพื้นที่ป่าดงดิบที่มีอากาศเย็นชื้นสภาพหนาทึบ ตาดออกลูกเป็นทลายเล็กๆกลมๆ ลูกตาดกินได้ ชาวบ้านนิยมนำเนื้อในมาทำเป็นลูกจากหรือลูกชิด ใบนำไปทำไม้กวาด ยอดอ่อนนำไปต้มจิ้มน้ำพริก |
||||
ส่วนที่ถือเป็นดังแม่เหล็กดึงดูดให้คนอยากไปสัมผัสก็คือบรรยากาศแหง นี้ที่มีลักษณะเหมือนป่าโบราณป่าดึกดำบรรพ์ชวนให้นึกถึงหนังเกี่ยวกับ ไดโนเสาร์ต่างๆ เพราะที่นี่อวลเสน่ห์ไปด้วยต้นตาดหนาแน่นแผ่สยายใบร่มครึ้ม ช่วงกลางหุบมีเวิ้งถ้ำเป็นช่องประตูขนาดใหญ่สามารถเดินทะลุถึงกัน ซึ่งเมื่อผมไปยืน ณ บริเวณนั้นมันช่างให้อารมณ์ โบร๊าณ โบราณ มากๆ พูดถึงการถือกำเนิดของหุบป่าตาดนั้น จากข้อมูลว่าเคยเป็นถ้ำมาก่อน แต่หลังคาถ้ำได้ยุบตัวกลายเป็นหุบหรือบ่อกลางภูเขาจำนวน 2 ห้อง มีเนื้อที่รวมประมาณ 2 ไร่เศษ มีขอบบ่อสูงถึงราว 150-200 เมตร ทำให้มีสภาพเป็นบ่อกลางภูเขาที่ลึกเอาเรื่อง ซึ่งนักวิชาการได้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกโดย เฉียบพลัน ทำให้หลังคาถ้ำถล่มลงมากลายเป็นบ่อในหุบเขาที่ต้นไม้สามารถขึ้นได้ในบาง พันธุ์ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องแสงแดด แต่นั่นคงไม่ใช่กับพืชจำพวกตาดที่พวกนกหรือลิงนำผลของมันมากินแล้วอึทิ้งลง ไปในหุบเขาที่มีสภาพพื้นที่ที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นตาดได้เป็นอย่าง ดี นั่นจึงทำให้ต้นตาดค่อยเติบโตยึดครองพื้นขยายพวกพ้องเครือญาติกลาย เป็นป่าต้นตาดที่ถูกค้นพบและกลายเป็นอันซีนไทยแลนด์ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น |
||||
ในสมัยนั้นมีการทำบันไดปูนเดินขึ้นไป มีการปูทางเดินด้วยอิฐตัวหนอนให้เดินชมภายในได้อย่างสะดวกสบาย แต่ประทานโทษ!?! มันมีเสียงทักท้วงจากนักท่องเที่ยวหลายคนว่า สิ่งก่อสร้างภายในหุบป่าตาดดูไม่ค่อยกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติเท่าไหร่ |
||||
สำหรับหุบป่าตาดมาดใหม่นั้น เขามีการจัดทำลานจอดรถอย่างดี มีส่วนจัดแสดงนิทรรศการกลางแจ้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับหุบป่าตาดและสถานที่ท่อง เที่ยวในละแวกใกล้เคียง รวมถึงมีการปรับปรุงเส้นทางเดินชมศึกษาธรรมชาติให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติมาก ขึ้น รื้อไอ้ทางเดินอิฐตัวหนอนที่ดูประดักประเดิดทิ้งไป |
||||
“น้องเน” ไกด์น้อยที่มาอาสานำเที่ยว พาผมและเพื่อนๆท่องหุบป่าตาดเดินผ่านอุโมงค์แห่งกาลเวลาสู่เขตหุบป่าตาด ที่บรรยากาศในป่าแห่งนี้ยังคงขลังและดูดึกดำบรรพ์ไม่ต่างจากเดิม แต่ก็มีบางสิ่งที่ทำเสริมเติมขึ้นมาเช่น จุดชมวิว ป้ายสื่อความหมายที่ทำใหม่ แรกๆดูน้องเนออกจะเกร็งๆและกลัวผมไม่น้อย เพราะนอกจากจะหน้าตาน่ากลัวแล้วยังกวน Teen อีกต่างหาก แต่หลังจากคุ้นกันแล้ว น้องเนดูจะกล้าพูดกล้าคุยและกล้าโม้มากขึ้น |
||||
ชาวบ้านที่นี่เคยเจอเจ้าสัตว์มากขาตัวนี้มานานแล้ว แต่ไม่ได้สนใจคิดว่าเป็นพวกตัวตะเข็บทั่วไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 เมื่อศ.เฮนริค อิงฮอฟ (Henrik Enghoff) ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือมือหนึ่งของโลกชาวเดนมาร์ก ได้มาเจอเข้าถึงกับตะลึง เพราะเขาพบว่านี่เป็นกิ้งกือชนิดใหม่ของโลก โดยให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Desmoxytes purpurosea จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ชาวโคนมได้นำไปเผยแพร่ ทำให้หลังจากนั้นในปี 2551 เจ้ากิ้งกือสีชมพูได้รับการประกาศยกย่องจากมหาวิทยาลัยรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา ว่านี่เป็นสุดยอดการค้นพบอันดับ 3 ของโลก รองจากการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นอันดับ 2 และการค้นพบกระเบนไฟฟ้าในแอฟริกาที่มาเป็นอันดับ 1 |
||||
เจ้ากิ้งกือมังกรสีชมพูจะพบได้ในช่วงหน้าฝน ทำให้ช่วงที่ผมไปซึ่งเป็นหน้าแล้ง จึงไม่มีวี่แววของพวกมันปรากฏ งานนี้จึงดูโฉมหน้าคร่าตาของมันได้จากรูปในนิทรรศการเท่านั้น |
||||
ในหุบป่าตาดแม้สภาพและบรรยากาศทั่วไปยังคงเหมือนเดิม มีทางเดินสร้างใหม่ที่ดูดีกลมกลืนกว่าแต่ก่อน แต่ที่นี่มีความเปลี่ยนแปลงอันชวนสะดุดตา และชวนให้นึกถึงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อมีเกิดย่อมมีดับไม่จีรังยั่งยืน เพราะในเส้นทางเดินช่วงแรกผมได้เห็นเจ้าต้นไทรใหญ่ที่ถือเป็นหนึ่งใน ต้นไม้ไฮไลท์ของที่นี่ถึงขนาดทาง ททท. นำภาพต้นไทรใหญ่ขึ้นกลางดงหุบป่าตาดไปเป็นภาพชูในปกหลังของหนังสือนำเที่ยว จังหวัดอุทัย และใครหลายๆคนเมื่อมาเที่ยวที่นี่ก็มักจะถ่ายภาพของเจ้าต้นไทรใหญ่นี้กลับไป รวมถึงตัวผมด้วย |
||||
|
||||
ขณะที่เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ล่วงหน้าไปไกลด้วยการหุงข้าวเสร็จ ลงมือทำอาหาร เตรียมตัวรอหม่ำมื้อเที่ยงกันแล้ว เห็นบรรยากาศแบบนี้ นอกจากมันมันชวนให้ผมอดนึกถึงสมัยวัยเด็ก เวลาเข้าค่ายลูกเสือที่ต้องจุดไฟให้ติดด้วยไม้ขีดเพียง 3 ก้านไม่ได้แล้ว มันยังให้ผมพบว่าเวลาเรียนนั้น วิชาส่วนใหญ่ต่างแอบลอกกันได้ แต่วิชาก่อไฟไม่สามารถลอกกันได้ด้วยประการทั้งปวง |
||||
**************************************** ค่าเข้าชมหุบป่าตาด ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท ในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีไกด์น้อยมาคอยพานำเที่ยวชมตามแต่นักท่องเที่ยวสมัคร ใจ ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน โทร. 0-5698-9128 |
สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน