แปลและเรียบเรียงโดย
ผมเคยทำงานในองค์กรหลายแห่ง รวมถึงได้คุยกับเพื่อนหลายคนเกี่ยวกับการวัดผลการทำงาน เห็นความแตกต่างในวิธีคิดของแต่ละองค์กรที่ต่างกัน บางองค์กรใช้วิธีเรียบง่าย บางองค์กรกำหนดตัวชี้วัด หลายตัวมาก เห็นการพยายามแต่งตัวเลขเพื่อให้บรรลุตาม KPI ที่ตั้งเอาไว้
ก็มีคำถามว่า ตัวชี้วัดเราควรมีแค่ไหน มีมากดีหรือน้อยดี ผมพาลคิดไปถึงตอนเรียนปริญญาตรี ในวิชา วิเคราะห์งบการเงิน เรียนกับ ศ.พิพัฒน์ โปษยานนท์ ตอนปี ๓ ผมเห็นเพื่อนที่เคยเรียนมาแล้วนั่งท่อง ratio ที่เตรียมไว้เป็นร้อยๆ ratio ตัวผมเพิ่งลงครั้งแรก ไม่ค่อยรู้เรื่อง จำได้ว่าตอนนั้นผมไม่มีความมั่นใจว่าจะสอบผ่านแถมขี้เกียจท่องเลยหาทางทำให้มันง่ายขึ้น โดยแยกหัวเรื่องเป็น ๓ หัวเรื่องใหญ่ คือเรื่องสภาพคล่องกิจการ เรื่องความสามารถในการดำเนินการ และเรื่องความมั่นคงของกิจการ ในแต่ละหัวเรื่อง มี ratio ที่ผมเลือกมาใช้ ๓ - ๔ ratio แล้วไปเน้นในเรื่องของการตีความตัวเลขที่ได้จาก ratio ที่วิเคราะห์ได้ พอทำสอบผมหัวใจหล่นไปอยู่ตาตุ่ม เพราะผมดันเหลือเวลาทั้งที่คนอื่นทำไม่ทัน แต่ผลออกมาผมผ่านเพื่อนตก ทุกคนสงสัย ผมมาวิเคราะห์ผมคิดว่าเพราะผมวิเคราะห์ ratio ที่ได้มากกว่าที่เพื่อนทำ ก็ ratio ที่ผมใช้มันนิดเดียว พอมา สอบ CPA ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอย ผมทำเวลาเหลือ เพื่อนๆทำไม่ทันเพราะให้รายละเอียดเยอะมาก เขาอ่านหนังสือและรู้มากกว่าผมเยอะ จนสอบออกมาผมคิดว่าไม่ได้ เพราะผมทำข้อสอบยังเหลือเวลาอีก ๑๕ นาที่ (ถ้าจะให้เขียนมากกว่านั้นก็คงเขียนไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรแล้ว มันหมดจริงๆ) แต่ดันผ่านมาได้คนเดียว ด้วยคะแนน ๖๐ ๑/๓ (เขาเอาผ่านที่ ๖๐ เพื่อนผมได้ ๕๙ ๒/๓ คะแนน) ผมมาประเมินดูคงเป็นเพราะว่าผมได้กลางๆแต่ผมทำทุกข้อ แต่เพื่อนทำคะแนนได้ดีแต่ทำไม่ทุกข้อ (ข้อสอบมี ๔ ข้อ เพื่อนทำไปแค่ ๓ ข้อเพราะไม่ทัน)ทำให้คะแนนที่ได้น้อยกว่าผมครึ่งคะแนน เลยไม่ผ่าน
พอดีไปอ่านบทความบางบทความเรื่องการวัดผล ผมว่ามันเข้าท่า
เพราะทุกวันนี้ เจ้าของกิจการ ที่ปรึกษาธุรกิจหรือผู้จัดการเก่งๆ ชอบทำอะไรให้มันยากๆ และซับซ้อน คงเพราะว่ามันเท่ห์ดี เอาไว้คุยได้ว่าของเราทันสมัย (หน้าตาเป็นเลิศ แต่วิธีการยุ่งยาก KPI เต็มไปหมด)
แต่ผมคิดว่าอะไรที่มันง่ายมันน่าจะดีกว่า คนที่จะทำต่อจากเราเขาก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องเราคนเดียว (ง่ายแต่ไม่ชุ่ย นะครับ .... อิ อิ)
เลยเอามาแปลและเรียบเรียงใหม่ ให้อ่านกัน ......
.......................................................................................................
สูตรลับของจำนวนที่เหมาะสมของตัวชี้วัดหรือการวัดประสิทธิภาพที่องค์กรต้องการอย่างแท้จริงเพื่อให้เราไม่จมลงไปกับ กองKPI ที่เลือกมาใช้ ลองพิจารณาขั้นตอน ต่อไปนี้ดู
ขั้นที่ 1 :ตัวชี้วัดในปัจจุบันของคุณเทียบกับเป้าหมายของคุณไว้ใจได้แค่ไหน
ตัวชี้วัดไม่ควรไม่ผูกติดกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้ มันเป็นหลักฐานของความคืบหน้าไปสู่เป้าหมาย กำหนดเป้าหมายของเรา และกำหนดตัวชี้วัด หรือ วิธีการวัดผล และเชื่อมโยงสิ่งที่เรากำหนดไว้เข้าดัวยกัน
หากทุกอย่างเชื่อมโยงกันแล้วคุณก็มาได้ไกลแล้ว การเน้นไปที่ การเชื่อมโยงตัวชี้วัดหรือวิธีการวัดผล กับเป้าหมายของเราตั้งไว้จะตรงประเด็นและหนักแน่นที่สุดว่าขบวนการที่เราต้องการจะเป็นจริง
หากตัวชี้วัดใด ๆ หรือวิธีการวัดผลไม่สามารถที่จะเชื่อได้ว่าจะเป็นความจริงได้ แล้วละก็ .............. ควรทิ้งมันไป
ขั้นที่ 2 : เลือกเป้าหมายหลักของคุณสามเป้าหมาย
หากคุณเลือกเป้าหมายที่ดีสามเป้าหมาย เพื่อบรรลุความเป็นเลิศแล้ว
การเลือกเป้าหมายเพียงสามเป้าหมายเพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามความต้องการ ย่อมดีกว่าที่คุณเลือกเป้าหมายที่มากกว่าสามเป้าหมายแต่ล้มเหลว ( ทำไมคุณต้องมุ่งหมายที่จะบรรลุเป้าหมายที่ปราศจากความเป็นเลิศล่ะ )
ดังนั้นถ้าคุณมีเป้าหมายมากกว่าสามเป้าหมาย ก็จงตัดมันลงไปให้เหลือแค่สามเป้าหมาย
ขั้นที่ 3 : สำหรับแต่ละเป้าหมายหลัก ไม่ควรมีตัวชี้วัดเกินสามตัว
บางครั้งเป้าหมายอาจต้องการตัวชี้วัดหรือ วิธีการวัดผลแค่ตัวเดียวก็ถือว่ายอดเยี่ยมแล้ว
ถ้าจะทำให้มันง่าย บางครั้งคุณสามารถใช้ตัวชี้วัดหรือวิธีการวัดผลใด ๆ แค่สองหรือสามตัว ในแต่ละเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็เพียงพอ เช่น คุณอาจต้องการ ตัวชี้วัดหรือวิธีการวัดผล มากกว่าหนึ่งตัว ในมุมมองผู้มีส่วนได้เสียของกิจการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องไม่เกินสามตัวชี้วัดหรือวิธีการชี้วัดต่อเป้าหมาย!
โปรดอย่าลืมว่าในองค์กรเราไม่ได้มีหน่วยงานแค่หน่วยงานเดียว ในหน่วยงานแต่ละหน่วยงานไม่ได้มีเป้าหมายแค่เป้าหมายเดียว ดังนั้นถ้าในหนึ่งเป้าหมายคุณมี KPI มากๆ แล้วละก็ คุณคิดว่าในองค์กรของคุณจะมี KPI กี่ตัว ที่ใช้วัด
ตอนนี้คุณคงทราบแล้วว่า ตัวชี้วัดหรือวิธีการวัดผลที่คุณต้องการในขณะนี้ควรจะมีเท่าไหร่
ข้อควรจำ: ทำให้เรียบง่าย ทำตามทั้งสามขั้นตอนที่เขียนไว้
ผู้นำที่มัววุ่นวายกับการทำงานประจำวันมักจะโทษว่า พนักงานขี้เกียจ โง่ หรือทำงานช้า
แต่เรื่องจริงแล้วทั้งหมดเกิดจากความยุ่งจนเกินไป มากกว่าที่จะทำงานจริงๆ เรื่องทั้งหมดเกิดจากการที่ผู้บริหารที่ไอเดียบรรเจิด ตั้งเป้าหมายมากเกินไปในเวลาเดียวกัน จนทำให้พนักงานไม่รู้ว่างานไหนควรจะจัดลำดับความสำคัญไว้อันดับต้นๆ จนเสียจุดยืนตามเป้าหมายในการทำงานตามความสำคัญของงานของเขา
จนทำให้เขาต้องวัดผลในทุกสิ่งทุกอย่างที่คิดว่าต้องทำ ทำให้งานจริงๆที่ต้องทำขาดการวัดผล เหมือนการขับรถไปข้างหน้าโดยมองแต่กระจกมองหลัง
ผู้บริหาร ทำให้พนักงานกังวลกับงานประจำมากกว่าที่จะคำนึงถึงการบรรลุผลตามกลยุทธที่วางไว้ เขาอาจไม่ใช้ผู้บริหารที่ใช้ไม่ได้ แต่เขาล้มเหลวในเรื่องของการจัดการงานและการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายที่ต้องทำจากงานประจำ นี่คือข้อบกพร่องของเขาที่ไม่เข้าใจบทบาทของตัวเอง
ความแตกต่างระหว่างงานประจำวันกับเป้าหมายที่ต้องทำคือ งานประจำวันคืองานเร่งด่วนที่จำเป็นสำหรับคุณ แต่ เป้าหมายคืองานที่ต้องสำคัญที่ต้องทำเพื่อองค์กร
อ่านต่อ
เรียบเรียงจาก KPI Library & Fanklin Covey
สำนักงานสอบบัญชี พี แอนด์ อี,บริษัท สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล. จำกัด,คณะบุคคลที่ปรึกษา พี.เอ.ที.