เมืองตาก..มากเรื่อง(เล่า)
โดย : ชวิศา เศรษฐบุตร
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
“ไม่มาเที่ยว แวะ...ก็ยังดี” สโลแกนเชิญชวนนักท่องเที่ยวของพ่อเมืองตากประโยคนี้ ทำเอาวันหยุดของฉันคึกคักขึ้นมาทันที
ลองพูดขนาดนี้ต้องมีอะไรดีแน่นอน..ไปลุยกัน
ร่วม 6 ชั่วโมงบนรถตู้แอร์เย็นฉ่ำ พร้อมบรรยากาศฝนพรำตลอดการเดินทาง ในที่สุดฉันก็มาถึง ตาก เมืองภาคเหนือตอนล่างที่มีชื่อเดิมว่า “เมืองระแหง”
ในอดีตระแหงเป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหาราชถึง 4 พระองค์ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งขวาของแม่น้ำปิงมายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลบ้านระแหงจนกระทั่งทุกวันนี้
เอกราช ทัศสุภาพ เจ้าหน้าที่การตลาด ททท.จังหวัดตาก รับหน้าที่เป็นไกด์พิเศษในการเดินทางในครั้งนี้ เป้าหมายแรกไปเยี่ยมชมการทำหัตถกรรมพื้นบ้านงานจักสานใบลาน บ้านปากร้องห้วยจี้ หมู่ 2 ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก ทันทีที่ไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุนั่งรวมกันทำกิจกรรมด้วยสีหน้าเบิกบาน เสียงหัวเราะเฮฮา ทำเอาหลายคนหัวเราะตามไปด้วย
ป้าทองคำ ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ใบลาน เล่าว่าที่หมู่บ้านมีภูมิปัญญาดั้งเดิมหลายอย่างที่อยากอนุรักษ์ไว้ อย่างการสานหมวกใบลานหลากหลายรูปแบบทั้งของผู้ชาย ผู้หญิง มีการย่อส่วนทำเป็นเครื่องประดับผมหรือการสานตะกร้าจากสายป่านศรนารายณ์ 19 ลวดลายที่เป็นงานฝีมือขั้นประณีตที่ต้องมีความอดทนสูงในการเรียนรู้และจดจำ
เล่าไปป้าก็สอนมือใหม่ไปพลาง งานนี้ไม่ยากแต่ต้องใช้ความจำและอดทนมากจริงๆ เพราะกว่าจะได้ออกมาแต่ละลวยลายบนตะกร้า แต่ละรูปทรงแต่ละใบ เล่นเอาฉันเหงื่อตกและมือได้แผลไปหลายแผลทีเดียว
-1-
ร่ำลาป้าทองคำ พร้อมกับซื้อหมวกกลับไปเป็นที่ระลึก รถคันเดิมพาเรามุ่งหน้าสู่ทางเข้าวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน ตำบลตากออก ที่ซึ่งได้ชื่อว่ามีฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน "ใหญ่" และ "ยาว" ที่สุดในโลก
ภาพแรกที่เห็นทำเอาฉันตะลึงกับสิ่งที่นอนอยู่ใต้โครงหลังคาขนาดใหญ่และยาวประมาณ 2 สนามฟุตบอล ต้นไม้หินยาวกว่า 72 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร เป็นฟอสซิลไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการค้นพบในทวีปเอเชียและยาวที่สุดในโลก
ไม้กลายเป็นหิน จัดเป็นฟอสซิลชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากซากต้นไม้ที่ถูกแทนที่ด้วยน้ำบาดาล ซึ่งมีสารละลายของซิลิกาและเกิดการตกตะกอนจนกลายสภาพเป็นหินอย่างช้าๆ คือแทนที่แบบโมเลกุล จนกระทั่งกลายเป็นหินทั้งหมด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างเดิม คาดว่าจะเกิดสะสมตัวมากว่า 2 ล้านปี ปัจจุบันขุดพบและจัดแสดงให้ชม 7 ต้น และยังมีการสำรวจเพิ่มรอการขุดอีกกว่า 40 ต้น
ฉันเห็นความใหญ่ของต้นไม้หินต้นนี้แล้ว นึกอยากข้ามกำแพงรั้วเข้าไปสัมผัสเนื้อไม้นั่นว่าใช่หินจริงหรือไม่ แต่เหมือนเจ้าหน้าที่จะอ่านใจออก เรียกทุกคนมาดูเศษไม้เล็กๆ ที่วางเรียงรายด้านหน้าทางเข้า หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเบา ลองยกดูจึงรู้ว่า “หินจริง หนักจริง” เจ้าหน้าที่แอบหยอดมุกเด็ดส่งท้ายว่า “ดูได้ตามสบาย แต่ห้ามเก็บออกไป” แหม...งานหนักขนาดนี้ไม่ว่าใครก็คงไม่ขอหิ้วกลับหรอกค่ะ
-2-
งาน "หนัก" ผ่านไป ได้เวลามุ่งหน้าสู่ตัวเมืองตากเพื่อไปยัง เขื่อนภูมิพล เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในอันดับ 8 ของโลก จากนั้นจึงเก็บข้าวของแบกเป้เข้าห้องพักบนแพขนาดใหญ่สองลำ ล่องน้ำดูธรรมชาติตามเกาะต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
การล่องแพและเรือในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เป็นการล่องแพโดยใช้เรือลากจูงเพื่อสัมผัสกับธรรมชาติและภูมิประเทศป่าเขา ผ่านแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น พระพุทธบาทเขาหนาม เกาะวาเลนไทน์ เขาพระพุทธบาท ฯลฯ
แดดร่มสายลมเอื่อยๆ พัดเย็น ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าจากการเดินทางได้มาก ฉันสูดอากาศสดชื่นเข้าเต็มปอด เหมือนอยากตุนไว้ใช้เมื่อกลับกรุงเทพฯ ประมาณ 15 นาทีจากฝั่งเราก็เดินทางมาถึงเป้าหมายแรกในเวลาพระอาทิตย์เริ่มใกล้ผืนน้ำมากขึ้น นั่นคือ หมู่บ้านดงสเรียม ที่ขึ้นชื่อเรื่องการถนอมอาหารประเภทปลามากที่สุดในย่านนี้ ชมวิธีการถนอมอาหาร การทำปลาย่าง และน้ำพริกปลาย่าง พร้อมชิมกันอย่างเอร็ดอร่อย
ที่นี่เป็นหมู่บ้านเล็กๆ รายล้อมด้วยทิวทัศน์สวยงาม เมื่อก่อนชาวบ้านเคยทำการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก แต่หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจึงได้เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงสัตว์และหาปลาขาย-ซื้อข้าวกิน จนถึงทุกวันนี้
การถนอมปลาที่นี่ทำแบบง่ายๆ ตามวิถีภูมิปัญญาพื้นบ้าน ใช้วัสดุจำพวกไม้ฟืนแห้งจากธรรมชาติมาเป็นเชื้อเพลิงในการย่างปลา ก่อนเข้าสู่กระบวนการอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งการถนอมปลาแบบนี้สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน โดยไม่ง้อตู้เย็น
เดินช้อป ชม ชิมสินค้าพื้นบ้านเสร็จก็กลับขึ้นแพอีกครั้ง ตอนนี้พระอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า แสงทองหยอกเย้าผืนน้ำและทุ่งดอกหญ้าดูระยิบระยับสวยงามน่าหลงใหล จนคณะนักท่องเที่ยวเปลี่ยนใจขอพักผ่อนบนแพที่ใกล้ๆ เกาะแห่งนี้แทน
-3-
แรงกระเพื่อมของสายน้ำจากการลากแพปลุกฉันตื่นในเช้านี้ พร้อมเสียงประกาศแว่วมาจากนอกห้องนอนว่า เรากำลังเดินทางต่อไปที่ วัดพระพุทธบาทเขาหนาม ฉันรีบลุกขึ้นจัดการภารกิจส่วนตัวเสร็จแล้วไปรวมตัวกันคนอื่นหน้าแพ ทันเห็นแสงแรกของวัน
วัดพระพุทธบาทเขาหนาม อยู่กลางทะเลสาบแม่ปิงห่างจากสันเขื่อนประมาณ 5 ก.ม.วัดแห่งนี้ในอดีตไม่ได้เป็นวัด มีแต่รอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่บนยอดเขาเท่านั้น ผู้คนทั่วไปไม่สามารถปีนขึ้นมาสักการะได้ เพราะอยู่สูงจากแผ่นดินปกติมาก ส่วนที่ได้ชื่อว่าเขาหนามเพราะว่ามีลักษณะแหลมเหมือนหนามและสูงเทียมดอย จึงได้ชื่อว่า "ดอยเขาหนาม" ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนภูมิพล น้ำท่วมแผ่นดินหมดรวมทั้งตัวดอยกินเนื้อที่ประมาณ 80% ของความสูง เหลือเพียง 20% ที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำ จากดอยเขาหนามในอดีต เหลือเพียงเขาหนามในปัจจุบัน
ทางเดินที่ลาดชันแฝงไว้ด้วยถ้อยคำขำขำ เป็นกำลังใจให้นักท่องเที่ยวได้บรรเทาความเหนื่อยระหว่างเดินขึ้นไป “อีกนี้ดด..เดียว” “ที่แปะก้น” “เนินกระชากเข่า” “คุณเก่งมาก” และอีกหลายถ้อยคำ ซึ่งได้ผลชะงัดหลายคนที่ห่อเหี่ยวตั้งแต่เงยหน้ามองขั้นบันได พอก้มลงอ่านถ้อยคำเหล่านั้นก็ดันตัวเองขึ้นถึงยอดเขาได้โดยง่าย บรรยากาศสบายๆ ยามเช้าบนอดีตยอดดอยแห่งนี้งดงามน่าประทับใจ หลายคนเลือกจับจ่ายซื้อของจากแพเพื่อใส่บาตรยามเช้า นั่งฟังพระให้พร อิ่มบุญกันถ้วนหน้า
ก่อนเดินลัดเลาะผ่านสถาปัตยกรรมอันงดงามไปยังรอยพระพุทธบาท กราบไหว้สักการะเสร็จ เดินอ้อมไปด้านหลัง มีพระเจดีย์ที่จำลองมาจากอินเดีย ไกด์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวไปยืนบนวงกลมเล็กๆ หน้าเจดีย์พร้อมหลับตาเก็บความรู้สึกและสัมผัสแห่งบุญ ฉันไม่รู้ว่าสัมผัสแห่งบุญเป็นยังไง แต่ตอนที่ยืนหลับตาหน้าเจดีย์นั้น รู้สึกสงบนิ่ง เย็นกาย สบายใจ อย่างบอกไม่ถูก
-4-
ถึงเวลาขึ้นฝั่งไปให้ทันประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุเดือนเก้า วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญหาชมยากของที่นี่ จัดขึ้นเพียงปีละครั้ง ผู้คนมากมายยิ่งกว่าวันไหลประเพณีสงกรานต์ที่ตรอกข้าวสาร ฉันหาทางแทรกตัวฝ่าฝูงชนเข้าไปให้ถึงตัวพระธาตุทันพิธีแห่ที่กำลังเริ่มขึ้น จับจูงผ้าจนถึงฐานเจดีย์กำลังจะก้าวขาขึ้นไป “ไม่ได้ครับ แม่หญิงห้ามขึ้น ขึ้นได้เฉพาะป้อจาย” เจ้าหน้าที่ตะโกนเสียงตื่นข้ามมา ฉันยิ้มหน้าเจื่อนพร้อมกล่าวขอโทษจากความไม่รู้จริงๆ ก่อนปล่อยมือจากผ้าอย่างนึกเสียดายโอกาสที่จะได้เข้าใกล้องค์พระธาตุมากกว่านี้
พระบรมธาตุ เป็นสถานที่สืบสานประเพณีนี้มาแต่โบราณ ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก การบูชาพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ผ้าห่มธาตุ ซึ่งประกอบด้วยขบวนกลองยาว ขบวนต้นเงินต้นทอง ขบวนตุงไชย ธงทิวและเครื่องพุทธบูชา จากบริเวณหนองเล่ม เคลื่อนผ่านสะพานบุญ ซึ่งเป็นสะพานไม้ยาวประมาณ 200 เมตร ขึ้นไปทำพิธีห่มพระบรมธาตุ จากนั้นจะเป็นพิธีการบวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถี เจดีย์ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสร้างไว้ในคราวทำสงครามยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด
ลุงสมนึก เรืองศรี ปราชญ์ชาวบ้าน เล่าให้ฟังว่า วัดพระบรมธาตุ (พระธาตุบ้านตาก) เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายครั้งแล้ว ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักที่สวยงาม หน้าบันและจั่วเป็นไม้ หน้าต่างแกะสลักเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันไดเป็นนาค วิหารของวัดเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง 2 ชั้น มีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้ภายในวิหารมีอากาศเย็น นอกจากนั้นภายในวิหารยังมีสิ่งน่าชมหลายจุด โดยเฉพาะการกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อทันใจที่อยู่ภายในวิหารด้านหลังพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองตาก
จากนั้นเดินทางต่อไปยัง วัดไทยวัฒนาราม หรือ วัดไทยใหญ่ ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานของชาวไทยใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 โดยนายมุ้ง เป็นชาวรัฐฉานที่อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สอด และเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ตาว
ผ่านเข้าประตูวัดมา ภาพแรกที่เห็นเป็นศาลาการเปรียญ สถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่ หลังคาซ้อนลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ ดูงดงามตามแบบศิลปะของพม่า ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาวทรงเครื่องศิลปะแบบพม่า หันมาฝั่งขวา ประดิษฐานพระพุทธมหามุณี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุณีอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมัณฑะเลย์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากศรัทธาเลื่อมใสกันมาก วิหารนี้หลังคาเป็นทรงสี่เหลี่ยมหลายชั้น ประดับลวดลาย ตามศิลปะพม่า ฐานของหลังคาประดับด้วยเจดีย์องค์เล็กๆ โดยรอบ
ภายในวัดยังมีวิหารพระมหามุนี เจดีย์โกนวิน หรือเจดีย์มอญทรงเครื่องสีทอง ล้อมรอบด้วยกำแพงสีขาว พื้นหินอ่อนสะท้อนเงาวิหารดูโดดเด่น ต่อด้วยพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวจัดแสดงความเป็นมาของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่เริ่มต้น และสุดท้ายคือพระพุทธไสยาสน์ พระนอนองค์ใหญ่ความยาวตลอดทั้งองค์พระนอนประมาณ 40 เมตร ประดิษฐานอยู่ในวิหารเปิดโล่งด้านหลังของวัด
เรียกว่าทริปนี้อิ่มบุญไปตามๆ กัน ก่อนกลับเราเดินทางเข้าเมืองตากอีกครั้ง เพื่อไปกราบสักการะ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บนถนนจรดวิถีถ่อง ขอให้เดินทางอย่างปลอดภัย ส่วนความประทับใจนั้น...แน่นอนว่าเป็นเมืองตากให้กลับมาเป็นของที่ระลึก
การเดินทาง
การเดินทางไปจังหวัดตาก จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 31 ถนนสายเอเซีย ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านกำแพงเพชร จนมาถึงปลายทางจังหวัดตาก รวมระยะทาง 416 กิโลเมตร
ลองพูดขนาดนี้ต้องมีอะไรดีแน่นอน..ไปลุยกัน
ร่วม 6 ชั่วโมงบนรถตู้แอร์เย็นฉ่ำ พร้อมบรรยากาศฝนพรำตลอดการเดินทาง ในที่สุดฉันก็มาถึง ตาก เมืองภาคเหนือตอนล่างที่มีชื่อเดิมว่า “เมืองระแหง”
ในอดีตระแหงเป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหาราชถึง 4 พระองค์ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งขวาของแม่น้ำปิงมายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลบ้านระแหงจนกระทั่งทุกวันนี้
เอกราช ทัศสุภาพ เจ้าหน้าที่การตลาด ททท.จังหวัดตาก รับหน้าที่เป็นไกด์พิเศษในการเดินทางในครั้งนี้ เป้าหมายแรกไปเยี่ยมชมการทำหัตถกรรมพื้นบ้านงานจักสานใบลาน บ้านปากร้องห้วยจี้ หมู่ 2 ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก ทันทีที่ไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุนั่งรวมกันทำกิจกรรมด้วยสีหน้าเบิกบาน เสียงหัวเราะเฮฮา ทำเอาหลายคนหัวเราะตามไปด้วย
ป้าทองคำ ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ใบลาน เล่าว่าที่หมู่บ้านมีภูมิปัญญาดั้งเดิมหลายอย่างที่อยากอนุรักษ์ไว้ อย่างการสานหมวกใบลานหลากหลายรูปแบบทั้งของผู้ชาย ผู้หญิง มีการย่อส่วนทำเป็นเครื่องประดับผมหรือการสานตะกร้าจากสายป่านศรนารายณ์ 19 ลวดลายที่เป็นงานฝีมือขั้นประณีตที่ต้องมีความอดทนสูงในการเรียนรู้และจดจำ
เล่าไปป้าก็สอนมือใหม่ไปพลาง งานนี้ไม่ยากแต่ต้องใช้ความจำและอดทนมากจริงๆ เพราะกว่าจะได้ออกมาแต่ละลวยลายบนตะกร้า แต่ละรูปทรงแต่ละใบ เล่นเอาฉันเหงื่อตกและมือได้แผลไปหลายแผลทีเดียว
-1-
ร่ำลาป้าทองคำ พร้อมกับซื้อหมวกกลับไปเป็นที่ระลึก รถคันเดิมพาเรามุ่งหน้าสู่ทางเข้าวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน ตำบลตากออก ที่ซึ่งได้ชื่อว่ามีฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน "ใหญ่" และ "ยาว" ที่สุดในโลก
ภาพแรกที่เห็นทำเอาฉันตะลึงกับสิ่งที่นอนอยู่ใต้โครงหลังคาขนาดใหญ่และยาวประมาณ 2 สนามฟุตบอล ต้นไม้หินยาวกว่า 72 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร เป็นฟอสซิลไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการค้นพบในทวีปเอเชียและยาวที่สุดในโลก
ไม้กลายเป็นหิน จัดเป็นฟอสซิลชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากซากต้นไม้ที่ถูกแทนที่ด้วยน้ำบาดาล ซึ่งมีสารละลายของซิลิกาและเกิดการตกตะกอนจนกลายสภาพเป็นหินอย่างช้าๆ คือแทนที่แบบโมเลกุล จนกระทั่งกลายเป็นหินทั้งหมด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างเดิม คาดว่าจะเกิดสะสมตัวมากว่า 2 ล้านปี ปัจจุบันขุดพบและจัดแสดงให้ชม 7 ต้น และยังมีการสำรวจเพิ่มรอการขุดอีกกว่า 40 ต้น
ฉันเห็นความใหญ่ของต้นไม้หินต้นนี้แล้ว นึกอยากข้ามกำแพงรั้วเข้าไปสัมผัสเนื้อไม้นั่นว่าใช่หินจริงหรือไม่ แต่เหมือนเจ้าหน้าที่จะอ่านใจออก เรียกทุกคนมาดูเศษไม้เล็กๆ ที่วางเรียงรายด้านหน้าทางเข้า หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเบา ลองยกดูจึงรู้ว่า “หินจริง หนักจริง” เจ้าหน้าที่แอบหยอดมุกเด็ดส่งท้ายว่า “ดูได้ตามสบาย แต่ห้ามเก็บออกไป” แหม...งานหนักขนาดนี้ไม่ว่าใครก็คงไม่ขอหิ้วกลับหรอกค่ะ
-2-
งาน "หนัก" ผ่านไป ได้เวลามุ่งหน้าสู่ตัวเมืองตากเพื่อไปยัง เขื่อนภูมิพล เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในอันดับ 8 ของโลก จากนั้นจึงเก็บข้าวของแบกเป้เข้าห้องพักบนแพขนาดใหญ่สองลำ ล่องน้ำดูธรรมชาติตามเกาะต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
การล่องแพและเรือในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เป็นการล่องแพโดยใช้เรือลากจูงเพื่อสัมผัสกับธรรมชาติและภูมิประเทศป่าเขา ผ่านแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น พระพุทธบาทเขาหนาม เกาะวาเลนไทน์ เขาพระพุทธบาท ฯลฯ
แดดร่มสายลมเอื่อยๆ พัดเย็น ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าจากการเดินทางได้มาก ฉันสูดอากาศสดชื่นเข้าเต็มปอด เหมือนอยากตุนไว้ใช้เมื่อกลับกรุงเทพฯ ประมาณ 15 นาทีจากฝั่งเราก็เดินทางมาถึงเป้าหมายแรกในเวลาพระอาทิตย์เริ่มใกล้ผืนน้ำมากขึ้น นั่นคือ หมู่บ้านดงสเรียม ที่ขึ้นชื่อเรื่องการถนอมอาหารประเภทปลามากที่สุดในย่านนี้ ชมวิธีการถนอมอาหาร การทำปลาย่าง และน้ำพริกปลาย่าง พร้อมชิมกันอย่างเอร็ดอร่อย
ที่นี่เป็นหมู่บ้านเล็กๆ รายล้อมด้วยทิวทัศน์สวยงาม เมื่อก่อนชาวบ้านเคยทำการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก แต่หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจึงได้เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงสัตว์และหาปลาขาย-ซื้อข้าวกิน จนถึงทุกวันนี้
การถนอมปลาที่นี่ทำแบบง่ายๆ ตามวิถีภูมิปัญญาพื้นบ้าน ใช้วัสดุจำพวกไม้ฟืนแห้งจากธรรมชาติมาเป็นเชื้อเพลิงในการย่างปลา ก่อนเข้าสู่กระบวนการอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งการถนอมปลาแบบนี้สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน โดยไม่ง้อตู้เย็น
เดินช้อป ชม ชิมสินค้าพื้นบ้านเสร็จก็กลับขึ้นแพอีกครั้ง ตอนนี้พระอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า แสงทองหยอกเย้าผืนน้ำและทุ่งดอกหญ้าดูระยิบระยับสวยงามน่าหลงใหล จนคณะนักท่องเที่ยวเปลี่ยนใจขอพักผ่อนบนแพที่ใกล้ๆ เกาะแห่งนี้แทน
-3-
แรงกระเพื่อมของสายน้ำจากการลากแพปลุกฉันตื่นในเช้านี้ พร้อมเสียงประกาศแว่วมาจากนอกห้องนอนว่า เรากำลังเดินทางต่อไปที่ วัดพระพุทธบาทเขาหนาม ฉันรีบลุกขึ้นจัดการภารกิจส่วนตัวเสร็จแล้วไปรวมตัวกันคนอื่นหน้าแพ ทันเห็นแสงแรกของวัน
วัดพระพุทธบาทเขาหนาม อยู่กลางทะเลสาบแม่ปิงห่างจากสันเขื่อนประมาณ 5 ก.ม.วัดแห่งนี้ในอดีตไม่ได้เป็นวัด มีแต่รอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่บนยอดเขาเท่านั้น ผู้คนทั่วไปไม่สามารถปีนขึ้นมาสักการะได้ เพราะอยู่สูงจากแผ่นดินปกติมาก ส่วนที่ได้ชื่อว่าเขาหนามเพราะว่ามีลักษณะแหลมเหมือนหนามและสูงเทียมดอย จึงได้ชื่อว่า "ดอยเขาหนาม" ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนภูมิพล น้ำท่วมแผ่นดินหมดรวมทั้งตัวดอยกินเนื้อที่ประมาณ 80% ของความสูง เหลือเพียง 20% ที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำ จากดอยเขาหนามในอดีต เหลือเพียงเขาหนามในปัจจุบัน
ทางเดินที่ลาดชันแฝงไว้ด้วยถ้อยคำขำขำ เป็นกำลังใจให้นักท่องเที่ยวได้บรรเทาความเหนื่อยระหว่างเดินขึ้นไป “อีกนี้ดด..เดียว” “ที่แปะก้น” “เนินกระชากเข่า” “คุณเก่งมาก” และอีกหลายถ้อยคำ ซึ่งได้ผลชะงัดหลายคนที่ห่อเหี่ยวตั้งแต่เงยหน้ามองขั้นบันได พอก้มลงอ่านถ้อยคำเหล่านั้นก็ดันตัวเองขึ้นถึงยอดเขาได้โดยง่าย บรรยากาศสบายๆ ยามเช้าบนอดีตยอดดอยแห่งนี้งดงามน่าประทับใจ หลายคนเลือกจับจ่ายซื้อของจากแพเพื่อใส่บาตรยามเช้า นั่งฟังพระให้พร อิ่มบุญกันถ้วนหน้า
ก่อนเดินลัดเลาะผ่านสถาปัตยกรรมอันงดงามไปยังรอยพระพุทธบาท กราบไหว้สักการะเสร็จ เดินอ้อมไปด้านหลัง มีพระเจดีย์ที่จำลองมาจากอินเดีย ไกด์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวไปยืนบนวงกลมเล็กๆ หน้าเจดีย์พร้อมหลับตาเก็บความรู้สึกและสัมผัสแห่งบุญ ฉันไม่รู้ว่าสัมผัสแห่งบุญเป็นยังไง แต่ตอนที่ยืนหลับตาหน้าเจดีย์นั้น รู้สึกสงบนิ่ง เย็นกาย สบายใจ อย่างบอกไม่ถูก
-4-
ถึงเวลาขึ้นฝั่งไปให้ทันประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุเดือนเก้า วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญหาชมยากของที่นี่ จัดขึ้นเพียงปีละครั้ง ผู้คนมากมายยิ่งกว่าวันไหลประเพณีสงกรานต์ที่ตรอกข้าวสาร ฉันหาทางแทรกตัวฝ่าฝูงชนเข้าไปให้ถึงตัวพระธาตุทันพิธีแห่ที่กำลังเริ่มขึ้น จับจูงผ้าจนถึงฐานเจดีย์กำลังจะก้าวขาขึ้นไป “ไม่ได้ครับ แม่หญิงห้ามขึ้น ขึ้นได้เฉพาะป้อจาย” เจ้าหน้าที่ตะโกนเสียงตื่นข้ามมา ฉันยิ้มหน้าเจื่อนพร้อมกล่าวขอโทษจากความไม่รู้จริงๆ ก่อนปล่อยมือจากผ้าอย่างนึกเสียดายโอกาสที่จะได้เข้าใกล้องค์พระธาตุมากกว่านี้
พระบรมธาตุ เป็นสถานที่สืบสานประเพณีนี้มาแต่โบราณ ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก การบูชาพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ผ้าห่มธาตุ ซึ่งประกอบด้วยขบวนกลองยาว ขบวนต้นเงินต้นทอง ขบวนตุงไชย ธงทิวและเครื่องพุทธบูชา จากบริเวณหนองเล่ม เคลื่อนผ่านสะพานบุญ ซึ่งเป็นสะพานไม้ยาวประมาณ 200 เมตร ขึ้นไปทำพิธีห่มพระบรมธาตุ จากนั้นจะเป็นพิธีการบวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถี เจดีย์ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสร้างไว้ในคราวทำสงครามยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด
ลุงสมนึก เรืองศรี ปราชญ์ชาวบ้าน เล่าให้ฟังว่า วัดพระบรมธาตุ (พระธาตุบ้านตาก) เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายครั้งแล้ว ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักที่สวยงาม หน้าบันและจั่วเป็นไม้ หน้าต่างแกะสลักเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันไดเป็นนาค วิหารของวัดเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง 2 ชั้น มีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้ภายในวิหารมีอากาศเย็น นอกจากนั้นภายในวิหารยังมีสิ่งน่าชมหลายจุด โดยเฉพาะการกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อทันใจที่อยู่ภายในวิหารด้านหลังพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองตาก
จากนั้นเดินทางต่อไปยัง วัดไทยวัฒนาราม หรือ วัดไทยใหญ่ ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานของชาวไทยใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 โดยนายมุ้ง เป็นชาวรัฐฉานที่อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สอด และเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ตาว
ผ่านเข้าประตูวัดมา ภาพแรกที่เห็นเป็นศาลาการเปรียญ สถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่ หลังคาซ้อนลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ ดูงดงามตามแบบศิลปะของพม่า ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาวทรงเครื่องศิลปะแบบพม่า หันมาฝั่งขวา ประดิษฐานพระพุทธมหามุณี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุณีอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมัณฑะเลย์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากศรัทธาเลื่อมใสกันมาก วิหารนี้หลังคาเป็นทรงสี่เหลี่ยมหลายชั้น ประดับลวดลาย ตามศิลปะพม่า ฐานของหลังคาประดับด้วยเจดีย์องค์เล็กๆ โดยรอบ
ภายในวัดยังมีวิหารพระมหามุนี เจดีย์โกนวิน หรือเจดีย์มอญทรงเครื่องสีทอง ล้อมรอบด้วยกำแพงสีขาว พื้นหินอ่อนสะท้อนเงาวิหารดูโดดเด่น ต่อด้วยพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวจัดแสดงความเป็นมาของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่เริ่มต้น และสุดท้ายคือพระพุทธไสยาสน์ พระนอนองค์ใหญ่ความยาวตลอดทั้งองค์พระนอนประมาณ 40 เมตร ประดิษฐานอยู่ในวิหารเปิดโล่งด้านหลังของวัด
เรียกว่าทริปนี้อิ่มบุญไปตามๆ กัน ก่อนกลับเราเดินทางเข้าเมืองตากอีกครั้ง เพื่อไปกราบสักการะ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บนถนนจรดวิถีถ่อง ขอให้เดินทางอย่างปลอดภัย ส่วนความประทับใจนั้น...แน่นอนว่าเป็นเมืองตากให้กลับมาเป็นของที่ระลึก
การเดินทาง
การเดินทางไปจังหวัดตาก จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 31 ถนนสายเอเซีย ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านกำแพงเพชร จนมาถึงปลายทางจังหวัดตาก รวมระยะทาง 416 กิโลเมตร
สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน