สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภราดร-สมเจตน์ โต้เดือดใครล้มการปกครอง?

ภราดร-สมเจตน์"โต้เดือดใครล้มการปกครอง?

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย....ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

ภราดร / พล.อ.สมเจตน์

หมายเหตุ : เนื้อหาการซักถามและตอบโต้กันระหว่าง นายภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา ฐานะผู้ถูกร้องที่ 6 กับ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สว.สรรหา ในฐานะพยานผู้ร้อง เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ต่อหน้าองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68ว่าการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 เป็นการล้มลางการปกครองหรือไม่

************************

ภราดร : พล.อ.สมเจตน์ทราบหรือไม่ว่าในพ.ศ.2491และ 2539 ได้เคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ2490 และ 2534

พล.อ.สมเจตน์ : ทราบครับ

ภราดร : เมื่อท่านทราบหมายความว่าทราบด้วยว่าขณะนั้นมีการตั้งส.ส.ร.(สภาร่างรัฐธรรมนูญ)เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ

พล.อ.สมเจตน์ : ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมที่แตกต่างกันไม่จำเป็นว่าสถานการณ์ขณะหนึ่งทำได้และสถานการณ์อีกขณะหนึ่งจะทำได้ ไม่จำเป็น

ภราดร : ทราบหรือไม่ว่าปี 2539 ได้มีการรณรงค์ธงเขียวและธงแดงมีการแตกทางความคิดของสังคมขณะนั้นมีบางส่วนไม่เห็นด้วยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534

พล.อ.สมเจตน์ : รัฐธรรมนูญ 2534 ทีมีการแก้ไขนั้นไม่มีเรื่องว่าด้วยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และต้องดูบริบทของสังคมที่มันแตกแยกกันอย่างสิ้นเชิง บริบทของสังคมที่ไม่เหมือนกันขณะนั้นสังคมมีความหวังว่าต้องการปลดจากเผด็จ การทหารเพื่อให้นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง ฝ่ายทหารที่เป็นผู้ถืออำนาจในขณะนั้นมิได้คัดค้านหรือโต้แย้งใดๆถึงแม้ว่าจะ มีการดำเนินการไปก็มีความหวังว่าจะได้เห็นการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตยที่ดี ซึ่งก็สมหวังได้ทั้งสิทธิเสรีภาพแต่ขณะนั้นมีกรอบมีการจัดตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาชุดหนึ่งวางกรอบของรัฐธรรมนูญ 2540 ว่าจะมีกรอบอย่างไร มีทิศทางอย่างไรเห็นชัดเจนว่าเมื่อร่างออกมาแล้วก็เป็นความหวังของชนชาวไทย ว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ดี แต่สังคมขณะนี้มีความไม่มั่นใจเกิดขึ้น

ภราดร : ปี2539 ขณะนั้นก็มีความแตกแยกทางสังคมในเรื่องรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน บริบททางสังคมจึงไม่มีความแตกต่างกันกับ2550

พล.อ.สมเจตน์ : การใช้ธงเขียวขณะนั้นเป็นการรณรงค์ให้รัฐสภารับรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขไม่รณรงค์ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ภราดร : เมื่อท่านทราบว่าในประวัติศาสตร์ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้งส.ส.ร. แล้ว 2 ครั้ง ท่านทราบหรือไม่ว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 7บัญญัติไว้ว่าเมื่อไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมิได้บังคับแก่กรณีใดให้ วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พล.อ.สมเจตน์ : แล้วเกี่ยวอะไรกับคำถามท่าน...ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม

ภราดร : เมื่อปี 2549 ท่านร่วมอยู่ในคณะปฎิวัติหรือไม่

พล.อ.สมเจตน์ : ไม่ได้ร่วมครับ

ภราดร : ท่านเป็นเลขาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติใช่หรือไม่

พล.อ.สมเจตน์ : ผิดครับ

ภราดร : แล้วท่านดำรงตำแหน่งอะไรในขณะนั้น

พล.อ.สมเจตน์: ท่านยังไม่ทราบเลยท่านมาถามผมแล้ว

ภราดร : ผมถามท่านก็ตามคำถามครับ

พล.อ.สมเจตน์ : ผมเป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติครับ

ภราดร : ก็มีส่วนร่วมกับคณะปฎิวัติในขณะนั้น

พล.อ.สมเจตน์ : ผมไม่ได้ร่วมปฎิวัติครับ

ภราดร : ผมถามท่านว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่

พล.อ.สมเจตน์ : ก็ได้เรียนท่านไปแล้วว่านั่นคือการล้มล้างการปกครองครับและมันก็ไม่ได้แตก ต่างกับวิธีการของท่านที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาแล้วนำไปสู่การล้ม ล้างรัฐธรรมนูญ 2550 มันแตกต่างกันตรงไหนครับ

ภราดร : การกระทำขณะนั้นเป็นการกระทำโดยการฉีกรัฐธรรมนูญ แต่การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งหมดกระทำตามรัฐธรรมนูญ 291 นี่คือความแตกต่างชัดเจน พวกผมกระทำการตามระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนท่านฉีกรัฐธรรมนูญ

พล.อ.สมเจตน์ : แล้วผลการกระทำของท่านมันฉีกรัฐธรรมนูญหรือไม่ครับ

ภราดร : การกระทำของผมเป็นเพียงเพื่อตั้งส.ส.ร.ส่วนส.ส.ร.จะไปการอย่างใดนั้นเหนืออำนาจการตัดสินใจของพวกผม


นัยแอบแฝงหลังฉากแก้รัฐธรรมนูญ

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...นิติพันธุ์ สุขอรุณ

แม้จะเป็นเพียงวันแรกของการไต่สวนคดีข้อกล่าว หาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยศาลรัฐธรรมนูญเปิดบัลลังก์ไต่สวนคำร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68  แต่บรรยากาศในห้องพิจารณาคดีก็ดุเดือดอย่างต่อเนื่องจากการชี้แจงตอบโต้ไป มาระหว่างพยานฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้อง

"พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม" สว.สรรหา ในฐานะพยานฝ่ายผู้ร้องที่ 1 เปิดเผยกับโพสต์ทูเดย์ ภายหลังเข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า การให้ปากคำวันนี้ถือว่าได้พยายามอย่างดีที่สุด ส่วนผลจะเป็นอย่างไรก็พร้อมเคารพ แต่สิ่งที่เอามาสู้คือใจและความจริง เราไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่เบื้องหลัง

ข้อโต้แย้งของฝ่ายผู้ร้องได้ตอบคำถามในข้อกล่าวหาหรือไม่

พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า ผมไม่เห็นว่าเขาโต้แย้งอะไรที่เป็นประเด็น แค่บอกว่าแก้ไขบางมาตรา แต่ผลนั้นนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีผลให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 นั่นหมายความว่า “ล้มล้าง” แล้วอย่างนี้มันจะแก้อย่างไร เหมือนบอกว่า แก้ไขเรื่องซ่อมบ้าน คุณบอกว่ารื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่ คุณยังจะบอกอีกว่า นี่คือการแก้ไข อันนี้เป็นวิธีการพูดแบบตะแบง แม้คุณจะบอกว่ามีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไว้ หรือไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 แต่ก็คือการบอกว่าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การแก้รัฐธรรมนูญคุณต้องบอกให้ได้ว่าแก้แล้วประชาชนได้ประโยชน์อะไร คุณบอกว่ามีกรอบให้ส.ส.ร. ซึ่งบทบาทของส.ส.ร. ถ้าเพิ่มประโยชน์ให้ประชาชนก็เป็นสิ่งที่ดี

เขา อธิบายว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นสังคมมีความขัดแย้งไม่ไว้ใจกัน เมื่อสังคมเป็นอย่างนี้จะเหมาะให้การร่างรัฐธรรมนูญ ที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตกอยู่ในมือของกลุ่มบุคคลที่มีความรู้สึกว่า ตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมถูกกลั่นแกล้ง เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างอำนาจต่างๆที่เขาคิดว่าไปกลั่นแกล้งเขา

ฝ่ายผู้ร้องแย้งว่า การแก้รัฐธรรมนูญถูกกล่าวหาว่าล้มล้างการปกครอง เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง

ผมเห็นคนๆหนึ่งเอาน้ำมันเตรียมจะเผาบ้าน ต้องให้เผาก่อนหรือถึงจะบอกว่าเขาเผา? ผมเห็นวิธีการโดยมุ่งหวังผลที่สามารถคาดคะเนได้ว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจึงต้องป้องกันไว้ก่อน กระบวนการ และ ขบวนการได้มาของส.ส.ร. คุณเห็นชัดเจนว่าในที่สุดเสียงข้างมากของส.ส.ร. จะเป็นอย่างไร

พล.อ.สมเจตน์ อธิบายว่า ส.ส.ร.คนหนึ่งได้รับเงินเดือน 8 เดือนไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่กว่าจะผ่านการเลือกตั้งมาได้ ก็ใช้เงินหาเสียงไม่ต่ำว่า 1 ล้านบาท ก็ต้องหาคนมาลงทุน จึงชัดเจนว่าต้องมีนายทุน และต้องพึ่งเสียงของพรรคการเมือง แล้วระบบของเมืองไทย จะเชื่อได้หรือไม่ ว่าคนที่มีฐานเสียงคุมพื้นที่อยู่ในแต่ละจังหวัด คนอื่นจะมาแข่งชนะได้หรือไม่ สุดท้ายส.ส.ร.ก็ตกเป็นขี้ข้าของพรรคการเมือง ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้จินตนาการขึ้นเอง

“จำนวนของส.ส.ร.จากการสรรหา 22 คน รัฐบาลก็จะเลือกใครก็ได้ที่เข้าข้างเขา ไม่มีรัฐบาลไหนจะเลือกฝ่ายค้านกับตัวเองเข้ามาเป็นส.ส.ร. จากนั้นเมื่อมองที่ฐานเสียงของประเทศ 43 จังหวัดเป็นของพรรคเพื่อไทย แต่คนเสื้อแดงบอกว่ามีถึง 50 จังหวัด เมื่อนำ 43 คน มารวมกับ 22 คน ก็เป็นเสียงข้างมากในส.ส.ร.ทันที จึงกลายเป็นขี้ข้าเขาแล้ว และมันจะมีหรือไม่ที่ขี้ข้าจะทรยศต่อนาย เพราะไอ้พวกนี้เข้ามาก็มุ่งหวังจะได้ผลประโยชน์ทางอื่น พวกนี้จะร้อยจมูกได้ เดินตามเหมือนฝูงควาย ไอ้ส.ส.ร.นี้แหละที่เขาจะจมูกลากไปทางไหนก็ได้” พล.อ.สมเจตน์ กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น

ชื่อ “พล.อ.สมเจตน์” ถูกนำไปโจมตีว่าเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล

ผมไม่กลัวหรอก ผมไม่มีแผลอะไร ถ้ามีแผลไม่กล้าเล่นแบบนี้ เขามีอำนาจรัฐอยู่ในมือ คุณคิดดูว่าใครจะอยากต่อสู่กับอำนาจรัฐ มันไม่มี มีแต่คนอยากเป็นพวกอำนาจรัฐทั้งนั้น เพราะได้ทุกอย่าง มันเหนื่อยที่จะต่อสู่กับอำนาจรัฐ แต่มันต้องสู้ ผมไม่สามารถเอาประเทศชาติไว้ในมือคนเลวได้ ผมจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญได้เห็นว่า มันมีพฤติกรรมแอบแฝง ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมขอใช้คำว่า กล่าวหาว่า แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการสนองตัณหาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี


วรินทร์ยันแก้รัฐธรรมนูญผิดตั้งแต่เริ่ม

จาก โพสต์ทูเดย์

"วรินทร์"ยันแก้รัฐธรรมนูญผิดขั้นตอนตั้งแต่เริ่ม เหตุมีการตั้งสสร.ยกร่างใหม่ โวยไม่มีอะไรรับประกันจะไม่แก้ทั้งฉบับ

เมื่อเวลา 16.30 น. นายวรินทร์ เทียมจรัส อดีตสว.สรรหา ได้ชี้แจงต่อองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต่อประเด็นคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยระบุว่าจากการตรวจสอบพยานหลักฐาน ปรากฏชัดเจนว่า การกระทำในเรื่องดังกล่าว ถือเป็นความผิดที่สำเร็จแล้ว เนื่องจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับ เขียนไว้ชัดเจนว่าจะมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งถือเป็นการยืนยันว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญใหม่แน่นอน

ทั้งนี้ ในมาตรา 291 เขียนชัดเจนว่า การแก้ไขเพิ่มเติมทำได้ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่จะต้องไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงระบบอบการปกครองฯ หรือรูปแบบรัฐใหม่ ซึ่งไม่สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ 2550 แตกต่างจากที่เขียนไว้ชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องมีการตั้งส.ส.ร.ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยมาตรา 7  อีกทั้งรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ปรากฏว่าให้อำนาจสมาชิกรัฐสภาถ่ายโอนนำอาจให้กับบุคคลอื่นแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ เป็นอำนาจเฉพาะตัว

อย่างไรก็ตาม หากถ่ายโอนให้ใครถือว่าเป็นอำนาจที่ไม่ถูกต้อง และการตีความของอัยการสูงสุด (อสส.) ใช้อำนาจก้าวล่วงในกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงไม่เห็นด้วย ส่วนการกระทำดังกล่าวมีกระบวนการล้มล้างการปกครองหรือไม่นั้น จะเห็นได้ว่ามีการกระบวนการต่างๆที่จะก้าวล้วงกระบวนการศาลยุติธรรม ที่อ้างว่ากระบวนการยุติธรรมจะต้องมาจากการเลือกตั้ง ที่สำคัญที่สุดคือการแสดงหลักการและเหตุผลในร่างทั้ง 4 ฉบับ ยืนยันว่าจะมีการตั้งส.ส.ร. ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแน่นอน รวมถึงการแต่งตั้งองค์กรอิสระซึ่งเป็นอำนาจในส่วนพระองค์มาตลอด มีหลักประกันอะไรที่ส.ส.ร.จะไม่ไปแตะ ทั้งที่กระแสข่าวรุมเร้าในทางนี้มาตลอด

“ผมยืนยันว่ากระบวนการถ่ายโอนอำนาจจากรัฐสภามายังส.ส.ร.ไม่สามารถทำได้ อีกทั้ง เจตนารมณ์ของมาตรา 291 ได้ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องมีการกำหนดประเด็นเนื้อหาที่จะแก้ไขไว้อย่างชัดเจนเสียก่อน ซึ่งถือว่าหลักเกณฑ์นี้ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว ผมไม่เชื่อใจประชาชนที่จะเลือกส.ส.ร. เพราะกระบวนการได้มามันไม่สุจริตตามปรัชญาและเจตนารมของกฎหมาย ในทางปฏิบัติผมไม่เชื่อว่าการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ไม่ได้ดูที่คุณสมบัติของตัวบุคคล แต่ดูแค่ว่าเป็นคนของพรรคใด พวกใดเท่านั้น”นายวรินทร์ กล่าว


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ภราดร สมเจตน์ โต้เดือด ใครล้มการปกครอง?

view