จากประชาชาติธุรกิจ
นับถอยหลังสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ช่วงปีนี้จะเห็นภาคสถาบันการเงินไทย ต่างเตรียมแผนงานในการสยายปีกออกไปใน 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งแต่ละแห่งจะวางกลยุทธ์แตกต่างกันไป เช่น เปิดสาขา การหาพันธมิตรร่วม แต่อย่างไรก็ตามในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจไทย กลับมองว่ายังไม่เพียงพอในการรับมือ "การเปิดเสรีการเงิน"
โดย "เกษม พันธ์รัตนมาลา" หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ประเมินว่า ภาคสถาบันการเงินไทยอาจจะมีการเติบโตช้ากว่าภาคธุรกิจอื่น ๆ ในกระแสเออีซี เนื่องจากแต่ละธนาคารพาณิชย์ไทยได้รับบทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
จาก การไปลงทุนหรือกู้เงินในต่างประเทศ และแม้จะผ่านมา 15 ปีแล้ว ธนาคารพาณิชย์ไทยก็ยังคงระมัดระวังความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศและมุ่ง สร้างความเข้มแข็งในการทำธุรกิจภายในประเทศแทน
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์หรือมาเลเซีย ต่างเข้ามาขยายสาขาในประเทศไทยและได้รับใบอนุญาตให้เป็นสาขาท้องถิ่น เพื่อรับมือกับการแข่งขันในอนาคต
ดังนั้นหากธนาคารไทยไม่ปรับ กลยุทธ์ในการไปตั้งสาขาท้องถิ่นในอาเซียนมากกว่าการหาพันธมิตรร่วม ก็อาจจะเสียเปรียบได้ เพราะธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาก็มีความพร้อมด้านเงินทุนในการให้บริการ ลูกค้าธุรกิจเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดี ยอมรับว่ากระบวนการขยายธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจจะต้องใช้เวลา เนื่องจากฐานเงินทุนของธนาคารพาณิชย์ไทยยังน้อย โดยกลยุทธ์ที่สามารถทำได้มี 2 รูปแบบคือ การเปิดสาขาเองแล้วค่อย ๆ เติบโต ซึ่งจะใช้เวลานานกับการซื้อธนาคารที่ฐานะการเงินไม่ดีในประเทศนั้น ๆ และยังขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส เพราะหากธนาคารใน
ประเทศนั้น ๆ ต้องการนักลงทุนใหม่ การเข้าซื้อกิจการก็จะง่ายขึ้น แต่ก็อาจจะมีอุปสรรคที่รัฐบาลของประเทศนั้นต้องการอุ้มธนาคารแทน มากกว่าขายกิจการให้ชาวต่างชาติ
"การขยายสาขาไปต่างประเทศมีได้ 2 แบบคือ เปิดสาขาเอง หรือซื้อกิจการเลย แต่ตรงนี้ก็ใช้ทุนเยอะ ธนาคารไทยก็อาจจะไม่ได้พร้อม ส่วนธนาคารที่ไม่ค่อยแข็งแรงในแต่ละประเทศ ตอนนี้น่าจะมีอยู่ในฟิลิปปินส์หรือกัมพูชา ที่ศักยภาพของธนาคารไทยสามารถบริหารธนาคารเหล่านั้นให้มีฐานะแข็งแรงได้ ขณะที่ธนาคารในสิงคโปร์หรือมาเลเซียน่าจะมีความ
แข็งแรงอยู่แล้ว"
ด้าน นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า การเปิดเสรีภาคการเงินในเออีซีมีหลากหลายประเด็นที่รัฐบาลและธนาคารกลางของ แต่ละประเทศต้องหารือร่วมกัน โดยใช้บทเรียนจากการรวมเป็นสหภาพยุโรป และปัญหาภาคสถาบันการเงินมาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากแต่ละประเทศ
ก็จะ พยายามไปขยายสาขาในกลุ่มประเทศที่มีการรวมตัว แต่พอมีปัญหาจากสถาบันการเงิน ประเทศเจ้าของธนาคารกลับไม่มีความสามารถมากพอในการรองรับปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่ประเทศที่ธนาคารไปเปิดสาขาก็ไม่มีกำลังในการรับภาระด้วยเช่นเดียวกัน
นอก จากนี้ การหารือร่วมกันระหว่างธนาคารกลางของ 10 ประเทศอาเซียน และกำหนดกฎเกณฑ์การกำกับดูแลการเปิดเสรีภาคการเงินร่วมกัน เพื่อรับมือกรอบเวลาในปี 2563 ที่จะมีการเปิดเสรีให้
ภาคธุรกิจสามารถเปิดให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้ถึง 70%
เนื่อง จากการกำหนดนโยบายสถาบันการเงินของธนาคารแต่ละประเทศ ก็มีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันใน 10 ประเทศ แต่ในปัจจุบันแต่ละรัฐบาลก็ยังไม่ได้หารือกันในประเด็นดังกล่าวเลย
"การเปิดเสรีภาคการเงินมีประเด็นเยอะมาก อย่างยุโรปพอเป็นอียูธนาคารแห่ไปเปิดต่างประเทศกัน แต่ไม่มีใครดูแลได้ ดังนั้นเออีซีก็ต้องกำหนดให้ชัดว่าใครรับภาระ ในที่สุดรัฐบาลและธนาคารกลางก็ต้องมาคุยกันว่าจะกำหนดหน่วยงานกลางเข้ามา ดูแลหรือไม่"
โดยภาพรวมฐานะการเงินธนาคารพาณิชย์ของไทยแต่ละแห่ง ล้วนมีความแข็งแกร่งไม่น้อย แต่การจะตัดสินใจออกไปลงทุนนอกประเทศนั้นเป็นเรื่องใหญ่ และต้องชั่งน้ำหนักกับโอกาสทางธุรกิจจากการขยายสาขาใน 10 ประเทศอาเซียน เพื่อรับมือเออีซี ดังนั้นแต่ละแบงก์จึงต้องรอบคอบในการวางแผนที่จะรุกออกไปด้วยกลยุทธ์ที่แตก ต่างกันไป และที่สำคัญต้องประเมินความเสี่ยงเพราะแต่ละประเทศต่างมี
กฎเกณฑ์การกำกับดูแลจากธนาคารกลางที่แตกต่างกัน
ดังนั้นมีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะเห็นการกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการเปิดเสรีภาคการเงินที่ชัดเจน
สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน