สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หยุด! ไวรัสตับอักเสบบี วัยทำงาน เสี่ยงติดเชื้อสูง

จากประชาชาติธุรกิจ

รายงานพิเศษ

สมาคม โรคตับแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิโรคตับ และวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ร่วมรณรงค์วันตับอักเสบโลก 2012 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการ ′หยุดไวรัสตับอักเสบบี ต้านภัยมะเร็งตับ...เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา′ ชวนคนไทยตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและรีบรักษาก่อนลุกลามสู่มะเร็งตับ


รศ.นพ.ธี ระ พิรัชวิสุทธิ์ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย บอกว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 28 ก.ค. เป็น ′วันตับอักเสบโลก′ ซึ่งโรคไวรัสตับอักเสบยังคุกคามคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไวรัสตับอักเสบบี มีผู้ติดเชื้อกว่า 3.5 ล้านคน กว่าร้อยละ 80 ยังมองข้ามอันตรายของโรค จนนำไปสู่โรคร้ายต่างๆ อาทิ ตับแข็ง ตับวาย มะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งมะเร็งตับเป็นสาเหตุการตายสูงอันดับ 1 ของมะเร็งที่พบในคนไทย และสาเหตุของมะเร็งตับกว่าร้อยละ 70 มาจากไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง เพราะส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ บางรายไม่รู้ตัวเองว่าติดเชื้อด้วยซ้ำไป โดยพบการติดเชื้อสูงในหนุ่มสาววัยทำงานอายุ 30-40 ปี โดยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปพบการติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 8-12


ผู้ ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจึงควรปรึกษาแพทย์ ดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีสารพิษจากเชื้อรา รวมถึงยาบางชนิดที่มีผลต่อตับ โดยเจาะเลือดตรวจอย่างน้อยทุก 3-6 เดือน การตรวจหาสารที่บ่งชี้มะเร็งตับ และการตรวจอัลตราซาวด์ตับ แนะนำให้ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ





 

 

 

ทั้งนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบีติดเชื้อได้ง่ายกว่าโรคเอดส์กว่า 100 เท่า สาเหตุสำคัญติดต่อจากแม่สู่ลูก ทางเพศสัมพันธ์ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ของมีคม ของใช้ปนเปื้อนเลือด ใช้เครื่องมือที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อสักผิวหนัง

ปัจจุบัน การรักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมี 2 แบบ แบบแรกเป็นการรักษาโดยใช้ยาอินเทอเฟอรอนเพื่อช่วยกระตุ้นระบบภูมิของผู้ป่วย ให้สู้กับไวรัสตับอักเสบบี และแบบที่สองเป็นการใช้ยากินต้านเชื้อไวรัส ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสและเป็นการลดปริมาณไวรัสในเลือด ลดการเกิดมะเร็งตับ นอกจากนี้พบว่าการรักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังสามารถทำให้ผู้ป่วยที่เป็น ตับแข็งแล้วหายจากตับแข็งได้

′อยากเชิญชวนให้ไปตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่เกิดก่อนปี 2535 รวมถึงผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว ก็ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษา หรือเฝ้าระวังก่อนจะลุกลามไปสู่โรคตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับในที่สุด′


ที่มา : นสพ.ข่าวสด


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ไวรัสตับอักเสบบี วัยทำงาน เสี่ยงติดเชื้อสูง

view