สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มองต่างมุม ขาดทุนแบงก์ชาติ เมื่อ หน้าที่-ต้นทุน เดินสวนทาง

จากประชาชาติธุรกิจ

หลังจากประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทุนสำรองระหว่างประเทศกลับมาอยู่ในความสนใจ อีกครั้ง โดยเฉพาะประเด็นที่ฮอตที่สุดก็ต้องเป็นเรื่องการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) อันเป็นผลโดยตรงจากการด้อยค่าลงของทุนสำรอง ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างปัญหาต่อหน้าที่ของธนาคารกลางของประเทศ หรือไม่ ซึ่งตอนนี้ก็ยังคงมีความเห็นที่ต่างกันของคน ธปท.อยู่

"ประสาร" ย้ำ ธ.กลางไม่หากำไร

รายงาน ทางการเงินของ ธปท. ณ สิ้นไตรมาส 2/55 ระบุว่า ธปท.มีผลขาดทุนสะสม 3.33 แสนล้านบาท เทียบกับ 2.03 แสนล้านบาทในไตรมาสแรกซึ่งเป็นระดับเดียวกับ ณ สิ้นปี 2554 ซึ่ง "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ผู้ว่าการ ธปท. ได้อธิบายในประเด็นนี้ระหว่างการชี้แจงต่อกรรมาธิการการเงินและการคลัง วุฒิสภาว่า สาเหตุการขาดทุนของ ธปท. ก็เป็นที่เปิดเผยว่ามาจากการที่เงินสกุลหลัก 4 สกุล ได้แก่ ดอลลาร์ ยูโร เยน และฟรังก์สวิส ปรับตัวด้อยค่าลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศและการทำนโยบายที่ผ่อน คลายของประเทศต่าง ๆ

ในขณะเดียวกัน ธปท.ก็ต้องเข้ามาดูแลเสถียรภาพค่าเงินและต้องออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพ คล่องเป็นเงินบาท ทั้งที่ผลตอบแทนจากการไปลงทุนในต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ขาดทุนอัตราดอกเบี้ยด้วยอีกชั้นหนึ่ง แต่หน้าที่ดังกล่าวก็เป็นภารกิจของ ธปท. ที่ต้องดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาก็สามารถรักษาการเติบโตได้ดีทั้งจีดีพีและการส่งออก

"ธนาคาร ชาติก็เหมือนหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทุนติดลบได้ แต่ถ้ายังมีความน่าเชื่อถือก็ทำงานได้ ตอนนี้แบงก์ชาติออกพันธบัตรก็ยังมีคนเชื่อเข้ามาซื้อ และธนาคารกลางหลายประเทศก็มีทุนติดลบ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสากลว่าธนาคารกลางทำงานไม่ได้มุ่งกำไรสูงสุด แต่สำหรับเราก็ยังพอมีกำไรจากทุนสำรองเงินตราพอสมควร ดังนั้นระยะสั้นจึงไม่มีอะไรน่าห่วง แต่ก็ต้องคิดอ่านว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไรต้องเตรียมพร้อมไว้เสมอ"

อย่าง ไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้ละเลยผลขาดทุนที่ออกมา แต่พยายามหามาตรการทุเลาปัญหาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ เช่น การพยายามสนับสนุนให้คนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศให้มีการไหลออกของเงินบา ลานซ์กับเงินที่ไหลเข้า

"โกร่ง" ชี้ขาดทุนกระตุ้นเงินเฟ้อ

อย่าง ไรก็ตาม ในความเห็นของ "วีรพงษ์ รามางกูร" ประธานคณะกรรมการ ธปท. ยังคงพยายามชี้ให้เห็นผลข้างเคียงจากการขาดทุนของ ธปท. โดยนายวีรพงษ์ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ไว้ในคอลัมน์คนเดินตรอก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27-29 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ผลขาดทุนของ ธปท.ถือเป็นเงินที่สร้างขึ้นมาในระบบเหมือนการพิมพ์ธนบัตรขึ้นมา ซึ่งการเพิ่มปริมาณเงินเช่นนี้มีอันตราย ถ้าถึงจุดหนึ่งซึ่งก็ไม่ทราบว่าเมื่อใด จะเป็นตัวทำให้เกิดเงินเฟ้อเพราะปริมาณเงิน แต่ตอนนี้ยังไม่เป็นไร เพราะ ธปท.มีทุนสำรองหนุนหลังอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าเมื่อใดดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมาก ๆ และเรื้อรังอย่างที่เราเคยเป็น เงินก็จะไหลออก เป็นการซ้ำเติมอย่างรุนแรง เมื่อนั้นอันตรายก็จะเกิด ค่าเงินบาทก็จะตกอย่างฮวบฮาบ เงินก็จะเฟ้ออย่างรุนแรง

จี้สร้างความชัดเจนหน้าที่ ธปท.

แม้ จะมีความเห็นที่ไม่ตรงกันของ 2 บิ๊กใน ธปท. ภายใต้ประเด็นผลขาดทุนของทุนสำรองนี้ แต่สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ภายนอก ธปท. มองกลาง ๆ ว่าน่าจะเป็นประเด็นที่หาทางออกได้

"กอบสิทธิ์ ศิลปชัย" ผู้บริหารงานวิจัย สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เห็นด้วยว่า การขาดทุนและทุนติดลบถือเป็นปัญหาของธนาคารกลางทั่วโลกในตอนนี้ เช่นประเทศจีนที่มีทุนสำรองอยู่กว่า 3 ล้านล้านเหรียญ (ทุนสำรองของไทย ณ วันที่ 17 ส.ค. 2555 อยู่ที่ 1.76 แสนล้านเหรียญ) แม้ไม่มีการเปิดเผยผลดำเนินงานแต่ก็น่าจะอนุมานได้ว่าขาดทุนจำนวนมาก ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ที่รวมหนี้ของธนาคารกลางเข้าไปอยู่ในหนี้สาธารณะด้วย ก็ทำให้หนี้ต่อจีดีพีสูงถึง 118% ดังนั้น ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าประเทศนั้น ๆ ต้องการให้ธนาคารกลางทำหน้าที่อะไร

สำหรับกรณีประเทศไทยเปิดประตู เศรษฐกิจสู่ภายนอกสูง เห็นจากสัดส่วนส่งออกรวมกับนำเข้าที่มีมูลค่าสูงถึง 130% ของจีดีพี ซึ่งก็มีฝ่ายที่เรียกร้องให้ ธปท.ดูแลอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งการเข้าไปดูแลดังกล่าวก็ต้องมีต้นทุน หรือดูแลการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจมากไปก็สร้างปัญหาได้ นั่นคือมีต้นทุนสูงหรือเงินเฟ้อ

"จะให้ ธปท.ทำอะไรก็เขียนเป็นกฎหมายออกมาเลยก็ได้ ถ้า ธปท.ไม่ทำตามนั้นก็ถือว่าเป็นความผิด ถ้าให้ช่วยลดความผันผวนของค่าเงินก็ต้องมีต้นทุนเพราะตอนนี้ตลาดมีความไม่ แน่นอนสูง หรือถ้าไม่ให้ขาดทุนก็บอกไปเลยว่าไม่ต้องไปจัดการค่าเงิน แต่ต้นทุนก็จะไปตกที่ผู้ประกอบการเอง แต่ทำอะไรก็ต้องดูความพอประมาณ เพราะประสบการณ์ปี 2540 บอกเราแล้วว่าถ้าทำมือหนักไปก็เสียหาย ดูแลมากไปก็เป็นภาระของ ธปท. ฉะนั้น จะให้ทำอะไรก็ควรให้แนวทางชัดเจน แต่อย่าบอกให้ไปรบโดยไม่มีอาวุธ" นายกอบสิทธิ์กล่าว

เมื่อลองกางความ เห็นจากแต่ละฝ่ายแล้ว คงไม่อาจไปตัดสินว่าใครถูกหรือผิดไปซะทั้งหมด เพียงแค่มองกันคนละมุมบนปัญหาที่เชื่อว่าน่าจะค้นหาทางออกได้ไม่ยาก เพียงแค่ "คนที่ยังเห็นต่าง" นั่งลงคุยกันและวางประโยชน์ของประเทศไทยเป็นเป้าหมายร่วมกัน


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มองต่างมุม ขาดทุนแบงก์ชาติ หน้าที่-ต้นทุน เดินสวนทาง

view