จาก โพสต์ทูเดย์
โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง
ของรัฐบาล ด้วยการกดดันเช้าเย็นให้ ธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำติดดิน เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจให้พองโตมากที่สุด
ที่ผ่านมา กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง แสดงบทบาทชัดด้วยการออกมากดดัน ธปท.อย่างต่อเนื่องว่า ต้องการให้ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเห็นว่าการลดดอกเบี้ยไม่เสียหาย จนถึงขั้นมีวาทกรรมว่าให้ ธปท.ไม่ต้องเถียงให้ทำตามรัฐบาลแล้วทุกอย่างจะดีเอง
ยิ่งเมื่อ ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท. ออกมาเปิดเผยว่า รู้สึกเป็นห่วงเศรษฐกิจไทยในปีหน้า เพราะรัฐบาลกดดันให้ ธปท.ลดดอกเบี้ยต่ำๆ ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจแท้จริง ทำให้เศรษฐกิจอยู่บนเส้นด้ายมีความเสี่ยงจะเกิดขึ้นได้ง่าย
สิ่งที่ ธปท.เป็นห่วง คือ การลดดอกเบี้ยต่ำเกินจริง จะทำให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว ผู้ประกอบการลงทุนไม่ระมัดระวัง มีการนำเงินไปลงทุนเก็งกำไรเกิดปัญหาฟองสบู่เหมือนในอดีต เพราะของถูกๆ กว่าความเป็นจริงใครๆ ก็อยากได้
จะเห็นได้ว่าจุดยืนของฝ่ายการเมืองกับ ธปท. อยู่กันคนละขั้ว
สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดแรงเสียดทานในการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. เพื่อบริหารเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
แรงกดดันของรัฐบาลเริ่มเป็นผล เมื่อการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุด สร้างความประหลาดใจไม่ใช่น้อย เมื่อ กนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายจาก 3% เหลือ 2.75% เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากปัจจัยต่างประเทศ
การลดดอกเบี้ยของ กนง.ครั้งนี้ เกิดปรากฏการณ์กรรมการเสียงแตก โดยคณะกรรมการ 5 คน เห็นว่าให้ลดดอกเบี้ย และอีก 2 คน เห็นว่าให้คงไว้ จะเห็นได้ว่ากรรมการวงแตกเป็นสองทาง
แต่ทว่าการลดดอกเบี้ยของ กนง.ที่ผ่านมาดูยังเป็นที่ถึงอกถึงใจรัฐบาล เมื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่เพิ่งประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้โตได้ 5.5% และปีหน้า 4.55.5% เรียกร้องอีกครั้งให้ ธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายกระตุ้นให้เศรษฐกิจปีหน้าโตได้ตามเป้าหมาย
ดูเหมือนว่าเสียงเรียกร้องของ สศช. สอดรับลูกกับฝ่ายการเมือง ที่ยังเดินหน้าเกียร์ห้าบีบ ธปท.รอบใหม่ โดยเฉพาะการประชุมของ กนง. ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ทำให้การประชุมถูกจับตามองว่าทิศทางดอกเบี้ยของไทยจะเป็นไปเพื่อให้สอดคล้อง กับเศรษฐกิจที่แท้จริง หรือไหลลดลงตามใบสั่งการเมือง
พิเคราะห์จากเหตุผลที่รัฐบาลกดดันให้ ธปท.ลดดอกเบี้ย เพราะรัฐบาลต้องการเดินทางลัดปั่นเศรษฐกิจให้โตมากที่สุด สร้างเป็นผลงานชิ้นโบแดง กลบกระแสถูกโจมตีจากการทำโครงการประชานิยม สร้างหนี้ สร้างความเสียหาย จนเป็นความเสี่ยงกับเศรษฐกิจ
เห็นได้ชัดว่าปี 2555 ทุกหน่วยงานประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะโตได้ 5% แต่ฝ่ายการเมืองกลับตั้งเป้าโตถึง 78% หรือแม้แต่ปีหน้าที่มีการประมาณกันว่าเศรษฐกิจโตได้น้อยกว่าปีนี้ แต่รัฐบาลก็พยายามจะปั๊มให้โตได้มากกว่านี้
การลดดอกเบี้ยลงมาย่อมจะกระตุ้นเศรษฐกิจ เร่งการใช้จ่ายประชาชนและเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชน
หากหัวรถจักรการใช้จ่ายเอกชนกับการลงทุนขยับ เศรษฐกิจก็วิ่งฉิว
อีกทั้งการลดดอกเบี้ยยังส่งผลต่อเนื่องทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะไม่สูงขึ้น หรือลดลง แม้ว่ารัฐบาลจะกู้เงินมากขึ้นก็ตาม
ยิ่งเมื่อรัฐบาลมีแผนกู้เงินก้อนโตชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนยิ่งจำเป็นต้องกดให้ดอกเบี้ยต่ำ
ลำพังแผนกู้ในปีงบประมาณ 2556 ต้องสร้างหนี้ใหม่ถึง 9.5 แสนล้านบาท จากการกู้ชดเชยขาดดุล กู้เรื่องน้ำท่วม กู้เรื่องกองทุนประกัน กู้ทำโครงการประชานิยม โดยเฉพาะโครงการจำนำข้าว ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะเร่งตัวเพิ่มขึ้น
แต่นั้นแค่น้ำจิ้ม เพราะรัฐบาลยังมีแผนออก พ.ร.บ.กู้เงินอีก 2.27 ล้านล้านบาท ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายใน 7 ปีข้างหน้า แผนการกู้ทั้งหมดส่งผลกระทบทำให้สัดส่วนหนี้จาก 42% พุ่งไปแตะ 50% ต่อจีดีพีในอีก 5 ปีข้างหน้า บนพื้นฐานเศรษฐกิจโตได้ปีละไม่ต่ำกว่า 45%
แน่นอนว่าการลดดอกเบี้ยยังทำให้ต้นทุนการกู้เงินจำนวนมหาศาลของรัฐบาลถูกลง ประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้มากโข
ลำพังการไม่ก่อหนี้เพิ่มในทุกวันนี้ รัฐบาลต้องใช้เงินร่วม 2 แสนล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายชำระหนี้สาธารณะของประเทศ จนคิดเป็นสัดส่วนกว่า 10% ของเงินงบประมาณ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการจ่ายชำระดอกเบี้ย
ในอนาคตรัฐบาลต้องกู้รวมกันอีกถึง 3 ล้านล้านบาท ภาระงบประมาณในการชำระหนี้ของรัฐบาลจะเพิ่มสูงขึ้นอีกจำนวนมาก ซึ่งมีแนวโน้มเกิน 15% ของวงเงินงบประมาณ ที่เป็นกรอบความยั่งยืนการคลัง
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลต้องกดดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำมากที่สุด เพื่อไม่ให้ภาระการจ่ายชำระหนี้เกินกรอบวินัยการเงินการคลัง
คำอ้างของรัฐบาลจึงต้องการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่แท้เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ทำให้เศรษฐกิจโต รัฐบาลได้หน้า ทำให้สัดส่วนหนี้ลด จะได้แก้ต่างว่าโครงการประชานิยมไม่ได้สร้างหนี้ท่วมประเทศ แถมลดต้นทุนเงินกู้ของรัฐบาลได้อีกพะเรอเกวียน
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน