จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อาสา อินทรวิชัย
ประชากรของสหรัฐอเมริกากำลังใจจดใจจ่อกับประเด็นร้อนเรื่อง Fiscal Cliff หรือ หน้าผาการคลัง
ในขณะที่ประชากรทั่วโลกกำลังเตรียมการฉลอง Christmas และ New Year แต่ประชากรของสหรัฐอเมริกากำลังใจจดใจจ่อกับประเด็นร้อนเรื่อง Fiscal Cliff หรือ หน้าผาการคลัง สำหรับท่านที่ไม่ได้ติดตามประเด็นนี้โดยละเอียด “Fiscal Cliff” คือ ปัญหาการขาดดุลการคลัง (Fiscal deficits หรือ Budget deficits) ของสหรัฐ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังหลายยุคหลายสมัย ความพยายามลดการขาดดุลการคลังมีมาต่อเนื่องทุกรัฐบาลแต่กลับมาระอุอีกครั้งในวาระที่ 2 ของ Obama เพราะข้อบังคับ/กฎหมายที่มีขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดภาษี (ที่เรียกกันว่า “Bush Tax Cuts”) กำลังจะหมดอายุลง
แม้ว่า “Bush Tax Cuts” package จะทำให้ปัญหา Budget deficits ทวีความรุนแรงขึ้น แต่ Tax Cuts เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ GDP ของสหรัฐ สามารถเติบโตในแดนบวกได้ในหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในปลายปีนี้ มาตราการทางภาษีผนวกกับสวัสดิการพิเศษต่างๆ (ประกันสังคม เงินฉุกเฉินประกันการเลิกจ้าง) รวมทั้งสิ้น USD 606 Billion กำลังจะหมดอายุลง...นั่นย่อมทำให้นักเศรษฐศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ประเมินกันว่าปีที่ผ่านๆ มา Tax package (และ welfare ต่างๆ) ดังกล่าวเป็นปัจจัยบวกต่อ GDP ประมาณปีละ USD 300-600Bln (ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับ GDP size ของสหรัฐ ที่ USD 11Trillion/ ปี) ผลกระทบจากการที่ Tax package นี้สิ้นสุดลงสามารถทำให้ GDP growth กลับไปติดลบได้มากถึง -2% ในปี 2013
แน่นอนว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นการเมืองโดยเฉพาะในเวลาที่ฝ่ายหนึ่ง (House of representatives และ House speaker ของ Republican, John Boehner) ดูเหมือนจะถือไพ่เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง (Democrat party, Obama) ดังนั้นทางออกที่น่าจะลงตัวที่สุดคือ การที่สภา (Congress) และประธานาธิบดี (หรือที่เรียกว่า White House) หาข้อสรุปให้ได้ในประเด็นเรื่องการเพิ่มภาษี และการปรับลด Budget หรือ Spending ลง...หาก Congress และ White House ไม่สามารถหาข้อยุติได้ เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะต้องประสบกับภาวะ “ตกเหว (OFF THE CLIFF)” อย่างแน่นอน
การเจรจาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเต็มไปด้วยความเครียด ประธานาธิบดี Obama และประธานสภาผู้แทนราษฎรนายจอห์น เบห์เนอร์ มีความพยายามที่จะหาข้อยุติร่วมกันแม้จนถึงวันนี้รายละเอียด/ความคืบหน้ายังมิได้ถูกเปิดเผยมากนัก แต่สิ่งที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในปลายสัปดาห์ที่แล้วคือ นายจอห์นใช้คำว่า “Deliberate and Frank” (เป็นไปอย่างรอบคอบและตรงไปตรงมา) สำหรับในการเจรจาในวันอังคารที่ 11 ธ.ค. ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า “Cordial” (กันเองและเป็นมิตร) ที่เขากล่าวถึงการเจรจา 3 วันก่อนหน้า นั่นย่อมแสดงถึงภาวะความตึงเครียดระหว่าง White House กับ สภา อย่างชัดเจน หากการเจรจาไม่สำเร็จ เศรษฐกิจสหรัฐ จะเข้าสู่ recession หรือตกหน้าผาดังหัวข้อ (OFF THE CLIFF?) ของบทความนี้นั่นเอง
ในมุมของประธานาธิบดี Obama นั้น เขามีความพยายามอย่างยิ่งที่จะปรับลด Budget deficit หรือ การขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ ผ่านมาตรการเพิ่มภาษี และการลดรายจ่าย (Budget cuts) โดยObama พยายามปรับลดค่าใช้จ่ายหมวดที่มีผลกระทบต่อการเติบโตของ GDP น้อยที่สุด และนี่คือมาตรการ “Balanced approach” ที่ Obama ใช้ในขณะหาเสียง แต่สิ่งที่ Republican ต้องการจาก Obama ที่สุดในขณะนี้คือ รายละเอียดที่ชัดเจนว่า Obama จะปรับลดมาตรการใด/อย่างไรบ้าง...นอกจากประเด็นเรื่องการปรับลดค่าใช้จ่ายแล้ว การขึ้นภาษี (เนื่องจากมาตรการลดภาษีที่เกิดขึ้นในสมัย Bush จะหมดอายุลงในเดือนธ.ค. นี้) แก่มนุษย์เงินเดือนดูเหมือนว่าจะเป็นประเด็นหินที่คงไม่สามารถตกลงกันได้โดยง่าย เพราะ Republican (หรือ GOP) ต้องการให้ต่ออายุออกไปสำหรับประชากรทุกระดับรายได้ เพราะ GOP มีความเชื่อมาตลอดว่า การที่รัฐยอมลดภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีอย่างทั่วถึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตได้ตลอดมา Boehner ย้ำว่าสิ่งที่เกิดใน 30 ปีที่ผ่านมา เป็นเสียงสนับสนุนแนวทางเรื่องการลดภาษีได้เป็นอย่างดี ในทางตรงข้าม Obama กลับไม่ต้องการให้ผู้มีอันจะกินได้รับอานิสงส์นี้ สาเหตุหลักน่าจะมาจากประเด็นความเสียหายมหาศาลที่ Wall Street กระทำต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่เพียงไม่กี่ปีให้หลัง ผู้บริหารเหล่านั้นกลับได้รับ Bonus ในระดับพันล้านบาทต่อปี
แต่รัฐบาล Obama เหมือนมีชนักติดหลัง เพราะตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งต่อจาก Bush ในเดือน ม.ค. ปี 2009 (3 เดือนหลังจากเหตุการณ์ Lehman crisis) เศรษฐกิจสหรัฐ ก็ดิ่งเหว unemployment rate พุ่งสูงกว่า 10% เมื่อประชากรว่างงานมากขึ้น ย่อมเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องเข้ามารับผิดชอบเรื่องสวัสดิการแพทย์และสังคม และการประกันรายได้เมื่อว่างงาน ทำให้ Obama เป็นรัฐบาลชุดแรกที่มี budget deficits ติดลบเกิน USD 1Trillion ต่อเนื่องยาวนาน 4 ปี นับตั้งแต่การเข้ารับตำแหน่งครั้งแรกในปี 2009 และรัฐบาล Obama จบปีงบประมาณปี 2012 (รอบเดือนต.ค-ก.ย.) ด้วย Budget deficits ที่สูงถึง USD 1.1Trillion นี่เป็นประเด็นที่ทำให้ Obama ถูกโจมตีอย่างต่อเนื่องและมีผลต่อ credibility ในการกำหนดและดำเนินนโยบาย
สาระสำคัญของการเจรจาในสัปดาห์นี้อยู่ที่การหาข้อสรุปเรื่องรายได้ที่รัฐต้องหาเพิ่ม และรายจ่ายที่รัฐจะต้องปรับลด โดย Boehner เสนอให้ Obama เพิ่มรายได้ USD 800Bln และลดรายจ่าย USD 1.2Bln ในขณะที่ Obama พยายามที่จะเสนอที่จะเพิ่มรายได้ USD1,400Bln และลดรายจ่ายลง USD 400Bln ดูเหมือนว่า Republican หรือ GOP คงจะไม่ยอมรับตัวเลขของ Obama ง่ายๆ เพราะ GOP ไม่ต้องการให้การเพิ่ม tax revenue ต่อกลุ่มมหาเศรษฐีของประเทศ ล่าสุด Boehner ได้เตรียม “Plan B” ไว้แล้ว สาระสำคัญอยู่ที่กลุ่มผู้เสียภาษีจากข้อเสนอปัจจุบันของ Boehner คือ ผู้มีรายได้มากกว่า USD 250,000 เป็น มากกว่า USD1,000,000 ต่อปี แน่นอนว่า Boehner ได้ใจเศรษฐีกลุ่มนี้ไปเต็มๆ
...หากยังจำกันได้ว่า GOP ถือไพ่เหนือกว่า Democrat ของ Obama (หรือ White House) เหมือนในครั้งที่มีการเจรจาเรื่อง Debt ceiling ที่ไม่มีท่าทียอมผ่อนปรนจนกระทั่งวินาทีสุดท้าย แต่ต้องไม่ลืมว่า ยิ่งการเจรจายืดเยื้อเพียงไร ประชาชนจะเริ่มเอือมระอากับ GOP และเป็นผลเสียต่อคะแนนเสียงของฝ่ายค้านในที่สุด
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน