สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ทางการเงินและนโยบายการเงิน (2)

การเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ทางการเงินและนโยบายการเงิน (2)

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ครั้งที่แล้วผมสรุปว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในเชิงปริมาณอย่างมาก ซึ่งได้เกิดขึ้นใน 4 ปีที่ผ่านมาและจะต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า

โดยธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเศรษฐกิจหลักของโลกนั้นดูเสมือนว่าจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมในการพยายามทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยดูเสมือนว่าจะไม่มีข้อเสียหรือปัจจุบันยังไม่เห็นข้อเสีย ตรงกันข้ามดูเสมือนว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับนักลงทุนที่ชอบความเสี่ยง เพราะในช่วงที่ผ่านมาการลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมาก เช่นการซื้อหุ้นนั้นจะมีแต่กำไรไม่มีการขาดทุน

ข้อเสียของนโยบายผ่อนคลายในเชิงปริมาณบวกกับการกดดอกเบี้ยระยะสั้นใกล้ศูนย์เป็นเวลายาวนาน ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงมาก อาจเป็นเพราะมองว่าเศรษฐกิจยังไม่ค่อยฟื้นเลยจะต้องไปพะวงกับข้อเสียไปทำไม นอกจากนั้นนโยบายดังกล่าวเป็นประโยชน์กับนักลงทุนเพราะทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ได้กำไร ในขณะที่เงินเฟ้อก็ยังไม่ได้ปรับสูงขึ้น กล่าวคือยังไม่ได้สร้างความเสียหายให้ใคร แต่หากจะมองหาข้อเสียของนโยบายดังกล่าวก็อาจสรุปได้ดังนี้

1. ดอกเบี้ยที่ถูกกดลงให้ต่ำทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นผลเสียอย่างยิ่งต่อผู้ออม โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยรายได้จากดอกเบี้ยและไม่มีรายได้จากเงินเดือน

2. ไม่ส่งเสริมให้ภาครัฐมีวินัยทางการคลัง ผมเชื่อว่าหากดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับปกติในสหรัฐ (กล่าวคือดอกเบี้ยระยะสั้นประมาณ 3% ดอกเบี้ยระยะยาวประมาณ 5%) นักการเมืองสหรัฐจะสามารถหาทางออกจากปัญหาการคลังได้อย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามในสภาวการณ์ปัจจุบันซึ่งรัฐบาลสหรัฐต้องจ่ายดอกเบี้ยต่ำมาก (คำนวณคร่าวๆ ได้ว่ารัฐบาลสหรัฐจ่ายดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณ 1.7%) ย่อมทำให้รัฐบาลสหรัฐไม่เห็นถึงความสำคัญที่จะลดรายจ่ายและลดการขาดดุลอย่างเร่งรีบเพราะปัจจุบันกู้ได้ที่ต้นทุนต่ำมาก

3. การกดดอกเบี้ยทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยการเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด ทำให้ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อ หมายความว่าปกติแล้วหากตลาดมีความเป็นห่วงเรื่องเงินเฟ้อก็จะส่งสัญญาณโดยการขายพันธบัตรระยะยาว ทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในสภาวะปัจจุบันซึ่งธนาคารกลางสหรัฐเข้ามาซื้อทั้งพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตร MBS ทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวถูกควบคุมอยู่และไม่สามารถส่งสัญญาณอะไรได้เลย (โดยคงจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ แทน)

4. ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำของประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาที่มีภาวะเศรษฐกิจปกติต้องเผชิญกับปัญหาเงินทุนไหลเข้า และ/หรือฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ เช่น ประเทศสิงคโปร์และฮ่องกง

ประเด็นที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือการถอนตัวออกจากมาตรการผ่อนปรนในเชิงปริมาณและเมื่อต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งอาจเกิดความผันผวนขึ้นได้อย่างมากหากเหตุการณ์เกิดขึ้นตามขั้นตอนที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ (อย่างไรก็ดีในปัจจุบันคงจะยังไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องนี้ เพราะเสียงส่วนใหญ่เชื่อว่ายังเหลือเวลาที่เศรษฐกิจจะยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในสภาวะที่สภาพคล่องท่วมระบบต่อไปได้อีกประมาณ 2 ปี)

๐ สักวันหนึ่งเศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวขึ้นและธนาคารจะเริ่มปล่อยกู้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนเพราะต้องไม่ลืมว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า ธนาคารกลางสหรัฐจะอัดสภาพคล่อง (พิมพ์เงิน) เข้าระบบคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1/3 ของจีดีพี เมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะปกติที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเพียง 1/12 ถึง 1/10 ของจีดีพี

๐ หากตลาดเริ่มกลัวปัญหาเงินเฟ้อก็จะเริ่มมีการขายพันธบัตรระยะยาวออกมา ซึ่งหากธนาคารกลางต้องการลดปริมาณเงินในระบบก็จะต้องหยุดพิมพ์เงินออกมาซื้อหรืออาจต้องขายของเก่าออกมาด้วย ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าจะมีการขายพันธบัตรออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะยิ่งทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางกับรัฐบาลและบริษัทที่ออกตราสารหนี้และกองทุนที่เป็นเจ้าของตราสารหนี้

๐ ในทางตรงกันข้ามหากธนาคารกลางสหรัฐเกรงว่าจะเกิดปัญหาข้างต้นก็อาจจะยังพิมพ์เงินเพื่อซื้อพันธบัตรต่อไป แม้ว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแล้ว ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนตั้งคำถามเกี่ยวกับความมีวินัยทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งหากนักลงทุนขาดความมั่นใจในความสามารถและความมุ่งมั่นของธนาคารกลางที่จะควบคุมเงินเฟ้อก็อาจจะเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนเร่งขายพันธบัตรออกไปเป็นจำนวนมาก

๐ กรณีที่ร้ายแรงที่สุดจะเป็นกรณีที่รัฐบาลสหรัฐยังไม่ได้แก้ปัญหาการขาดวินัยทางการคลัง หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเกิน 100% ของจีดีพีและยังขาดดุลงบประมาณ 6-7% ของจีดีพี แต่ธนาคารกลางสหรัฐถูกกดดันโดยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยและยกเลิกการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในสภาวการณ์ดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐจะขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 1% ของจีดีพีสำหรับทุก 1% ที่ดอกเบี้ยต้องปรับตัวขึ้น เช่นปัจจุบันดอกเบี้ยพันธบัตร 2 ปีของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% แต่หากต้องปรับกลับไปที่ระดับปกติคือ 3% ก็แปลว่ารัฐบาลสหรัฐอาจจะต้องขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 2% ของจีดีพีจากภาวะดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น (เพราะยังมีพันธบัตรเก่าที่ยังไม่หมดอายุ) นอกจากนั้นการที่ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจะทำให้พันธบัตรที่ธนาคารกลางสหรัฐถืออยู่หลายล้านล้านดอลลาร์เกิดภาวะขาดทุนอย่างมากเป็นภาระให้รัฐบาลสหรัฐต้องหางบประมาณมาเพิ่มทุนให้กับธนาคารกลางอีกด้วย ในกรณีดังกล่าวสหรัฐจะเสี่ยงกับการถูกลดลำดับความน่าเชื่อถืออีกด้วย

หากมีข้อกังวลและความเสี่ยงมากมายเช่นนี้แล้ว คำถามคือทำไมจึงดำเนินนโยบายดังกล่าวอย่างไม่ลดละ? คำตอบหนึ่งคือ อาจหลวมตัวมาไกลเกินกว่าจะถอนตัว แต่อีกคำตอบหนึ่งคือแนวคิดของนาย เบอร์นันเก้และ “แก๊งเอ็มไอที” ตามที่ปรากฏในบทวิเคราะห์ของ WSJ เชื่อว่า Inside the risky bets made by the biggest central banks


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : การเปลี่ยนแปลง สภาวการณ์ การเงิน นโยบายการเงิน

view