จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
คำต่อคำ:"วัลลภ"ระบุก่อนหารือแบงก์ชาติสัปดาห์หน้า ค่าบาทแข็งเพื่อช่วยผู้ส่งออก เรียกร้องใช้มาตรการแคปปิตอลคอนโทรล
กรุงเทพธรกิจทีวี ตรงประเด็นข่าวค่ำวันนี้(24ม.ค.) สัมภาษณ์ นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง"เอกชนร้องธปท.ดูแลค่าบาท" ก่อนจะรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ทราบเรื่องค่าเงินบาทแข็ง ที่มาจากเงินทุนไหลเข้า โดยต้องการให้ธปท.ออกมาตรการมาช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ส่งออก
ถาม ประเด็นที่จะไปหารือกับทางธปท.มีประเด็นไหนบ้าง
ตอบ ก็คงจะมีประเด็นแข็งค่าของเงิน ก็อยากจะให้ทางธปท.บริหารจัดการค่าเงินไม่ให้มีความผันผวนไปจากนี้ เพราะสังเกตได้ว่าค่าเงิน ภายใน 2-3 อาทิตย์แข็งค่าขึ้นรวดเร็วมากหลังจากปีใหม่มานี้ แต่พื้นฐานเดิมเฉลี่ยอยู่ปีที่แล้ว 37.934 ตอนนี้มาอยู่ที่ 29.7 แข็งค่าขึ้น เป็น เงิน 3.59 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าค่อนข้างจะมาก จุดนี้จะทำให้ส่งออกมีผลกระทบต้นทุนเพิ่มขึ้น ส่วนที่รับออเดอร์ไว้แล้ว ไตรมาสแรกเราต้อง ยอมรับว่า ถ้าผู้ส่งออกรายใดที่ไม่ประกันความเสี่ยงไว้อันนั้นก็ต้องขาดทุนแน่นอน แต่ที่ผมมองก็คือว่า ในไตรมาสที่สองที่จะต้องรับ ออเดอร์ใหม่มันก็ต้องมาดูต้นทุนที่เพิ่มใหม่สภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ก็ยังไม่ค่อยดีนัก ตลาดผู้ซื้อ ก็อาจจะทำให้ขึ้นราคาค่อนข้างจะได้ยาก เพราะฉะนั้นยอดส่งออกมีแนวโน้มที่จะลดลง
ถาม ปัจจุบันเหล่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากน้อยขนาดไหน
ตอบ เป็นอุตสาหกรรมที่นำเข้าวัตถุดิบน้อย ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเยอะ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มอันนี้ก็จะมีผลกระทบโดยตรง แล้วก็ สินค้าเกษตรที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ 100% ก็ขึ้นราคาไม่ได้ก็มีผลกระทบแน่นอน เจอภาวะขาดทุนหลังจากผลกระทบการขึ้นค่าแรง 300 บาท ในด้านส่งออกมี 2 ประเด็น ส่วนอุตสาหกรรมในส่วนที่นำเข้าค่อนข้างจะเยอะก็มีผลกระทบนิดหน่อยก็ไม่มาก
ถาม พอจะแจกได้ไหมว่าสินค้าหรืออุตสาหกรรมประเภทไหนที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุดสำหรับค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าขึ้น
ตอบ ก็เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมจิวเวลรี่ อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่ม
ถาม แล้วปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล่านี้เขารับมือเรื่องของค่าเงินบาทอย่างไรบ้าง
ตอบ ผู้ประกอบการบางรายก็อาจมีวงเงินสินเชื่อในเรื่องของประกันความเสี่ยง ซึ่งก็จะทำกับธนาคารพาณิชย์ แต่ว่าเอสเอ็มอีค่อนข้างจะมี มากไม่มีเครื่องมือนี้ ก็ค่อนข้างที่จะลำบาก ฉะนั้นธปท.น่าจะต้องบอกให้ธนาคารพาณิชย์ให้โอกาส หรือให้การประกันความเสี่ยงกับเอส เอ็มอีที่ไม่มีวงเงินพวกนี้อยู่
ถาม มีกระแสข่าวในเรื่องทิศทางของผู้ส่งออกทำการเทขายเงินบาทเพื่อตุนดอลลาร์ เรื่องนี้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรบ้า
ตอบ ขายเงินบาทเพื่อตุนดอลลาร์ถ้าทำอย่างนั้นเป็นลักษณะของการเก็งกำไรแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ขณะนี้เรามองดูอยู่ว่าที่เงินไหลเข้ามาจาก ประเทศอเมริกาหรือญี่ปุ่นกับทางสหภาพยุโรปเข้ามาร่วมด้วย ผมว่าเรื่องนี้เป็นอัตราเสี่ยงของประเทศไทย ว่าจะมีการเก็งกำไรค่าเงิน ไม่ คิดว่าผู้ประกอบการซึ่งทำเรื่องค้าขาย การส่งออก จะมานั่งเก็งกำไรเรื่องพวกนี้
ถาม ปัจจุบันทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะไปพูดคุยกับทางแบงก์ชาติในวันไหน
ตอบ ทางคุณประสารก็จะนัดชี้แจงกับทางส.อ.ท.กับสภาหอในสัปดาห์หน้า ก็รอนัดหมายอยู่ว่ามาสัปดาห์ในวันที่เท่าไร ซึ่งเราอาจจะต้อง ไปชี้แจงเรื่องผลกระทบกับสมาชิกของเราด้านของผู้ส่งออกว่ามีผลกระทบอย่างไร อยากให้ธปท.มีมาตรการบริหารจัดการค่าเงินอย่างมี ประสิทธิภาพ ข้อที่หนึ่งเป็นเรื่องของอย่าให้ผันผวนนัก สอง อย่าให้แข็งค่ากว่าภูมิภาค ขณะนี้เพียงแค่ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.มาถึง 17 นี้เราแข็งค่าไปที่ 2.69 เราแข็งค่าที่สุดในบรรดาในประเทศเอเชียทั้งหลาย รองลงมาอินเดีย 1.48 ค่อนข้างห่างกันมาก ซึ่งในเรื่องนี้ก็คงมีมาตรการที่สามารถจะต้องเข้มข้นถ้ายังมีลักษณะในการไหลเงินเข้ามาได้อีกในเรื่องของพันธบัตรระยะสั้น ก็ควรใช้มาตรการเข้มข้นกว่านี้ สุดท้ายอาจต้องใช้มาตรการแคปปิตอลคอนโทรลก็ต้องใช้
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน