จากประชาชาติธุรกิจ
"เศรษฐกิจ ปัจจุบันเปรียบเหมือนเรือที่ได้แล่นผ่านพ้นมรสุมใหญ่ไปแล้ว แต่คลื่นลมก็ยังแรงและมีเค้าลางของเมฆที่อาจก่อตัวเป็นพายุในน่านน้ำข้าง หน้าได้อีกครั้ง โจทย์สำคัญของผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจภายใต้ความเสี่ยงที่อาจแอบแฝงก่อตัว อยู่ในเวลานี้คือ ทำอย่างไรให้เรือแล่นไปสู่จุดหมายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด การดำเนินนโยบายที่มองไปข้างหน้าและมีลักษณะ proactive เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไปจึงเป็นสิ่งที่ สำคัญยิ่ง ความท้าทายในเวลานี้อยู่ที่การรักษาสมดุลของการดำเนินนโยบายด้านต่าง ๆ เพื่อให้การสร้างประสิทธิผลสูงสุดของนโยบายนั้น ๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ที่ยั่งยืนของประชาชน กล่าวคือ ความมั่นคงปลอดภัย และความมีเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินไทย"
ข้าง ต้นคือคำกล่าวของ "ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จากการแถลง "ทิศทางการดำเนินนโยบายของ ธปท. ในปี 2556" เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา "ประชาชาติธุรกิจ" จึงถอดความบางส่วนจากคำแถลงของผู้ว่าการแบงก์ชาติ ในประเด็นการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย ผ่านการดำเนินนโยบายการเงิน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และนโยบายสถาบันการเงิน
พร้อมรับมือค่าเงินผันผวน
โดย ได้อธิบายว่า เป้าหมายหลักของการดำเนินนโยบายการเงินคือ การดูแลให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ ในปีนี้ความท้าทายแรกจะอยู่ที่การรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจ กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพราะหากต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นต้นทุนในการกู้ยืมไว้ในระดับต่ำนานเกิน ไปอาจจูงใจให้ภาคเอกชนก่อหนี้สินมากเกินควร หรือกระตุ้นให้ผู้ฝากเงินหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า มากขึ้น และอาจนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินหรือภาวะฟองสบู่ได้ในอนาคต การดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันจึงต้องทำควบคู่กับการดูแลเสถียรภาพของ ระบบการเงิน
ความท้าทายที่สองอยู่ที่การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มี ความผันผวนมากขึ้น จึงต้องติดตามและประเมินผลกระทบของค่าเงินบาทต่อภาคเศรษฐกิจจริง ซึ่งแบงก์ชาติได้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ (policy option) โดยพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม พร้อมกับการวางโครงการและเตรียมความพร้อมแก่ภาคเอกชน
อาทิ มาตรการรองรับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายด้วยการผ่อนคลายหลักเกณฑ์ด้าน เงินทุนขาออกตามแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศตั้งแต่ปลายปี 2555, การสนับสนุนให้คนไทยลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านและส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้อง ถิ่นชำระค่าสินค้า โดยเริ่มจากการใช้เงินหยวนนำร่อง, การลดอุปสรรคระเบียบหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมพร้อมรับมืออัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ผลักดันไมโครไฟแนนซ์
ด้าน นโยบายสถาบันการเงิน ที่แม้สถาบันการเงินไทยจะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและมีส่วนสนับสนุนกิจกรรม ทางเศรษฐกิจอย่างดีมาตลอด แต่ยังมีอีกหลายจุดที่ต้องผลักดันต่อเนื่อง ในแง่ความทั่วถึงของการให้บริการทางการเงิน ได้หารือกับแบงก์พาณิชย์และน็อนแบงก์ให้บริการไมโครไฟแนนซ์ในรูปแบบธุรกิจ ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย
ส่วนในแง่ความเข้ม แข็งมั่นคงของสถาบันการเงิน จำเป็นต้องเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินที่สามารถรองรับความ เสี่ยงต่าง ๆ ได้ในทุกสถานการณ์ โดยดูแลให้สถาบันการเงินมีกองทุนที่แข็งแกร่งและมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ รัดกุม
อีกทั้งในปีนี้ได้กำหนดกรอบการให้ใบอนุญาตแก่แบงก์พาณิชย์ ต่างประเทศที่จะเข้ามาดำเนินการในไทย ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 พร้อมกับกำหนดกรอบเจรจาเพื่อเอื้อให้แบงก์พาณิชย์ไทยขยายธุรกิจตามการเปิด เสรี Qualified ASEAN Bank ภายใต้เออีซี และทั้งหมดนี้นำไปสู่ความท้าทายของการรักษาสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพ เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ใช้ ICAS หมุนเงินในประเทศ
สุด ท้ายด้านนโยบายการชำระเงิน ปีนี้แบงก์ชาติตั้งเป้าที่ขยายระบบ ICAS ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียกเก็บเช็คข้ามจังหวัด จากปัจจุบันที่ต้องใช้เวลา 3-5 วันทำการในการเรียกเก็บ ต่อไปนี้จะเหลือเพียง 1 วันทำการ เพื่อให้เงินหมุนเวียนในระบบเร็วขึ้น ต้นทุนลดลง และส่งเสริมให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายในประเทศ ยกระดับการชำระเงินไทยให้เอื้อต่อการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศให้มี ประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น
แล้วในฐานะแบงก์ชาติเป็นหนึ่งในหน่วย งานที่ดูแลระบบเศรษฐกิจการเงินไทยจึงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายด้าน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างทันกาลและเหมาะสม พร้อมจับมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
โดย หวังว่าความร่วมมือและการประสานเชิงนโยบายของทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิดมากขึ้นจะ ช่วยส่งเสริมการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เป็นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ ไม่ถือ "ฉัน" ถือ "เธอ" แต่ถือ "เรา" เป็นที่ตั้ง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชนไทยอย่างแท้จริง
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน